อเล็กซานเดอร์มหาราช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อเล็กซานเดอร์​มหาราช​
บาซิเลวส์แห่งมาเกโดนีอา
ชาห์เหนือชาห์แห่งเปอร์เซีย
ฟาโรห์แห่งอียิปต์
เจ้าแห่งเอเชีย
รูปสลักของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช, นวาย ควาลแบร์ก กลายโตโตก, โคเปเฮเกน
กษัตริย์แห่งมาเกโดนีอา
ครองราชย์336–323 ปีก่อนค.ศ.
ก่อนหน้าพีลิปโปสที่ 2
ถัดไปอเล็กซานเดอร์ที่ 4
พีลิปโปสที่ 3
พระเจ้าแผ่นดินอียิปต์
ครองราชย์332–323 ปีก่อนค.ศ.
ก่อนหน้าดาไรอัสที่ 3 (ราชวงศ์อะคีเมนิด)
ถัดไปอเล็กซานเดอร์ที่ 4
พีลิปโปสที่ 3
พระเจ้าแผ่นดินเปอร์เซีย
ครองราชย์330–323 ปีก่อนค.ศ.
ก่อนหน้าดาไรอัสที่ 3 (ราชวงศ์อะคีเมนิด)
ถัดไปอเล็กซานเดอร์ที่ 4
พีลิปโปสที่ 3
ประสูติ20 หรือ 21 กรกฎาคม 356 ก่อนปีคริสตกาล
เพลลา, มาเกโดนีอา
สวรรคต10 หรือ 11 มิถุนายน 324 ก่อนคริสตกาล (32 พรรษา)
บาบิโลน
ชายาโรซานาแห่งแบคเทรีย
สตาเธียร่าที่ 2 แห่งเปอร์เซีย
ปารีซาติสแห่งเปอร์เซีย
พระราชบุตรอเล็กซานเดอร์ที่ 4
พระนามเต็ม
อเล็กซานดรอส 3 แห่งมาเกโดนีอา
กรีก
  • Μέγας Ἀλέξανδροςiii[›]
    (เมกาส อเล็กซานดรอส)
  • Ἀλέξανδρος ὁ Μέγας
    (อเล็กซานดรอส อะ เมกาส)
ราชวงศ์อาร์กีด
พระราชบิดาพีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา
พระราชมารดาโอลิมเปียสแห่งอิพิรุส
ศาสนากรีกเทวนิยม

อเล็กซานดรอสที่ 3 แห่งมาเกโดนีอา (กรีก: Αλέξανδρος, อักษรโรมัน: Aléxandros) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า อเล็กซานเดอร์มหาราช (อังกฤษ: Alexander the Great; 20/21 กรกฎาคม 356 ปีก่อน ค.ศ. – 10/11 มิถุนายน 323 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นจอมกษัตริย์กรีกโบราณแห่งราชอาณาจักรมาเกโดนีอา เป็นสมาชิกของราชวงศ์อาร์กีด ประสูติในเมืองเพลลาในปี 356 ก่อนคริสตกาลและขึ้นสืบบัลลังก์ต่อจากพระราชบิดาขณะมีวัยเพียง 20 ปี อเล็กซานเดอร์ใช้เวลาส่วนใหญ่ในรัชสมัยของเขาไปกับการสู้รบอย่างที่ไม่เคยเกิดมาก่อนในทวีปเอเชียและแอฟริกาตอนเหนือ และก่อนมีพระชนม์ครบสามสิบปี พระองค์ก็ได้สร้างหนึ่งในจักรวรรดิอันยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกยุคโบราณ แผ่ไพศาลตั้งแต่กรีซไปจนถึงทางตะวันตกของอินเดีย พระองค์ไม่เคยปราชัยในศึกใดมาก่อนและได้รับการยอมรับนับถือเป็นหนึ่งในแม่ทัพผู้ประสบความสำเร็จสูงสุดในประวัติศาสตร์โลก

ในช่วงวัยเด็ก อเล็กซานเดอร์ได้รับการประสาทวิชาโดยแอริสตอเติลถึงอายุ 16 ปี พระเจ้าพีลิปโปสผู้บิดาทรงนำแว่นแคว้นกรีกส่วนใหญ่ให้มาอยู่ภายใต้การปกครองของมาเกโดนีอา เมื่อพีลิปโปสถูกปลงพระชนม์ในปี 336 ก่อนคริสตกาล เจ้าชายหนุ่มก็ขึ้นครองอาณาจักรอันแข็งแกร่งและบัญชากองทัพที่ชาญสมรภูมิ อเล็กซานเดอร์ได้ตำแหน่งจอมทัพแห่งกรีซและใช้อำนาจนี้ดำเนินตามแผนการพิชิตเปอร์เซียของพระบิดา ในปี 334 ก่อนคริสตกาล ทรงรุกรานจักรวรรดิเปอร์เซียของราชวงศ์อะคีเมนิด และเริ่มดำเนินปฏิบัติการต่อเนื่องซึ่งกินเวลากว่าสิบปี เมื่ออเล็กซานเดอร์พิชิตอานาโตเลีย ก็ทรงได้รับชัยชนะอย่างขาดลอยในยุทธการหลายครั้ง ทรงนำทัพข้ามซีเรีย, อียิปต์, เมโสโปเตเมีย, เปอร์เซีย และแบกเตรีย ศึกที่โด่งดังที่สุดคือยุทธการที่อิสซัสและยุทธการที่กอกามีลา ในที่สุดพระองค์สามารถโค่นล้มกษัตริย์เปอร์เซีย พระเจ้าดาไรอัสที่ 3 และพิชิตทั้งจักรวรรดิเปอร์เซียได้ ทำให้ ณ จุดนี้ อาณาเขตของพระองค์แผ่ตั้งแต่ทะเลเอเดรียติกไปจนถึงแม่น้ำบีอาส

เมื่อพิชิตเปอร์เซียได้ ความทะเยอทะยานของกษัตริย์หนุ่มอเล็กซานเดอร์ก็ไม่ได้สิ้นสุดลง พระองค์ไล่ตามความปรารถนาที่ต้องการเห็น "จุดสิ้นสุดของโลกและมหาสมุทรใหญ่ที่เบื้องปลาย" จึงยกทัพบุกอินเดียในปี 326 ก่อนคริสตกาล และได้รับชัยชนะเหนือพระเจ้ากรุงเปารพในยุทธการที่แม่น้ำเฌลัม แต่สุดท้ายพระองค์ก็จำยอมต้องยกทัพกลับตามคำขอของเหล่าทหารที่ต้องการกลับบ้านเกิดเมืองนอน การสูญเสียสหายรักอย่างเฮฟีสเทียนทำให้กษัตริย์หนุ่มจมสู่ความซึมเศร้าและสุขภาพทรุดโทรมจนล้มป่วย อเล็กซานเดอร์สวรรคตที่กรุงบาบิโลนในปี 323 ก่อนคริสตกาล แปดเดือนให้หลังเฮฟีสเทียนเสียชีวิต

