พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 5
พระองค์เจ้าชั้นเอก
ประสูติ21 เมษายน พ.ศ. 2432
สิ้นพระชนม์23 มีนาคม พ.ศ. 2501 (68 ปี)
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาชุ่ม ในรัชกาลที่ 5

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา (21 เมษายน พ.ศ. 2432 – 23 มีนาคม พ.ศ. 2501) เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ 70 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาชุ่ม

พระประวัติ[แก้]

พระชนม์ชีพช่วงต้น[แก้]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา ชาววังออกพระนามว่า เสด็จพระองค์ใหญ่[1] เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับเจ้าจอมมารดาชุ่ม (สกุลเดิม ไกรฤกษ์) นางสนองพระโอษฐ์คนแรกของสยาม ธิดาของพระยามงคลรัตนมนตรี (ช่วง) กับขรัวยายไข่[2] มีพระขนิษฐาร่วมพระมารดา คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุจิตราภรณี (6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2433 — 26 ตุลาคม พ.ศ. 2461) หรือ เสด็จพระองค์เล็ก[1] เมื่อพระชันษาได้ 21 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต ปีต่อมาเจ้าจอมมารดาชุ่มก็ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภาย้ายออกจากพระบรมมหาราชวังไปประทับที่พระตำหนักในสวนสุนันทา พระราชวังดุสิต (ปัจจุบันคืออาคารอาทรทิพยนิวาสน์ ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา) กระทั่ง พ.ศ. 2462 เกิดโรคไข้หวัดใหญ่ระบาดอย่างหนัก พระองค์เจ้าสุจิตราภรณี พระขนิษฐาเพียงพระองค์เดียวก็สิ้นพระชนม์ลง พระองค์จึงประทับอยู่ในพระตำหนักลำพัง[2] และทรงรับข้าหลวงของพระองค์เจ้าสุจิตราภรณีมาไว้ในพระอุปถัมภ์ทุกคน[1]

พระราชธิดาในรัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2447

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเกิดการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ได้ทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต เสด็จออกไปประทับ ณ ตำหนักทิพย์ ถนนราชวิถี บนที่ดินพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงพระชนม์เยี่ยงคนสามัญ ประทับอยู่ในตำหนักทิพย์ร่วมกันกับเจ้าจอมอาบ ในรัชกาลที่ 5 ซึ่งทรงสนิทสนมกัน และพูนเพิ่ม ไกรฤกษ์ หลานชายที่พระองค์ทรงรับอุปการะ[3]

พ.ศ. 2487 ตรงกับช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มีการทิ้งระเบิดหลายลูกใกล้ตำหนักทิพย์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภาเสด็จไปประทับที่พระตำหนักเก่าของเจ้าดารารัศมี พระราชชายาในพระราชวังบางปะอิน โดยมีเจ้าจอมอาบตามเสด็จไปด้วย[4]

สิ้นพระชนม์[แก้]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2501 ในการนี้พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระโกศกุดั่นน้อยทรงพระศพ ประดิษฐานพระศพ ณ ตำหนักทิพย์ ถนนราชวิถี และมีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 ณ พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร[5]

ชีวิตส่วนพระองค์[แก้]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภาทรงสนพระทัยด้านดนตรีไทย พระองค์มีพระปรีชาสามารถในการเล่นจะเข้ และโปรดให้มีการจัดมโหรีภายในพระตำหนักส่วนพระองค์อยู่เนือง ๆ ทำให้พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภาทรงสนิทสนมกับเจ้าจอมอาบ ในรัชกาลที่ 5 ที่ชอบเล่นจะเข้เช่นกัน[6] ทรงตั้งวงเครื่องสายหญิงที่ขึ้นชื่อภายในสวนสุนันทา จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 จึงทรงยกเลิกวงเครื่องสายนี้ไป แล้วย้ายออกไปประทับที่ตำหนักทิพย์[7] ในเวลาต่อมาพระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภาทรงอุปการะพูนเพิ่ม ไกรฤกษ์ ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้อง เมื่อ พ.ศ. 2465 ขณะอายุได้สามเดือน พระองค์ไม่เคยเลี้ยงเด็กอ่อนมาก่อนจึงเป็นการลำบาก เจ้าจอมอาบจึงช่วยเลี้ยงและย้ายไปอยู่กับพระองค์ที่พระตำหนักมาตั้งแต่นั้น[3] ทรงดำรงพระชนม์ชีพเยี่ยงคนสามัญทั่วไป และเลี้ยงพูนเพิ่มประดุจพระโอรส[4] ต่อมา พ.ศ. 2483 เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์จรวย ในรัชกาลที่ 5 ได้ย้ายเข้ามาอยู่ที่ตำหนักทิพย์ด้วย

