พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 2
พระองค์เจ้าชั้นเอก
ประสูติ24 พฤษภาคม พ.ศ. 2344
สิ้นพระชนม์28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2399 (55 ปี)
พระบุตร23 องค์
ราชสกุลทินกร
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระมารดาเจ้าจอมมารดาศิลา ในรัชกาลที่ 2

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ (24 พฤษภาคม พ.ศ. 2344 – 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2399) มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าชายทินกร เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาศิลา (สกุลเดิม ณ บางช้าง) เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 7 ขึ้น 12 ค่ำ ปีระกา ตรีศก จ.ศ. 1163 ตรงกับวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2344 ในขณะที่พระบิดายังดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร มีพระโสทรภราดาและโสทรภคินี 4 พระองค์ ได้แก่

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระองค์เจ้าชายทินกรขึ้นเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ เมื่อปีกุน ตรีศก จ.ศ. 1213 โดยมีเจ้ากรมเป็นหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ ปลัดกรมเป็นขุนพินิจบริบาล สมุหบาญชีเป็น หมื่นชำนาญลิขิต บังคับบัญชากรมพระนครบาล

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์มีผลงานในการเขียนบทละครไว้หลายเรื่อง เช่น เรื่องแก้วหน้าม้า สุวรรณหงษ์ และอื่น ๆ อีกมากมาย นอกจากนั้นยังทรงเป็นนักเพลงยาว และสักวาชั้นเยี่ยม ซึ่งในสมัยนั้นนิยมเล่นสักวากันมากในหมู่กวี ถือว่าเป็นศิลปชั้นสูงซึ่งเจ้านายสูงศักดิ์และผู้ดีมักนัดชุมนุมลอยเรือ เล่นสักวากันในงานนักขัตฤกษ์หรือในโอกาสพิเศษ สำหรับโคลงสี่สุภาพ ก็ทรงนิพนธ์ไว้ไพเราะมาก เช่น เรื่อง นิราศฉะเชิงเทรา ฯลฯ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ประชวรด้วยพระโรคทุลาวะสะ สิ้นพระชนม์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันศุกร์ เดือนอ้าย ขึ้น 1 ค่ำ ปีมะโรง อัฐศก จ.ส. 1218 ตรงกับวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2399 สิริพระชันษา รวม 56 ปี ครั้น ณ เดือน 4 ขึ้น 11 ค่ำ วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2400 เจ้าพนักงานได้อัญเชิญพระศพกรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ และกรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ 2 พระศพ มาลงเรือเอกไชยที่หน้าวัดพระเชตุพน เวลา 2 ยามเศษ แห่ห้ามไปเข้าเมรุผ้าขาวที่หลังวัดอรุณราชวราราม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการมหรสพ 2 วัน 2 คืน ครั้น ณ เดือน 4 ขึ้น 13 ค่ำ วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2400 เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงพร้อมกันทั้ง 2 พระองค์

พระโอรส พระธิดา[แก้]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ มีพระชายา 1 องค์ คือ หม่อมเจ้าหญิงเลียบ (พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์) และมีหม่อมอีกหลายคน มีพระโอรสและพระธิดารวม 23 องค์ ดังนี้

