พันธมิตรทางการทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สนธิสัญญาพันธมิตรทางการทหารระหว่างฝรั่งเศส-โปแลนด์ มักจะหมายถึง พันธมิตรทางการทหารระหว่างสาธารณรัฐโปแลนด์ที่สองกับฝรั่งเศส ซึ่งมีผลอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1921 - ค.ศ. 1940

เบื้องหลัง[แก้]

ระหว่างการแข่งขันระหว่างฝรั่งเศส-ฮับสบูรก์ ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ฝรั่งเศสพยายามที่จะหาพันธมิตรทางตะวันออกของออสเตรีย ซึ่งก็คือ โปแลนด์ และยังมีการกล่าวว่า Jan III Sobieski แห่งโปแลนด์เองก็ทรงมีความตั้งใจที่จะเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศสเพื่อต่อต้านออสเตรียเช่นเดียวกัน แต่ภัยคุกคามจากจักรวรรดิออตโตมัน ทำให้พระองค์ต้องสู้เพื่อชาวคริสเตียน และนำไปสู่ยุทธการเวียนนา ในปี ค.ศ. 1795 รัฐโปแลนด์สิ้นสุดสถานภาพความเป็นรัฐ เนื่องจากถูกฉีกออกโดยรัสเซีย ปรัสเซีย และออสเตรีย แต่จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ได้สร้างรัฐโปแลนด์ขึ้นใหม่ในอาณาจักรแกรนด์ดยุคแห่งวอร์ซอ ด้วยการเกิดของจักรวรรดิเยอรมัน ทำให้ทั้งฝรั่งเศสและโปแลนด์พบว่าตนต่างก็มีศัตรูร่วมกัน

ช่วงเวลาระหว่างสงครามโลกทั้งสองครั้ง[แก้]

ระหว่างช่วงเวลาระหว่างสงครามโลก เป็นช่วงเวลาที่สำคัญสำหรับนโยบายด้านการต่างประเทศสำหรับฝรั่งเศส ในตอนปลายของยุคดังกล่าว การจัดตั้งพันธมิตรฝรั่งเศส-อังกฤษได้กลายมาเป็นพื้นฐานของการก่อตั้งฝ่ายสัมพันธมิตร และระหว่างสงครามโปแลนด์-โซเวียต ฝรั่งเศสได้กลายมาเป็นผู้ให้การสนับสนุนโปแลนด์รายสำคัญ และส่งคณะทูตทหารฝรั่งเศสไปประจำในโปแลนด์เพื่อให้การสนับสนุนกองทัพโปแลนด์

สนธิสัญญาดังกล่าวได้รับการพิจารณาโดยประมุขแห่งรัฐของโปแลนด์ Józef Piłsudski และประธานาธิบดีแห่งฝรั่งเศส Alexandre Millerand ในตอนต้นเดือนกุมภาพันธ์ ในกรุงปารีส และได้ลงนามเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1921 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของโปแลนด์ Count Eustachy Sapieha และในฉบับเทียบเป็นภาษาฝรั่งเศสโดย อะริสตีด บรียองด์ จากเบื้องหลังของการเจรจาซึ่งยุติสงครามโปแลนด์-โซเวียต (สนธิสัญญาริกา) ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการคาดการณ์นโยบายด้านการต่างประเทศโดยทั่วไป การส่งเสริมการติดต่อทางเศรษฐกิจระหว่างทั้งสองประเทศ และได้ข้อสรุปของสนธิสัญญาใหม่ในความกังวลถึงภูมิภาคยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก และรวมไปถึง การให้ความช่วยเหลือในกรณีที่ประเทศใดประเทศหนึ่งในคู่กรณีถูกรุกรานจากภายนอกด้วย สนธิสัญญาดังกล่าวมีการแก้ไขเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1921 โดยการเพิ่มเติมอนุสัญญาลับทางทหาร ซึ่งกล่าวว่าพันธมิตรดังกล่าวจะมุ่งเป้าหมายเพื่อรับมือกับภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นได้จากทั้งเยอรมนีและสหภาพโซเวียต

พันธมิตรดังกล่าวยังได้มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นโดยข้อตกลงรับประกันระหว่างฝรั่งเศส-โปแลนด์ ซึ่งได้ลงนามเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 1925 ในเมืองโลคาร์โน และเป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญาโลคาร์โน โดยสนธิสัญญาฉบับใหม่นั้นเป็นการเข้าชื่อเป็นสมาชิกของข้อตกลงโปแลนด์-ฝรั่งเศสทั้งหมดที่ผ่านมาเข้าสู่ระบบสนธิสัญญาสองฝ่ายแห่งสันนิบาติชาติ

