พระแสน (เชียงแตง)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระแสน (เชียงแตง)

พระแสน หลวงพ่อแสน หรือ พระแสนเมืองเชียงแตง (ພຣະແສນເມືອງຊຽງແຕງ) เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยหน้าตักกว้าง 1 เมตร ศิลปะล้านช้าง มีความงดงามอย่างยิ่ง อัญเชิญมาจากเมืองเชียงแตง (ปัจจุบันอยู่ในเขตจังหวัดสตึงแตรง ประเทศกัมพูชา)

องค์พระเป็นทองเนื้อห้า ที่ฐานพระมีอักษรสมัยล้านช้างจารึกอยู่ ปรงมารวิชัย สังฆาฏิชนิดยาวทาบลงมาถึงพระนาภีแบบลังกาวงศ์ พระเกตุมาลาหรือพระรัศมีเป็นเปลวยาวขึ้นแบบลังกาวงศ์ รอบฝังแก้วผลึก ๑๕ เม็ดนิ้วพระพัตถ์ไม่เสมอกันแบบพระเชียงแสน และสุโขทัยยุคแรก พระเศียรโตเขื่องกว่าส่วนพระองค์จนสังเกตเห็นชัด พระเนตรฝังแก้วผลึก ในส่วนสีขาวและฝั่งนิลในส่วนสีดำ ฐานรองเป็นแบบบัวคว่ำบัวหงาย

พระแสน เป็นพระพุทธรูปสำริด เนื้อนวโลหะ ส่วนผสมทองแดงและทองเหลือง น้ำหนัก 160 ชั่ง (น้ำหนักตามมาตราชั่งตวงวัดของประเทศไทย 1 ชั่ง เท่ากับ 80 บาท) (1 บาท เท่ากับ 4 ตำลึง) (น้ำหนัก 1 บาท เท่ากับ 15.2 กรัม) หรือคิดน้ำหนักได้ 100,000 เฟื้อง เดิมพระพุทธรูปนี้มีเป็นปูนปั้น เมื่อปูนที่หุ้มอยู่กระเทาะออก จึงได้เห็นเนื้อโลหะข้างในว่ามีสีทอง พระพุทธรูปหลวงพ่อแสนเป็นพระศักดิ์สิทธิ์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ข้าหลวงอัญเชิญพระแสนมาจากเมืองเชียงแตง (ຊຽງແຕງ) (ขณะนั้นอยู่ในความปกครองของนครจำปาศักดิ์ อันมีสถานะเป็นประเทศราชของสยาม) เมื่อปีมะเมีย พ.ศ. 2401 เพื่อประดิษฐานที่วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร

พระแสน เป็นโลหะเนื้อทองสำริดสีแตกต่างกัน ดังนี้

  1. เบื้องพระศอตอนบนจนถึงพระเศียรและพระพักตร์เป็นทองสำริดสีเหลืองเข้ม
  2. องค์พระและฐานรอง ตอนพระเศียรและพระพักตร์ เป็นทองสำริดสีเหลืองอ่อน
  3. จีวรเป็นทองสำริดสีเหลืองเข้ม
  4. ส่วนผ้าทาบสังฆาฏิก็เป็นเนื้อทอง เป็นทองสำริดสีอ่อน

อ้างอิง[แก้]