พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแม้นเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแม้นเขียน
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 2
พระองค์เจ้าชั้นเอก
ประสูติ15 ธันวาคม พ.ศ. 2366
สิ้นพระชนม์28 กันยายน พ.ศ. 2456 (89 ปี)
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระมารดาเจ้าจอมมารดาลูกจันทน์เล็ก ในรัชกาลที่ 2

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแม้นเขียน (15 ธันวาคม พ.ศ. 2366 — 28 กันยายน พ.ศ. 2456) พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาลูกจันทน์เล็ก สตรีเชื้อสายเจ้าจากหลวงพระบาง

พระประวัติ[แก้]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแม้นเขียน ประสูติเมื่อวันจันทร์ เดือนอ้าย ขึ้น 13 ค่ำ ปีมะแม เบญจศก จ.ศ. 1185 ตรงกับวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2366 เป็นพระราชธิดาลำดับที่ 72 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาลูกจันทน์เล็ก ธิดาเจ้าสุกเมืองหลวงพระบาง

พระองค์เจ้าแม้นเขียนทรงดำรงตำแหน่งเป็นองค์กุลเชษฐ์แห่งพระบรมวงศานุวงศ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นเวลายาวนานเกือบ 15 ปี ตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441 ต่อจากพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านิเวศน์ ตราบจนสิ้นพระชนม์

ในปัจฉิมวัยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแม้นเขียนทรงพระประชวรหนัก สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงเสด็จมาเฝ้าพระอาการ[1] กระทั่งพระองค์เจ้าแม้นเขียนสิ้นพระชนม์เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 10 แรม 14 ค่ำ ปีฉลู เบญจศก จ.ศ. 1275 ตรงกับวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2456 สิริพระชันษา 89 ปี นับเป็นพระราชบุตรในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยที่มีพระชันษาสูงที่สุดและมีพระชนม์ชีพเป็นพระองค์สุดท้าย ทรงดำรงพระชนม์ชีพยาวนานถึง 5 รัชกาล มีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2457 ณ พระเมรุ วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร[2]

พระจริยวัตร[แก้]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแม้นเขียน เป็นที่เคารพนับถือของพระบรมวงศานุวงศ์โดยทั่วไป ด้วยพระจริยวัตรงดงามและทรงคุณูปการกับพระเจ้าลูกเธอในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวหลายพระองค์[3]

ในคราวที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแม้นเขียน มีพระชนมายุครบ 80 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปที่พระตำหนักของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแม้นเขียน ในพระบรมมหาราชวัง พระราชทานพระราชหัตถเลขาพระราชทานพร แลต้นไม้ทอง ต้นไม้เงิน กับเงิน 1,600 บาท เป็นส่วนทรงแสดงวุฒาปัจจายนกรรม ในการที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแม้นเขียน มีพระชนมายุเจริญมา[4]

นอกจากนี้พระองค์ทรงศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทรงสร้างวัดขึ้นบริเวณทุ่งบางกะปิชื่อวัดบ้านทุ่งกระแจะแม้นเขียน และประทานชื่อหมู่บ้านแม้นเขียนเพื่อเป็นอนุสรณ์[3] ด้วยมุ่งหมายให้พุทธศาสนิกชนเชื้อลาวในพื้นที่มีสถานที่ปฏิบัติศาสนกิจ ครั้นหลังการเลิกทาสผู้คนจำนวนไม่น้อยเริ่มโยกย้ายจากแหล่งเดิมจึงทำให้มีศาสนิกชนน้อย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแม้นเขียนทรงทราบถึงความยากลำบากของวัดจึงประทานเบี้ยแก่พระสงฆ์และสามเณรรูปละ 1 ตำลึงต่อเดือน[5] ปัจจุบันวัดที่ทรงสร้างไว้เปลี่ยนนามเป็นวัดบ้านทุ่งเสรี โดยสร้างขึ้นใหม่และตั้งชื่อตามหมู่บ้านจัดสรร ปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตสวนหลวง[6]

พระเกียรติยศ[แก้]

ธรรมเนียมพระยศของ
พระองค์เจ้าแม้นเขียน
ธงประจำพระอิสริยยศ
การทูลใต้ฝ่าพระบาท[7]
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า[7]
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

พระอิสริยยศ[แก้]

  • 15 ธันวาคม พ.ศ. 2366 — 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 : พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าแม้นเขียน
  • 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 — 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 : พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าแม้นเขียน
  • 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 — 28 กันยายน พ.ศ. 2456 : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแม้นเขียน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

สถานที่อันเนื่องจากพระนาม[แก้]

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ศรีพรหมา กฤดากร ณ อยุธยา, หม่อม. อัตชีวประวัติหม่อมศรีพรหมา กฤดากร. นนทบุรี : สารคดี, 2562, หน้า 128
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเพลิงพระศพและศพที่พระเมรุวัดราชาธิวาส พุทธศักราช ๒๔๕๗ เล่ม 31, ตอน ๐ ง, 21 มิถุนายน พ.ศ. 2457, หน้า 658
  3. 3.0 3.1 ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. ราชสกุลจักรีวงศ์และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ภาคต้น). ธนบุรี : สำนักพิมพ์อโยธยา, ม.ม.ป., หน้า 148-9
  4. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแม้นเขียน ทรงบำเพ็ญพระกุศล ในสมัยที่เจริญพระชนมายุ ครบ 80 ปีhttp://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2446/038/660.PDF
  5. "ประวัติวัดบ้านทุ่งกระแจะแม้นเขียน หรือวัดทุ่งเสรี หรือวัดบ้านทุ่ง ในปัจจุบัน (ตอน ๒)". วัดบ้านทุ่งเสรี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-17. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "ข้อมูลประกอบการพิจารณาความเหมาะสมในการกำหนดกิจกรรมเพื่อพัฒนาพื้นที่เขตสวนหลวง". กรุงเทพมหานคร. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-17. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. 7.0 7.1 คุณหญิงกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ และสายไหม จบกลศึก (บรรณาธิการ) (2555). ราชาศัพท์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. p. 22-23.[ลิงก์เสีย]
  8. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 10, ตอน 35, 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436, หน้า 374
  9. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ ฝ่ายใน เก็บถาวร 2015-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 21, ตอน 32, 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447, หน้า 570
ก่อนหน้า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแม้นเขียน ถัดไป
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านิเวศน์ กุลเชษฐ์ในราชวงศ์จักรี
(11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441 – 28 กันยายน พ.ศ. 2456)
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสมรรัตนศิริเชฐ