พายุโซนร้อนกำลังแรงนกเต็น (พ.ศ. 2554)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พายุหมุนนกเตน)
พายุโซนร้อนกำลังแรงนกเต็น (Juaning)
พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ภาพถ่ายดาวเทียมของพายุนกเตนเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 บริเวณประเทศฟิลิปปินส์
ภาพถ่ายดาวเทียมของพายุนกเตนเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 บริเวณประเทศฟิลิปปินส์
ภาพถ่ายดาวเทียมของพายุนกเตนเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 บริเวณประเทศฟิลิปปินส์
ก่อตัว 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
สลายตัว 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
ความเร็วลม
สูงสุด
เฉลี่ยลมใน 10 นาที:
95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.)
เฉลี่ยลมใน 1 นาที:
120 กม./ชม. (75 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด 984 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.06 นิ้วปรอท)
ผู้เสียชีวิต เสียชีวิตมากกว่า 55 คน สูญหาย 26 คน
ความเสียหาย 99 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเงินปี 2011)
พื้นที่ได้รับ
ผลกระทบ
ฟิลิปปินส์ จีน เวียดนาม ลาว ไทย
ส่วนหนึ่งของ
ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2554

พายุโซนร้อนกำลังแรงนกเต็น เป็นพายุหมุนเขตร้อนซึ่งสร้างความเสียหายแก่ตอนเหนือของประเทศฟิลิปปินส์ เป็นพายุลูกที่แปดที่ได้รับการตั้งชื่อและพายุหมุนเขตร้อนกำลังแรงลูกที่สี่ในฤดูไต้ฝุ่นแปซิฟิก 2554 นกเตน ตั้งตามชื่อนกชนิดหนึ่งที่พบในประเทศลาว ขึ้นฝั่งแล้ว 3 ครั้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วมากกว่า 55 คน และสร้างความเสียหายคิดเป็นมูลค่ากว่า 99 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ[1]

ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา[แก้]

แผนที่แสดงเส้นทาง และความรุนแรงของพายุตามมาตราส่วนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน
ความรุนแรงของพายุ
  พายุดีเปรสชันเขตร้อน (≤62 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อน (63–117 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 1 (118–153 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 2 (154–177 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 3 (178–208 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 4 (209–251 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 5 (≥252 กม./ชม.)
  พายุที่ไม่ทราบความเร็วลม
ประเภทของพายุ
■ พายุหมุนกึ่งเขตร้อน
▲ พายุหมุนนอกเขตร้อน / หย่อมความกดอากาศต่ำที่หลงเหลือ / รบกวนของเขตร้อน / ลมมรสุมพายุดีเปรสชั่นเขตร้อน

วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 บริเวณความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้นทางตะวันออกของฟิลิปปินส์[2] ระบบค่อย ๆ เคลื่อนตัวมาทางตะวันตกในอีกหลายวันถัดมา และในวันที่ 24 กรกฎาคม ศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่น (JTWC) เริ่มเฝ้าติดตามสังเกตระบบดังกล่าวซึ่งเป็นพายุดีเปรสชัน[3] วันรุ่งขึ้น สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ยกระดับหย่อมความกดอากาศต่ำดังกล่าวเป็นพายุดีเปรสชัน[4] อีกไม่กี่ชั่วโมงให้หลัง สำนักงานด้านบรรยากาศ ภูมิฟิสิกส์ และดาราศาสตร์ของฟิลิปปินส์ (PAGASA) เริ่มเฝ้าติดตามสังเกตระบบดังกล่าวที่เป็นพายุดีเปรสชัน และตั้งชื่อว่า "Juaning"[5] ระบบดังกล่าวเคลื่อนตัวมาทางตะวันตกอย่างต่อเนื่องและทวีความรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว และเมื่อถึงเที่ยงคืนของวันนั้น JMA ได้ยกระดับระบบดังกล่าวเป็น พายุหมุนเขตร้อน และตั้งชื่อว่า นกเตน[6]

