พระยาเพชรกำแหงสงคราม (ซุ่ย ซุ่ยยัง)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระยาเพชรกำแหงสงคราม
(ซุ่ย ซุ่ยยัง)
เจ้าเมืองชุมพร
ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2353 – พ.ศ. 2367
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด9 เมษายน พ.ศ. 2318
เสียชีวิตพ.ศ. 2375
ศาสนาอิสลาม ต่อมานับถือ พุทธ

พระยาเพชรกำแหงสงคราม (ซุ่ย ซุ่ยยัง) อดีตเจ้าเมืองชุมพร เป็นบุตร นายถิ่น น่าจะเป็นคนเดียวกับ พระยาเพชรกำแหงสงคราม (ถิ่น) เจ้าเมืองชุมพร และนางไผ่ยา (น้อย) และเป็นพ่อตาของ พระศรีราชสงคราม (ปาน ศรียาภัย) รองเจ้าเมืองไชยา (ฝ่ายทหาร) หรือ ปลัดเมืองไชยา ซึ่งเป็นบิดาของ พระยาวจีสัตยารักษ์ (ขำ ศรียาภัย) ผู้กำกับการถือน้ำพิพัฒน์สัตยา

ประวัติ[แก้]

พระยาเพชรกำแหงสงคราม (ซุ่ย ซุ่ยยัง) หรือ พระยาตับเหล็ก อดีตเจ้าเมืองชุพร และ แม่ทัพเรือ และเป็นบิดาของ พระยาเพชรกำแหงสงคราม (ยัง ซุ่ยยัง) อดีตเจ้าเมืองชุมพร ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5

ผลงาน[แก้]

  • พ.ศ. 2363 ชนะศึกพม่าที่ยกทัพมาตีเมืองชุมพร ณ บริเวณที่ตั้งวัดชุมพรรังสรรค์ หรือ วัดเหนือ ปัจจุบัน ในสมัยนั้นใช้เป็นป่าช้า(ฝังศพ และเผาศพ)
  • พ.ศ. 2367 (นับแบบเดิม พ.ศ. 2366)[1] เป็นแม่ทัพเรือ ยกกองทัพเรือ เป็นเรือรบใหญ่ 9 ลำ และเรือกรรเชียง 60-80 ฝีพาย จำนวนหนึ่ง ไปตีเมืองมะริด แพ้อังกฤษ ทหารถูกจับ 155 คน พร้อมเรือกรรเชียง 2 ลำ พระเทพไชยบุรินทร์ (ขุนทอง) เป็นนายกองถูกจับด้วย

ส่วนเจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรียะ คชเสนี) เป็นแม่ทัพหน้า และ พระยาสุรเสนา เป็นแม่ทัพหนุน ยกทัพไปทางด่านเจดีย์สามองค์ ทั้ง 3 กองทัพเพื่อไปช่วยอังกฤษรบพม่า

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

พ.ศ. 2353 ได้รับพระราชทาน "พานทอง" จากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒

อนิจกรรม[แก้]

ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อ ปี พ.ศ. 2375 ณ กรุงเทพมหานคร

อ้างอิง[แก้]

  1. จดหมายเหตุหลวงอุดมสมบัติ : 153
  2. จดหมายเหตุหลวงอุดมสมบัติ : 155


แหล่งข้อมูล[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]