พอร์โค รอสโซ สลัดอากาศประจัญบาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พอร์โค รอสโซ)
พอร์โค รอสโซ สลัดอากาศประจัญบาน
กำกับฮายาโอะ มิยาซากิ
เขียนบทฮายาโอะ มิยาซากิ
อำนวยการสร้างโทชิโอ ซุซุกิ
นักแสดงนำชูอิจิโร โมริยามะ
โทกิโกะ คาโต
อาเกมิ โอกามุระ
กำกับภาพอัตซึชิ โอกุอิ
ตัดต่อทาเคชิ เซยามะ
ดนตรีประกอบโจ ฮิซาชิ
วันฉายญี่ปุ่น 18 กรกฎาคม 2535
ความยาว94 นาที
ประเทศญี่ปุ่น
ภาษาภาษาญี่ปุ่น
ข้อมูลจาก All Movie Guide
ข้อมูลจาก IMDb

พอร์โค รอสโซ สลัดอากาศประจัญบาน หรือ หมูสีแดง

(ญี่ปุ่น: 紅の豚โรมาจิKurenai no buta; อิตาลี: Porco Rosso) เป็นภาพยนตร์การ์ตูนญี่ปุ่นของสตูดิโอจิบลิ เขียนบทและกำกับโดยฮายาโอะ มิยาซากิ ออกฉายเมื่อปี ค.ศ. 1992 ในบรรดาภาพยนตร์แอนิเมชันของ มิยาซากิ ฮายาโอะ ทั้งหมด ผลงานเรื่องนี้ถือได้ว่าเป็นภาพยนตร์ที่เป็น "ส่วนตัว" ที่สุด หากจะนิยามหนังเรื่องนี้อย่างสั้นที่สุดเราอาจจะนิยามได้ว่า "เด็กผู้หญิง หมู และเครื่องบินประหลาด" ซึ่งทั้งหมดคือสิ่งที่ตัวผู้กำกับชื่นชอบอยู่เป็นการส่วนตัว[ต้องการอ้างอิง] แต่นั่นไม่ได้ทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้แตกต่างไปจากหนังเรื่องอื่นๆ ของมิยาซากิเท่ากับอารมณ์ของภาพยนตร์ที่ค่อนข้าง "เป็นผู้ใหญ่" และสะท้อนถึงสายตาที่มองโลกในแง่ร้ายอยู่ในที ซึ่งสิ่งเหล่านี้มักปรากฏอยู่อย่างซ่อนเร้นในหนังเรื่องอื่นของมิยาซากิ

ที่มา[แก้]

เรื่องราวของ พอร์โค รอสโซ ปรากฏเป็นครั้งแรกในมังกะความยาวประมาณ 16 หน้า เรื่อง "The Age of Seaplanes" ซึ่งอยู่ในชุด Miyazaki's Daydream Data Note ที่มิยาซากิเขียนลงตีพิมพ์เป็นตอนๆในนิตยสาร Model Graphix อย่างไรก็ตามเราจะพบความแตกต่างระหว่างตัวมังกะต้นฉบับ กับ ภาพยนตร์แอนิเมชันอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ของเรื่อง ความซับซ้อนในตัวละคร และ ข้อสรุปของเรื่องราว

ในมังกะจะแบ่งเรื่องราวเป็น 3 ตอน ตอนแรก กล่าวถึงตอนที่ พอร์โค นักบินล่าเงินรางวัลได้ไปช่วยเด็กผู้หญิงคนหนึ่งไว้จากการถูกโจรสลัดเครื่องบินน้ำจับไปเป็นตัวประกัน ซึ่งครอบคลุมเนื้อหาช่วงแรกของหนังเอาไว้ ตอนที่สอง เป็นเรื่องราวของการดวลกันระหว่างพอร์โคกับคู่ปรับเก่าซึ่ง พอร์โคเป็นฝ่ายแพ้และต้องหลบนำเรือบินของตนไปซ่อม เนื้อหาส่วนนี้ครอบคลุมช่วงกลางของหนังเอาไว้ ขณะที่ ตอนสุดท้าย เป็นการดวลกันอีกครั้งที่ พอร์โคสามารถเอาชนะคู่ปรับได้ด้วยการลงมาชกหมัดต่อหมัดกันในน้ำและชนะใจเด็กผู้หญิงคนนั้นไปในที่สุด เนื้อหาของมังกะส่วนสุดท้ายจะครอบคลุมช่วงสุดท้ายของหนัง

เกี่ยวกับภาพยนตร์[แก้]

ครั้งแรกนั้น ภาพยนตร์เรื่องนี้วางให้เป็นภาพยนตร์สั้นบนเครื่องบินสำหรับ เจแปนแอร์ไลน์ โดยใช้บทจากมังกะของฮายาโอะ มิยาซากิ เรื่อง The Age of the Flying Boat แต่กลับกลายมาเป็นภาพยนตร์ขนาดยาว การระเบิดขึ้นของสงครามยูโกสลาเวียทอดเงาเหนือโปรดักชั่นและกระตุ้นให้โทนของหนังดูซีเรียสขึ้น ซึ่งแต่เดิมนั้นวางไว้ให้เป็นเหตุการณ์ในโครเอเชีย เจแปนแอร์ไลน์ยังคงเป็นหาจัดหาทุนรายใหญ่ให้กับภาพยนตร์

ภาพยนตร์เรื่องนี้แสดงให้เห็นถึง ความสนใจอย่างเกือบบ้าคลั่งของสตูดิโอจิบลิเป็นพิเศษ เมื่อพิจารณาถึงแอนิเมชันและเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของอิตาลี (แม้ว่าจะสะกดคำอิตาเลียนบางคำผิดในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของเมืองมิลานก็ตาม)

เราคงสามารถคาดเดากันได้ว่า ชื่อบริษัทการบิน ปิกโกโล "Piccolo" ที่อยู่ในเรื่องนั้น มีที่มาจาก กาโปรนี (Caproni) ชื่อบริษัทผู้ผลิตเครื่องบินของ)ิตาลี เครื่องบินเจ็ตที่นักบิน ฟิโอ ขับให้ฉากสุดท้ายมีความคล้ายคลึงกันมากับ Caproni C22-J รุ่นล่าสุด ซึ่งเป็นเครื่องบินที่ออกแบบโดย การ์โล เฟอร์ราริน (Carlo Ferrarin) นักออกแบบของการ์โปนี ชื่อของเขาเคยใช้ในภาพยนตร์ เป็นเพื่อนนักบินของมาร์โค)นอกจากนี้ เครื่องบินลาดตระเวนชนิดเบา Ca309 ยังเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ "จิบลิ" ชื่อเดียวกับชื่อสตูดิโอของมิยาซากิและทาคาฮาตะ

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]