พระศาสนโศภน (ปลอด อตฺถการี)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระศาสนโศภน

(ปลอด อตฺถการี)
ส่วนบุคคล
เกิด19 ตุลาคม พ.ศ. 2445 (76 ปี ปี)
มรณภาพ12 ตุลาคม พ.ศ. 2521
นิกายธรรมยุติกนิกาย
การศึกษาม.ศ. 8
นักธรรมชั้นเอก เปรียญธรรม 9 ประโยค
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
อุปสมบท14 มิถุนายน พ.ศ. 2465
พรรษา56
ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดราชาธิวาสราชวรวิหาร
สังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การปกครอง

พระศาสนโศภน (ปลอด อตฺถการี) อดีตเจ้าอาวาสวัดราชาธิวาสราชวรวิหารและวัดราชผาติการามวรวิหาร และดำรงตำแหน่งสำคัญอีกหลายตำแหน่งในคณะสงฆ์ไทย เช่น สมาชิกสังฆสภา สังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การปกครอง เจ้าคณะภาค 7-8-9 (ธรรมยุต) เป็นต้น

ในปี พ.ศ. 2503 ท่านถูกกล่าวหาว่าขัดพระบัญชาของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปลด กิตฺติโสภโณ) จึงถูกถอดจากสมณศักดิ์ไป 15 ปี เมื่อพิสูจน์ว่าท่านเป็นผู้บริสุทธิ์จึงได้รับพระราชทานสมณศักดิ์คืน

ประวัติ[แก้]

ก่อนอุปสมบท[แก้]

พระศาสนโศภน มีนามเดิมว่าซุยหิ้น วัฒโนดร[1] เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2445 เป็นบุตรคนโตในบรรดาบุตรทั้งหมด 10 คนของนายฮวด กับนางคิ่น วัฒโนดร อาศัยอยู่ที่ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา ศึกษาจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา แล้วมาเรียนต่อที่กรุงเทพฯ จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ท่านเตรียมตัวจะไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ จึงตัดสินใจบวชก่อนสัก 1 พรรษา อุปสมบทแล้วกลับเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาจึงดำรงสมณเพศสืบมาจนกระทั่งถึงแก่มรณภาพ[1]

อุปสมบท[แก้]

นายซุยหิ้น วัฒโนดร ได้เข้าอุปสมบทเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2465 เวลา 9:10 น. ที่วัดธรรมบูชา จังหวัดสุราษฎร์ธานี พระครูศาสนพินิจ (พลับ ฐิติโก) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระธรรมโกศาจารย์ (เซ่ง อุตฺตโม) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูโยคาธิการวินิตเป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "อตฺถการี" อยู่วัดธรรมบูชาได้ 1 พรรษา พระครูสังฆพินัยจึงไปรับมาอยู่วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร พระธรรมโกศาจารย์จึงเปลี่ยนชื่อท่านเป็นปลอด

การศึกษาธรรมวินัย[แก้]

ตำแหน่งสำคัญ[แก้]

สมณศักดิ์[แก้]

  • พ.ศ. 2478 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระอมรมุนี[7]
  • พ.ศ. 2489 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพโมลี ตรีปิฎกธาดา มหากถิกสุนทร ยติคณิศร บวรสังฆาราม คามวาสี[8]
  • พ.ศ. 2490 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมโกศาจารย์ สุนทรญาณดิลก ตรีปิฎกธรรมภูสิต ยติคณิศร บวรสังฆาราม คามวาสี[9]
  • พ.ศ. 2499 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นรองสมเด็จพระราชาคณะที่ พระศาสนโศภน วิมลญาณอดุล ตรีปิฎกคุณธรรมาลังการวิภูสิต ธรรมยุติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[10]
  • พ.ศ. 2503 ถูกถอดจากสมณศักดิ์[11]
  • พ.ศ. 2518 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์คืน[12]

อธิกรณ์[แก้]

