พระราชบัญญัติการเดินเรือ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระราชบัญญัติการเดินเรือของอังกฤษ เป็นชุดกฎหมายซึ่งมีผลจำกัดการใช้เรือต่างประเทศสำหรับการค้าระหว่างราชอาณาจักรอังกฤษ (หลังจาก ค.ศ. 1707 คือ ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่) และอาณานิคมของอังกฤษ โดยเริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1651 ในตอนแรกเริ่ม กฎหมายดังกล่าวถือได้ว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่นำไปสู่สงครามอังกฤษ-ดัตช์ ต่อมา กฎหมายดังกล่าวได้กลายมาเป็นแหล่งของความไม่พอใจของชาวอาณานิคมในทวีปอเมริกาเหนือต่อบริเตนใหญ่ และเป็นหนึ่งในสาเหตุของสงครามปฏิวัติสหรัฐอเมริกา แต่กระนั้น กฎหมายนี้ก็เป็นพื้นฐานของการค้าโพ้นทะเลของอังกฤษเป็นเวลานานถึง 200 ปี

กฤษฎีกาการเดินเรือ ค.ศ. 1651[แก้]

รัฐสภาเครือจักรภพอังกฤษ นำโดยโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ ได้ผ่านร่างพระราชกฤษฎีกาการเดินเรือในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1651 อันเป็นการเสริมหลักการนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้การค้ากับอังกฤษควรที่จะดำเนินการโดยเรือสัญชาติอังกฤษเท่านั้นซึ่งมีมาช้านาน กฎหมายนี้เป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อความล้มเหลวของคณะทูตอังกฤษ ณ เฮก ซึ่งไม่สามารถชักชวนให้สาธารณรัฐดัตช์เข้าร่วมในเครือจักรภพได้ หลังจากรัฐฮอลแลนด์ได้การทาบทามไปถึงคอร์นเวลล์เพื่อตอบโต้ความปรารถนาอยากเป็นพระมหากษัตริย์ของเจ้าเมือง วิลเลียมที่ 2 เจ้าชายแห่งออเรนจ์ อย่างไรก็ตาม เจ้าเมืองดังกล่าวได้สิ้นพระชนม์โดยเฉียบพลัน และคอร์นเวลล์อึกอักกับรัฐฮอลแลนด์ที่ได้ยึดความคิดดังกล่าวอย่างจริงจังเกินไป อังกฤษได้เสนอให้ครอบครองดินแดนของสเปนและโปรตุเกสร่วมกัน อังกฤษจะได้ทวีปอเมริกา และเนเธอร์แลนด์จะได้แอฟริกาและเอเชีย อย่างไรก็ตาม เนเธอร์แลนด์เพิ่งจะเสร็จสิ้นสงครามกับสเปนและได้รับดินแดนอาณานิคมโปรตุเกสส่วนมากในทวีปเอเชียได้แล้ว เนเธอร์แลนด์จึงเห็นประโยชน์น้อยมากจากแผนการอันยิ่งใหญ่นี้ และได้เสนอข้อตกลงการค้าเสรีเป็นทางเลือกสำหรับการรวมตัวทางการเมืองเต็มรูปแบบ แต่แนวคิดนี้ไม่อาจยอมรับได้สำหรับอังกฤษ ผู้ซึ่งไม่สามารถที่จะแข่งขันในเวทีระดับนั้นได้ และถูกมองว่าเป็นการสบประมาทโดยเจตนา

พระราชบัญญัติดังกล่าวได้สั่งห้ามเรือต่างด้าวจากการขนส่งสินค้าจากทวีปยุโรปเข้ามายังอังกฤษหรืออาณานิคมของอังกฤษ และสั่งห้ามเรือประเทศที่สามในการขนส่งสินค้าจากที่ใดก็ตามในทวีปยุโรปเข้ามาในอังกฤษ กฎดังกล่าวได้มุ่งเป้าหลักไปยังเนเธอร์แลนด์ผู้ซึ่งครอบครองสัดส่วนการค้าระหว่างประเทศของยุโรปและการขนส่งชายฝั่งของอังกฤษจำนวนมาก กฎหมายดังกล่าวทำให้เนเธอร์แลนด์ไม่อาจทำการค้าใด ๆ กับอังกฤษได้ และเนื่องจากเศรษฐกิจของเนเธอร์แลนด์เป็นแบบแข่งขัน ไมพึ่งพากับอังกฤษ ดังนั้น ทั้งสองประเทศจึงมีการแลกเปลี่ยนวัตถุซื้อขายกันน้อยมาก อย่างไรก็ตาม การค้าอังกฤษ-ดัตช์เป็นเพียงส่วนน้อยของการค้าของเนเธอร์แลนด์ทั้งหมด พระราชบัญญัติดังกล่าวได้รับการกล่าวถึงบ่อยครั้งว่าเป็นสาเหตุหลักของสงครามอังกฤษ-ดัตช์ครั้งที่หนึ่ง ถึงแม้ว่ามันจะเป็นเพียงส่วนหนึ่งในนโยบายอันยิ่งใหญ่กว่าของอังกฤษที่จะเข้าร่วมในสงครามหลังจากการเจรจาประสบความล้มเหลว ชัยชนะทางทะเลของอังกฤษในปี ค.ศ. 1653 ได้แสดงถึงความยิ่งใหญ่ของกองทัพเรือเครือจักรภพในน่านน้ำประเทศตน อย่างไรก็ตาม ในการรบที่อยู่นอกเหนือจากนั้น ฝ่ายเนเธอร์แลนด์กลับมีอำนาจเหนือกว่า และสามารถที่จะปิดการค้าของอังกฤษในทะเลบอลติกและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทั้งสองประเทศต่างก็กดดันอีกฝ่ายหนึ่ง[1]