วันที่ 27 กรกฎาคม JMA รายงานว่า นกเตนยังคงทวีความรุนแรงขึ้นและยกระดับความรุนแรงอีกครั้งเป็นพายุหมุนเขตร้อนกำลังแรง [7]อีกไม่กี่ชั่วโมงถัดมา JTWC รายงานว่า นกเตนทวีความรุนแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 1 อย่างรวดเร็ว และเริ่มขึ้นฝั่งทางตอนเหนือของฟิลิปปินส์และค่อยอ่อนกำลังลง[8] ในวันเดียวกัน JMA รายงานว่า นกเตนพัดออกจากเกาะลูซอนแต่ยังคงมีความรุนแรงเป็นพายุหมุนเขตร้อนกำลังแรงอยู่[9] อย่างไรก็ตาม ชั่วข้ามคืน พายุกลับอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็วและ JMA ลดระดับพายุลงเหลือพายุหมุนเขตร้อนกำลังเบาในวันรุ่งขึ้น[10]

วันที่ 29 กรกฎาคม พายุกลับค่อย ๆ ทวีความรุนแรงขึ้นอีกครั้งและมุ่งหน้าเข้าสู่ชายฝั่งทางใต้ของจีน และขึ้นฝั่งที่ฉงไห่[11] วันเดียวกัน พายุทวีความรุนแรงขึ้นขณะพัดอยู่เหนือพื้นดินและมุ่งหน้าขึ้นเหนือไปยังไหโข่ว เมืองหลวงของมณฑลไหหนาน[12] พายุดังกล่าวอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็ว และเที่ยงคืนวันนั้น JMA ซึ่งออกประกาศเตือนครั้งสุดท้ายเกี่ยวกับระบบ ลดความรุนแรงลงเหลือหย่อมความกดอากาศต่ำ[13]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Philippine storm toll hits 52 as more go missing". MCIL Multimedia Sdn Bhd. สืบค้นเมื่อ 31 July 2011.
  2. "NWS Guam – Tropical Weather Advisory 1 for Pre-Tropical storm Nock-ten". National Oceanic and Atmospheric Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-23. สืบค้นเมื่อ 27 July 2011.
  3. "JTWC – Tropical Depression 10W – Warning 001". Joint Typhoon Warning Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-11. สืบค้นเมื่อ 27 July 2011.
  4. "JMA Tropical Cyclone Advisory 250000". Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-18. สืบค้นเมื่อ 27 July 2011.
  5. "PAGASA – Severe Weather Bulletin Number ONE". Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-17. สืบค้นเมื่อ 27 July 2011.
  6. "JMA Tropical Cyclone Advisory – 260000". Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-26. สืบค้นเมื่อ 27 July 2011.
  7. "JMA Tropical Cyclone Advisory – 270600". Japan Meteorological Agency. สืบค้นเมื่อ 27 July 2011.[ลิงก์เสีย]
  8. "JTWC – Typhoon 10W – Warning 11". Joint Typhoon Warning Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-14. สืบค้นเมื่อ 27 July 2011.
  9. "JMA Tropical Cyclone Advisory – 271200". Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-14. สืบค้นเมื่อ 27 July 2011.
  10. "JMA Tropical Cyclone Advisory – 280600". Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-14. สืบค้นเมื่อ 28 July 2011.
  11. "JMA – Tropical Storm Advisory 290900 – Tropical Storm Nock-ten". Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-14. สืบค้นเมื่อ 29 July 2011.
  12. "JMA Tropical Cyclone Advisory 291200 – Tropical Storm nock-ten". Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-19. สืบค้นเมื่อ 29 July 2011.
  13. "JMA – Tropical Cyclone Advisory 310000 – Post-Tropical Storm Nock-ten". Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-14. สืบค้นเมื่อ 31 July 2011.