พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาคลีฟแลนด์

พิกัด: 41°30′40.97″N 81°36′46.74″W / 41.5113806°N 81.6129833°W / 41.5113806; -81.6129833
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาคลีฟแลนด์
Cleveland Museum of Natural History
สัญลักษณ์พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาคลีฟแลนด์
แผนที่
ก่อตั้งค.ศ. 1920
ที่ตั้ง1 Wade Oval Drive University Circle Cleveland OH 44106-1767 U.S.A.
พิกัดภูมิศาสตร์41° 30′ 40.97″ N, 81° 36′ 46.74″ W 41.511381, -81.612983 41°30′40.97″N 81°36′46.74″W / 41.5113806°N 81.6129833°W / 41.5113806; -81.6129833
ผู้อำนวยการเอวลิน เกตส์ (Evalyn Gates) [1]
เว็บไซต์www.cmnh.org/site/Index.aspx

พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาคลีฟแลนด์ (อังกฤษ: Cleveland Museum of Natural History) เป็นพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาประจำเมืองคลีฟแลนด์ ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1920 และได้ดำเนินการวิจัยและจัดแสดงครอบคลุมในสาขา มานุษยวิทยา, โบราณคดี, ดาราศาสตร์, พฤกษศาสตร์, ธรณีวิทยา, บรรพชีวินวิทยาและ สัตววิทยา และเป็นหนึ่งในสี่พิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่ในบริเวณ University circle อันเป็นศูนย์กลางทางศิลปะและวัฒนธรรมของเมือง ซึ่งในบริเวณนี้มีสถาณที่ตั้งที่สำคัญอื่นอีก อาทิ เช่น มหาวิทยาลัยเคสเวสเทิร์นรีเสิร์ฟ พิพิธภัณฑ์ศิลป์แห่งเมืองคลีฟแลนด์ สถาบันการดนตรีคลีฟแลนด์ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองคลีฟแลนด์ 8 กิโลเมตรทางทิศตะวันออก

พิพิธภัณฑ์จัดแสดงสัตว์ป่าและพันธุ์ไม้ในรัฐโอไฮโอ อาทิเช่น แมวป่าแถบอเมริกาเหนือ (bobcat), นากแม่น้ำ, นกนักล่า ชนิดต่างๆ และยังมีนิทรรศการด้านการท่องเที่ยว, การให้บรรยาย, ร้านอาหาร, ร้านขายของที่ระลึก และ การเปิดหอดูดาวทุกคืนวันพุธให้สาธารณชนเข้าชม

ในปี ค.ศ. 2002 พิพิธภัณฑ์ได้เปิดท้องฟ้าจำลองใหม่ (Fannye Shafran Planetarium) ตั้งอยู่ตรงบริเวณทางเข้า ภายในจัดแสดง หินจากดาวจันทร์ที่นำกลับมาในภาระกิจอะพอลโล 12 นิทรรศการเกี่ยวกับระบบสุริยะจักรวาล, การสำรวจอวกาศ และ เครื่องมือทางดาราศาสตร์ในอดีตและปัจจุบัน อาทิ เช่น เข็มทิศ, นาฬิกาดาว (astrolabe) และ ชิ้นส่วนของยานอวกาศ


ผลงาน[แก้]

บริเวณด้านหน้าของพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาคลีฟแลนด์ ส่วนสร้างจากโลหะเป็นพิพิธภัณฑ์ได้เปิดท้องฟ้าจำลองใหม่ (Fannye Shafran Planetarium)


พิพิธภัณฑ์มีการค้นพบที่สำคัญคือ การขุดค้นพบ ลิงไร้หาง ชนิด Australopithecus afarensis อายุ 3.2 ล้านปี [2] หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ลูซี่ (Lucy) ในปี ค.ศ. 1974 โดยภัณฑารักษ์ โดนัลด์ โจฮันสัน (Donald Johanson) ซึ่งเป็น การขุดค้นพบนี้นับเป็นการขุดค้นพบที่สำคัญมาก เพราะเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงหัวกะโหลกที่มีความจุของเนื้อสมองน้อยเหมือนลิงไม่มีหาง (ape) แต่กลับมี โครงสร้างที่สามารถยืนได้ตรงแบบมนุษย์ ซึ่งเป็นการสนับสนุนแนวความคิดที่ว่ามนุษย์วิวัฒนาการในเรื่องการยื่นสองขาก่อนที่จะวิวัฒนาการขนาดของเนื้อสมอง

นอกจากนี้ยังมีการค้นพบซอโรพอด สายพันธุ์ใหม่ ชนิด Haplocanthosaurus delfsi อายุ 150 ล้านปี หรือที่เรียกกันว่า แฮปปี้ (Happy) ซึ่งเป็นโครงที่สมบรูณ์มากที่สุดชิ้นหนึ่งในโลก ในปี ค.ศ. 1954 ซอโรพอดชนิดนี้ตั้งชื่อตาม นายแพทย์ เอ็ดร์วิน เดลฟส์ (Edwin Delfs) ผู้ค้นพบ ขณะศึกษาชั้นปีที่สามที่มหาวิทยาลัยเยล ร่วมกับเพื่อนอีกสามคน [3]