สนธิสัญญาเวสต์มินสเตอร์ได้ยุติภาวะจนตรอกนี้ ฝ่ายเนเธอร์แลนด์ยอมรับพระราชบัญญัติเดินเรือในช่วงสันติภาพนี้ แต่ก็ส่งผลน้อยมากต่อการค้าของเนเธอร์แลนด์ สำหรับอังกฤษแล้ว พระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นเพียงสิ่งปลอบใจอันจำกัด มันไม่สามารถจำกัดความเสื่อมของฐานะการค้าโพ้นทะเลของอังกฤษ ยกเว้นแต่ในกรณีที่อังกฤษเป็นประเทศผู้บริโภคหลักเท่านั้น เช่นเดียวกับการค้าไวน์ของกานาเรียส และน้ำมันมะกอกในพักเลียน ในการค้ากับอินเดียตะวันตก เนเธอร์แลนด์ยังรักษาการค้า "ลักลอบน้ำเข้า" ที่เฟื่องฟู เนื่องมาจากการโอนเอียงไปนิยมสินค้านำเข้าของเนเธอร์แลนด์ของคนทำสวนยางชาวอังกฤษและข้อเสนอที่ดีกว่าของเนเธอร์แลนด์ในการค้าน้ำตาล อาณานิคมดัตช์ นิวเนเธอร์แลนด์ ได้เสนอช่องโหว่ (ผ่านทางการค้าระหว่างอาณานิคม) ซึ่งกว้างมากพอที่จะอนุญาตให้ยาสูบเวอร์จิเนียเต็มลำเรือสามารถผ่านได้[2]

พระราชบัญญัติการเดินเรือ[แก้]

พระราชบัญญัติซึ่งเคยเมื่อปี ค.ศ. 1651 เช่นเดียวกับกฎหมายซึ่งผ่านในสมัยเครือจักรภพอื่น ๆ ได้รับการประกาศว่าเป็นโมฆะหลังจากการฟื้นฟูของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ โดยระบุว่าเป็นกฎหมายซึ่งผ่านโดย 'อำนาจซึ่งได้มาจากการแย่งชิง' ดังนั้น รัฐสภาจึงผ่านกฎหมายฉบับใหม่ ซึ่งมักได้รับการกล่าวถึงว่า "พระราชบัญญัติการเดินเรือ" ซึ่งการแก้ไขเพิ่มเติมบางส่วนยังคงมีผลบังคับใช้มาเป็นเวลาเกือบสองศตวรรษ

พระราชบัญญัติการเดินเรือ ค.ศ. 1660 ได้เพิ่มความประหลาดจากรัฐบัญญัติในสมัยโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ขึ้นอีก; โดยที่ลูกเรือของเรือนั้นจะต้องมีสัญชาติอังกฤษอย่างน้อยสามในสี่ และสินค้าที่ได้รับการระบุซึ่งมิได้ผลิตโดยประเทศแม่ อย่างเช่น ยาสูบ ฝ้ายและน้ำตาล จะต้องได้รับการขนส่งจากอาณานิคมอังกฤษมายังอังกฤษหรือส่งไปยังอาณานิคมอังกฤษอื่นเท่านั้น

