พระวรสารลอร์ช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พระวรสารลอร์สช)
พระวรสารลอร์สช
Codex Aureus of Lorsch  
ผู้ประพันธ์ช่างของราชสำนักของจักรพรรดิชาร์เลอมาญ
ประเทศจักรวรรดิแฟรงค์
หัวเรื่องหนังสือพระวรสาร
วันที่พิมพ์ราว ค.ศ. 778 - ค.ศ. 820
ชนิดสื่อหนังสือวิจิตร

พระวรสารลอร์สช[1] (อังกฤษ: Codex Aureus of Lorsch หรือ Lorsch Gospels) เป็นหนังสือพระวรสารวิจิตรที่เขียนเป็นภาษาละติน ที่เขียนขึ้นราวระหว่าง ค.ศ. 778 - ค.ศ. 820 ในราวรัชสมัยของจักรพรรดิชาร์เลอมาญผู้เป็นประมุขของจักรวรรดิแฟรงค์ หลักฐานแรกที่กล่าวถึงเป็นหลักฐานที่ปรากฏที่แอบบีลอร์สชในเยอรมนีซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นสถานที่ที่เขียนขึ้น ตามบันทึกที่ว่า “Evangelium scriptum cum auro pictum habens tabulas eburneas” ในบันทึกรายการของหอสมุดของแอบบีที่รวบรวมขึ้นในปี ค.ศ. 830 ภายใต้เจ้าอาวาสอเดลลุง จากอักขระทองที่เขียนและที่ตั้งพระวรสารจึงได้รับชื่อว่า “Codex Aureus Laurensius” ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 10 ถึง 11 หอสมุดของแอบบีลอร์สชถือกันว่าเป็นหอสมุดที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

คริสต์ศตวรรษที่ 16 พระวรสารก็ถูกนำไปยังไฮเดลแบร์ก ออตโต ไฮน์ริคย้ายหนังสือจากหอสมุดของแอบบีไปยังหอสมุดพาเลไทน์อันมีชื่อเสียงก่อนที่แอบบีลอร์สชจะถูกยุบเลิกในปี ค.ศ. 1563 ในปี ค.ศ. 1622 พระวรสารก็ถูกขโมยระหว่างสงครามสามสิบปี เพื่อที่จะขายให้ได้ง่ายขึ้นตัวพระวรสารก็ถูกแบ่งครึ่งและฉีกหน้าปกออก ครึ่งแรกตกไปเป็นของห้องสมุดของมิกาซซิและหลังจากนั้นก็ขายให้แก่พระสังฆราช Ignac Batthyani ครึ่งนี้ปัจจุบันเป็นของห้องสมุด Batthyaneum ที่อัลบาลูเลียในโรมาเนีย ครึ่งหลังเป็นของหอสมุดวาติกัน หน้าปกที่มีชื่อเสียงที่เป็นงานแกะสลักนูนต่ำจากงาช้างแบบคลาสสิกเป็นภาพ “พระเยซูเหยียบสัตว์” และอัครเทวดาของพิพิธภัณฑ์วาติกัน และปกหลังที่เป็นภาพ “พระแม่มารีและพระบุตร” เหนือภาพ “การประสูติของพระเยซู” เป็นของพิพิธภัณฑ์วิคตอเรียและอัลเบิร์ตในกรุงลอนดอน[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. Biblioteca Apostolica Vaticana, Pal. lat. 50, and Alba Iulia, Biblioteca Documenta Batthyaneum, s.n.
  2. Illustration; Herbert Schultz, p. 283, The Carolingians in Central Europe, their history, arts, and architecture: a cultural history of Central Europe, 750-900, BRILL, 2004, ISBN 9004131493, 9789004131491

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ พระวรสารลอร์สช