พีรยศ ราฮิมมูลา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พีรยศ ราฮิมมูลา
ไฟล์:พีรยศ ราฮิมมูลา.jpg
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด20 กันยายน พ.ศ. 2496 (70 ปี)
จังหวัดนราธิวาส
ศาสนาอิสลาม
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2550-ปัจจุบัน)
คู่สมรสชิดชนก ราฮิมมูลา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พีรยศ ราฮิมมูลา เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ[1] และอดีตกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ (สำรอง) เป็นนักวิชาการด้านการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้[2]

ประวัติ[แก้]

พีรยศ ราฮิมมูลา เกิดเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2496 ที่อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส เข้าศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาที่ โรงเรียนวัดสุทธิวราราม และ สำเร็จการศึกษารัฐศาสตรบัณฑิต สาขาการเมืองการปกครอง จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยเดลี ประเทศอินเดีย และปริญญาเอก เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา สาขาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยเคนต์ ประเทศอังกฤษ[3]

การทำงาน[แก้]

อาจารย์[แก้]

พีรยศ ราฮิมมูลา อดีตอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มีบทบาทในการวิพากวิจารณ์การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้[2]

งานการเมือง[แก้]

พีรยศ ราฮิมมูลา เคยร่วมตั้งพรรคการเมืองในปี พ.ศ. 2517 ชื่อ "พรรคแนวสันติ" ซึ่งมีนายบรรจง ศรีจรูญ เป็นหัวหน้าพรรค นายอภินันท์ บูรณะพงศ์ เป็นเลขาธิการพรรค โดยเขาได้รับตำแหน่งเป็นกรรมการบริหารพรรค[4]

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบสัดส่วน กลุ่มที่ 8 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และเข้าสู่วงการการเมืองในสภาผู้แทนราษฎรชุดดังกล่าว รวมทั้งยังได้รับแต่งตั้งให้ทำหน้าที่โฆษกคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร เป็นคณะกรรมาธิการอาเซียน สภาผู้แทนราษฎร และเป็นที่ปรึกษาศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้

ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์[5]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

พีรยศ ราฮิมมูลา ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 3 สมัย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. “พีรยศ” ยันอดีตส.ส.ปชป.ส่วนใหญ่หนุน”มาร์ค” นั่งหน.พรรค
  2. 2.0 2.1 สัมภาษณ์พิเศษ พีรยศ ราฮิมมูลา "เรากำลังรบกับความแค้นของคนใต้"
  3. พีรยศ ราฮิมมูลา แรงกดดันที่กลายเป็นพลัง[ลิงก์เสีย]
  4. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง เก็บถาวร 2011-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอน 193 ง พิเศษ หน้า 1 18 กันยายน พ.ศ. 2518
  5. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชาธิปัตย์)
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๓๑, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑

แหล่งข้อมูล[แก้]