พระราชบัญญัติการเดินเรือ ค.ศ. 1663 (หรือเรียกว่า "พระราชบัญญัติกระตุ้นการค้า") กำหนดให้สินค้ายุโรปทั้งหมดซึ่งพึ่งพาทวีปอเมริกา (หรืออาณานิคมอื่น) จะต้องผ่านอังกฤษเสียก่อน ในอังกฤษ สินค้าจะถูกนำขึ้นจากเรือ ตรวจตรา จ่ายภาษี และนำสินค้าลงเรืออีก การค้าดังกล่าวจะต้องบรรทุกในเรือสินค้าอังกฤษ ซึ่งรวมไปถึงเรือของอาณานิคมอังกฤษ ยิ่งไปกว่านั้น การนำเข้าวัตถุซื้อขายที่ถูกระบุ อย่างเช่น น้ำตาล ข้าวและยาสูบ จะต้องนำลงจากเรือและจ่ายภาษีก่อนที่จะขนส่งไปยังประเทศอื่น นี่เป็นการเพิ่มมูลค่าให้แก่อาณานิคมอังกฤษ และเพิ่มเวลาในการขนส่ง (คำว่า "อังกฤษ" ในที่นี้รวมไปถึงเวลส์ด้วย ถึงแม้ว่ามันจะมีส่วนน้อยมากในการค้ากับส่วนอื่น ๆ หลังจากพระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1707 สกอตแลนด์ก็ได้รับสิทธิพิเศษอย่างเดียวกัน)

พระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลเต็มที่ในเวลาสั้น ๆ เท่านั้น หลังจากสงครามอังกฤษ-ดัตช์ครั้งที่สอง ซึ่งส่งผลอย่างหายนะต่ออังกฤษ ดัตช์ได้บรรลุสิทธิ์ที่จะขนส่งวัตถุซื้อขายซึ่งผลิตในบริเวณหลังเมืองท่าในเยอรมนี ไปยังอังกฤษราวกับว่าเป็นการขนส่งสินค้าของดัตช์ และที่สำคัญไปกว่านั้น อังกฤษได้ยอมรับแนวคิดของ "เรือเสรี สินค้าเสรี" ซึ่งเป็นการให้เสรีภาพในการรบกวนโดยราชนาวีดัตช์ในการขนส่งในทะเลหลวง ถึงแม้ว่าในสงครามสาธารณรัฐดัตช์จะเป็นกลางก็ตาม นี่ได้ให้เสรีภาพแก่ดัตช์ได้การ "ลักลอบนำเข้า" ได้ตราบที่พวกเขาไม่ถูกพบว่าผิดในน่านน้ำซึ่งควบคุมโดยอังกฤษ บทบัญญัติดังกล่าวได้รับการยืนยันอีกครั้งหนึ่งในสนธิสัญญาเวสต์มินสเตอร์ (ค.ศ. 1674) หลังจากสงครามอังกฤษ-ดัตช์ครั้งที่สาม[3]

พระราชบัญญัติกากน้ำตาล ค.ศ. 1733[แก้]

พระราชบัญญัติกากน้ำตาล ค.ศ. 1733 เป็นการกำหนดอัตราภาษีสูงต่อการค้าน้ำตาลจากอินเดียตะวันตกของฝรั่งเศสไปยังอาณานิคมอเมริกัน ทำให้ชาวอาณานิคมต้องซื้อน้ำตาลที่แพงกว่าจากอินเดียตะวันตกของอังกฤษแทน กฎหมายดังกล่าวได้รับการดูถูกอย่างกว้างขวาง แต่ความพยายามของอังกฤษที่จะป้องกันการลักลอบน้ำเข้าได้ก่อให้เกิดความเป็นปรปักษ์และมีส่วนสำคัญต่อการปฏิวัติอเมริกา พระราชบัญญัติกากน้ำตาลเป็นพระราชบัญญัติเกี่ยวกับน้ำตาลฉบับแรก พระราชบัญญัติดังกล่าวหมดอายุในปี ค.ศ. 1763 และในปี ค.ศ. 1764 กฎหมายนี้ได้รับการริเริ่มขึ้นใหม่เป็นพระราชบัญญัติน้ำตาล ซึ่งได้ทำให้เกิดความไม่สงบในหมู่ชาวอาณานิคม

การเลิกล้ม[แก้]

พระราชบัญญัติดังกล่าวเลิกล้มในปี ค.ศ. 1849 พระราชบัญญัตินี้ได้ตั้งอยู่บนทฤษฎีเศรษฐกิจลัทธิพาณิชยนิยม ซึ่งเชื่อกันว่าความมั่งคั่งจะได้มาจากการเพิ่มการจำกัดการค้ากับอาณานิคมมากกว่าการค้าเสรี แต่ในปี ค.ศ. 1849 ศูนย์กลางทุนของยุทธศาสตร์การนเข้าของอังกฤษ คือ การลดราคาของอาหารผ่านทางการนำเข้าสินค้าราคาถูกจากต่างประเทศ และด้วยวิธีนี้ ยังได้เป็นการลดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษากำลังแรงงาน การเลิกล้มพระราชบัญญัติการเดินเรือและกฎหมายข้าวโพดได้บรรลุวัตถุปะรสงค์ดังกล่าว แต่ก็ได้นำไปสู่การกระจัดกระจายของอดีตจักรวรรดิอังกฤษ

อ้างอิง[แก้]

  1. Israel (1997), p. 316
  2. Israel (1997), p.310-311
  3. Israel (1997), pp. 316-317

บรรณานุกรม[แก้]