  1. หม่อมเจ้าชายรังษี ทินกร
  2. หม่อมเจ้าหญิงประทิน ทินกร
  3. หม่อมเจ้าหญิงประจง ทินกร
  4. หม่อมเจ้าหญิงนงนุช ทินกร (พ.ศ. 2379 – 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2437)
  5. หม่อมเจ้าหญิงประภาณ ทินกร
  6. หม่อมเจ้าหญิงเล็กประภัสสร ทินกร (พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อปี พ.ศ. 2405)
  7. หม่อมเจ้าชายเพ็ญบูรณ์ ทินกร (พ.ศ. 2381 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2432)[1]
  8. หม่อมเจ้าหญิง (ไม่ปรากฏพระนาม)
  9. หม่อมเจ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม)
  10. หม่อมเจ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม)
  11. หม่อมเจ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม)
  12. หม่อมเจ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม)
  13. หม่อมเจ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม)
  14. หม่อมเจ้าชายปาน ทินกร (พ.ศ. 2401 – 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456)
  15. หม่อมเจ้าหญิงเป้า ทินกร (พ.ศ. 2401 – 2 สิงหาคม พ.ศ. 2421)
  16. หม่อมเจ้าชายไพบูลย์ ทินกร มีโอรสธิดา 4 คน
    1. หม่อมราชวงศ์หญิงใหญ่ ทินกร
    2. หม่อมราชวงศ์หญิงเล็ก ทินกร
    3. หม่อมราชวงศ์แดง ทินกร
    4. หม่อมราชวงศ์ปฐม (หุ่น) ทินกร มีบุตรธิดาต่างมารดารวม 2 คน[2]
      1. นายเหม เวชกร (มารดาชื่อ หม่อมหลวงสำริด พึ่งบุญ) สมรสกับนางแช่มชื่น คมขำ ไม่มีบุตร-ธิดาด้วยกัน​ สำหรับ​นามสกุลเวชกรนั้น​ได้ขอใช้นามสกุลตามขุนประสิทธิ์เวชการ (แหยม เวชชกร) นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดฉะเชิงเทรา ผู้ให้การอุปการะในช่วงวัยรุ่น โดยตัดอักษร ช ในนามสกุลเดิมออก 1 ตัว
      2. หม่อมหลวงหญิงพวง ทินกร (ไม่ทราบนามมารดา)
  17. หม่อมเจ้าชายภูลสวัสดิ์ ทินกร บางแห่งเขียนว่าหม่อมเจ้าพูลสวัสดิ์ (สิ้นชีพิตักษัยวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2441) เสกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงงาม สนิทวงศ์ (พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท) มีโอรสธิดา 4 คน ดังนี้
    1. หม่อมราชวงศ์สอาด ทินกร สมรสกับเจิม บุนนาค ธิดาพระยาราชพงษานุรักษ์ (ชม บุนนาค) มีบุตรธิดา ดังนี้
      1. พลตรี หม่อมหลวงโอสถ ทินกร
      2. หม่อมหลวงอุดม ทินกร
      3. หม่อมหลวงอัธยา ทินกร (แฝด)
      4. หม่อมหลวงอารมณ์ ทินกร (แฝด)
      5. หม่อมหลวงทิพย์สุคนธ์ ทินกร
      6. หม่อมหลวงชโลม ทินกร
      7. หม่อมหลวงมณฑล ทินกร
      8. พันโท หม่อมหลวงพูนศักดิ์ ทินกร
      9. หม่อมหลวงอุทัย ทินกร
    2. หม่อมราชวงศ์ชวน ทินกร
  18. หม่อมเจ้าหญิงรัชนี ทินกร (สิ้นชีพิตักษัยวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2453 ชันษากว่า 57 ปี) เสกสมรสกับ หม่อมเจ้าเจริญ สนิทวงศ์ พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท
  19. หม่อมเจ้าชายเป๋า ทินกร ประสูติแต่หม่อมเจ้าหญิงเลียบ
  20. หม่อมเจ้าชายเจียก ทินกร ประสูติแต่หม่อมเอี่ยม สกุลเดิม ณ บางช้าง (สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2451 ชันษากว่า 55 ปี พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2451 โดยเหตุที่ใช้คำว่าสิ้นพระชนม์นั้นเป็นเพราะพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานการพระศพเสมอด้วยพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า) เสกสมรสกับหม่อมเถาวัลย์ ทินกร ณ อยุธยา และยังมีหม่อมอีก 1 คน คือ หม่อมแก้ว ทินกร ณ อยุธยา มีโอรสและธิดา คือ
    1. หม่อมราชวงศ์หญิงเปล่ง ทินกร มีหม่อมเถาวัลย์เป็นมารดา
    2. หม่อมราชวงศ์หญิงไปล่ ทินกร มีหม่อมเถาวัลย์เป็นมารดา
    3. หม่อมราชวงศ์หญิงปรุง ทินกร มีหม่อมเถาวัลย์เป็นมารดา
    4. หม่อมราชวงศ์กัน ทินกร มีหม่อมแก้มเป็นมารดา
    5. หม่อมราชวงศ์แกม ทินกร มีหม่อมแก้มเป็นมารดา
    6. หม่อมราชวงศ์หญิงผกา ทินกร มีหม่อมแก้มเป็นมารดา
    7. หม่อมราชวงศ์หญิงก้อย ทินกร มีหม่อมแก้มเป็นมารดา
    8. หม่อมราชวงศ์เกี่ยว ทินกร มีหม่อมแก้วเป็นมารดา สมรสกับปลื้ม ฐิตรัต มีบุตรธิดา ดังนี้
      1. หม่อมหลวงประอรพิศ ทินกร
      2. หม่อมหลวงประกิต ทินกร
      3. พันตรี หม่อมหลวงประทีป ทินกร
      4. หม่อมหลวงประสงค์หมาย ทินกร
      5. หม่อมหลวงประไพวดี ทินกร
      6. หม่อมหลวงประณีน้อม ทินกร
      7. หม่อมหลวงประนอมพันธุ์ ทินกร
      8. หม่อมหลวงประทานพร ทินกร
      9. หม่อมหลวงประพจน์ ทินกร
    9. หม่อมราชวงศ์หญิงกะรัต ทินกร มีหม่อมแก้มเป็นมารดา
    10. หม่อมราชวงศ์กำหนัด ทินกร มีหม่อมแก้มเป็นมารดา
  21. หม่อมเจ้าชายปั๋ง (พระราชทานเพลิงศพ ณ วัดสระเกศ เดือนมีนาคม พ.ศ. 2446)
  22. หม่อมเจ้าชายติ่ง ทินกร
  23. หม่อมเจ้าหญิงบุษบง (พระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2440)

พระโอรสและพระธิดาทั้ง 23 พระองค์นี้ มีสืบราชสกุลเพียง 5 องค์เท่านั้น คือ หม่อมเจ้าชายปาน, หม่อมเจ้าชายไพบูลย์, หม่อมเจ้าชายภูลสวัสดิ์, หม่อมเจ้าชายเป๋า และหม่อมเจ้าชายเจียก

พระเกียรติยศ[แก้]

ธรรมเนียมพระยศของ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

พระอิสริยยศ[แก้]

  • หม่อมเจ้าทินกร (24 พฤษภาคม พ.ศ. 2344 - พ.ศ. 2349)
  • พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทินกร (พ.ศ. 2349 - 7 กันยายน พ.ศ. 2352)
  • พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าทินกร (7 กันยายน พ.ศ. 2352 - 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367)
  • พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าทินกร (21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 - 2 เมษายน พ.ศ. 2394)
  • พระเจ้าพี่ยาเธอ พระองค์เจ้าทินกร (2 เมษายน พ.ศ. 2394 - 1 สิงหาคม พ.ศ. 2394)
  • พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ (1 สิงหาคม พ.ศ. 2394 - 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2399)

ภายหลังสิ้นพระชนม์

  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2411)

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. หสช.จดหมายเหตุรัชกาลที่ 3 จ.ศ.1212 เลขที่ 168 สมุดไทยดำระบุว่าเป็นหม่อมเจ้าหญิง
  2. สมศักดิ์ ทินกร ณ อยุธยา. สืบสายราชสกุลทินกร. (2531), หน้า 37. อ้างถึงใน พิชยะพัฒน์ นัยสุภาพ. (2561). เรื่องผีของเหม เวชกร: ประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรมไทย (พ.ศ. 2475-2513). วิทยานิพนธ์ อ.ม. (ประวัติศาสตร์). กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.