พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงปราจิณกิติบดี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงปราจิณกิติบดี
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 5
พระองค์เจ้าชั้นเอก
ราชเลขาธิการ
ดำรงตำแหน่ง24 มิถุนายน พ.ศ. 2455 - 9 ธันวาคม พ.ศ. 2462
ก่อนหน้าพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธ์
ถัดไปเจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์)
ประสูติ27 พฤษภาคม พ.ศ. 2418
สิ้นพระชนม์9 ธันวาคม พ.ศ. 2462 (44 ปี)
หม่อมหม่อมชื้น
หม่อมช้อย
พระบุตร
ราชสกุลประวิตร
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาแช่ม ในรัชกาลที่ 5

มหาอำมาตย์เอก[1] มหาเสวกเอก[2] พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงปราจิณกิติบดี (27 พฤษภาคม พ.ศ. 2418 — 9 ธันวาคม พ.ศ. 2462) เป็นองคมนตรีและราชเลขาธิการในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ต้นราชสกุลประวิตร[3]

พระประวัติ[แก้]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงปราจิณกิติบดี มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม เป็นพระราชบุตรลำดับที่ 15 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อันประสูติแต่เจ้าจอมมารดาแช่ม ในรัชกาลที่ 5 ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2418[4] ทรงศึกษาวิชาภาษาไทยชั้นต้นที่สำนักพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) และโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ

กรมหลวงปราจิณกิติบดีเป็นพระราชโอรสกลุ่มแรก ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงไปศึกษาต่อในทวีปยุโรป เมื่อ พ.ศ. 2428 พร้อมกัน 4 พระองค์ คือ

  1. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์
  2. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์
  3. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม
  4. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช

พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม ทรงศึกษาด้านอักษรศาตร์ที่ประเทศอังกฤษและฝรั่งเศส

พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม ทรงเริ่มรับราชการในสำนักราชเลขาธิการ ทรงเป็นราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เมื่อครั้งทรงสำเร็จราชการแทนพระองค์ ในระหว่างการเสด็จประพาสยุโรป พ.ศ. 2440 และได้รับแต่งตั้งให้เป็นองคมนตรีในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้เลื่อนเป็นพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงปราจิณกิติบดี ทรงศักดินา 15,000[5]

พระโอรส-ธิดา[แก้]

ตราประจำราชสกุลประวิตร

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงปราจิณกิติบดี เสกสมรสกับธิดา 2 คนของเจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) เป็นต้นราชสกุล ประวิตร มีพระโอรสและพระธิดา 7 องค์[6][7]

หม่อมชื้น ประวิตร ณ อยุธยา (สกุลเดิม กัลยาณมิตร)
  • หม่อมเจ้ากัลยาณวงศ์ประวิตร์ ประวิตร (24 กันยายน พ.ศ. 2449 - 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2487) เสกสมรสกับมารี เชอร์ฟ
    • หม่อมราชวงศ์กัลยา ประวิตร สมรสกับวิลเลียม ครอฟอร์ด
  • หม่อมเจ้าจิตร์ปรีดี ประวิตร (25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2451 - 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2497) เสกสมรสกับหม่อมหลวงเหมือนจันทร์ ประวิตร (ราชสกุลเดิม ดารากร)
    • หม่อมราชวงศ์เจตจันทร์ ประวิตร สมรสกับสุปรียา ประวิตร ณ อยุธยา (สกุลเดิม รักตประจิต)
    • หม่อมราชวงศ์สุชาติจันทร์ ประวิตร สมรสกับสมรัก ประวิตร ณ อยุธยา (สกุลเดิม มันประเสริฐ)
    • หม่อมราชวงศ์ธวัชจันทร์ ประวิตร สมรสกับปิยะธิดา ประวิตร ณ อยุธยา (สกุลเดิม สุจริตกุล)
    • ท่านผู้หญิงเหมือนจิต ภิรมย์ภักดี สมรสกับ วาปี ภิรมย์ภักดี
  • หม่อมเจ้าวิกรมสุรสีห์ ประวิตร (15 มิถุนายน พ.ศ. 2454 - 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492)
  • หม่อมเจ้ากนิษฐากุมารี ประวิตร (13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2462 - 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2494)
หม่อมช้อย ประวิตร ณ อยุธยา (สกุลเดิม กัลยาณมิตร)
  • หม่อมเจ้าสีหวิลาส ประวิตร (22 ตุลาคม พ.ศ. 2452 - 19 ตุลาคม พ.ศ. 2526)
  • หม่อมเจ้าสวาสดิ์วัฒโนดม ประวิตร (28 เมษายน พ.ศ. 2454 - 1 กันยายน พ.ศ. 2544)
  • หม่อมเจ้ากวีวิศิษฏ์ ประวิตร (7 เมษายน พ.ศ. 2456 - 14 มกราคม พ.ศ. 2500) เสกสมรสกับจริน ประวิตร ณ อยุธยา (สกุลเดิม แก้วสมุทร)
    • หม่อมราชวงศ์ปรีวีร์ ประวิตร
    • หม่อมราชวงศ์บีทริชสวิตรี ประวิตร สมรสกับวิวัฒน์ สวนสัน
    • หม่อมราชวงศ์ประวีระ ประวิตร สมรสกับรุ้งนภา ประวิตร ณ อยุธยา (สกุลเดิม เพชรแสงใสกุล)

สิ้นพระชนม์[แก้]

พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงปราจิณกิติบดี ประชวรพระวักกะพิการสิ้นพระชนม์ ณ พระตำหนักวังถนนลูกหลวง เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2462 เวลา 23.00 น. สิริพระชันษาได้ 44 ปี วันต่อมาเวลา 16.25 น. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ โดยรถยนต์พระที่นั่งมาพระราชทานน้ำสรงพระศพ เจ้าพนักงานเชิญพระศพลงลองใน ทรงสวมพระชฎาพระราชทานแล้ว เจ้าพนักงานตั้งพระลองบนพระแท่นแว่นฟ้าสองชั้น ประกอบพระโกศกุดั่นใหญ่ซึ่งพระราชทานเป็นกรณีพิเศษ ทรงทอดผ้าไตร 40 ไตร แล้วโปรดให้สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ทอดผ้าขาว 80 พับ พระสงฆ์มีพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชินวรสิริวัฒน์ เป็นประธานสวดสดับปกรณ์ พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมเสร็จจึงเสด็จฯ กลับพระราชวังดุสิต เวลา 17.43 น.[8] โดยทายาทได้อัญเชิญพระอัฐิของพระองค์รวมไปถึงเจ้าจอมมารดาแช่มพระโอรสและพระธิดาในสายราชสกุลประวิตรมาประดิษฐานไว้ ณ เจดีย์ วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร

พระเกียรติยศ[แก้]

ธรรมเนียมพระยศของ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงปราจิณกิติบดี
ธงประจำพระอิสริยยศ
ตราประจำพระองค์
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

พระอิสริยยศ[แก้]

  • พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม (27 พฤษภาคม พ.ศ. 2418 - 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2445)
  • พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นปราจิณกิติบดี (25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2445 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
  • พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นปราจิณกิติบดี (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454)
  • พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงปราจิณกิติบดี (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 - 9 ธันวาคม พ.ศ. 2462)

ภายหลังสิ้นพระชนม์

  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงปราจิณกิติบดี (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

เชิงอรรถ
  1. พระราชทานยศ
  2. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศพระราชทานยศแก่ข้าราชการในกระทรวงวัง เล่ม 29 หน้า 1405 วันที่ 22 กันยายน 2455
  3. "พระบรมราชโองการ ประกาศ พระราชทานนามสกุลสำหรับเชื้อพระวงศ์พระบรมราชวงศ์ชั้น ๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 46 (0 ก): 23. 9 มิถุนายน 2472. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-06-12. สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. ราชสกุลวงศ์, หน้า 84
  5. "ประกาศ เลื่อน แลตั้งกรม แลตั้งเจ้าพระยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 28 (0 ง): 1739–1740. 11 พฤศจิกายน ร.ศ. 130. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-14. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-21. สืบค้นเมื่อ 2006-10-11.
  7. กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
  8. "ข่าวสิ้นพระชนม์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 36: 2647–2648. 14 ธันวาคม 2462. สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 14, ตอน 41, 9 มกราคม ร.ศ. 116, หน้า 701
  10. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 28, ตอน 0 ง, 12 พฤศจิกายน ร.ศ. 130, หน้า 1783
  11. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า และ ฝ่ายใน, เล่ม 17, ตอน 35, 25 พฤศจิกายน ร.ศ. 119, หน้า 500
  12. ราชกิจจานุเบกษา,พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 28, ตอน 0 ง, 17 กันยายน ร.ศ. 130, หน้า 1290
  13. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 27, ตอน 0 ง, 11 มกราคม ร.ศ. 129, หน้า 2401
  14. ราชกิจจานุเบกษา,พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 20, ตอน 27, 4 ตุลาคม ร.ศ. 122, หน้า 444
  15. ราชกิจจานุเบกษา, รายพระนามและนาม ผู้รับพระราชทานตราวัลลภาภรณ์ในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๒ และแถลงความชอบของผู้นั้น ๆ, เล่ม 36, ตอน 0 ง, 6 เมษายน พ.ศ. 2462, หน้า 6
  16. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานตราวชิรมาลา, เล่ม 28, ตอน 0 ง, 4 มิถุนายน ร.ศ. 130, หน้า 418
  17. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 27, ตอน 0 ง, 11 มกราคม พ.ศ. 2453, หน้า 2409
  18. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชินี, เล่ม 15, ตอน 26, 21 กันยายน ร.ศ. 117, หน้า 283
บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงปราจิณกิติบดี ถัดไป
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธ์ ราชเลขาธิการ
(24 มิถุนายน พ.ศ. 2455 - 9 ธันวาคม พ.ศ. 2462)
เจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์)