ดอกไม้ไฟ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พลุ)
พลุแสดงแสงสีต่าง ๆ ในท้องฟ้า

ดอกไม้ไฟ หรือเรียกกันทั่วไปว่า พลุ เป็นอุปกรณ์ในหมวดหมู่วัตถุระเบิดชนิดหนึ่ง ลักษณะของพลุประกอบด้วย เสียง แสง ควัน และเถ้า พลุถูกออกแบบให้เผาไหม้และจุดระเบิดที่แสงสีต่าง ๆ พลุถูกใช้ในเกือบทุกประเทศทั่วโลก

เชื่อกันว่าชาวจีนเป็นผู้ค้นคิดพลุและดอกไม้ไฟก่อนชาติอื่น ๆ (อันเป็นผลสืบเนื่องจากการประดิษฐ์คิดค้นดินปืนของชาติจีนนั่นเอง) เพื่อใช้ในงานรื่นเริง เช่น วันตรุษจีน หรือวันสารทจีน และยังนิยมใช้สืบมาจนปัจจุบัน

การใช้งาน[แก้]

พลุเป็นอุปกรณ์ที่มีการใช้งานกว้างขวาง โดยทั่วไปพลุจะใช้ในงานแสดง งานบันเทิง และในงานรื่นเริงทั้งในด้านวัฒนธรรมและทางศาสนา และเราพบเห็นการแสดงพลุได้บ่อยที่สุดในเทศกาลวันขึ้นปีใหม่ของทุกปี

นอกจากนี้ยังมีการใช้พลุเป็นยุทโธปกรณ์ เป็นพลุส่องสว่าง สำหรับนำทาง หรือบอกตำแหน่งในการรบ หรือการลำเลียงทางการทหาร

วัตถุดิบในการทำดอกไม้ไฟหรือพลุ[แก้]

สารเคมีแต่ละตัวก็สามารถเข้ากันได้ บางอย่างก็เข้ากันไม่ได้ หมายความว่าถ้าเข้ากันแล้วอาจจะทำให้เกิดอันตรายหรือกระทบกระเทือนก็สามารถทำให้ระเบิดได้ บางอย่างเข้ากันไว้เมื่อนำไปเก็บไว้อาจจะทำปฏิกิริยาต่อกันสามารถลุกติดไฟขึ้นมาได้เองซึ่งเป็นอันตรายมากหากเก็บไว้ไม่เป็นที่เป็นทางแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ได้หมายความว่ามันจะติดได้เองเสมอไปแต่มันอาจจะติดหรือไม่ติดก็ได้ข้อนี้เราก็ต้องระวังไว้ก่อน

ส่วนประกอบของพลุ ประกอบด้วย 5 ส่วนหลักๆ ได้แก่ [1]

1) ภาชนะบรรจุ

2) Star เม็ดสี เกิดปฏิกิริยาเคมีหลังการระเบิด ได้เป็นสีสันสวยงามต่างๆ

3) Burst charge เชื้อปะทุ ประกอบด้วยดินปืนอย่างหยาบอัดแน่นอยู่ภายใน ส่วนใหญ่เป็นโพแทสเซียมไนเตรต 75% รวมกับถ่านกัมมันต์ 15% และกำมะถัน 10% แต่ในปัจจุบันอาจใช้สารเคมีชนิดอื่นร่วมด้วย

4) Fuse ชนวนถ่วงเวลา เป็นส่วนแรกที่เกิดการเผาไหม้หลัก ช่วยหน่วงเวลาให้ดอกไม้ไฟระเบิดในความสูงที่ต้องการ

5) Lift charge ส่วนฐานของดอกไม้ไฟ เป็นแท่งไม้หรือแท่งพลาสติกยื่นมาด้านล่าง ช่วยให้ดอกไม้ไฟพุ่งขึ้นในทิศทางตรง

พลุเป็นที่นิยมกันมากปัจจุบันนี้ก็ยังนิยมกันตามชานเมืองหรือชนบท งานที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางได้แก่งานศพ (หมายถึงพลุดัง) พลุดังหรือ พลุปลง หมายถึงพลุที่มีเสียงดังมากมักจุดกันเวลาเผาศพประมาณบ่าย 4 โมง เพื่อเป็นอาณัติสัญญาณว่าได้เผาร่างอันไร้วิญญาณของบุคคลที่ล่วงลับไปแล้ว ผู้ที่ได้ยินก็จะเกิดการปลงว่าโลกนี้ล้วนเป็นอนิจจังอีกไม่นานก็อาจรวมถึงตัวเรา และอโหสิกรรมให้แก่ผู้ล่วงลับ

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

[1]

  1. 1.0 1.1 พรรณพร กะตะจิตต์. (2561, 16 กุมภาพันธ์). ข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับดอกไม้ไฟ. คลังความรู้ SciMath. https://www.scimath.org/article-chemistry/item/7748-2017-12-04-06-17-46