โจมอ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พระเจ้าโจมอ)
โจมอ (เฉา เหมา)
曹髦
ภาพวาดโจมอจากนวนิยายภาพสามก๊ก (ค.ศ. 1957)
จักรพรรดิแห่งวุยก๊ก
ครองราชย์2 พฤศจิกายน ค.ศ. 254 – 2 มิถุนายน ค.ศ. 260[1]
ก่อนหน้าโจฮอง
ถัดไปโจฮวน
ผู้สำเร็จราชการสุมาสู
สุมาเจียว
เกากุ้ยเซียงกง (高貴鄉公)
ดำรงตำแหน่งค.ศ. 244 – 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 254
ประสูติ241[a]
สวรรคต2 มิถุนายน พ.ศ. 260[a]
ลั่วหยาง มณฑลเหอหนาน
คู่อภิเษกจักพรรดินีเปี้ยน
พระนามเต็ม
ชื่อสกุล: เฉา/โจ (曹)
ชื่อตัว: เหมา/มอ (髦)
ชื่อรอง: เยี่ยนชื่อ (彥士)
รัชศก
ราชวงศ์ราชสกุลโจ (เฉา)
พระราชบิดาเฉา หลิน

โจมอ หรือเฉาเหมา (ค.ศ. 241 - 2 มิถุนายน ค.ศ. 260) ชื่อรอง เอี้ยนซื้อ เป็นจักรพรรดิองค์ที่สี่ของวุยก๊กในยุคสามก๊ก โจมอเป็นพระราชนัดดา (หลาน) ของพระเจ้าโจผี จักรพรรดิองค์แรกของวุยก๊ก พระเจ้าโจมอสิ้นพระชนม์จากการพยายามยึดอำนาจคืนจากสุมาเจียว

ครอบครัวและการขึ้นเป็นจักรพรรดิ[แก้]

โจมอเป็นบุตรชายของโจหลินซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าโจผี ในปี 244 เมื่ออายุได้สามขวบ ตามกฎหมายของวุยก๊ก บุตรชายของเจ้าชาย (เว้นแต่ลูกชายคนแรกของเจ้าชายให้ตั้งเป็นทายาท) ให้แต่งตั้งเป็นดยุค โจมอได้รับยศ "Duke of Gaogui District" (高貴鄉公)" โจหลินเสียชีวิตในปี 249 เมื่อโจมออายุได้แปดขวบ Cao Qi (曹啟) ผู้เป็นพี่ชายรับตำแหน่ง Prince of Donghai ต่อจากบิดา

อำนาจอยู่ในมือตระกูลสุมาหลังสุมาอี้ก่อรัฐประหารในปี 249 หลังจากสุมาอี้เสียชีวิตในปี 251 อำนาจถูกผ่องถ่ายไปยังสุมาสูผู้เป็นลูกชายคนโต ในปี 254 สุมาสูกล่าวหาว่า Li Feng แฮหัวเทียน และ Zhang Ji (張緝) เป็นกบฏและสั่งประหารพร้อมทั้งครอบครัว ในปีเดียวกัน พระเจ้าโจฮองคิดจะยึดอำนาจกลับคืนมาแต่ก็ถูกสุมาสูปลดออก

Empress Dowager Guo พระวิมาดา (แม่เลี้ยง) ของโจฮอง พยายามเฮือกสุดท้ายที่จะนำอำนาจกลับคืนมาโดยการเข้าไปมีส่วนในการเลือกจักรพรรดิองค์ต่อไป เมื่อสุมาสูบอก Empress Dowager Guo ว่าเขาต้องการจะแต่งตั้ง Cao Ju (曹據) พระอนุชา (น้องชาย) ของพระเจ้าโจผีเป็นจักรพรรดิ เธอบอกว่าการกระทำดังกล่าวไม่เหมาะสม เนื่องจาก Cao Ju เป็นพระปิตุลา (อา) ของโจยอย, such a succession would leave Cao Rui effectively sonless with no heir. สุมาสูจึงต้องเห็นด้วยกับนาง และแต่งตั้งโจมอเป็นจักรพรรดิแทนตามคำแนะนำของนาง โจมอซึ่งในขณะนั้นอายุ 14 ปี เป็นที่รู้จักในความเฉลียวฉลาด ทำให้ Empress Dowager Guo เชื่อว่าเขาอาจจะมีโอกาสในการต่อกรกับตระกูลสุมา เมื่อสุมาสูถามหาตราหยกแผ่นดิน นางจึงคุยด้วยเหตุผลแบบปฏิเสธแบบสุภาพ ภายใต้เหตุผลว่านางเคยพบโจมอมาก่อนและอยากจะมอบตราหยกด้วยตัวนางเอง เมื่อโจมอถูกเรียกเข้าเมืองหลวง เขาปฏิบัติตัวในพิธีดั่งดยุคแทนที่จะเป็นจักรพรรดิเลยทันทีจนกระทั่งขึ้นเป็นจักรพรรดิอย่างเป็นทางการ การกระทำเช่นนี้ได้รับแรงสนับสนุนและคำเชยชมว่าเป็นจักรพรรดิเด็กที่อ่อนน้อมถ่อมตน