ในปีถัดจากการสวรรคตของอเล็กซานเดอร์ เกิดสงครามกลางเมืองทั่วไปจนอาณาจักรของพระองค์แตกเป็นเสี่ยง ๆ ทำให้เกิดเป็นรัฐใหญ่น้อยมากมายปกครองโดยบรรดาขุนนางชาวมาเกโดนีอา แม้ความเป็นผู้พิชิตของพระองค์จะโดดเด่นอย่างยิ่ง แต่มรดกของอเล็กซานเดอร์ที่ยืนยงต่อมากลับมิใช่ราชบัลลังก์ กลายเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมที่ติดตามมาจากการพิชิตดินแดนเหล่านั้น การก่อร่างสร้างเมืองอาณานิคมกรีกและวัฒนธรรมกรีกที่เผยแพร่ไปในแดนตะวันออกทำให้เกิดเป็นวัฒนธรรมเฮเลนนิสติก ซึ่งยังคงสืบทอดต่อมาในจักรวรรดิไบแซนไทน์กระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15

ชีวิตช่วงต้น[แก้]

รูปสลักของพระเจ้าพีลิปโปสที่ 2 พระราชบิดาของอเล็กซานเดอร์

เชื้อสายและวัยเยาว์[แก้]

อเล็กซานเดอร์ประสูติเมื่อวันที่ 20 (หรือ 21) กรกฎาคม ปีที่ 356 ก่อนคริสตกาล,[1][2] ที่เมืองเพลลา เมืองหลวงของราชอาณาจักรมาเกโดนีอา เป็นโอรสของพระเจ้าพีลิปโปสที่ 2 มารดาเป็นภริยาคนที่ 4 ของพีลิปโปสชื่อนางโอลิมเพียสแห่งเอพิรุสเป็นธิดาของ นีโอโทเลมุสที่ 1 แห่งเอพิรุส นครรัฐกรีกทางเหนือ[3][4][5][6] แม้พีลิปโปสจะมีชายาถึง 7-8 คน แต่นางโอลิมเพียสก็ได้เป็นชายาเอกอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง

ในฐานะที่ทรงเป็นสมาชิกราชวงศ์อาร์กีด อเล็กซานเดอร์จึงถือว่าสืบเชื้อสายมาจากเฮราคลีสผ่านทางกษัตริย์คารานุสแห่งมาเกโดนีอา4 ส่วนทางฝั่งมารดา เขาถือว่าตนสืบเชื้อสายจากนีโอโทลีมุส บุตรของอคิลลีส5 อเล็กซานเดอร์เป็นญาติห่าง ๆ ของนายพลพีร์รุสแห่งเอพิรุส ผู้ได้รับยกย่องจากฮันนิบาลว่าเป็นแม่ทัพผู้เก่งกาจที่สุด[7] หรืออันดับที่สอง (รองจากอเล็กซานเดอร์)[8] เท่าที่โลกเคยประสบพบเจอ

ตามบันทึกของพลูตาร์ค นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกโบราณ ในคืนวันก่อนวันวิวาห์ของนางโอลิมเพียสกับพีลิปโปส โอลิมเพียสฝันว่าท้องของนางถูกสายฟ้าฟาดเกิดเปลวเพลิงแผ่กระจายออกไป "ทั้งกว้างและไกล" ก่อนจะมอดดับไป หลังจากแต่งงานแล้ว พีลิปโปสเคยบอกว่า ตนฝันเห็นตัวเองกำลังปิดผนึกครรภ์ของภรรยาด้วยดวงตราที่สลักภาพของสิงโต[3] พลูตาร์คตีความความฝันเหล่านี้ออกมาหลายความหมาย เช่นโอลิมเพียสตั้งครรภ์มาก่อนแล้วก่อนแต่งงาน โดยสังเกตจากการที่ครรภ์ถูกผนึก หรือบิดาของอเล็กซานเดอร์อาจเป็นเทพซูส นักวิจารณ์ในยุคโบราณมีความคิดแตกแยกกันไปว่าโอลิมเพียสประกาศเรื่องเชื้อสายอันศักดิ์สิทธิ์ของอเล็กซานเดอร์ด้วยความทะเยอทะยาน บางคนอ้างว่านางเป็นคนบอกอเล็กซานเดอร์เอง แต่บางคนก็ว่านางไม่สนใจคำแนะนำทำนองนี้เพราะเป็นการไม่เคารพ[3]

ในวันที่อเล็กซานเดอร์เกิด พีลิปโปสกำลังเตรียมตัวเข้ายึดเมืองโพทิเดียซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งคาลกิดีกี (Chalkidiki) ในวันเดียวกันนั้น พีลิปโปสได้รับข่าวว่านายพลพาร์เมนิออนของพระองค์ได้ชัยชนะเหนือกองทัพผสมระหว่างพวกอิลลีเรียนกับพาอิเนียน และม้าของพระองค์ก็ชนะการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก ยังเล่ากันด้วยว่า วันเดียวกันนั้น วิหารแห่งอาร์เทมิสที่เมืองเอเฟซัส อันเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ ถูกไฟไหม้ทลายลง เฮเกเซียสแห่งแม็กนีเซียกล่าวว่า ที่วิหารล่มลงเป็นเพราะเทพีอาร์เทมิสเสด็จมาเฝ้ารอการประสูติของอเล็กซานเดอร์[1][5][9]

เมื่อยังเล็ก ผู้เลี้ยงดูอเล็กซานเดอร์คือนางอภิบาล ลาไนกี พี่สาวของเคลอิตุสซึ่งในอนาคตได้เป็นทั้งเพื่อนและแม่ทัพของอเล็กซานเดอร์ ครูในวัยเยาว์ของอเล็กซานเดอร์คือลีโอไนดัสผู้เข้มงวด ซึ่งเป็นญาติทางฝ่ายมารดา และไลซิมาคัส[10][11]

เมื่ออเล็กซานเดอร์อายุได้ 10 ปี พ่อค้าม้าคนหนึ่งจากเมืองเทสสะลีนำม้ามาถวายพีลิปโปสตัวหนึ่ง โดยเสนอขายเป็นเงิน 13 ทาเลนท์ ม้าตัวนี้ไม่มีใครขี่ได้ พีลิปโปสจึงสั่งให้เอาตัวออกไป ทว่าอเล็กซานเดอร์สังเกตได้ว่าม้านี้กลัวเงาของตัวมันเอง จึงขอโอกาสฝึกม้านี้ให้เชื่อง ซึ่งต่อมาเขาสามารถทำได้สำเร็จ ตามบันทึกของพลูตาร์ค พีลิปโปสชื่นชมยินดีมากเพราะนี่เป็นสิ่งแสดงถึงความกล้าหาญและความมักใหญ่ใฝ่สูง เขาจูบบุตรชายด้วยน้ำตา และว่า "ลูกข้า เจ้าจะต้องหาอาณาจักรที่ใหญ่พอสำหรับความทะเยอทะยานของเจ้า มาเกโดนีอาเล็กเกินไปสำหรับเจ้าแล้ว" แล้วพระองค์จึงซื้อม้าตัวนั้นให้แก่อเล็กซานเดอร์[12] อเล็กซานเดอร์ตั้งชื่อม้านั้นว่า บูซีฟาลัส หมายถึง "หัววัว" บูซีฟาลัสกลายเป็นสหายคู่หูติดตามอเล็กซานเดอร์ไปตลอดการเดินทางจนถึงอินเดีย เมื่อบูซีฟาลัสตาย (เนื่องจากแก่มาก ตามที่พลูตาร์คบันทึกไว้ มันมีอายุถึง 30 ปี) อเล็กซานเดอร์ได้ตั้งชื่อเมืองแห่งหนึ่งตามชื่อมัน คือเมืองบูซีฟาลา[13][14][15]

การศึกษา และชีวิตวัยหนุ่ม[แก้]

เมื่ออเล็กซานเดอร์อายุได้ 13 ปี พีลิปโปสตัดสินพระทัยว่าอเล็กซานเดอร์ควรได้รับการศึกษาขั้นสูงขึ้น จึงเริ่มเสาะหาอาจารย์ดีให้แก่บุตร เขาเปลี่ยนอาจารย์ไปหลายคน เช่น ไอโซเครตีส และ สพีอุสสิปัส ซึ่งเป็นผู้สืบทอดของเพลโตที่วิทยาลัยแห่งเอเธนส์ ซึ่งขอลาออกเองเพื่อไปรับตำแหน่ง ในที่สุดพีลิปโปสเสนองานนี้ให้แก่ อริสโตเติล พีลิปโปสยกวิหารแห่งนิมฟ์ที่มีซาให้พวกเขาใช้เป็นห้องเรียน ค่าตอบแทนในการสอนหนังสือแก่อเล็กซานเดอร์คือการสร้างเมืองเกิดของอริสโตเติล คือเมืองสตาเกราที่พีลิปโปสทำลายราบไปขึ้นใหม่ และให้ฟื้นฟูเมืองนี้โดยการซื้อตัวหรือปลดปล่อยอดีตพลเมืองของเมืองนี้ที่ถูกจับตัวไปเป็นทาส และยกโทษให้แก่พวกที่ถูกเนรเทศไปด้วย[16][17][18][19]

รูปสลักของเฮฟีสเทียน ผู้ที่อริสโตเติลเปรียบว่าเป็นเสมือนวิญญาณครึ่งหนึ่งของอเล็กซานเดอร์

มีเอซา เป็นเหมือนโรงเรียนประจำสำหรับอเล็กซานเดอร์และบรรดาบุตรขุนนางหรือเชื้อพระวงศ์ของมาเกโดนีอา เช่น ทอเลมี และ แคสแซนเดอร์ นักเรียนที่เรียนพร้อมกับอเล็กซานเดอร์กลายเป็นเพื่อนของเขาและต่อมาได้เป็นแม่ทัพนายทหารประจำตัว มักถูกกล่าวถึงด้วยคำว่า "สหาย" อริสโตเติลสอนอเล็กซานเดอร์กับบรรดาสหายในเรื่องการแพทย์ ปรัชญา ศีลธรรม ศาสนา ตรรกศาสตร์ และศิลปศาสตร์ ด้วยการสอนของอริสโตเติลทำให้อเล็กซานเดอร์เติบโตขึ้นมาด้วยแรงบันดาลใจอย่างสูงในงานเขียนของโฮเมอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่อง อีเลียด อริสโตเติลมอบงานเขียนฉบับคัดลอกของเรื่องนี้ให้เขาชุดหนึ่ง ซึ่งอเล็กซานเดอร์เอาติดตัวไปด้วยยามที่ออกรบ[20][21][22][23]

ทายาทของพีลิปโปส[แก้]

ผู้สำเร็จราชการและผู้สืบทอดมาเกโดนีอา[แก้]

เมื่ออเล็กซานเดอร์อายุได้ 16 ปี การร่ำเรียนกับอริสโตเติลก็ยุติลง พระเจ้าพีลิปโปสยกทัพไปทำสงครามกับไบแซนเทียมและแต่งตั้งให้อเล็กซานเดอร์รักษาราชการแทนในตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ ระหว่างที่พีลิปโปสไม่อยู่ พวกแมดีในเทรซก็แข็งเมืองต่อต้านการปกครองของมาเกโดนีอา อเล็กซานเดอร์ตอบโต้อย่างฉับพลัน บดขยี้พวกแมดีและขับไล่ออกไปจากเขตแดน แล้วผนวกเมืองนี้เข้ากับอาณาจักรกรีก ตั้งเมืองใหม่ขึ้นให้ชื่อว่า อเล็กซานโดรโพลิส[24][25][26][27]

หลังจากพีลิปโปสกลับมาจากไบแซนเทียม พระองค์มองกองกำลังเล็ก ๆ ให้แก่อเล็กซานเดอร์เพื่อไปปราบปรามกบฏทางตอนใต้ของเทรซ มีบันทึกว่าอเล็กซานเดอร์ได้ช่วยชีวิตของบิดาไว้ได้ระหว่างการรบครั้งหนึ่งกับนครรัฐกรีกชื่อเพรินทุส ในขณะเดียวกัน เมืองแอมฟิสซาได้เริ่มการทำลายสถานสักการะเทพอพอลโลใกลักับวิหารแห่งเดลฟี ซึ่งเป็นโอกาสให้พีลิปโปสยื่นมือเข้าแทรกแซงกิจการของกรีซ ขณะที่พำนักอยู่ที่เมืองเทรซ พีลิปโปสสั่งให้อเล็กซานเดอร์รวบรวมกองทัพสำหรับการรณยุทธ์กับกรีซ เมื่อพิจารณาถึงความเป็นไปได้ว่านครรัฐกรีกอื่น ๆ จะยื่นมือเข้ามายุ่ง อเล็กซานเดอร์จึงแสร้งทำเสมือนว่ากำลังเตรียมการไปโจมตีอิลลีเรียแทน ในระหว่างความยุ่งเหยิงนั้น อิลลีเรียถือโอกาสมารุกรานมาเกโดนีอา แต่อเล็กซานเดอร์ก็สามารถขับไล่ผู้รุกรานไปได้[28]

ปีที่ 338 ก่อนคริสตกาล พีลิปโปสยกทัพมาร่วมกับอเล็กซานเดอร์แล้วมุ่งหน้าลงใต้ผ่านเมืองเทอร์โมไพลีซึ่งทำการต่อต้านอย่างโง่ ๆ ด้วยกองทหารชาวธีบส์ ทั้งสองบุกยึดเมืองเอลาเทียซึ่งอยู่ห่างจากเอเธนส์และธีบส์เพียงชั่วเดินทัพไม่กี่วัน ขณะเดียวกัน ชาวเอเธนส์ภายใต้การนำของดีมอสเทนีส ลงคะแนนเสียงให้เป็นพันธมิตรกับธีบส์เพื่อทำสงครามร่วมรบกับมาเกโดนีอา ทั้งเอเธนส์และพีลิปโปสพากันส่งทูตไปเพื่อเอาชนะใจธีบส์ แต่ทางเอเธนส์เป็นฝ่ายประสบความสำเร็จ[29][30][31] พีลิปโปสยกทัพไปแอมฟิสซา จับกุมทหารรับจ้างที่ดีมอสเทนีสส่งไป แล้วเมืองนั้นก็ยอมจำนน พีลิปโปสกลับมาเมืองเอลาเทียและส่งข้อเสนอสงบศึกครั้งสุดท้ายไปยังเอเธนส์และธีบส์ แต่ทั้งสองเมืองปฏิเสธ[32][33][34]

