พิมศิริ ศิริแก้ว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิมศิริ ศิริแก้ว
ต.ภ.
ไฟล์:พิมศิริ ศิริแก้ว.jpg
ข้อมูลส่วนบุคคล
ชื่อเล่นแต้ว
สัญชาติไทย
เกิด25 เมษายน พ.ศ. 2533 (33 ปี)
ประเทศไทย อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย
ส่วนสูง1.49 m (4 ft 10 12 in)
น้ำหนัก61 กก.
กีฬา
กีฬายกน้ำหนัก
สโมสรโรงเรียนกีฬาเทศบาลนครนครราชสีมา

ร้อยโทหญิง พิมศิริ ศิริแก้ว ชื่อเล่น แต้ว เป็นนักกีฬายกน้ำหนักทีมชาติไทย เจ้าของเหรียญเงินยกน้ำหนัก รุ่นน้อยกว่า 58 กิโลกรัม ในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2012กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 ณ กรุงรีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล

พิมศิริ เกิดเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2533 ที่อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น เป็นบุตรของคำปุ่น และอมรรัตน์ ศิริแก้ว ในวัยเด็กเข้าศึกษาที่โรงเรียนบ้านเขวา และโรงเรียนมัญจาศึกษา ต่อมาเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนกีฬาจังหวัดชลบุรี และสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี ตามลำดับ แต่เดิมเธอเริ่มเล่นกีฬาด้วยการเป็นนักวิ่งระยะสั้น กระทั่งว่าที่ร้อยตรีศักดิ์ชัย ธิตะจารี เห็นแววจึงเรียกมาทดสอบเป็นนักยกน้ำหนัก

เส้นทางอาชีพ[แก้]

พิมศิริ ติดทีมชาติครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2549 พ.ศ. 2551 เธอได้รับเหรียญทอง จากการแข่งขันยกน้ำหนักเยาวชนชิงชนะเลิศแห่งโลก รุ่นน้อยกว่า 58 กิโลมกรัม ปีถัดมาด้วยวัย 19 ปี เธอเข้าร่วมการแข่งขันยกน้ำหนักชิงชนะเลิศแห่งโลกเป็นครั้งแรก และได้อันดับที่ 5 จากรายการนี้ ปีเดียวกันพิมศิริคว้าอันดับที่ 2 ในการแข่งขันซีเกมส์ ที่ประเทศลาว โดยพ่ายนักย้กน้ำหนักจากอินโดนีเซีย

ปี พ.ศ. 2554 พิมศิริลงแข่งในรายการยกน้ำหนักชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย โดยต้องปะทะกับคู่แข่งอย่างประภาวดี เจริญรัตนธารากุล ที่เพิ่งออกจากแคมป์เก็บตัวทีมชาติ ผลปรากฏว่าพิมศิริสามารถคว้าเหรียญทองได้ และทำลายสถิติประเทศไทยท่าคลีนแอนด์เจิร์ก และน้ำหนักรวม ของวันดี คำเอี่ยม ลงได้ที่น้ำหนัก 136 และ 237 กิโลกรัมตามลำดับ ปลายปีเดียวกันเธอเข้าร่วมการแข่งขันยกน้ำหนักชิงชนะเลิศแห่งโลก และได้รับเหรียญรางวัลเป็นครั้งแรก คือเหรียญทองแดง

ในปี พ.ศ. 2555 พิมศิริ เป็น 1 ใน 4 นักยกน้ำหนักหญิงไทย ที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 ในการยกท่าสแตตซ์ เธอทำผลงานได้ไม่ดีนัก ยกติดเพียงครั้งเดียวคือในครั้งแรก ที่น้ำหนัก 100 กิโลกรัม เป็นอันดับ 10 จากผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด แต่ในท่าคลีนแอนด์เจิร์ก เธอสามารถยกได้ถึง 136 กิโลกรัม ทำให้ขยับขึ้นมาเป็นอันดับสอง และคว้าเหรียญเงินในที่สุด โดยถือเป็นเหรียญรางวัลแรกของไทยในการแข่งขันครั้งนี้[1] หลังเสร็จสิ้นการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก พิมศิริทำผลงานได้ไม่ดีหนักในรายหารถัดมา โดยคว้าเหรียญทองแดง ในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก พ.ศ. 2556 พร้อมกับมีอาการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อ หลังจากนั้นพิมศิริได้ย้ายขึ้นไปทำการแข่งขันในรุ่นน้อยกว่า 63 กิโลกรัม และคว้าเหรียญทองในการแข่งขันซีเกมส์ 2013

ถัดมาในปี พ.ศ. 2557 พิมศิริสามารถทำลายสถิติประเทศไทย ท่าคลีนแอนด์เจิร์กของปวีณา ทองสุก ลงได้ในการแข่งขันยกน้ำหนักชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย โดยยกได้ 143 กฺโลกรัม แม้เธอจะสามารถทำสถิติได้ดีขึ้น แต่ในการแข่งขันระดับนานาชาติ พิมศิริยังไม่สามารถสร้างผลงานที่ดีได้ โดยเธอไม่สามารถคว้าเหรียญรางวัลใดๆได้จากการแข่งขันเอเชียนเกมส์ 2014 และยกน้ำหนักชิงชนะเลิศแห่งโลก โดยได้เพียงอันดับ 5 จากทั้งสองรายการ

สถิติการแข่งขัน[แก้]

พิมศิริมีสถิติการแข่งขันยกน้ำหนักดังนี้[2]

การแข่งขัน รุ่น สแนตซ์ คลีนแอนด์เจิร์ก รวม
2551 เยาวชนชิงชนะเลิศแห่งโลก 58 กก. 87 90 91 112 116 120 211
2552 ชิงชนะเลิศแห่งโลก 58 กก. 85 90 93 5 115 120 120 5 205 5
2552 ซีเกมส์ 58 กก. 93 - 115 - 208
2553 เยาวชนชิงชนะเลิศแห่งโลก 58 กก. 90 90 92 115 120 121 210
2553 ชิงชนะเลิศแห่งโลก 58 กก. 89 92 92 15 115 118 120 8 205 8
2553 เอเชียนเกมส์ 58 กก. 90 93 97 - 118 123 128 - 220 4
2554 ชิงชนะเลิศแห่งโลก 58 กก. 95 99 102 5 123 129 131 230
2554 ซีเกมส์ 63 กก. 98 - 131 - 229
2555 ชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย 58 กก. 96 100 102 125 129 131 231
2555 โอลิมปิกฤดูร้อน 58 กก. 100 103 103 - 131 136 140 236
2556 กีฬามหาวิทยาลัยโลก 58 กก. 95 98 99 - 131 125 - - 216
2556 ซีเกมส์ 63 กก. 95 95 99 - 120 126 132 - 231
2557 เอเชียนเกมส์ 63 กก. 103 106 108 - 134 139 139 - 242 5
2557 ชิงชนะเลิศแห่งโลก 63 กก. 102 105 108 8 133 137 138 4 246 5

ภายในประเทศ[แก้]

การแข่งขัน รุ่น สแนตซ์ คลีนแอนด์เจิร์ก รวม
2554[3] ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย 58 กก. 95 101 105 123 130 136 237
2555[4] กีฬาแห่งชาติ (ประเทศไทย) 63 กก. 98 102 102 127 132 136 234

สถิติสูงสุด[แก้]

รางวัลที่ได้รับ[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]