พันธมิตรดังกล่าวมีความเกี่ยวพันใกล้ชิดกับพันธมิตรฝรั่งเศส-เช็ค โดยการแสดงความเป็นพันธมิตรของฝรั่งเศสที่มือต่อโปแลนด์และเชโกสโลวาเกียล้วนแล้วแต่มีจุดมุ่งหมายเพื่อกีดขวางการใช้กำลังของเยอรมนีในการบรรลุข้อตกลงภายหลังสงคราม หรือเป็นการทำให้แน่ใจว่ากองกทัพเยอรมันจะต้องเผชิญหน้ากับกำลังผสมของประเทศเพื่อนบ้าน ถึงแม้ว่าเชโกสโลวาเกียจะมีความสำคัญทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม และโปแลนด์มีกองทัพบกที่เข้มแข็ง แต่ไตรภาคีระหว่างฝรั่งเศส-โปแลนด์-เชโกสโลวาเกียจะไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างสมบูรณ์

นโยบายด้านการต่างประเทศของเชโกสโลวาเกียภายใต้ Edvard Beneš ไม่กล้าที่จะลงนามเป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการกับโปแลนด์ เนื่องจากจะเป็นการบังคับให้เชโกสโลวาเกียต้องเลือกข้างในข้อพิพาทพรมแดนระหว่างเยอรมนี-โปแลนด์ อิทธิพลของเชโกสโลวาเกียในสายตาของพันธมิตรของตนเองก็ลดต่ำลง เนื่องจากข้อสงสัยในประสิทธิภาพของกองทัพ

ส่วนอิทธิพลของโปแลนด์ก็ถูกลดทอนลงจากความขัดแย้งระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและฝ่ายต่อต้าน Józef Piłsudski

ฝรั่งเศสให้ความร่วมมืออย่างไม่เต็มใจในการลงทุนทางด้านอุตสาหกรรม การกระชับความสัมพันธ์ทางการค้า และการแบ่งปันผู้เชี่ยวชาญทางทหารร่วมกับประเทศพันธมิตร ซึ่งได้เป็นการทำให้พันธมิตรยิ่งมีความอ่อนแอลงอีก

ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 พันธมิตรฝรั่งเศส-โปแลนด์มักจะไม่มีการดำเนินการอะไรและมีผลเพียงแค่การส่งทูตทหารฝรั่งเศสมายังโปแลนด์เท่านั้น ซึ่งได้ทำงานร่วมกับคณะทหารชั้นนายพลของโปแลนด์นับตั้งแต่สงครามโปแลนด์-โซเวียต ระหว่างปี ค.ศ. 1919-1920 อย่างไรก็ตาม เนื่องจากภัยจากนาซีเยอรมนีได้ปรากฏเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาแล้ว ในช่วงปลายทศวรรษ ทั้งสองประเทศจึงได้เริ่มที่จะร่างสนธิสัญญาฉบับใหม่ ซึ่งจะครอบคลุมนอกเหนือจากเอกราชของประเทศคู่เจรจาแล้ว ยังรวมไปถึงการรับประกันความร่วมมือทางการทหารในกรณีที่เกิดสงครามกับเยอรมนีด้วย

ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง[แก้]

ในที่สุดแล้ว สนธิสัญญาพันธมิตรฉบับใหม่ได้รับการลงนามในปี ค.ศ. 1939 ซึ่งเรียกว่าสัญญา Kasprzycki-Gamelin เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ซึ่งมีผลผูกพันให้ทั้งสองประเทศให้ความช่วยเหลือทางการทหารระหว่างกันในกรณีที่เกิดสงครามกับนาซีเยอรมนี ในเดือนพฤษภาคม กาเมอแล็งได้ให้สัญญาถึง "การรุกเพื่อปลดปล่อยอย่างอาจหาญ" ภายในสามสัปดาห์หลังจากการโจมตีของเยอรมนีเริ่มต้นขึ้น หลังจากการเจรจาระหว่างกองเสนาธิการและการพิจารณาร่วมกันระหว่างผู้บังคับบัญชาทั้งสองกองทัพแล้ว ได้ข้อสรุปออกมาเป็นสนธิสัญญา และได้ยกระดับขึ้นเป็นสัญญาทางการเมือง ลงนามในกรุงปารีส เมื่อวันที่ 4 กันยายน ค.ศ. 1939

ถึงแม้ว่าข้อผูกพันต่าง ๆ ตามที่ได้ลงนามในสนธิสัญญาหลายฉบับก็ตาม พันธมิตรดังกล่าวไม่ได้รับการปฏิบัติตามโดยฝรั่งเศส ซึ่งได้ให้เพียงการช่วยเหลือเพียงเล็กน้อยระหว่างการรุกรานโปแลนด์ โดยการรุกซาร์ลันท์เท่านั้น ซึ่งนี่ได้กลายมาเป็นตัวอย่างของการทรยศโดยชาติตะวันตก อย่างไรก็ตาม ในทางการเมืองแล้ว กองทัพโปแลนด์ได้จัดตั้งขึ้นใหม่ในฝรั่งเศส ปีเดียวกันนั้นเอง

อ้างอิง[แก้]

  • Andrzej Ajnenkiel, Polsko-francuski sojusz wojskowy. Akademia Obrony Narodowej, Warsaw, 2000.
  • Piotr Stefan Wandycz, The twilight of French eastern alliances. 1926-1936. French-Czecho-Slovak-Polish relations from Locarno to the remilitarization of the Rheinland., Princeton University Press, 1988 (republished in 2001). ISBN 1-59740-055-6