รัชสมัย[แก้]

ในปี 255 บู๊ขิวเขียมและบุนขิมก่อกบฏใน Shouchun แต่ก็ถูกสุมาสูปราบอย่างรวดเร็ว บู๊ขิวเขียมถูกฆ่าและตระกูลถูกสั่งประหาร บุนขิมพร้อมกับบุนเอ๋งและบุนเฮา (文虎) ผู้เป็นลูกชายหนีไปยังง่อก๊ก สุมาสูเสียชีวิตไม่นานหลังจากนั้น หลังจากสุมาสูเสียชีวิต พระเจ้าโจมอพยายามยึดอำนาจกลับคืนมา โดยมีพระบรมราชโองการให้สุมาเจียวอยู่ในฮูโต๋ต่อและให้ Fu Jia (傅嘏) ที่ปรึกษาของสุมาเจียว เดินทางกลับมาลกเอี๋ยงพร้อมกับทัพหลัก อย่างไรก็ตาม หลังจากฟังคำแนะนำของ Fu Jia (傅嘏) และจงโฮย สุมาเจียวขัดพระบรมราชโองการโดยเดินทางกลับมาลกเอี๋ยง และยังคงมีอำนาจเหมือนเดิม

ในปีถัด ๆ มา พระเจ้าโจมอทรงแต่งตั้งคนที่มีความสามารถขึ้นมารอบ ๆ พระองค์ ซึ่งมี Sima Wang ผู้เป็นญาติของสุมาเจียว Wang Shen (王沈) Pei Xiu และจงโฮย ซึ่งเป็นที่รู้กันว่ามีพรสวรรค์ด้านวรรณกรรม คนเหล่านี้จงรักภักดีต่อตระกูลสุมา แต่ก็อาจจะได้ประโยชน์บางอย่างถ้าพวกเขานอบน้อมต่อพระเจ้าโจมอ การกระทำนี้พระเจ้าโจมอทรงทำไปเพื่อลดความระแวงของสุมาเจียวและได้รับแรงสนับสนุนจากคนเหล่านี้ พระเจ้าโจมอมักจัดการประชุมเพื่อพูดคุยในเรื่องวรรณกรรม นอกจากนั้น พระเจ้าโจมอทรงมอบรถบรรทุกสองล้อที่เคลื่อนที่ได้เร็วและทหารรักษาพระองค์ห้าคนเป็นผู้คุ้มกันให้แก่ Sima Wang เพราะ Sima Wang อยู่ไกลจากวังมากกว่าคนอื่น ๆ

ประมาณปี 257 จูกัดเอี๋ยนก่อกบฏขึ้นใน Shouchun ด้วยแรงสนับสนุนจากง่อก๊ก สุมาเจียวนำทัพไปล้อมกบฏในเมืองช่วงต้นปี 258 จูกัดเอี๋ยนทะเลาะกับบุนขิมภายในเมืองและจบลงด้วยการตายของบุนขิมโดยจูกัดเอี๋ยนและการแปรพักตร์ของลูกชายบุนขิม Shouchun ตกให้กับทัพของสุมาเจียวและกบฏก็ถูกปราบ ในปี 259 พระเจ้าโจมอได้รับรายงานว่ามีการเห็นมังกรสีเหลือง (นิมิตรที่ดี) แต่พระองค์กลับมองว่าเป็นนิมิตรร้ายและประพันธ์บทกวีชื่อ Ode to the Hidden Dragon (濳龍詩)

สงสารมังกรน้อย ด้อยแรงทะยานเหิน
เหาะสู่ท้องนภา หรืออยู่กับลากดิน
จำขดตัวนอนก้นบ่อ ให้ปูปลาเยาะเย้ย
เก็บซ่อนเขียวแลเล็บ เฉกเช่นที่ข้าเป็น
บทกวีดังกล่าวทำให้สุมาเจียวไม่พอใจมาก ทำให้สุมาเจียวเพ่งเล็งพระเจ้าโจมอหนักขึ้นไปอีก ในปี 258 จากแรงกดดันของสุมาเจียว พระเจ้าโจมอมีพระบรมราชโองการให้มอบจิ่วซี (เครื่องราชเกียรติยศทั้ง 9)แก่สุมาเจียว แต่สุมาเจียวปฏิเสธ

