พระยาสุรินทราชา (นกยูง วิเศษกุล)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาอำมาตย์โท

พระยาสุรินทราชา
(นกยูง วิเศษกุล)
เกิด25 สิงหาคม พ.ศ. 2418
เสียชีวิต19 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 (66 ปี)
นามปากกาแม่วัน
อาชีพรับราชการ
สัญชาติสยาม, ไทย
คู่สมรสคุณหญิงเนื่อง สุรินทราชา

มหาอำมาตย์โท พระยาสุรินทราชา สยามราชภักดี พิริยะพาหะ (นกยูง วิเศษกุล) [1] มีนามเดิมว่า นกยูง วิเศษกุล อดีตอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข อดีตสมุหเทศาภิบาล มณฑลภูเก็ต เป็นผู้แปลนวนิยายเรื่อง ความพยาบาท จากเรื่อง Vendetta ของมารี คอเรลลี ใช้นามปากกา "แม่วัน" ถือเป็นนิยายแปลเล่มแรกของไทย[2] ซึ่งนิยายแปลเล่มแรกนี้ยังส่งผลให้เกิดนิยายภาษาไทยเล่มแรกคือ ความไม่พยาบาท ในปี พ.ศ. 2458 แต่งโดยนายสำราญ หรือหลวงวิลาศปริวัตร (ครูเหลี่ยม) โดยได้รับอิทธิพลหลังจากได้อ่านนิยายแปลเล่มดังกล่าว

พระยาสุรินทราชา (นกยูง วิเศษกุล) เดิมมีบรรดาศักดิ์เป็น หลวงอภิรักษ์ราชฤทธิ์ ถือศักดินา 600 เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2441[3] เป็นมหาดเล็กข้าหลวงเดิมในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์เป็น พระวิสูตรเกษตรศิลป์ ถือศักดินา 800 เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2453[4]ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้ากรมเพาะปลูก กระทรวงเกษตราธิการ และได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น อธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2457[5] และได้เลื่อนเป็นพระยาสุรินทราชา เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2463 ตำแหน่งเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต สืบต่อจาก พระยาสุรินทราชา (ม.ร.ว.สิทธิ์ สุทัศน์) ที่เลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็นพระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร (หม่อมราชวงศ์สิทธิ์ สุทัศน์)[6] ต่อมาจึงได้ย้ายไปรับตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลนครศรีธรรมราชเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2468[7]จากนั้นจึงได้ย้ายมารับตำแหน่ง อธิบดีกรมนคราทร กระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2470 ก่อนจะถูกปลดออกจากประจำการรับพระราชทานบำนาญเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2475[8]

พระยาสุรินทราชา (นกยูง วิเศษกุล) สมรสกับคุณหญิงเนื่อง สุรินทราชา มีธิดา 4 คน [9] คนสุดท้องคือหม่อมกอบแก้ว อาภากร ณ อยุธยา หม่อมในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา (อดีตประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร) พระยาสุรินทราชา (นกยูง วิเศษกุล) และคุณหญิงเนื่อง สุรินทราชา จึงเป็นพระสสุระและพระสัสสุในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตยทิพอาภา

พระยาสุรินทราชา (นกยูง วิเศษกุล) ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 สิริอายุได้ 62 ปี

จากการที่ท่านเป็นผู้แปลนวนิยายเรื่องแรกของไทย ทำให้ได้รับการยกย่องจากสมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทย โดยตั้งชื่อรางวัลประจำปีที่มอบให้กับนักแปล และล่ามดีเด่น ใช้ชื่อรางวัลว่า "รางวัลสุรินทราชา" [10]

และในปัจจุบัน มีถนนวิเศษกุล ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดตรัง ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ท่าน[11]

รับราชการและยศตำแหน่ง[แก้]

