พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารี

พิกัด: 7°00′28″N 100°29′49″E / 7.00773°N 100.49704°E / 7.00773; 100.49704
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารี
ด้านหน้าพิพิธภัณฑ์ในปี พ.ศ. 2551
แผนที่
ก่อตั้งพ.ศ. 2551
ที่ตั้งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์7°00′28″N 100°29′49″E / 7.00773°N 100.49704°E / 7.00773; 100.49704
ประเภทพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา
ขนาดผลงาน25,000
จำนวนผู้เยี่ยมชม30,000 - 40,000 คนต่อปี
ผู้อำนวยการจุฑามาส ศตสุข
เว็บไซต์www.nhm.psu.ac.th

พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารี เป็นพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทางภาคใต้ของประเทศไทย เดิมชื่อ พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (พิพิธภัณฑ์ ม.อ.) ภายหลังจากการปรับปรุงใหม่ จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นชื่อปัจจุบัน และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (พระนามในขณะนั้น) เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดอีกครั้งเมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2551 อาคารหลักของพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ทางตะวันตกสุดของคณะวิทยาศาสตร์ อาคารมีทั้งพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการและคอลเลกชัน

พิพิธภัณฑ์ ม.อ. เป็นหน่วยงานที่ได้รับทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัย และมีสถานะเทียบเท่าคณะ อย่างไรก็ตาม ยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบและช่วยเหลือของคณะวิทยาศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ทำงานอย่างใกล้ชิดกับภาควิชาชีววิทยาและ สถานวิจัยความเป็นเลิศความหลากหลายทางชีวภาพแห่งคาบสมุทรไทย (CBIPT) เนื่องจากทั้งสามสถาบันกำลังทำงานด้านการวิจัยและอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ

คอลเลกชันหลักของพิพิธภัณฑ์คือคอลเลกชันทางสัตววิทยา โดยมีเพียงคอลเลกชันทางธรณีวิทยาขนาดเล็กเท่านั้นที่จัดเก็บและจัดแสดง พิพิธภัณฑ์ไม่รวมคอลเลกชันทางพฤกษศาสตร์เนื่องจากจัดเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์พืช คอลเลกชันทางสัตววิทยาประกอบด้วยตัวอย่างสัตว์ 2,500 สายพันธุ์ 25,000 ตัวอย่าง คอลเลกชันที่สำคัญบางส่วน ได้แก่ ปะการัง สัตว์พวกกุ้งกั้งปู แพลงก์ตอน มอลลัสกา (โดยเฉพาะชั้นเซฟาโลพอด) เอไคโนเดอร์มาตา แมลง และสัตว์มีกระดูกสันหลัง มีตัวอย่างประเภทที่สำคัญอยู่หลายชนิด เช่น พญากระรอกบินลาว และ ค้างคาวแวมไพร์แปลงทองอารีย์ (ชนิดของสกุล Eudiscoderma)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]