พร้อมสิน สีบุญเรือง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พันคำ
พันคำ แสดงภาพยนตร์คู่กับ วิไลวรรณ วัฒนพานิช
พันคำ แสดงภาพยนตร์คู่กับ วิไลวรรณ วัฒนพานิช
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด30 เมษายน พ.ศ. 2465
พร้อมสิน สีบุญเรือง
เสียชีวิต12 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 (70 ปี)
โรงพยาบาลเปาโล เมโมเรียล
คู่สมรสวิไลวรรณ วัฒนพานิช
ดาวน้อย สีบุญเรือง
อาชีพนักแสดง นักพากย์ ผู้กำกับ ผู้สร้างภาพยนตร์
พระสุรัสวดีลำดับภาพยอดเยี่ยม

พ.ศ. 2501 - เกล็ดแก้ว
นักพากย์ยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2502 - วนาลี

พ.ศ. 2505 - สายเลือด-สายรัก

พร้อมสิน สีบุญเรือง หรือ พันคำ (30 เมษายน พ.ศ. 2465 - 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2535) นักแสดง นักพากย์ภาพยนตร์ นักแปลบทพากย์ภาพยนตร์ต่างประเทศ นายกสมาคมผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ไทย[1] ผู้กำกับและผู้สร้างภาพยนตร์ ฉายา "สุภาพบุรุษศิลปิน"

ประวัติ[แก้]

พันคำ เป็นบุตรคนโตของสิน สีบุญเรือง (ทิดเขียว) กับสาคร สีบุญเรือง มีน้องชาย 1 คน และพี่น้องต่างมารดาอีกหลายคน คุณพ่อเป็นผู้จัดการโรงหนังแคปปิตอล ผู้อำนวยการโรงหนังพัฒนาการ อีกทั้งยังเป็นผู้กำกับละครและนักเขียนบทสักวาชื่อดัง และที่สำคัญยังเป็นผู้ริเริ่มให้มีการพากย์ภาพยนตร์ต่างประเทศเป็นคนแรก (ในสมัยนั้นภาพยนตร์ที่มาฉายเป็นหนังเงียบ ไม่มีเสียง) โดยใช้ชื่อพากย์ว่า “ทิดเขียว” นับว่าทิดเขียวเป็นบรมครูผู้ให้กำเนิดการพากย์ภาพยนตร์ในเมืองไทย

เริ่มเรียนหนังสือที่โรงเรียนแถวบ้านและแถวเสาชิงช้า จนถึงชั้นมัธยมมาเรียนที่โรงเรียนเทพศิรินทราวาส พร้อมสินเป็นเด็กสุภาพ พูดจาเพราะ อารมณ์เย็น ไม่เคยโกรธหรือเกลียดใคร ยิ้มลูกเดียว จึงเป็นที่รักของเพื่อนฝูง

แต่เดิมพร้อมสินตั้งใจจะเป็นนายแพทย์หรือนายเรือ ไม่เคยสนใจจะเป็นศิลปินตามรอยพ่อ เพราะเห็นแล้วว่างานที่พ่อทำหนักและตรากตรำอดหลับอดนอนมาก แต่ความที่สงสารพ่อ จึงพยายามเรียนรู้การเขียนบทพากย์ เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระ

ภาพยนตร์เรื่องแรกที่เขียนบทพากย์คือ The Garden of Allah ปรากฏว่าผลงานการเขียนบทพากย์ที่ทำประสบความสำเร็จ เป็นที่ชื่นชอบของผู้ชม จึงยึดทำเป็นอาชีพตั้งแต่นั้นมา และใช้นามแฝงว่า “พันคำ” นอกจากนั้นพร้อมสินยังพากย์ภาพยนตร์ ภายหลังยังเขียนเพลงให้วงดนตรีดุริยโยธินอีกด้วย