ในปัจจุบันพิพิธภัณฑ์ยังมีการค้นพบใหม่ๆเรื่อยๆ นักบรรพชีวินวิทยาทางด้านสัตว์มีกระดูกสันหลังพบซากของ Titanicthis ในรัฐโอไฮโอ และ ceratopsian ชนิดใหม่ Albertaceratops nesmoi ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างจัดแสดง

นิทรรศการ [4][แก้]

แบบหล่อของ ลูซี่

พิพิธภัณฑ์มีของจัดแสดงและตัวอย่างทั้งหมดมากกว่า สี่ล้านชิ้น ซึ่งเป็นตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับ มานุษยวิทยา, โบราณคดี, ดาราศาสตร์, พฤกษศาสตร์, ธรณีวิทยา, บรรพชีวินวิทยา, สัตววิทยา, วิทยาแร่ (mineralogy) และ ปักษีวิทยา (ornithology) ในบรรดาของทั้งหมดเก้าล้านกว่าชิ้นนั้น มีชิ้นที่มีความสำคัญดังต่อไปนี้

  • ฟอสซิลของปลาจากยุคดีโวเนียนตอนปลาย (Late Devonian) ที่พบในชั้นหินดินดานเขตคลีฟแลนด์ จำนวนมาก รวมทั้งโครงกระดูก ปลาดังเคิลออสเตียส ซึ่งถูกตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ เดวิด ดังเคิล (David Dunkle) ภัณฑารักษ์แห่งพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาคลีฟแลนด์
  • ลิงและลิงไร้หางสต๊าฟและโครงกระดูกจำนวนเก้าร้อยกว่าตัว และ โครงกระดูกมนุษย์ สามพันหนึ่งร้อย โครงจากของสะสมของฮามาน - ท็อด
  • โครงกระดูกของ ไทแรนโนซอรัส เร็กซ์ ชนิด Nanotyrannus lancensis
  • ตัวอย่างต้นแบบแรกของ Haplocanthosaurus
  • โครงกระดูกที่ประกอบอย่างสมบรูณ์ของ Coelophysis bauri
  • ร่างสต็ฟของสุนัขลากเลือน บัลโต (Balto) ที่ปรากฏในสื่อวัฒนธรรมร่วมสมัยต่างๆ อย่างเช่น ภาพยนตร์เรื่อง บัลโต ยอดสุนัขนักสู้ [5]
  • การจัดแสดงหินแร่และอัญมณีมีค่าชนิดต่างๆ จากของสะสมของ เจดทรา เวด (Jeptha Wade) รวมทั้งหินจากดวงจันทร์ น้ำหนัก 253 กรัม ที่นำมาบนโลกจากภาระกิจอะพอลโล 12
  • แบบจำลองโครงกระดูกของ ไทรเซอราทอปส์ และ ไทรันนอซอรัส ในช่วงวัยรุ่น ที่รู้จักกันในชื่อ เจน (Jane) [6]
  • ชิ้นส่วนของช้างแมมมอธ
  • แบบหล่อของ ลูซี่
  • โครงกระดูกของ ทีเร็กซ์ (T-rex) [7]

ของสะสมของฮามาน - ท็อด[แก้]

ของสะสมของฮามาน - ท็อด (Hamann-Todd Collection) เป็นของสะสมของ คาร์ล ออสกัส ฮามาน (Carl August Hamann) และต่อมาอยู่ในครอบครองของ ที. วินเกตส์ ท็อด (T. Wingate Todd) หลังจากที่ ฮามาน เป็นคณบดีของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นรีเสิร์ฟ ท็อด มีส่วนอย่างมากในการประกอบโครงกระดูกจำนวนกว่าสามพันโครง ก่อนที่เขาจะเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1938

ของสะสมของฮามาน - ท็อด ประกอบไปด้วยลิงและลิงไร้หางสต๊าฟและโครงกระดูกจำนวนเก้าร้อยกว่าโครง และ โครงกระดูกมนุษย์ สามพันหนึ่งร้อยโครงซึ่งเริ่มประกอบในปี ค.ศ. 1893 ของสะสมชุดนี้เดิมที่เก็บอยู่ใน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นรีเสิร์ฟ ซึ่งบริเวณชั้นล่างของอาคารใหม่ของได้ถูกจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ด้านมานุษยวิทยาและกายวิภาคเปรียบเทียบฮามาน (Hamann Museum of Comparative Anthropology and Anatomy) ต่อมาเนื่องจัดภาระค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาโครงกระดูกเหล่านี้สูงเกินไปของสะสมจึงถูกโอนให้แก่ทางพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาคลีฟแลนด์

สมุดภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "โครงสร้างการบริหารและปฏิบัติการของพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาคลีฟแลนด์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-06. สืบค้นเมื่อ 2011-09-30.
  2. "Mother of man - 3.2 million years ago". BBC Home. สืบค้นเมื่อ 2008-10-10.
  3. "Haplocanthosaurus delfsi". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-10. สืบค้นเมื่อ 2011-09-30.
  4. "นิทรรศการถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-24. สืบค้นเมื่อ 2011-09-30.
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-05. สืบค้นเมื่อ 2011-09-30.
  6. "Meet Jane, Juvenile Tyrannosaur". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-24. สืบค้นเมื่อ 2011-09-30.
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-05. สืบค้นเมื่อ 2011-09-30.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]