  • 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2453 จ่า[12]
  • 20 เมษายน พ.ศ. 2454 รั้งเจ้ากรมเพาะปลูก[13]
  • 20 สิงหาคม พ.ศ. 2454 อำมาตย์ตรี[14]
  • 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 อำมาตย์โท[15]
  • 10 กุมภาพันธ์ 2454 – อำมาตย์เอก[16]
  • 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2454 เจ้ากรมเพาะปลูก[17]
  • 3 มกราคม 2456 – นายหมู่ตรี[18]
  • – รักษาราชการแทนอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข
  • 29 สิงหาคม 2457 – อธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข
  • 15 กันยายน 2457 – มหาอำมาตย์ตรี[19]
  • 10 พฤศจิกายน 2457 – พระยาอจิรการประสิทธิ์[20]
  • 15 พฤศจิกายน 2457 – เข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์[21]
  • 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 จางวางตรี[22]
  • 20 มกราคม 2462 – อาจารย์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[23]
  • 10 สิงหาคม 2463 – นายกองโท[24]
  • 20 กันยายน 2463 – รักษาราชการแทนผู้บัญชาการกองเสนารักษาดินแดนภูเก็ต[25]
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2464 จางวางโท[26]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

พระยาสุรินทราชา (นกยูง วิเศษกุล) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "อัศจรรย์อสัญวาร หม่อมกอบแก้ว อาภากร ณ อยุธยา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-08. สืบค้นเมื่อ 2010-05-04.
  2. กำแพงสามชั้น...ของงานแปล
  3. ส่งสัญญาบัตรไปพระราชทาน
  4. พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง (หน้า 2396)
  5. ประกาศกระทรวงคมนาคม
  6. พระราชทานบรรดาศักดิ์
  7. ประกาศ ตั้งสมุหเทศาภิบาลมณฑลต่าง ๆ[ลิงก์เสีย]
  8. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ปลดอธิบดีกรมนคราทร
  9. ลดา รุธิรกนก. มณีในอาทิตย์. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์, 2549. 240 หน้า. ISBN 978-9749-906-651
  10. "วันนักแปลและล่าม ครั้งที่ 3" พ.ศ. 2552[ลิงก์เสีย]
  11. ยืนหยัด ใจสมุทร. ตรัง : เมืองท่าโบราณสองพันปี นายกรัฐมนตรีสองยุค. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, 2539. 161 หน้า. ISBN 974-7115-60-3
  12. แจ้งความกรมมหาดเล็ก
  13. ประกาศกระทรวงฯเกษตราธิการ เรื่อง ย้ายพระวิสูตรเกษตรศิลป์ข้าหลวงเกษตรมณฑลภูเก็ตมารับราชการในกรมเพาะปลูกและให้หลวงพินิจพืชการเป็นข้าหลวงเกษตรมณฑลภูเก็ต
  14. ประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศพระราชทานยศ แก่ข้าราชการกระทรวงเกษตราธิการ
  15. พระราชทานยศ (หน้า 1782)
  16. พระราชทานยศ
  17. ประกาศกระทรวงเกษตราธิการ
  18. เลื่อนและตั้งยศนายกองนายหมู่เสือป่า
  19. พระราชทานยศ
  20. รายนามผู้ที่ได้รับพระราชทานเลื่อนยศบรรดาศักดิ์
  21. รายวันพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
  22. ประกาศกรมมหาดเล็ก
  23. แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ
  24. พระราชทานยศนายเสือป่า
  25. แจ้งความกรมบัญชาการคณะเสือป่า เรื่อง ย้ายและบรรจุสมาชิกเสือป่ารับราชการ
  26. พระราชทานยศ (หน้า 2931)
  27. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๔๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๔๕๖, ๑ มกราคม ๒๕๖๗
  28. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๗๒๒, ๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๓
  29. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า, เล่ม ๓๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๔๘, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๕
  30. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๗๕, ๒ พฤษภาคม ๒๔๖๙
  31. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๒๗, ๒๕ มกราคม ๒๔๖๒
  32. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลปัจจุบัน, เล่ม ๓๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๘๒๖, ๑๖ มกราคม ๒๔๕๘
  33. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๒๙๙, ๖ มีนาคม ๒๔๖๙
  34. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๐๕๙, ๒๗ สิงหาคม ๑๓๐
  35. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๗ ตอนที่ ๒ หน้า ๑๓, ๘ เมษายน ๑๑๙
  36. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญต่างประเทศ, เล่ม ๒๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๔๕๒, ๒๙ กันยายน ๑๓๑
  37. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๕๔, ๑๖ พฤษภาคม ๒๔๖๓