ต่อมาได้รวบรวมเพื่อนมาสร้างภาพยนตร์ ภาพยนตร์เรื่องแรกที่สร้างคือ เรือนรักเก่า (2485) พร้อมทั้งได้คุณพ่อ คือ ทิดเขียว นักพากย์ชื่อดังมาพากย์ภาพยนตร์ให้ หลังจากนั้นไม่นานได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังสงครามโลกสงบ พันคำไปร่วมงานละครเวทีกับนายแม่น้อมจิต อรรถไกวัลวที ตั้งคณะละครเวที “เทพศิลป์” ซึ่งพันคำทั้งเขียนบทและแสดงเป็นพระเอกด้วย ละครเวทีเรื่องแรกคือ น้ำเพียงดิน[2]

เมื่อละครเวทีเสื่อมความนิยมลง พันคำก็หันมาแสดงภาพยนตร์ ภาพยนตร์เรื่องแรก คือ สามหัวใจ (2497) คู่กับวิไลวรรณ วัฒนพานิช ต่อมายุคหนังไทย 16 ม.ม. นอกเหนือจากการแสดง พันคำยังผันตัวมาเป็นผู้สร้างและผู้กำกับชื่อดังที่สร้างเอง ใช้ชื่อ พันคำภาพยนตร์ ผลงานกำกับเช่น สมิงบ้านไร่ (2507), ลมหนาว (2509), โนรี (2510), นางกวัก (2512), เจ้าหญิง (2512),ทับสะแก (2512), ปีศาจเสน่หา (2512), ชาติทองแดง (2513) และมาโด่งดังมากในปี 2515 กับ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ และหลังจากนั้นก็ประสบความสำเร็จมาเกือบทุกเรื่อง เช่น แรงรัก, ทิวาหวาม, คุรครูคนใหม่, สวัสดีคุณครู, โอ้ลูกรัก ฯลฯ

เคยได้รับรางวัลตุ๊กตาทอง 3 ตัว สาขาลำดับภาพยอดเยี่ยมจาก เกล็ดแก้ว (2501) และสาขาพากย์ยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์ วนาลี (2502) และจากภาพยนตร์ สายเลือดสายรัก (2505)

ในด้านชีวิตครอบครัว พันคำแต่งงานครั้งแรกกับ วิไลวรรณ วัฒนพานิช ภายหลังหย่าร้างกัน ต่อมาใช้ชีวิตคู่กับ ดาวน้อย สีบุญเรือง ทั้งสองพบรักกันประมาณปี 2503 มีบุตร 3 คน และร่วมกันก่อตั้งบริษัทสร้างภาพยนตร์ คือ สีบุญเรืองฟิล์ม โดยพันคำทำหน้าที่สร้าง กำกับ และสร้างบท ส่วนดาวน้อยทำหน้าที่ดูแลเรื่องธุรกิจทั้งหมด รวมทั้งจัดการเรื่องเงินทอง[3] ภายหลังเริ่มหันมาผลิตละครโทรทัศน์แทนภาพยนตร์ ในชื่อบริษัทสีบุญเรืองสยามสตูดิโอ ฉายทางช่อง 9 และ ช่อง 5 เป็นหลัก

ในยุคของสีบุญเรือง ทั้งสองเป็นผู้สร้างนักแสดงเข้าสู่วงการและเป็นผู้ปลุกปั้นนักแสดงจำนวนมาก อาทิ ยิ่งใหญ๋ อายะนันท์, สมบูรณ์ สุขีนัย, อัญญารัตน์ สุทัศน์[3], สุเชาว์ พงษ์วิไล, นัฐ ไชยยงค์, กาญจนา บุญประเสริฐ, ภิญโญ ปานนุ้ย, สาวิตรี สามิภักดิ์, ภัทรา ทิวานนท์, หทัยรัตน์ อมตวณิชย์, เอกพันธ์ บรรลือฤทธิ์, พร้อมพงศ์ นพฤทธิ์, นิสา วงศ์วัฒน์ ซึ่งที่โด่งดังมากที่สุด คือ จารุณี สุขสวัสดิ์

พันคำ ถึงแก่กรรมด้วยโรคมะเร็งเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2535 สิริอายุ 70 ปี

ผลงาน[แก้]

กำกับภาพยนตร์[แก้]

  • 2501: เกล็ดแก้ว
  • 2506: คมพยาบาท
  • 2507: พรายดำ
  • 2508: ใจฟ้า
  • 2508: บัวน้อย
  • 2508: นกขมิ้น
  • 2509: ลมหนาว
  • 2509: ชาติกระทิง
  • 2509: ในม่านเมฆ
  • 2510: โนรี
  • 2510: ใกล้รุ่ง
  • 2510: 9 เสือ
  • 2510: ฟ้าเพียงดิน
  • 2511: สมิงดง
  • 2511: แสนพยศ
  • 2512: รัก-ยม
  • 2512: นางกวัก
  • 2512: เจ้าหญิง
  • 2512: ทับสะแก
  • 2512: ปีศาจเสน่หา
  • 2513: ชาติทองแดง
  • 2514: คีรีบูน
  • 2515: พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ
  • 2516: แรงรัก
  • 2516: จ้าวทุ่ง
  • 2516: จินตะหรา
  • 2517: คุณครูที่รัก
  • 2517: อาถรรพ์สวาท
  • 2517: นิทราสายัณห์
  • 2517: ทิวาหวาม
  • 2518: ฟ้าเปลี่ยนสี
  • 2518: คุณครูคนใหม่
  • 2518: สร้อยสวาท
  • 2518: มาหยารัศมี
  • 2519: โอ้ลูกรัก
  • 2520: กิเลสคน
  • 2520: สวัสดีคุณครู
  • 2521: ครูขาหนูเหงา
  • 2521: รักแล้วรอหน่อย
  • 2521: คนมีคาว
  • 2522: สุดห้ามใจรัก
  • 2523: นายอำเภอคนใหม่
  • 2523: พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ
  • 2524: สาวน้อย
  • 2524: แก้วตาพี่
  • 2524: ไอ้แก่น
  • 2525: แรงรัก
  • 2525: สวัสดีไม้เรียว
  • 2526: เจ้าสาวเงินล้าน
  • 2526: เลขาคนใหม่
  • 2526: กำนันสาว
  • 2527: รักสุดหัวใจ
  • 2527: เลดี้ฝรั่งดอง
  • 2528: มาธาดอร์จอมเพี้ยน
  • 2528: วัยเรียนเพี้ยนรัก
  • 2529: วันนี้ยังมีรัก
  • 2535: ครูจันทร์แรม

แสดงภาพยนตร์[แก้]

  • 2501: เสือเฒ่า
  • 2502: ชาติสมิง
  • 2502: วนาลี
  • 2502: รอยเสือ
  • 2504: อีก้อย
  • 2505: ปืนเดี่ยว
  • 2505: ม่านน้ำตา
  • 2505: สิงห์เมืองชล
  • 2506: คมพยาบาท
  • 2507: ละอองดาว
  • 2507: ชายชาตรี
  • 2508: ใจฟ้า
  • 2509: ศึกบางระจัน
  • 2509: หยกแดง
  • 2513: ฝนเหนือ
  • 2513: รักเธอเสมอ
  • 2513: ชาติทองแดง
  • 2513: ฝนใต้
  • 2514: สื่อกามเทพ
  • 2514: จงอางผยอง
  • 2514: ปานจันทร์
  • 2514: คนใจบอด
  • 2514: ทุ่งเศรษฐี
  • 2514: คีรีบูน
  • 2516: ส้มตำ
  • 2516: ดาร์บี้
  • 2516: คู่กรรม
  • 2517: ใครจะร้องไห้เพื่อฉัน
  • 2518: หัวใจราชสีห์
  • 2518: เพชฌฆาตรัก
  • 2519: กบฎหัวใจ
  • 2521: ผีเพื่อนรัก
  • 2521: ไอ้ขุนทอง
  • 2521: วัยอาละวาด
  • 2521: หัวใจห้องที่ 5
  • 2522: เพลงรักดอกไม้บาน
  • 2522: สลักจิต
  • 2522: วิหารบัณฑูร
  • 2523: นายอำเภอคนใหม่
  • 2523: แผ่นดินแห่งความรัก
  • 2523: ผีหัวขาด
  • 2524: จู้ฮุกกรู
  • 2524: ลูกสาวกำนัน
  • 2526: ลูกสาวกำนัน ภาค 2
  • 2533: ถึงคราวจะเฮง

