พระราชครูวามเทพมุนี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระราชครูวามเทพมุนี
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน
พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ (ชวิน รังสิพราหมณกุล)

ตั้งแต่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2542
จวนเทวสถานโบสถ์พราหมณ์
ผู้แต่งตั้งพระมหากษัตริย์ไทย
วาระตลอดชีพ
พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ (ชวิน รังสิพราหมณกุล) ขณะประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

พระราชครูวามเทพมุนี เป็นชื่อตำแหน่งหัวหน้าคณะพราหมณ์ประจำเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เป็นผู้นำสูงสุดแห่งลัทธิพราหมณ์ในประเทศไทย โดยมีการสืบทอดตำแหน่งอยู่ภายในสายสกุลที่สืบทอดมาจากชาวอินเดียที่นับถือศาสนาฮินดูซึ่งอพยพมาตั้งรกรากในประเทศไทย[1]

ปัจจุบันมีตระกูลพราหมณ์ที่ปฏิบัติหน้าที่ถวายงานพระราชพิธีหรือที่เรียกกันว่าพราหมณ์หลวง ซึ่งสืบสายมาจากบรรพบุรุษทั้งสิ้น 7 ตระกูล ได้แก่ สยมภพ โกมลเวทิน นาคะเวทิน วุฒิพราหมณ์ ภวังคนันท์ รัตนพราหมณ์ และรังสิพราหมณกุล[2] ส่วนตระกูลพราหมณ์ที่ไม่มีผู้บวชพราหมณ์เพื่อสืบทอด ได้แก่ บุรณศิริ คุรุกุล ศิริพราหมณกุล วสุพราหมณ์ สตะเวทิน สวัสดิเวทิน เสตะพราหมณ์ และจารุเสน[3] พราหมณ์ทุกตระกูลในไทยล้วนเป็นพุทธศาสนิกชน แต่ยังคงเคารพบูชาเทพเจ้าฮินดูไปด้วย[4]

การแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งพระราชครูวามเทพมุนี จะพิจารณาเลือกจากบุคคลที่อยู่ในสายสกุลที่ใกล้ชิดกับพระราชครูวามเทพมุนีคนก่อน ดำรงตำแหน่งพราหมณ์ราชสำนักโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้แต่งตั้ง เนื่องจากพราหมณ์ราชสำนักเป็นข้าราชการในสังกัดกองพระราชพิธีสำนักพระราชวัง

พระราชครูวามเทพมุนีคนปัจจุบันคือพระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ (ชวิน รังสิพราหมณกุล) ดำรงตำแหน่งนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542

ตำแหน่งพราหมณ์ที่สำคัญอีกตำแหน่งคือพระมหาราชครูอัษฎาจารย์ เป็นตำแหน่งประธานคณะพราหมณ์

ลำดับ[แก้]

ลำดับพระมหาราชครูประจำแต่ละรัชกาล นับตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ดังนี้[5]

รัชกาล นาม หมายเหตุ
รัชกาลที่ 1 พระมหาราชครูพิธี (สมบุญ)
รัชกาลที่ 2 พระมหาราชครูพิธี (บุญคง)
รัชกาลที่ 3 พระมหาราชครูพิธี (ทองคำ)
รัชกาลที่ 4 พระมหาราชครูพิธี (พุ่ม)
รัชกาลที่ 5 พระมหาราชครูพิธี (อ่าว)
รัชกาลที่ 6 พระมหาราชครูพิธี (อุ่ม คุรุกุล)
รัชกาลที่ 7 พระราชครูวามเทพมุนี (หว่าง รังสิพราหมณกุล)
รัชกาลที่ 8 พระมหาราชครูพิธี (สวาสดิ์ รังสิพราหมณกุล)
รัชกาลที่ 9 พระราชครูวามเทพมุนี (สมจิตต์ รังสิพราหมณกุล)
พระมหาราชครูอัษฎาจารย์ (ละเอียด รัตนพราหมณ์)[6]
พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ (ชวิน รังสิพราหมณกุล)[7]
รัชกาลที่10 พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ (ชวิน รังสิพราหมณกุล)[8]

อ้างอิง[แก้]

  1. เปิดชีวิตผู้นำสูงสุดพราหมณ์ คนสำคัญวันฉลองเสาชิงช้า,เอ็กซ์-ไซท์ ไทยโพสต์, 10-11 กันยายน 2550, หน้า 5
  2. "'พระราชครูวามเทพมุนี' สืบสกุลพราหมณ์หลวง 4 แผ่นดิน". พลังธรรม. สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. โลกหลายใบของเด็กชายพราหมณ์
  4. คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง. ภารตะ-สยาม ? ผี พราหมณ์ พุทธ ?. กรุงเทพฯ : มติชน, 2560, หน้า 15
  5. "ตำแหน่งพระครูพราหมณ์". สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-07. สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เลื่อนฐานันดรศักดิ์พระราชครูพราหมณ์ เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ
  7. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งพระครูพราหมณ์ (พระราชครูวามเทพมุนี (ชวิน รังสิพราหมณกุล) เป็น พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ วิบุลย์เวทย์บรมหงส์ พรหมพงศ์ พฤฒาจาริย์)
  8. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งพระครูพราหมณ์ (พระราชครูวามเทพมุนี (ชวิน รังสิพราหมณกุล) เป็น พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ วิบุลย์เวทย์บรมหงส์ พรหมพงศ์ พฤฒาจาริย์)