ในปี พ.ศ. 2503 สมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภโณ) ได้ขึ้นดำรงสมณศักดิ์ที่สมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (จวน อุฏฺฐายี) ได้ดำรงตำแหน่งสังฆนายก พระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ) และพระศาสนโศภน (ปลอด อตฺถการี) ถูกกีดกันจนไม่ได้รับตำแหน่งใด ๆ ในคณะสังฆมนตรีต่อ[13] และยังมีข้อกล่าวหาว่าพระพิมลธรรมเสพเมถุนทางเวจมรรคกับพวกของตนจนสำเร็จความใคร่ และมีข่าวว่าพระศาสนโศภนอยู่กับสีกาสองต่อสองในที่ลับหูลับตาหลายครั้ง สมเด็จพระสังฆราชมีพระบัญชาให้ทั้งสองรูปพ้นจากตำแหน่งเจ้าอาวาส แต่ทั้งสองรูปปฏิเสธ โดยตั้งใจจะต่อสู้เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตน[14] คณะสังฆมนตรีของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์จึงมีมติว่าทั้งสองรูปฝ่าฝืนพระบัญชา ไม่ควรอยู่ในสมณศักดิ์ต่อไป พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรจึงโปรดให้ถอดทั้งสองรูปออกจากสมณศักดิ์ตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503[11]

พระภิกษุหลายรูปพยายามท้วงและยื่นเรื่องขอความเป็นธรรมให้พระเถระทั้งสองรูป[15] สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) จึงตั้งคณะอนุกรรมการสอบสวนขึ้นในวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2518 ผลการพิจารณาออกมาว่าทั้งสองเป็นผู้บริสุทธิ์ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรจึงโปรดให้พระเถระทั้งสองรูปคืนสู่สมณศักดิ์เดิมตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2518[12]

มรณภาพ[แก้]

พระศาสนโศภน (ปลอด อตฺถการี) มรณภาพเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2521 เวลาราว 05:00 น. ณ ตึกแดง คณะเหนือ วัดราชาธิวาส สิริอายุได้ 76 ปี 11 เดือน 24 วัน[1] ตั้งศพบำเพ็ญที่ศาลาโบสถ์แพ จนถึงวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2522 เวลา 14:30 น. จึงได้เปลื้องเครื่องสุกำศพ เพื่อนำบุพโพไปเผา ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ และได้รับพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2522 เวลา 17:00 น.[16]

อ้างอิง[แก้]

  • พระเทพสิทธิมุนี, ผจญมาร : บันทึกชีวิต 5 ปี ในห้องขังของพระพิมลธรรม (อาสภมหาเถร), บัณฑิตการพิมพ์, 2530
  1. 1.0 1.1 1.2 พระศาสนโศภน (ปลอด อตฺถการี). ทางไม่ตาย บรรพ 1 สำนักวัดราชาธิวาส. กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2522. 203 หน้า. หน้า ก-ฌ.
  2. ราชกิจจานุเบกษา, รายนามพระภิกษุสามเณรที่สอบไล่พระปริยัติธรรมได้ ในพุทธศักราช ๒๔๗๒ ซึ่งได้รับพระราชทานพัดยศ ชั้นนิตยภัตต์ แผนกทรงตั้ง, เล่ม 47, ตอน ง, วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2473, หน้า 526
  3. ราชกิจจานุเบกษา, การพระรากุศลวิสาขบูชา, เล่ม 47, ตอน ง, วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2473, หน้า 522
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศตั้งและแต่งตั้งสังฆมนตรี, ตอนที่ 43, เล่ม 67, วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2493, หน้า 3375
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศตั้งและแต่งตั้งสังฆมนตรี, ตอนที่ 38, เล่ม 68, วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2454, หน้า 2594
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศตั้งและแต่งตั้งสังฆมนตรี, ตอนที่ 61 ฉบับพิเศษ, เล่ม 72, วันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2498, หน้า 19
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ พระราชทานสัญญาบัตรสมณศักดิ์, เล่ม 52, วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2478, หน้า 1895
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรสมณศักดิ์, ตอนที่ 15, เล่ม 63, วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2489, หน้า 151
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, ตอนที่ 27, เล่ม 64, วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2490, หน้า 1527
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, ตอนที่ 6, เล่ม 74, วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2500, หน้า 14
  11. 11.0 11.1 ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ถอดพระสมณศักดิ์, เล่มที่ 77, ตอนที่ 94, วันที่ 13 พฤศจิกายน 2503, หน้า 2380
  12. 12.0 12.1 ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสมณศักดิ์กลับคืน, เล่มที่ 92, ตอนที่ 106, วันที่ 6 มิถุนายน 2518, หน้า 13
  13. ผจญมาร, หน้า 7-8
  14. ผจญมาร, หน้า 41-43
  15. ผจญมาร, หน้า 221-222
  16. พระศาสนโศภน (ปลอด อตฺถการี). โคลงพุทธภาษิตคาถาธรรมบท. กรุงเทพฯ : โอสถสภา, 2522. 345 หน้า.