ผลงานการสร้าง[แก้]

ภาพยนตร์[แก้]

พันคำภาพยนตร์[แก้]

  • พรายดำ (2507)
  • ชาติกระทิง (2509)
  • เพชรตัดเพชร (2509)
  • สมิงดง (2511)
  • นางกวัก (2512)
  • ชาติทองแดง (2513)
  • จินตะหรา (2516)

สีบุญเรืองฟิล์ม[แก้]

  • พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ (2515)
  • แรงรัก (2516)
  • ทิวาหวาม (2517)
  • ฟ้าเปลี่ยนสี (2518)
  • คุณครูคนใหม่ (2518)
  • โอ้...ลูกรัก (2519)
  • กิเลสคน (2520)
  • สวัสดีคุณครู (2520)
  • รักแล้วรอหน่อย (2521)
  • ครูขาหนูเหงา (2521)
  • สุดห้ามใจรัก (2522)
  • พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ (2523)
  • นายอำเภอคนใหม่ (2523)
  • แก้วตาพี่ (2524)
  • สวัสดีไม้เรียว (2525)
  • แรงรัก (2525)
  • กำนันสาว (2526)
  • แม่ยอดกะล่อน (2526)
  • รักสุดหัวใจ (2527)
  • เลดี้ฝรั่งดอง (2527)
  • วัยเรียนเพี้ยนรัก (2528)
  • มาธาดอร์จอมเพี้ยน (2528)
  • ราชินีดอกหญ้า (2529)
  • วันนี้ยังมีรัก (2529)

ละคร[แก้]

สีบุญเรืองสยามสตูดิโอ[แก้]

ดาวน้อย สีบุญเรือง เป็นผู้ดูแล

  • กาแกมหงส์ (ช่อง 7) (2528)
  • สวัสดีคุณครู (ช่อง 9) (2529)
  • โอ้...ลูกรัก (ช่อง 7) (2529)
  • กาหลงฝูง (ช่อง 9) (2529)
  • น้ำผึ้งซาตาน (ช่อง 9) (2530)
  • แม่ครัวคนใหม่ (ช่อง 9) (2530)
  • ในม่านเมฆ (ช่อง 9) (2530)
  • คนละขอบฟ้า (ช่อง 9) (2530)
  • อย่าลืมฉัน (ช่อง 5) (2530)
  • ผู้กองยอดรัก-ยอดรักผู้กอง-ผู้กองอยู่ไหน (ช่อง 9) (2531)
  • สาวน้อย (ช่อง 5) (2531)
  • เมียจอมซ่า ภรรยาจอมปลอม (ช่อง 9) (2531)
  • รักไม่เป็น (ช่อง 9) (2531)
  • เจ้าสาวครึ่งคืน (ช่อง 9) (2532)
  • สะใภ้ลูกทุ่ง (ช่อง 9) (2532)
  • จอมเด๋อสะเออะจีบ (ช่อง 9) (2532)
  • เลดี้ฝรั่งดอง (ช่อง 9) (2532)
  • สะใภ้หัวนอก (ช่อง 9) (2532)
  • สายเลือดเดียวกัน (ช่อง 5) (2532)

อ้างอิง[แก้]

  1. "Untitled Document". web.archive.org. 2007-09-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 2021-08-19.
  2. "เข้าสู่ระบบหรือสมัครใช้งานเพื่อดู". m.facebook.com.
  3. 3.0 3.1 "เข้าสู่ระบบหรือสมัครใช้งานเพื่อดู". m.facebook.com.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]