พหุนามกำลังสอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ในทางคณิตศาสตร์ พหุนามกำลังสอง คือพหุนามที่มีดีกรีเท่ากับ 2 นั่นคือ เลขชี้กำลังของตัวแปรทุกตัวมีค่าไม่เกิน 2 เช่น x2 − 4x + 7 เป็นพหุนามกำลังสอง แต่ x3 − 4x + 7 ไม่เป็นพหุนามกำลังสอง

สัมประสิทธิ์[แก้]

สัมประสิทธิ์ของพหุนามกำลังสองมักเป็นจำนวนจริง หรือจำนวนเชิงซ้อน แต่ในความเป็นจริงแล้วพหุนามสามารถนิยามบนริงใด ๆ ได้

ตัวแปร[แก้]

พหุนามกำลังสองอาจมีตัวแปรเพียงตัวแปรเดียว หรือหลายตัวแปรก็ได้

พหุนามกำลังสองตัวแปรเดียว[แก้]

พหุนามกำลังสองตัวแปรเดียวใด ๆ สามารถเขียนในรูป

เมื่อ x เป็นตัวแปร และ a, b, c เป็นสัมประสิทธิ์

พหุนามกำลังสองสองตัวแปร[แก้]

พหุนามกำลังสองสองตัวแปรใด ๆ สามารถเขียนได้ในรูป

โดยที่ x และ y เป็นตัวแปร และ a , b , c , d , e , f เป็นสัมประสิทธิ์ พหุนามกำลังสองสองตัวแปรเป็นรากฐานของการศึกษาภาคตัดกรวย

อ้างอิง[แก้]