พีลิปโปสยกทัพลงใต้ แต่ถูกสกัดเอาไว้บริเวณใกล้เมืองไคโรเนียของโบโอเทีย โดยกองกำลังของเอเธนส์และธีบส์ ระหว่างการสัประยุทธ์แห่งไคโรเนีย พีลิปโปสบังคับบัญชากองทัพปีกขวา ส่วนอเล็กซานเดอร์บังคับบัญชากองทัพปีกซ้าย ร่วมกับกลุ่มนายพลซึ่งเป็นที่ไว้วางใจของพีลิปโปส ตามแหล่งข้อมูลโบราณ ทั้งสองฟากของกองทัพต้องต่อสู้อย่างหนักเป็นเวลายาวนาน พีลิปโปสจงใจสั่งให้กองทัพปีกขวาของตนถอยทัพเพื่อให้ทหารฮอพไลท์ของเอเธนส์ติดตามมา ทำลายแถวทหารของฝ่ายตรงข้าม ส่วนปีกซ้ายนั้นอเล็กซานเดอร์เป็นคนนำหน้าบุกเข้าตีแถวทหารของธีบส์แตกกระจาย โดยมีนายพลของพีลิปโปสตามมาติด ๆ เมื่อสามารถทำลายสามัคคีของกองทัพฝ่ายศัตรูได้แล้ว พีลิปโปสสั่งให้กองทหารของตนเดินหน้ากดดันเข้าตีทัพศัตรู ทัพเอเธนส์ถูกตีพ่ายไป เหลือเพียงทัพธีบส์ต่อสู้เพียงลำพัง และถูกบดขยี้ลงอย่างราบคาบ[35]

หลังจากได้ชัยชนะที่ไคโรเนีย พีลิปโปสกับอเล็กซานเดอร์เดินทัพต่อไปโดยไม่มีผู้ขัดขวางมุ่งสู่เพโลพอนนีส (Peloponnese) โดยได้รับการต้อนรับจากทุกเมือง อย่างไรก็ตาม เมื่อพวกเขาเดินทางไปถึงสปาร์ตา กลับถูกปฏิเสธ ทว่าพวกเขาก็เพียงจากไปเฉย ๆ[36] ที่เมืองโครินธ์ พีลิปโปสได้ริเริ่ม "พันธมิตรเฮเลนนิก" (Hellenic Alliance) (ซึ่งจำลองมาจากกองทัพพันธมิตรต่อต้านเปอร์เซียในอดีต เมื่อครั้งสงครามกรีก-เปอร์เซีย) โดยไม่นับรวมสปาร์ตา พีลิปโปสได้ชื่อเรียกว่า เฮเกมอน (Hegemon) (ซึ่งมักแปลเป็น "ผู้บัญชาการสูงสุด") ของคณะพันธมิตรนี้ นักประวัติศาสตร์ยุคใหม่เรียกคณะพันธมิตรนี้ว่า สันนิบาตแห่งโครินธ์ (League of Corinth) ครั้นแล้วพีลิปโปสประกาศแผนของตนในการทำสงครามต่อต้านอาณาจักรเปอร์เซีย โดยเขาจะเป็นผู้บัญชาการเอง[37][38]

การลี้ภัยและหวนกลับคืน[แก้]

รูปสลักของอเล็กซานเดอร์ ที่พิพิธภัณฑ์โบราณคดีแห่งอิสตันบูล

หลังจากกลับมาเมืองเพลลา พีลิปโปสตกหลุมรักกับคลีโอพัตรา ยูรีไดส์ แห่งมาเกโดนีอา และต่อมาได้แต่งงานกัน นางเป็นหลานสาวของแอตตาลัส นายพลคนหนึ่งของเขา การแต่งงานครั้งนี้ทำให้สถานะรัชทายาทของอเล็กซานเดอร์ต้องสั่นคลอน เพราะถ้าหากคลีโอพัตรา ยูรีไดส์ให้กำเนิดบุตรชายแก่พีลิปโปส เด็กนั้นจะเป็นทายาทที่มีเชื้อสายมาเกโดนีอาโดยตรง ขณะที่อเล็กซานเดอร์เป็นเพียงลูกครึ่งมาเกโดนีอา[39] ในระหว่างงานเลี้ยงฉลองพิธีวิวาห์ แอตตาลัสซึ่งเมามายได้ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์โดยอธิษฐานต่อเทพเจ้าขอให้การแต่งงานนี้สร้างทายาทอันถูกต้องตามกฎหมายให้แก่ราชบัลลังก์มาเกโดนีอา อเล็กซานเดอร์ตะโกนใส่แอตตาลัสว่า "อย่างนั้นข้าเป็นอะไรเล่า ลูกไม่มีพ่อหรือ?" แล้วขว้างแก้วใส่แอตตาลัส พีลิปโปสซึ่งก็เมามากเช่นกัน ชักดาบออกมาแล้วเดินไปหาอเล็กซานเดอร์ ก่อนจะหกล้มคว่ำไป อเล็กซานเดอร์จึงว่า "ดูเถอะ ชายผู้เตรียมจะยกทัพจากยุโรปสู่เอเชีย ไม่อาจแม้แต่จะเดินจากเก้าอี้ตัวหนึ่งไปถึงอีกตัวหนึ่ง"[24]

อเล็กซานเดอร์รู้สึกเสียหน้ามากจากการหย่าร้างระหว่างพระชนกพีลิปโปสกับพระชนนีโอลิมปีอัส ประกอบกับภัยที่กำลังคุกคามการสืบทอดอำนาจของพระองค์ ทำให้เกิดการโต้เถียงกับพระชนกอย่างรุนแรง อเล็กซานเดอร์หนีออกจากมาเกโดนีอา โดยพาพระชนนีโอลิมปีอัสไปฝากไว้กับน้องชายของนางที่โดโดนา เมืองหลวงของเอพิรุส,[40] อเล็กซานเดอร์เดินทางต่อไปถึงอิลลีเรีย ขอลี้ภัยอยู่กับกษัตริย์แห่งอิลลีเรียและได้รับการต้อนรับอย่างดีในฐานะแขกของชาวอิลลีเรีย ทั้งที่เมืองนี้เคยพ่ายแพ้เขาในการรบเมื่อหลายปีก่อน อเล็กซานเดอร์หวนกลับมาเกโดนีอาอีกครั้งหลังลี้ภัยอยู่เป็นเวลา 6 เดือน เมื่อปรับความเข้าใจกับกษัตริย์พีลิปโปสได้ ด้วยความช่วยเหลือของสหายของครอบครัวผู้หนึ่ง คือ ดีมาราตุส ชาวโครินธ์ ซึ่งช่วยประนีประนอมให้ทั้งสองฝ่าย[24][41][42][40]

