พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำไคยูกัง

พิกัด: 34°39′16.1″N 135°25′44.0″E / 34.654472°N 135.428889°E / 34.654472; 135.428889
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำไคยูกัง
หน้าด้านพิพิธภัณฑ์
แผนที่
ก่อตั้ง20 กรกฎาคม ค.ศ. 1990
พิกัดภูมิศาสตร์34°39′16.1″N 135°25′44.0″E / 34.654472°N 135.428889°E / 34.654472; 135.428889
เว็บไซต์www.kaiyukan.com/language/eng


ไคยูกัง (ญี่ปุ่น: 海遊館) เป็นพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของประเทศญี่ปุ่นและทวีปเอเชีย[1] ตั้งอยู่ที่เท็มโปซังฮาเบอวิลเลจ (Tempozan Harbor Village) ในเมืองโอซากะ มีทั้งหมด 8 ชั้น

เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1990 ด้านหน้าทางเข้าพิพิธภัณฑ์มีโครงเหล็กดัดรูปปลาฉลามวาฬตัวใหญ่ ที่รายล้อมด้วยโลมาหลายตัวเป็นจุดเด่น ซึ่งไฮไลต์ภายในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ คือ

  • ถ้ำทะเล

เป็นอุโมงค์ใต้น้ำที่ทอดยาวกว่า 11 เมตร มีฝูงปลานานาชนิดที่อาศัยอยู่ในเขตร้อนและบริเวณใกล้เคียงแหวกว่ายไปมา อาทิ ปลากระเบน, ปลาฉลาม, ปลานกแก้ว

  • วงแหวนไฟ และ วงแหวนแห่งชีวิต

อยู่บนชั้นบนสุดของพิพิธภัณฑ์ โดยขึ้นบันไดเลื่อนตรงสุดปลายทางอุโมงค์ถ้ำทะเล ซึ่งวงแหวนไฟ (Ring of Fire) คือ บริเวณโดยรอบมหาสมุทรแปซิฟิกที่ยังมีการเกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันก็ยังเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตจำนวนมาก ที่เปรียบเสมือน วงแหวนแห่งชีวิต (Ring of Life) โดยมีแนวความคิดว่า โลกที่มีแผ่นดินไหวและภูเขาไฟปะทุกับสิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่อาศัยอยู่บนโลกเป็นระบบสิ่งมีชีวิตหนึ่งที่ต่างก็เกื้อกูลซึ่งกันและกัน

  • มหาสมุทรแปซิฟิก

เป็นบ่อที่มีน้ำจำนวนกว่า 5,400 ตัน ในระดับความลึก 9 เมตร ซึ่งลดหลั่นจากชั้นบนสุดลงมาเรื่อย ๆ ภายในมีปลาขนาดใหญ่ อาทิ ปลาฉลามวาฬ, ปลากระเบนแมนตา และอีกด้านหนึ่งของเส้นทางเป็นบ่อจำลองสภาพแวดล้อม 10 บริเวณ ที่ตั้งอยู่บนวงแหวนแห่งไฟที่อยู่ล้อมรอบมหาสมุทรแปซิฟิก อาทิ ป่าญี่ปุ่น, ทิวเกาะอะลิวเทียน, อ่าวมอนเทอร์เรย์, ขั้วโลกใต้, ทะเลทัสมัน และ เกรท แบริเออร์ รีฟ ซึ่งในนี้มีสิ่งมีชีวิตน้อยใหญ่อาศัยอยู่มากมาย และส่วนหนึ่งมีให้ชมกันในพิพิธภัณฑ์นี้ อาทิ นาก, นากทะเล, สิงโตทะเลแคลิฟอร์เนีย, แมวน้ำ, นกเพนกวินจักรพรรดิ, โลมาขาวแปซิฟิก, ปลาผีเสื้อ, หมึกยักษ์ และปูแมงมุม รวมแล้วที่นี่มีตัวอย่างสัตว์ให้ชมถึง 580 ชนิด ในจำนวนกว่า 30,000 ตัว

อ้างอิง[แก้]

  • "แอบดู "ฉลามวาฬ" ตัวใหญ่ ที่พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ "ไคยูกัง"". ผู้จัดการออนไลน์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-20. สืบค้นเมื่อ 2010-10-15.
  1. "OSAKA AQUARIUM". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-26. สืบค้นเมื่อ 2012-09-28.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]