ความพยายามก่อการรัฐประหารและการเสียชีวิต[แก้]

ในปี 260 พระเจ้าโจมอถูกบังคับให้มีพระบรมราชโองการมอบตำแหน่งจิ้นก๋งและสิ่งของพระราชทานเก้าระดับ ซึ่งสุมาเจียวก็ปฏิเสธอีกเก้าครั้ง เมื่อพระองค์ถูกบังคับให้ทำอีกครั้ง สุมาเจียวก็ปฏิเสธอีก พระเจ้าโจมอทรงพิโรธ จึงเรียกตัว Wang Shen, Wang Jing และ Wang Ye มาบอกถึงความพยายามครั้งสุดท้ายที่จะนำอำนาจกลับคืนมา Wang Shen และ Wang Ye จึงไปบอกสุมาเจียว พระเจ้าโจมอทรงนำทัพเอง สุมาเตี้ยมผู้เป็นน้องชายของสุมาเจียวพยายามป้องกันแต่ก็ต้องร่นถอย กาอุ้นนำทัพมาป้องกันที่หอสังเกตการณ์ฝั่งใต้และสั่งให้นายทหาร Cheng Ji (成濟) ฆ่าพระเจ้าโจมอ Cheng Ji จึงฆ่าพระเจ้าโจมอด้วยการแทงเข้าที่หน้าอกด้วยหอก

สุมาเจียวบังคับให้ Empress Dowager Guo ประกาศว่าโจมอมีแผนจะทำร้ายนางและให้ถอดยศโจมอย้อนหลัง เพื่อทำให้เหมือนว่าการบุกโจมตีนั้นเล็งไปที่ Empress Dowager ไม่ใช่ตัวสุมาเจียว สุมาหูผู้เป็นลุงของสุมาเจียวและข้าราชการระดับสูงร้องขอสุมาเจียวให้ลดยศโจมอกลับไปเป็นอ๋องและฝังศพในฐานะองค์ชาย - เพื่อแสดงถึงความผ่อนปรน อย่างไรก็ตาม สุมาเจียวปฏิเสธ โจมอจึงไม่ได้ถูกฝังศพในฐานะเจ้าชาย สุมาเจียวยังคงปฏิเสธบรรดาศักดิ์จิ้นก๋งและจิ่วซี

สุมาเจียวกล่าวโทษ Cheng Ji จากการปลงพระชนม์จักรพรรดิและสั่งประหารทั้งครอบครัว โจฮวง (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นโจฮวน) กลายเป็นจักรพรรดิองค์ใหม่ และเป็นจักรพรรดิหุ่นเชิดองค์สุดท้ายก่อนสุมาเอี๋ยนผู้เป็นบุตรชายของสุมาเจียวทำการล้มราชบัลลังก์ในปี 266

ชื่อรัชสมัย[แก้]

  • Zhengyuan (正元) 254-256
  • Ganlu (甘露) 256-260

ครอบครัว[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. 1.0 1.1 บทพระราชประวัติโจมอในจดหมายเหตุสามก๊กบันทึกว่าพระองค์สวรรคตในวันจี๋โฉฺ่วของเดือน 5 ศักราชกำลอ (甘露 กานลู่) ปีที่ 5 ในรัชสมัยของพระองค์ ขณะพระชนมายุ 20 พรรษา (ตามการนับอายุแบบตะวันออก)[2] วันสวรรคตตรงกับวันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 260 ในปฏิทินเกรโกเรียน เมื่อคำนวณแล้ววันที่ที่พระองค์ประสูติอยู่ในปี ค.ศ. 241 เพราะพระองค์สวรรคตขณะพระชนมายุ 19 พรรษาในปี ค.ศ. 260

อ้างอิง[แก้]

  1. Vervoorn 1990, p. 316.
  2. ([甘露五年]五月己丑,高貴鄉公卒,年二十。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 4.
ก่อนหน้า โจมอ ถัดไป
โจฮอง
(พระเจ้าโจฮอง)
จักรพรรดิจีน
วุยก๊ก

(พ.ศ. 797 - พ.ศ. 803)
จักรพรรดิเว่ยยฺเหวียนตี้
(พระเจ้าโจฮวน)