ปีถัดมา พิโซดารุส เจ้าเมืองเปอร์เซียผู้ปกครองคาเรีย ได้เสนองานวิวาห์ระหว่างบุตรสาวคนโตของตนกับพีลิปโปส อาร์ริดาอุส ซึ่งเป็นพี่น้องต่างมารดาของอเล็กซานเดอร์ โอลิมปีอัสกับเพื่อนอีกหลายคนของอเล็กซานเดอร์เห็นว่าสิ่งนี้แสดงถึงความตั้งใจของพีลิปโปสที่จะแต่งตั้งให้อาร์ริดาอุสเป็นรัชทายาท อเล็กซานเดอร์ตอบโต้โดยส่งเทสซาลุสแห่งโครินธ์ นักแสดงผู้หนึ่งไปแจ้งแก่พิโซดารุสว่าไม่ควรเสนอให้บุตรสาวของตนแต่งงานกับบุตรชายผู้ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ทว่าควรให้แต่งงานกับอเล็กซานเดอร์มากกว่า เมื่อพีลิปโปสทราบเรื่องนี้ก็ตำหนิดุด่าอเล็กซานเดอร์อย่างรุนแรง แล้วเนรเทศสหายของอเล็กซานเดอร์ 4 คนคือ ฮาร์พาลุส นีอาร์คุส ทอเลมี และเอริไกอุส ทั้งให้ล่ามตรวนเทสซาลุสกลับมาส่งให้ตน[39][43][44]

กษัตริย์แห่งมาเกโดนีอา[แก้]

การขึ้นครองราชย์[แก้]

ปีที่ 336 ก่อนคริสตกาล ขณะที่พีลิปโปสอยู่ที่ Aegae เข้าร่วมในพิธีวิวาห์ระหว่าง คลีโอพัตรา บุตรสาวของตนและพระนางโอลิมปีอัส กับอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งเอพิรุส ซึ่งเป็นน้องชายของพระนางโอลิมปีอัส พระองค์ถูกลอบสังหารโดยนายทหารราชองครักษ์ของพระองค์เอง คือ เพาซานิอัสแห่งโอเรสติส7 ขณะที่เพาซานิอัสพยายามหลบหนี ก็สะดุดล้มและถูกสังหารโดยสหายสองคนของอเล็กซานเดอร์ คือ เพอร์ดิคคัสกับเลออนนาตุส อเล็กซานเดอร์อ้างสิทธิ์ขึ้นเป็นกษัตริย์ด้วยการสนับสนุนของกองทัพมาเกโดนีอาและขุนนางแห่งมาเกโดนีอาเมื่ออายุได้ 20 ปี[45][46][47]

การรวบรวมอำนาจ[แก้]

ยุทธการบอลข่าน[แก้]

ยุทธการที่กอกามีลา[แก้]

ภาพโมเสคที่ค้นพบที่ซากเมืองปอมเปอีย์ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์รบ กับ กษัตริย์ดาไรอุสที่ 3 แห่งเปอร์เซีย ณ สมรภูมิกัวกาเมล่า ในศึกแห่งอิสซัส (รูปนี้ถ้าเป็นรูปเต็ม จะมีรูปกษัตริย์ดาไรอุสตกพระทัยจากหอกที่พุ่งใส่ อยู่บนรถม้าอยู่ทางขวามือ โดยรูปนี้แสดงถึงความกล้าหาญของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ และความอ่อนแอของกษัตริย์ดาไรอุส โดยรูปนี้นับเป็นรูปที่มีชื่อเสียงที่สุดของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ด้วย)

เมื่อต้นเดือนตุลาคมพ.ศ. 212 หรือ เมื่อ 333 ปีก่อนคริสตกาล พระองค์ยาตราทัพสู่อาณาจักรเปอร์เซีย เพื่อท้ารบกับกษัตริย์ดาไรอุสที่ 3 แห่งเปอร์เซีย ที่เชื่อว่าเป็นผู้จ้างคนลอบสังหารพระเจ้าพีลิปโปสที่ 2 พระบิดาของพระองค์ ในศึกแห่งอิสซัส ทัพทั้งสองเผชิญหน้ากันที่กอกามีลา ในตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนมากของประเทศอิรักในปัจจุบัน กองทัพของอเล็กซานเดอร์มีเพียง 20,000 คน ขณะที่กองทัพเปอร์เซียมีนับแสน แต่ด้วยความกล้าหาญของทหารมาเกโดนีอา กับการวางแผนการรบที่ชาญฉลาดของอเล็กซานเดอร์มหาราช ทำให้พระองค์ได้รับชัยชนะแม้จะสูญเสียเป็นจำนวนมาก การรบครั้งนี้นับเป็นการรบที่มีชื่อเสียงที่สุดของอเล็กซานเดอร์มหาราช เนื่องจากพระองค์ทรงควบม้าบูซาเฟลัสบุกเดี่ยวฝ่ากองป้องกันของทหารเปอร์เซียขว้างหอกใส่กษัตริย์ดาไรอุส ทำให้กษัตริย์ดาไรอุสตกพระทัย และหลบหนีขึ้นเขาไปในที่สุด ผลจากการรบครั้งนี้ทำให้อเล็กซานเดอร์มหาราชได้เข้าสู่นครแพร์ซโพลิส (Persepolis) ศูนย์กลางอาณาจักรเปอร์เซีย และได้เป็นพระราชาแห่งเอเชีย

การรบครั้งสุดท้าย[แก้]

เมื่อ พ.ศ. 216 พระองค์ได้ทะลุถึงกรุงตักกศิลา (Taxila) แคว้นคันธาระ เมืองที่มีชื่อเสียงด้านการศึกษาทั้งพุทธศาสนา และพราหมณ์ พระเจ้าอัมพิราชา (Ambhiraja) แห่งตักกศิลาไม่ได้ทรงต่อต้านเพราะเห็นว่า ไม่มีกำลังอำนาจเข้มแข็งพอที่จะต้านศัตรูต่างแดนได้ จึงได้เปิดเมืองต้อนรับอเล็กซานเดอร์ ซึ่งพระองค์ก็ไม่ได้ทำอะไร เพียงแต่ให้ตักกศิลาเป็นเมืองขึ้นต่อมาเกโดนีอาเท่านั้น แล้วให้ปกครองตามเดิม แล้วทรงขอให้ตักกศิลาส่งทหารมาช่วยรบปัญจาบ 5,000 คน ซึ่งพระเจ้าอัมพิราชาก็ยินยอม

การรบครั้งสุดท้ายที่มีผู้ต่อกรกับอเล็กซานเดอร์มหาราชอย่างจริงจัง คือเมื่อพระองค์ยกทัพเข้ามาทางภาคเหนือของอินเดียในปี พ.ศ. 217 โดยเข้าสู่บริเวณลุ่ม แม่น้ำสินธุ แล้วบุกตระลุยลงมาสู่เมืองนิเกีย (Nicaea) แคว้นปัญจาบ ในพระเจ้าโปรัสหรือพระเจ้าพอรุส (Porus) (หากใช้สำเนียงเอเซียจะเรียกว่าพระเจ้าเปารวะ) พระเจ้าเปารวะเป็นผู้เข้มแข็งในการรบ ซึ่งมีพระสมญาว่า "สิงห์แห่งปัญจาบ" ได้รับแจ้งข่าวกับบรรดามหาราชาแห่งอินเดียว่ามีข้าศึกชาวตะวันตกผมบรอนซ์ตาสีฟ้ายกทัพข้ามภูเขาฮินดูกูชเข้ามา ฝ่ายอินเดียระดมกำลังพลทหารราบ 40,000 ทหารม้า 4,000 รถศึกอีก 500 และกองทัพช้างมหึมาจำนวน 500 เชือกรอรับอยู่ กองทัพกรีกพร้อมทหารตักกศิลาเป็นพันธมิตร ที่มีกำลังพลจำนวน 17,000 โดยมีอเล็กซานเดอร์เป็นแม่ทัพกับกองทัพปัญจาบ ของฝ่ายอินเดียโดยมีพระเจ้าเปารวะเป็นแม่ทัพ โดยพระองค์ได้มองเห็นทัพพระเจ้าเปารวะตั้งอยู่ฝั่งตรงกันข้ามแม่น้ำวิตัสตะ อันเป็นสาขาของแม่น้ำสินธุ เมื่อถึงตอนกลางคืนทัพของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชได้ปะทะกันที่ฝั่งแม่น้ำ และเริ่มโจมตีอย่างฉับพลัน ทัพของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชได้ข้ามแม่น้ำสำเร็จโดยอาศัยธรรมชาติช่วย แต่ทหารม้าของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชไม่เคยสู้รบกับช้าง ประกอบกับเกิดความสับสนอลหม่านจึงบังเกิดความแตกตื่นอลหม่านขึ้น ช้างศึกจึงอาละวาดเหยียบทั้งทหารตนเองและทหารกรีก และ ทหารหอกยาวนับหมื่นของพระองค์ก็ได้พยายามต่อสู้อย่างเต็มความสามารถ นี้เป็นครั้งแรกตั้งแต่รบมาเป็นเวลา 15 ปีที่กองทหารหอก (Phalanx) อันมีระเบียบวินัยในพระองค์บาดเจ็บจนบ้าเลือดบุกตะลุยไปทั่ว ทำร้ายไม่ว่าจะเป็นทหารจากฝ่ายใด การรบวันนั้นต้องสิ้นสุดลงด้วยการหย่าศึก เพราะบาดเจ็บล้มตายกับทั้งสองข้าง แต่ถึงอย่างไรพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชก็ยังทรงได้รับชัยชนะอยู่ดี เพราะพระเจ้าเปารวะถูกลูกศรขณะที่ทรงช้างจนพระองค์บาดเจ็บสาหัส และทัพอินเดียของพระเจ้าเปารวะก็แพ้อย่างยับเยิน พร้อมกับถูกนายทหารกรีกจับตัวมาเฝ้าพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ ในฐานะเชลยสงคราม เมื่อพระเจ้าเปารวะถูกจับมาเผชิญพระพักตร์กับพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ มหาราชตรัสถามว่า

"พระองค์ต้องการจะให้เราปฏิบัติอย่างไร?" พระเจ้าเปารวะตรัสตอบอย่างองอาจว่า

"ต้องการให้ปฏิบัติเราอย่างกษัตริย์" แทนที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชจะพิโรธกลับตรัสถามต่อไปว่า

"ทรงประสงค์จะขออะไรอีก?" พระเจ้าเปารวะจึงตรัสตอบว่า

"คำว่า "กษัตริย์" นั้นครอบคลุมไปถึงสิ่งทั้งหมดที่เราต้องการขอแล้ว"

ดินแดนภายใต้การยึดครองของอเล็กซานเดอร์

ด้วยความกล้าหาญรักษาขัตติยเกียรติของพระเจ้าเปารวะทำให้พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชซึ่งมีพระทัยโปรดคนกล้าหาญ ได้พระราชทานคืนบ้านเมืองให้แล้วแต่งตั้งพระเจ้าเปารวะให้เป็นพระราชาตามเดิม แต่ดำรงในฐานประเทศราช

เสร็จศึกในครั้งนั้นอเล็กซานเดอร์มหาราช ได้สดับความมั่งคั่งสมบูรณ์ของแคว้นมคธ และได้ตระเตรียมยาตราทัพมาตี แต่ทหารของพระองค์ที่ร่วมศึกกับพระองค์มาตั้งแต่เป็นพระยุพราชเป็นเวลา 15 ปีที่ไม่ได้กลับบ้านกลับเมือง พากันเบื่อหน่ายการรบ โดยให้ความเห็นว่าถ้าตีมคธได้ก็คงตีแคว้นอื่นต่อไปอีกไม่มีกำหนดสิ้นสุด ประกอบกับ ทหารบางคนลังเลและก่อกบฏไม่ยอมสู้รบอีกต่อไป[48] อเล็กซานเดอร์มหาราชจึงต้องจำพระทัยเลิกทัพกลับ ช่วงนิวัตกลับอเล็กซานเดอร์มหาราชแบ่งกองทัพออกเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งให้กลับทางบก ส่วนพระองค์นิวัตโดยทางชลมาร์คลงมาตามแม่น้ำสินธุอย่างผู้พิชิตพร้อมด้วยทหารฝ่ายที่เหลือ รวมเวลาที่อเล็กซานเดอร์มหาราชรบอยู่ในอินเดีย 1 ปี กับ 8 เดือน พระองค์ได้เสด็จฯไปยังกรุงบาบิโลน โดยนำทัพย้อนกลับมาทางตะวันตกผ่านดินแดนแห้งแล้ง ทางตอนใต้ของอิหร่าน ในช่วงเส้นทางนี้มีทหารล้มตายหลายพันคน เนื่องจากแสงแดดแผดร้อน แห้ง และขาดน้ำ แต่ในท้ายที่สุด พระองค์ก็พาเหล่าทหารที่เหลือเดินทางมาจนถึงบาบิโลนในเมโสโปเตเมีย ซึ่งเป็นนครเอกของโลกในเวลานั้น[49]

การสวรรคต[แก้]

แม้อเล็กซานเดอร์จะมีมเหสีอยู่ 3 องค์ แต่สาเหตุที่ทำการอภิเษกสมรสนั้นก็ล้วนเกิดจากปัจจัยทางการเมืองเป็นสำคัญ ดังที่คนส่วนใหญ่ทราบกันดีว่าความสัมพันธ์ของพระองค์กับทหารที่เป็นทั้งเพื่อนสนิทที่มีนามว่า เฮฟีสเทียน นั้นลึกซึ่งเกินกว่าคำว่าเพื่อนสนิทหรือเจ้ากับข้า อริสโตเติลได้อธิบายว่าอเล็กซานเดอร์กับเฮฟีสเทียนนั้นเป็น "หนึ่งวิญญาณที่ดำรงอยู่ในสองร่าง"[50] เมื่อเฮฟีสเทียนเสียชีวิตจากอาการป่วย อเล็กซานเดอร์โทมมนัสนอนกอดศพของเฮฟีสเทียนและร้องไห้อยู่สองวันสองคืนโดยที่ไม่ได้เสวยอะไรเลย[51] ไม่ตอบสนองต่อสิ่งรอบข้าง[52] ทรงใช้ชีวิตที่เหลือหมกมุ่นอยู่กับกับการพิธีศพ การไว้อาลัย และการสร้างสุสานในกรุงบาบิโลนให้เฮฟีสเทียน ทุกครั้งที่อเล็กซานเดอร์ไปทอดพระเนตรการก่อสร้างก็มักจะกลับมาเสวยน้ำจันฑ์ นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่าการตายของเฮฟีสเทียนมีผลทำให้สุขภาพของอเล็กซานเดอร์ทรุดโทรมลง[53]

แปดเดือนหลังเฮฟีสเทียนเสียชีวิต อเล็กซานเดอร์สวรรคตในพระราชวังเนบูคัดเนสซาร์ที่ 2 ที่กรุงบาบิโลนในวันที่ 11 หรือ 12 มิถุนายน 324 ปีก่อนคริสตกาล สาเหตุการสวรรคตไม่เป็นที่แน่ชัด พลูทาร์กระบุว่าอเล็กซานเดอร์เริ่มมีไข้ราว 14 วันก่อนสวรรคตและอาการหนักถึงขั้นตรัสไม่ได้ พระอาการไม่ดีขึ้นจนสวรรคตในที่สุด นักประวัติศาสตร์บางคนอย่างดีโอโอรัส, แอร์เรียน เคยพูดทำนองว่าเจ็บป่วยของอเล็กซานเดอร์อาจเกิดจากการวางยาพิษในไวน์ พลูทาร์กปฏิเสธทฤษฎีนี้โดยมองว่าเป็นการคิดเอาเอง เพราะความเป็นอยู่ของทั้งจักรวรรดิล้วนขึ้นอยู่กับสุขภาพของอเล็กซานเดอร์ แต่ดีโอโอรัสและแอร์เรียนก็ออกมาแก้ต่างว่าเขาเสนอทฤษฎีพวกนี้เพื่อให้มันครอบคลุมความเป็นไปได้รอบด้านเท่านั้น ไม่ได้จริงจังอะไร

ถึงกระนั้น นักประวัติศาสตร์ในเวลาต่อมาก็พยายามหาเหตุผลมาเชื่อมโยงและสนับสนุนสมมติฐานนี้ บ้างชี้ว่าแอนติปาโทรส (Antipatros) ที่พึ่งหลุดจากตำแหน่งอุปราชมาเกโดนีอาเป็นผู้บงการให้ลูกชายเป็นคนวางยา[54][55] บ้างกล่าวหาพระนางโอลิมพีอัส มารดาของอเล็กซานเดอร์ เป็นผู้บงการตัวจริง บ้างถึงขนาดว่าอริสโตเติลอาจมีส่วนร่วม[54]

เชิงอรรถ[แก้]

แผนที่โลกตามความคิดของชาวกรีกในสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช

หมายเหตุ 1: ในเวลาที่อเล็กซานเดอร์สวรรคต พระองค์สามารถพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียทั้งหมด ผนวกดินแดนเหล่านั้นเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรมาเกโดนีอา หากพิจารณาตามนักเขียนยุคใหม่บางคน นั่นคือดินแดนเกือบทั้งหมดของโลกเท่าที่ชาวกรีกโบราณรู้จัก[56][57] (ภาพทางด้านขวา)

หมายเหตุ 2: ฮันนิบาล ยกย่องอเล็กซานเดอร์ว่าเป็นแม่ทัพผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด[58] จูเลียส ซีซาร์ ร่ำไห้เมื่อเห็นอนุสาวรีย์ของอเล็กซานเดอร์ เพราะเขาประสบความสำเร็จได้เพียงน้อยนิดขณะมีอายุเท่ากัน[59] ปอมปีย์ อวดอ้างตนว่าเป็น "อเล็กซานเดอร์คนใหม่"[60] นโปเลียน โบนาปาร์ต ก็เปรียบเทียบตนเองกับอเล็กซานเดอร์[61]

หมายเหตุ 7: นับตั้งแต่ยุคสมัยนั้นก็มีข้อสงสัยมากมายอยู่ว่า เพาซานิอัสถูกว่าจ้างให้มาสังหารพระเจ้าพีลิปโปส ผู้ต้องสงสัยว่าจ้างวานได้แก่อเล็กซานเดอร์ พระนางโอลิมเพียส รวมไปถึงจักรพรรดิเปอร์เซียที่เพิ่งขึ้นครองราชย์ คือ พระเจ้าดาไรอัสที่ 3 ทั้งสามคนนี้ล้วนมีแรงจูงใจที่ต้องการให้พีลิปโปสสวรรคต[62]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Plutarch, Alexander, 3
  2. อเล็กซานเดอร์เกิดในวันที่ 6 ของเดือน Hekatombaion ตามปฏิทินแอตติก"The birth of Alexander at Livius.org". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-05. สืบค้นเมื่อ 2010-02-14.
  3. 3.0 3.1 3.2 Plutarch, Alexander, 2
  4. McCarty, p. 10.
  5. 5.0 5.1 Renault, p. 28.
  6. Durant, Life of Greece, p. 538.
  7. Plutarch. "Life of Pyrrhus". Penelope.uchicago.edu. Retrieved 14 November 2009.
  8. Appian, History of the Syrian Wars, §10 and §11 at Livius.org เก็บถาวร 2015-12-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  9. Bose, p. 21.
  10. Renault, pp. 33–34.
  11. Plutarch, Alexander, 5
  12. Plutarch, Alexander, 6
  13. Fox, The Search For Alexander, p. 64.
  14. Renault, p. 39.
  15. Durant, p. 538.
  16. Plutarch, Alexander, 7
  17. Fox, The Search For Alexander, p. 65.
  18. Renault, p. 44.
  19. McCarty, p. 15.
  20. Fox, The Search For Alexander, pp. 65–66.
  21. Plutarch, Alexander, 8
  22. Renault, pp. 45–47.
  23. McCarty, Alexander the Great, p. 16.
  24. 24.0 24.1 24.2 Plutarch, Alexander, 9
  25. Fox, The Search For Alexander, p. 68.
  26. Renault, p. 47.
  27. Bose, p. 43.
  28. Renault, pp. 47–49.
  29. Renault, pp. 50–51.
  30. Bose, pp. 44–45
  31. McCarty, p. 23
  32. Renault, p. 51.
  33. Bose, p. 47.
  34. McCarty, p. 24.
  35. Diodorus Siculus, Library XVI, 86
  36. "History of Ancient Sparta". Sikyon.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2001-03-05. สืบค้นเมื่อ 14 November 2009.
  37. Renault, p. 54.
  38. McCarty, p. 26.
  39. 39.0 39.1 McCarty, p. 27.
  40. 40.0 40.1 "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-28. สืบค้นเมื่อ 2010-09-30.
  41. Bose, p. 75.
  42. Renault, p. 56
  43. Renault, p. 59.
  44. Fox, The Search For Alexander, p. 71.
  45. McCarty, pp. 30–31.
  46. Renault, pp. 61–62.
  47. Fox, The Search For Alexander, p. 72.
  48. http://my.dek-d.com/kotore/blog/?blog_id=208493
  49. http://my.dek-d.com/kotore/blog/?blog_id=208493
  50. Curtius 3.12.17
  51. Arrian 7.15.1
  52. Arrian 7.15.3
  53. Oldach, DW; Richard, RE; Borza, EN; Benitez, RM (June 1998). "A mysterious death". N. Engl. J. Med. 338 (24): 1764–69. doi:10.1056/NEJM199806113382411. PMID 9625631.
  54. 54.0 54.1 Arrian 1976, VII, 27
  55. Diodorus Siculus 1989, XVII, 118
  56. Danforth, Loring M. (1997). The Macedonian Conflict: Ethnic Nationalism in a Transnational World. Princeton University Press. ISBN 0691043566.
  57. Stoneman, Richard (2004). Alexander the Great. Routledge. ISBN 0415319323.
  58. Goldsworthy, A. (2003). The Fall of Carthage. Cassel. ISBN 0304366420.
  59. Plutarch, Caesar, 11
  60. Holland, T. (2003). Rubicon: Triumph and Tragedy in the Roman Republic. Abacus. ISBN 9780349115634.
  61. Barnett, C. (1997). Bonaparte. Wordsworth Editions. ISBN 1853266787.
  62. Fox, The Search For Alexander, pp. 72–73.

บรรณานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ[แก้]

  • Arrian, Anabasis Alexandri (The Campaigns of Alexander).
  • Curtius Rufus, Historiae Alexandri Magni (History of Alexander the Great).
  • Diodorus Siculus, Bibliotheca historica, (Library of History).
    • ฉบับออนไลน์ : "Diodorus Siculus, Library". perseus.tufts.edu. สืบค้นเมื่อ 14 November 2009. (อังกฤษ)
    • แปลโดย C.H. Oldfather (1989).
  • Justin, Epitome of the Philippic History of Pompeius Trogus.
  • Plutarch, Alexander.
  • Plutarch, Moralia, Fortuna Alexandri (On the Fortune or Virtue of Alexander).
    • ฉบับออนไลน์ : "Plutarch, On the Fortune of Alexander". penelope.uchicago.edu. สืบค้นเมื่อ 14 November 2009. (อังกฤษ)
    • แปลโดย Bill Thayer.

แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ[แก้]

  • Barnett, C. (1997). Bonaparte. Wordsworth Editions. ISBN 1853266787.
  • Beazley JD and Ashmole B (1932). Greek Sculpture and Painting. Cambridge University Press.
  • Bose, Partha (2003). Alexander the Great's Art of Strategy. Allen & Unwin. ISBN 1741141133. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |ISBN-status= ถูกละเว้น (help)
  • Bowra, Maurice (1994). The Greek Experience. Phoenix Books. ISBN 1857991222.
  • Danforth, Loring M. (1997). The Macedonian Conflict: Ethnic Nationalism in a Transnational World. Princeton University Press. ISBN 0691043566.
  • Durant, Will (1966). The Story of Civilization: The Life of Greece. Simon & Schuster. ISBN 0671418009.
  • Bill Fawcett, (2006). Bill Fawcett (บ.ก.). How To Loose A Battle: Foolish Plans and Great Military Blunders. Harper. ISBN 0060760249.{{cite book}}: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์)
  • Gergel, Tania (editor) (2004). The Brief Life and Towering Exploits of History's Greatest Conqueror as Told By His Original Biographers. Penguin Books. ISBN 0142001406. {{cite book}}: |author= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  • Green, Peter (1992). Alexander of Macedon: 356–323 B.C. A Historical Biography. University of California Press. ISBN 0520071662.
  • Green, Peter (2007). Alexander the Great and the Hellenistic Age. Orion Books. ISBN 9780753824139. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |ISBN-status= ถูกละเว้น (help)
  • Greene, Robert (2000). The 48 Laws of Power. Penguin Books. p. 351. ISBN 0140280197.
  • Grimal, Nicolas (1992). A History of Ancient Egypt (reprint ed.). Blackwell Publishing. ISBN 9780631193960. {{cite book}}: ตรวจสอบค่า |isbn=: checksum (help)
  • Gunther, John (2007). Alexander the Great. Sterling. ISBN 1402745192.
  • Hammond, N. G. L. (1989). The Macedonian State: Origins, Institutions, and History. Oxford University Press. ISBN 0198148836.
  • Holland, T. (2003). Rubicon: Triumph and Tragedy in the Roman Republic. Abacus. ISBN 9780349115634.
  • Holt, Frank Lee (2003). Alexander the Great and the mystery of the elephant medallions. University of California Press. ISBN 0520238818.
  • Keay, John (2001). India: A History. Grove Press. ISBN 0802137970.
  • Lane Fox, Robin (1973). Alexander the Great. Allen Lane. ISBN 0860077071.
  • Lane Fox, Robin (1980). The Search for Alexander. Little Brown & Co. Boston. ISBN 0316291080.
  • Goldsworthy, A. (2003). The Fall of Carthage. Cassel. ISBN 0304366420.
  • Luniya, Bhanwarlal Nathuram (1978). Life and Culture in Ancient India: From the Earliest Times to 1000 A.D. Lakshmi Narain Agarwal. LCCN 78907043.
  • McCarty, Nick (2004). Alexander the Great. Penguin. ISBN 0670042684. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |ISBN-status= ถูกละเว้น (help)
  • Murphy, James Jerome (2003). A Synoptic History of Classical Rhetoric. Lawrence Erlbaum Associates. p. 17. ISBN 1880393352. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  • Nandan, Y and Bhavan, BV (2003). British Death March Under Asiatic Impulse: Epic of Anglo-Indian Tragedy in Afghanistan. Mumbai: Bharatiya Vidya Bhavan. ISBN 8172763018.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  • Narain, AK (1965). Alexander the Great: Greece and Rome–12.
  • Daniel Ogden (2009). "Alexander's Sex Life". ใน Alice Heckel, Waldemar Heckel, Lawrence A. Tritle (บ.ก.). Alexander the Great: A New History. Wiley-Blackwell. ISBN 1405130822.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: editors list (ลิงก์)
  • Pratt, James Bissett (1996). The Pilgrimage of Buddhism and a Buddhist Pilgrimage. Laurier Books. ISBN 8120611969.
  • Pomeroy, S. (1998). Ancient Greece: A Political, Social, and Cultural History. Oxford University Press. ISBN 0195097424. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  • Renault, Mary (2001). The Nature of Alexander the Great. Penguin. ISBN 014139076X.
  • Trudy Ring, Robert M. Salkin, K. A. Berney, Paul E. Schellinger (1994). Taylor & Francis (บ.ก.). International dictionary of historic places. Chicago ; Fitzroy Dearborn, 1994-1996. ISBN 9781884964036. {{cite book}}: ตรวจสอบค่า |isbn=: checksum (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  • Sabin, P; van Wees, H; Whitby, M (2007). The Cambridge History of Greek and Roman Warfare: Greece, the Hellenistic World and the Rise of Rome. Cambridge University Press. ISBN 0521782732.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  • Sacks, David (1995). Encyclopedia of the Ancient Greek World. Constable and Co. ISBN 0094752702.
  • Stoneman, Richard (2004). Alexander the Great. Routledge. ISBN 0415319323.
  • Studniczka, Franz (1894). Achäologische Jahrbook 9.
  • Tripathi, Rama Shankar (1999). History of Ancient India. ISBN 9788120800182.
  • Trudy Ring, Robert M. Salkin, K. A. Berney, Paul E. Schellinger (1994). International dictionary of historic places. Taylor & Francis. ISBN 1884964036.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  • Wilcken, Ulrich (1997) [1932]. Alexander the Great. W. W. Norton & Company. ISBN 0393003817.
  • Worthington, Ian (2003). Alexander the Great. Routledge. ISBN 0415291879.
  • Worthington, Ian (2004). Alexander the Great: Man And God. Pearson. ISBN 9781405801621.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]