พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนศิริธัชสังกาศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมขุนศิริธัชสังกาศ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4
พระองค์เจ้าชั้นเอก
องคมนตรี[1][2][3]
ดำรงตำแหน่ง7 พฤษภาคม พ.ศ. 2430
เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
ดำรงตำแหน่ง23 ธันวาคม พ.ศ. 2437 - 26 สิงหาคม พ.ศ. 2439
ก่อนหน้าสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
ถัดไปพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย
รัฐมนตรีสภา[4]
ดำรงตำแหน่ง24 มกราคม พ.ศ. 2437
ประสูติ16 ตุลาคม พ.ศ. 2400
สิ้นพระชนม์11 มีนาคม พ.ศ. 2454 (53 ปี)
หม่อมหม่อมอุ่ม ศรีธวัช ณ อยุธยา
หม่อมเสงี่ยม ศรีธวัช ณ อยุธยา
หม่อมเผื่อน ศรีธวัช ณ อยุธยา
พระบุตร13 พระองค์
ราชวงศ์จักรี
ราชสกุลศรีธวัช
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาบัว ในรัชกาลที่ 4

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนศิริธัชสังกาศ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อดีตองคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ผู้ช่วยเสนาบดีกระทรวงมุรธาธร อธิบดีกรมกฤษฎีกา[5] อธิบดีศาลฎีกา และราชเลขานุการฝ่ายกฎหมาย ทรงเป็นต้นราชสกุล ศรีธวัช

พระประวัติ[แก้]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนศิริธัชสังกาศ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 33 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาบัว (ธิดาเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร)) เมื่อวันศุกร์ เดือน 11 แรม 13 ค่ำ ปีมะเส็งนพศก จ.ศ. 1219 (16 ตุลาคม พ.ศ. 2400) มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าศรีสิทธิธงไชย พระองค์มีศักดิ์เป็นพระราชปนัดดาในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทางฝั่งพระมารดา ทรงมีพระเชษฐาพระขนิษฐาและพระอนุชาร่วมเจ้าจอมมารดา 5 พระองค์ ได้แก่

  1. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมลักษณเลิศ (ประสูติ พ.ศ. 2398 พระชันษา 2 ปี)
  2. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนสิริธัชสังกาศ (พ.ศ. 2400-2453)
  3. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญา (พ.ศ. 2402-2449)
  4. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ (พ.ศ. 2406-2466)
  5. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดำรงฤทธิ์ (ประสูติ พ.ศ. 2407 พระชันษา 3 ปี)

พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศรีสิทธิธงไชย ทรงรับราชการในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำการปฏิสังขรณ์หอพระมณเฑียรธรรม เป็นพนักงานรับบัญชีและนำฎีกาที่ราษฏรร้องทุกข์ทูลเกล้าฯ ถวาย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นศิริธัชสังกาศ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2426

เมื่อ พ.ศ. 2429 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์จะให้มีโรงพยาบาลขึ้นในประเทศไทย จึงตั้ง "คณะคอมมิตตีจัดการ" คณะหนึ่ง เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2429 เพื่อจัดการตั้งโรงพยาบาลตามพระราชประสงค์ คณะกรรมการดังกล่าวมี 9 คน มีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสิริธัชสังกาศ เป็นนายก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทำพิธีเปิดโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2431 พระราชทานนามว่า "ศิริราชพยาบาล" ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีศาลฎีกา(กรมฎีกา)[6] และเป็นราชเลขานุการฝ่ายกฎหมาย ต่อมาทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2437[7]

เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นศิริธัชสังกาศ ขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมผู้ใหญ่มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนศิริธัชสังกาศ ทรงศักดินา 15000[8]

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เปลี่ยนคำนำพระนามเป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ตั้งแต่วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453[9]

สิ้นพระชนม์[แก้]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนศิริธัชสังกาศ ประชวรมานาน แม้จะทรงรับการรักษาแต่อาการยังทรงกับทรุดเรื่อยมา จนสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2453 (นับแบบปัจจุบันเป็นปี พ.ศ. 2454) เวลา 20.34 น. สิริพระชันษา 53 ปี 146 วัน เวลา 5 โมงครึ่งวันถัดมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ มาพระราชทานน้ำสรงพระศพ แล้วเจ้าพนักงานพระศพมาประดิษฐานในท้องพระโรง ประกอบพระโกศกุดั่นน้อย เครื่องสูง 5 ชั้น พระสงฆ์สวดพระอภิธรรมมีกำหนด 3 เดือน[10]

พระโอรสและพระธิดา[แก้]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนศิริธัชสังกาศ ทรงเป็นต้นราชสกุลศรีธวัช มีหม่อม 3 ท่าน ได้แก่

  1. หม่อมอุ่ม[ลิงก์เสีย] (สกุลเดิม: ทิพย์วัฒน์) ธิดาขุนทิพเสนา (จุ้ย)
  2. หม่อมเสงี่ยม (สกุลเดิม: ณ นคร) ธิดาพระยาเสนานุชิด (นุช)
  3. หม่อมเผื่อน

โดยมีพระโอรสธิดารวมทั้งหมด 13 พระองค์ เป็นชาย 5 พระองค์ หญิง 6 พระองค์ และไม่ทราบว่าเป็นหญิงหรือชาย 6 พระองค์

พระรูป พระนาม หม่อมมารดา ประสูติ สิ้นพระชนม์/สิ้นชีพิตักษัย คู่สมรส
1. หม่อมเจ้าอุปพัทธพงศ์ หม่อมเสงี่ยม 25 มีนาคม พ.ศ. 2419 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 หม่อมเจ้าหญิงอาทรถนอม ศรีธวัช
หม่อมชื่น
หม่อมประทีป
2. หม่อมเจ้าธำรงสิริ ที่ 1 ในหม่อมอุ่ม 28 ตุลาคม พ.ศ. 2420 26 มีนาคม พ.ศ. 2476 หม่อมเอื้อน
หม่อมสาย (สิงห์สุวิช)
3. หม่อมเจ้าหญิงนิภา ที่ 2 ในหม่อมอุ่ม 7 กันยายน พ.ศ. 2421 พ.ศ. 2506
4. หม่อมเจ้านิสากร ที่ 3 ในหม่อมอุ่ม 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2422 3 มีนาคม พ.ศ. 2472 หม่อมสาย
หม่อมทรัพย์
5. หม่อมเจ้าหญิงอาทรถนอม ที่ 4 ในหม่อมอุ่ม พ.ศ. 2423 พ.ศ. 2493 หม่อมเจ้าอุปพัทธพงศ์ ศรีธวัช
6. หม่อมเจ้าธวัชชัยเฉลิมวงศ์ ที่ 5 ในหม่อมอุ่ม 16 เมษายน พ.ศ. 2431 พ.ศ. 2480 หม่อมเจ้าหญิงกังวาลสุวรรณ ทองแถม
หม่อมแฉ่ง
หม่อมตี่
หม่อมสังเวียน (ธาดาสีห์)
7. หม่อมเจ้าธงไชยสิริพันธ์ หม่อมเผื่อน 10 ธันวาคม พ.ศ. 2433 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 หม่อมชื้น
8. หม่อมเจ้า (ไม่ปรากฏพระนาม)
(ไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นหญิงหรือชาย)
ไม่ทราบปี ไม่ทราบปี
9. หม่อมเจ้า (ไม่ปรากฏพระนาม)
(ไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นหญิงหรือชาย)
ไม่ทราบปี ไม่ทราบปี
10. หม่อมเจ้า (ไม่ปรากฏพระนาม)
(ไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นหญิงหรือชาย)
ไม่ทราบปี ไม่ทราบปี
11. หม่อมเจ้า (ไม่ปรากฏพระนาม)
(ไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นหญิงหรือชาย)
ไม่ทราบปี ไม่ทราบปี
12. หม่อมเจ้า (ไม่ปรากฏพระนาม)
(ไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นหญิงหรือชาย)
ไม่ทราบปี ไม่ทราบปี
13. หม่อมเจ้า (ไม่ปรากฏพระนาม)
(ไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นหญิงหรือชาย)
ไม่ทราบปี ไม่ทราบปี

พระเกียรติยศ[แก้]

พระอิสริยยศ[แก้]

  • พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าศรีสิทธิธงไชย (16 ตุลาคม พ.ศ. 2400 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411)
  • พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศรีสิทธิธงไชย (1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 - 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2426)
  • พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นศิริธัชสังกาศ (9 พฤษภาคม พ.ศ. 2426 - 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448)
  • พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนศิริธัชสังกาศ (10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนศิริธัชสังกาศ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - ปัจจุบัน)
ธรรมเนียมพระยศของ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมขุนศิริธัชสังกาศ
ธงประจำพระอิสริยยศ
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2430/006/45.PDF
  2. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2430/006/47.PDF
  3. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2453/D/2273_1.PDF
  4. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2437/044/367.PDF
  5. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2436/024/270_1.PDF
  6. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2435/039/331_2.PDF
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เปลี่ยนตำแหน่งเสนาบดี, เล่ม ๑๑, ตอน ๓๙, ๒๓ ธันวาคม ร.ศ. ๑๑๓, หน้า ๗๓๙-๗๔๐
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศเลื่อนกรมและตั้งเจ้าพระยา, เล่ม ๒๒, ตอน ๓๔, ๑๙ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๔, หน้า ๗๓๙-๗๔๐
  9. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ คำนำพระนามพระบรมวงษานุวงษ์, เล่ม ๒๗, ตอน ก, ๓๐ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๙, หน้า ๑
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวสิ้นพระชนม์, เล่ม ๒๗, ตอน ๐ ง, ๑๙ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๙, หน้า ๓๑๐๖-๓๑๐๗
  11. ราชกิจจานุเบกษาถวายบังคมพระบรมรูปแลพระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์ เล่ม 12 หน้า 305
  12. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2453/D/1557.PDF
  13. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2020-04-29.
  14. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2451/035/1012.PDF
  15. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2441/026/283.PDF


ก่อนหน้า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนศิริธัชสังกาศ ถัดไป
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ประธานศาลฎีกาไทย
(พ.ศ. 2432)
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
(23 ธันวาคม พ.ศ. 2437 - 26 สิงหาคม พ.ศ. 2439)
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย