พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนราชสีหวิกรม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนราชสีหวิกรม
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 3
พระองค์เจ้าชั้นเอก
ประสูติ12 มีนาคม พ.ศ. 2360
สิ้นพระชนม์25 กันยายน พ.ศ. 2411 (51 ปี)
หม่อมหม่อมน้อย ชุมสาย ณ อยุธยา
หม่อมพึ่ง ชุมสาย ณ อยุธยา
พระบุตร11 พระองค์
ราชสกุลชุมสาย
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาเอมใหญ่ ในรัชกาลที่ 3
ธรรมเนียมพระยศของ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนราชสีหวิกรม
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนราชสีหวิกรม มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าชุมสาย เป็นพระราชโอรสลำดับที่ 21 ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเอมใหญ่ ในรัชกาลที่ 3 เจ้าจอมมารดาเอมใหญ่เป็นบุตรี พระยาพจนพิมนต์ (ทองอยู่) และคุณหญิงอิ่ม (สกุลเดิม บุญ-หลง) บุตรีเจ้าพระยาพิไชยราชาและหม่อมเจ้าหญิงโสภา ราชวงศ์บ้านพลูหลวง) เมื่อวันพุธ ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 4 ปีชวด ตรงกับวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2359[1] (แบบสากลคือ พ.ศ. 2360) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาปนาเป็น "กรมหมื่นราชสีหวิกรม" ต่อมาทรงเลื่อนเป็น "กรมขุน" โปรดเกล้าฯ ให้ทรงกำกับกรมช่างศิลาในกรมช่างสิบหมู่ พระองค์สิ้นพระชนม์เมื่อวันศุกร์ ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 11 ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2411 สิริพระชันษา 53 ปี เป็นต้นราชสกุลชุมสาย

พระโอรส-ธิดา[แก้]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนราชสีหวิกรม มีหม่อมและพระโอรส-ธิดา ดังนี้[2][3]

  1. ประสูติแต่หม่อมพึ่ง ชุมสาย ณ อยุธยา (นามเดิม คุณหญิงพึ่ง) ธิดาของนายวัน หรืออดีตพระองค์เจ้าอัมพวันในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี[4]
    • หม่อมเจ้าเปีย ชุมสาย
    • หม่อมเจ้าหญิงมลิวรรณ ชุมสาย หรือ มาลีวัณ (พ.ศ. 2383 – 25 กันยายน พ.ศ. 2467)
  2. ประสูติแต่หม่อมน้อย ชุมสาย ณ อยุธยา (สกุลเดิม ภมรมนตรี) ธิดาของพระยาราชมนตรี (ภู่ ภมรมนตรี) กับท่านผู้หญิงอิน ราชมนตรี
    • หม่อมเจ้าระเบียบ ชุมสาย (สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2450 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2454)
    • หม่อมเจ้าอรุณ ชุมสาย
    • หม่อมเจ้าหญิงจำรัส ชุมสาย (พระราชทานเพลิง ณ วัดสังเวชวิทยาราม เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457)
    • หม่อมเจ้าหญิงประภา ชุมสาย หรือ ปุก (พ.ศ. 2387 – 8 กันยายน พ.ศ. 2455, พระราชทานเพลิง ณ วัดคฤหบดี)
    • หม่อมเจ้าเจริญ ชุมสาย หรือ จำเริญ (พ.ศ. 2388 – 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2429, พระราชทานเพลิง ณ วัดคฤหบดี พ.ศ. 2436)
    • เสวกเอก หม่อมเจ้าประวิช ชุมสาย หรือ ต๋ง (7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2390 – 19 กันยายน พ.ศ. 2468, พระราชทานเพลิง ณ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2469) เสกสมรสกับหม่อมเจ้าสารภี (ราชสกุลเดิม สนิทวงศ์) พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท, หม่อมจำเริญ (สกุลเดิม ภมรมนตรี), หม่อมโหมด และหม่อมพวง[5]
    • นายพันเอกพิเศษ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ (23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2394 – 16 มีนาคม พ.ศ. 2477) เสกสมรสกับหม่อมตลับ ชุมสาย ณ อยุธยา

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. ราชสกุลจักรีวงศ์ และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2544. 490 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-222-648-2
  2. ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-818-8
  3. สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา (2544). ประวัติครู คุรุสภาจัดพิมพ์เนื่องในวันครู 16 มกราคม พ.ศ. 2544 (PDF). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. p. 1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-03-28.
  4. "บทที่ 18 พระราชวงศ์ และตระกูลอันเป็นเชื้อพระวงศ์". สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา (2544). ประวัติครู คุรุสภาจัดพิมพ์เนื่องในวันครู 16 มกราคม พ.ศ. 2544 (PDF). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. p. 6. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-03-28.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]