เมื่อพระองค์เสด็จไปฟังธรรมเทศนา หรือท่องเที่ยวตามสถานที่ต่าง ๆ ทั้งในหรือต่างประเทศ ก็จะมีเจ้าจอมอาบโดยเสด็จด้วยเสมอ[4] หลังพระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภาสิ้นพระชนม์ไปแล้วเมื่อ พ.ศ. 2501 เจ้าจอมอาบก็ยังคงอาศัยอยู่ในตำหนักทิพย์จนกระทั่งถึงแก่อนิจกรรมใน พ.ศ. 2504[8] ปัจจุบันตำหนักทิพย์ถูกเรียกว่าบ้านซังฮี้ เป็นที่อยู่อาศัยของศักดิ์ทิพย์ ไกรฤกษ์ และครอบครัว[9]

พระเกียรติยศ[แก้]

ธรรมเนียมพระยศของ
พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา
ธงประจำพระอิสริยยศ
การทูลใต้ฝ่าพระบาท[10]
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า[10]
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

พระอิสริยยศ[แก้]

  • 21 เมษายน พ.ศ. 2432 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 : พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา
  • 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 : พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา[11][12]
  • 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 : พระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา[13]
  • 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 – 23 มีนาคม พ.ศ. 2501 : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา[14]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

ตราประจำพระองค์[แก้]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภามีตราประจำพระองค์คือเป็นอักษรพระนาม อท ใต้พระมงกุฎ แม้พระองค์จะประสูติวันอาทิตย์ แต่มิทรงใช้เป็นสีประจำพระองค์ด้วยเป็นสีที่แรงเกินไป แต่โปรดให้เป็นสีบานเย็นแทน[2] อีกรูปแบบคือเป็นอักษรพระนาม อ อยู่ภายในดอกไม้สีบานเย็น มีทั้งแบบมีมงกุฎอยู่ด้านบน และไม่มีมงกุฎ[23]

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

เชิงอรรถ
  1. 1.0 1.1 1.2 "100 ปี คุณหญิงสุรพันธ์เสนี (นิ่ง บุนนาค) คนมรดก 5 แผ่นดิน ตอนที่ 2". ชมรมสายสกุลบุนนาค. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-23. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 2.2 โลจน์ นันทิวัชรินทร์ (19 สิงหาคม 2563). "ตำหนักทิพย์ : บ้านสไตล์ Tudor Revival อายุ 87 ปีของ 'เสด็จพระองค์อาทร'". The Cloud. สืบค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.0 3.1 เจ้าจอมก๊กออ, หน้า 449
  4. 4.0 4.1 4.2 เจ้าจอมก๊กออ, หน้า 451
  5. ราชกิจจานุเบกษา, หมายกำหนดการ ที่ ๑๐/๒๕๐๑ พระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส พุทธศักราช ๒๕๐๑ เล่ม 75, ตอน ๕๐ ง, 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2501, หน้า 1934
  6. เจ้าจอมก๊กออ, หน้า 444
  7. "23 มีนาคม 2501 วันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา". สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 1 พฤษภาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. เจ้าจอมก๊กออ, หน้า 454
  9. ธงทอง จันทรางศุ (3 กรกฎาคม 2562). "บ้านเก่า หลังใหญ่ หายใจรวยริน". มติชนสุดสัปดาห์. สืบค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. 10.0 10.1 คุณหญิงกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ และสายไหม จบกลศึก (บรรณาธิการ) (2555). ราชาศัพท์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. p. 22-23.[ลิงก์เสีย]
  11. "พระบรมราชโองการ ประกาศคำนำพระนามพระบรมวงศานุวงษ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 27 (ก): 1. 30 ตุลาคม 2453.
  12. "พระบรมราชโองการ ประกาศคำนำพระนามพระบรมวงศานุวงษ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 28 (ก): 154. 30 กรกฎาคม 2454.
  13. "ประกาศ คำนำพระนามพระบรมวงศานุวงษ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 42 (0 ก): 232. 13 ธันวาคม 2468.
  14. "ประกาศ คำนำพระนามพระบรมวงศานุวงศ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 52 (0ง): 1179–1180. 14 กรกฎาคม 2478.
  15. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ ฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 67 (ตอน 27 ง): หน้า 1996. 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2493. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  16. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ประจำปี พ.ศ. ๒๔๙๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 67 (ตอน 25 ง): หน้า 1806. 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2493. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  17. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 58 (ตอน 0 ง): หน้า 1956. 23 มิถุนายน พ.ศ. 2484. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  18. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 25 (ตอน 39): หน้า 1153. 27 ธันวาคม ร.ศ. 127. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  19. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบัน ฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 29 (ตอน 0 ง): หน้า 2445. 22 มกราคม ร.ศ. 131. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  20. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 43 (ตอน 0 ง): หน้า 3116. 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  21. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 55 (ตอน 0 ง): หน้า 3421. 16 มกราคม พ.ศ. 2481. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-12-15. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  22. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 70 (ตอน 17 ง): หน้า 1011. 10 มีนาคม พ.ศ. 2496. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  23. "กิจกรรมนำชมบ้าน "สกุลไกรฤกษ์"". ทรูไอดี. 18 ธันวาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
บรรณานุกรม
  • กัณฑาทิพย์ สิงหะเนติ. เจ้าจอมก๊กออ. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2558. 609 หน้า. ISBN 978-616-18-0366-7

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]