รายพระนามและชื่อภรรยาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเธอ พระองค์เจ้ารำเพยภราภิรมย์ พระอัครมเหสี
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเธอ พระองค์เจ้ารำเพยภราภิรมย์ พระอัครมเหสี และพระราชบุตร
เจ้าจอมมารดาเพ็ง (ซ้าย) และเจ้าจอมมารดาห่วง (ขวา) สวมเครื่องแต่งกายอย่างตะวันตก
ทหารจิงโจ้แต่งกายอย่างสกอต จากซ้าย เจ้าจอมมารดาเขียน, เจ้าจอมมารดาวาด และเจ้าจอมมารดาสุ่น

ในพระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เรื่อง ประชุมบทละคอนดึกดำบรรพ ฉบับบริบูรน์ พร้อมด้วยเรื่องประวัติเจ้าคุนพระประยูรวงส์และตำนานละคอนดึกดำบรรพ (พ.ศ. 2486) ได้ระบุถึงลำดับชั้นของภรรยาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แบ่งเป็น 5 ชั้น ได้แก่ ชั้นพิเศษ ชั้นที่หนึ่ง ชั้นที่สอง ชั้นที่สาม และชั้นที่สี่ โดยสังเกตจากเครื่องใส่หมากที่ได้รับพระราชทานเป็นสำคัญ ดังนี้[1]

  1. ชั้นพิเศษ สำหรับพระราชทานพระมเหสีเทวี เรียกในกฎมนเทียรบาลว่า พระภรรยาเจ้า ได้หีบและพานหมากเสวยทองคำลงยาราชาวดี
  2. ชั้นที่ 1 สำหรับพระสนมเอก ได้รับพระราชทานพานทอง หีบหมากลงยา และกระโถนทองคำ แต่ขนาดย่อมกว่าเครื่องยศฝ่ายหน้า
  3. ชั้นที่ 2 สำหรับเจ้าจอมมารดา และเจ้าจอมอยู่งานที่ได้รับพระเมตตา หรือที่เรียกว่า พระสนม ได้รับพระราชทานหีบหมากทองคำลงยาราชาวดี
  4. ชั้นที่ 3 สำหรับนางอยู่งานที่ทรงเลือกไว้ใกล้ชิดพระองค์ เรียกว่า เจ้าจอมอยู่งาน ได้รับพระราชทานหีบหมากทองคำ และบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าจอม
  5. ชั้นที่ 4 สำหรับนางอยู่งานที่ใช้สอยในพระราชมนเทียร ได้รับพระราชทานหีบหมากเงินกาไหล่ทอง แต่ไม่นับเป็นเจ้าจอม

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีการแต่งตั้งพระภรรยาเจ้า โดยการใช้คำนำหน้าพระนามเป็นครั้งแรก คือ สมเด็จพระนางเธอ พระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดี ในที่สมเด็จพระนางนาฏบรมอรรคราชเทวี และสมเด็จพระนางเธอ พระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์ ในที่สมเด็จพระนางนาถราชเทวี ก่อนหน้านี้ราชสำนักกรุงรัตนโกสินทร์ไม่มีการตั้งพระภรรยาเจ้าพระองค์ใดเป็นพระอัครมเหสีอย่างเป็นทางการเลย[2] แต่ธรรมเนียมไทยในขณะนั้นยังไม่มีพระราชพิธีอภิเษกสมรส จึงให้นับว่าพระอัครมเหสีเป็นสมเด็จพระราชินี (Queen Consort) ตามอย่างสากล[3] ทว่าหลังพระอัครมเหสีสองพระองค์นั้นสวรรคต ก็มิทรงสถาปนาผู้ใดเป็นพระอัครมเหสีอีก แม้แต่พระภรรยาเจ้าอีกองค์หนึ่ง คือ หม่อมเจ้าพรรณราย ได้รับการยกย่องเป็นเจ้าข้างใน แต่ไม่ได้สถาปนาพระอิสริยยศให้สูงขึ้นแต่ประการใด[4]

หนังสือพิมพ์ Bangkok Calender ฉบับ พ.ศ. 2406 ระบุว่าในปีนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระภรรยาถึง 34 คน และมีนางห้ามที่เป็นลูกขุนนางอีก 74 คน ที่บิดานั้นทูลเกล้าถวายเพื่อเป็นบาทบริจาริกา สรุปแล้วทรงมีเจ้าจอมหม่อมห้ามในพระองค์รวมกัน 108 คน[5] นอกจากนี้พระองค์ยังเคยส่งคณะราชทูตไปกรุงลอนดอน ทรงเสียพระทัยที่ไม่สามารถซื้อหญิงฝรั่งมาเป็นนางสนมได้ ต่างจากเวลาคณะทูตสยามไปกรุงจีน ทรงประกาศไว้ความว่า "อนึ่ง ถ้าอังกฤษจะนินทาว่าตื่นก็ควรแล้ว ด้วยเราเปนชาวป่าได้เข้าไปในเมืองสวรรค์ เสียใจอยู่แต่ว่า ถ้าเปนถึงเมืองสวรรค์แล้ว ผู้ที่ไปเปนแต่ไปชมนางเทพอัปสรกัญญา แต่จะซื้อมาเหมือนผู้หญิงจีนไม่ได้ ต้องกลับมาแผลงรัง ถ้ากระนั้นซื้อได้แต่เครื่องแต่งนางสวรรค์ มาแต่งนางมนุษย์เราที่นี้เล่นบ้างก็จะดีอยู่ พอดูเล่นประหลาด ๆ"[6] แม้จะมิได้หญิงฝรั่งมาเป็นบาทบริจาริกา แต่พระองค์มีพระสนมเป็นหญิงต่างด้าวรับราชการอยู่ เช่น เจ้าจอมมารดาดวงคำจากกรุงเวียงจันทน์ พระองค์เจ้ากำโพชราชสุดาดวงจากกรุงกัมพูชา และตนกูสุเบียจากกรุงลิงกา[7] หากบาทบริจาริกาสองนางหลังนี้ประสูติกาลพระราชบุตร พระราชบุตรนั้นจะมีฐานันดรศักดิ์เป็นเจ้าฟ้า เพราะมีมารดาเป็นเจ้าหญิงต่างด้าวหรือเป็นธิดาเจ้าประเทศราช[3] แต่เจ้าจอมทั้งสองก็มิได้ประสูติกาลพระราชบุตรเลย

บาทบริจาริกาเหล่านี้จะอาศัยอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นใน แอนนา ลีโอโนเวนส์ ครูสอนภาษาอังกฤษในราชสำนัก อธิบายว่าภายในเขตพระราชฐานชั้นในนั้นมีลักษณะเหมือนเป็นเมืองย่อม ๆ มีร้านรวง ถนน ตลาด และสวน ที่มีสตรีดูแลอยู่ทั้งหมด[8] หญิงที่ถวายตัวแก่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นมีมาก นอกจากการปรนนิบัติพัดวีพระเจ้าอยู่หัวแล้ว ก็ล้วนมีหน้าที่อื่น ๆ กันตามสมควร เช่น เย็บปักถักร้อย ทำพวงมาลัย ทำอาหารคาวหวาน เป็นนางละครหรือนักดนตรีมโหรี และหลายคนไม่มีโอกาสได้ถวายตัวไปถึงห้องพระบรรทมของพระเจ้าอยู่หัวเลย[6] แอนนา ลีโอโนเวนส์กล่าวถึงกิจกรรมในราชสำนักและการปรนนิบัติของนางบาทบริจาริกาไว้ว่า "ตอนบ่าย 2 พระองค์ [พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว] ตื่นบรรทมเองโดยมีพวกผู้หญิงช่วยกันสรงน้ำและชโลมน้ำมันให้ จากนั้นพระองค์เสด็จไปยังห้องเสวยซึ่งจะจัดเสิร์ฟอาหารมื้อใหญ่สุดของวันถวาย พระองค์สนทนาปราศรัยกับบรรดาชายาและสนมคนโปรด พระองค์อุ้มลูก ๆ กอดลูก สรรหาคำถามชวนขันหรือน่าพิศวงมาถามลูก ๆ ไม่หยุดหย่อน ทั้งยังทำหน้าตาตลก ๆ หยอกล้อลูก ๆ วัยทารก ยิ่งโปรดแม่ก็ยิ่งรักลูก ความรักลูกเป็นคุณสมบัติอันหนักแน่นมั่นคงของผู้มีอำนาจเด็ดขาดหากโดดเดี่ยวเดียวดายผู้นี้ พวกเขามัดใจพระองค์ด้วยความน่ารักและความไว้วางใจ ทำให้พระองค์สดชื่นกระปรี้กระเปร่าไปกับท่าทางไร้เดียงสาของลูก ๆ ที่ช่างร่าเริง สง่างาม และน่าเอ็นดูนัก"[9]

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศไว้ ความว่า "อนึ่ง ผู้หญิงบ้านนอกขอกนา เปนลูกเลขไพร่หลวงไพร่สมทาสขุนนาง ในหลวงไม่เอาเปนเมียดอก เกลือกจะมีลูกออกมา จะเสียเกียรติยศ แต่ผู้นำผู้หญิงงาม ๆ มาให้ก็ดีใจอยู่ ด้วยจะให้มีกิตติศัพท์เล่าฤๅว่า ยังไม่ชราภาพนัก จึงมีผู้หาเมียให้เท่านั้นดอก จึงรับไว้แล้วให้หัดเปนลครบ้าง มโหรีบ้าง เล่นการต่าง ๆ ไปโดยสมควร จะได้ทำหม่นหมองในคนต่ำ ๆ เลว ๆ นั้นหามิได้ ถ้าบิดามารดามาร้องจะขอตัวคืนไป ฤๅตัวร้องจะออกเอง ก็ไปง่าย ๆ ดี ๆ ผู้หญิงนั้นก็บริสุทธิ์อยู่ไม่เศร้าหมอง"[6] และมีพระกรุณาอนุญาตให้เจ้าจอมหม่อมห้ามลาออกจากราชการได้ ยกเว้นแต่ผู้ที่มีพระราชบุตรกับพระเจ้าอยู่หัว เพราะเกรงว่าจะเสียเกียรติแห่งพระเจ้าลูกเธอ หญิงที่ออกจากราชการแล้วจะออกไปสมรสใหม่ก็ไม่ทรงห้าม ดังในประกาศความว่า "ใคร ๆ ไม่สบายจะใคร่กราบถวายบังคม ลาออกนอกราชการไปอยู่วังเจ้าบ้านขุนนางบ้านบิดามารดา จะมีลูกมีผัวให้สบายประการใด ก็อย่าให้กลัวความผิดเลย ให้กราบทูลถวายบังคมลาโดยตรง แล้วก็จะโปรดให้ไปตามปรารถนาโดยสะดวก ไม่กักขังไว้ แลไม่ให้มีความผิดแก่ผู้นั้นแลผู้ที่จะเป็นผัวนั้นเลย ห้ามแต่อย่าให้สนสื่อ หาชู้หาผัวแต่ตัวยังอยู่ในราชการ แต่เจ้าจอมมารดาในพระเจ้าลูกเธอ จะโปรดให้ออกนอกราชการไปมีผัวใหม่ไม่ได้ จะเสียเกียรติยศพระเจ้าลูกเธอไป เมื่อจะใคร่ออกนอกราชการ เพียงจะอยู่กับพระเจ้าลูกเธอไม่มีผัวก็จะทรงพระกรุณาโปรด"[6] หนังสือพิมพ์ Bangkok Calender ฉบับ พ.ศ. 2406 รายงานว่ามีบาทบริจาริกาทูลเกล้าถวายฎีกาขอออกจากราชการจำนวน 27 คน[6]

รายพระนามและรายนาม[แก้]

พระภรรยาเจ้า[แก้]

ลำดับ พระบรมฉายาลักษณ์ พระนาม พระชาติตระกูล หมายเหตุ
1.
สมเด็จพระนางเธอ พระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดี ในที่สมเด็จพระนางนาฏบรมอรรคราชเทวี
ตำแหน่ง : พระอัครมเหสี
พระนามเดิม: หม่อมเจ้าโสมนัส ในพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ
พระราชสมภพ : 21 ธันวาคม พ.ศ. 2377
สวรรคต : 10 ตุลาคม พ.ศ. 2395 (17 พรรษา)
2.
สมเด็จพระนางเธอ พระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์ ในที่สมเด็จพระนางนาถราชเทวี
ตำแหน่ง : พระอัครมเหสี
พระนามเดิม: หม่อมเจ้ารำเพย ในกรมหมื่นมาตยาพิทักษ์
พระราชสมภพ : 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2377
สวรรคต : 9 กันยายน พ.ศ. 2404 (27 พรรษา)
3.
หม่อมเจ้าพรรณราย
พระนามเดิม: หม่อมเจ้าแฉ่ ในกรมหมื่นมาตยาพิทักษ์
ประสูติ : 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2381
สิ้นพระชนม์ : 22 มิถุนายน พ.ศ. 2457 (76 ปี)

บาทบริจาริกา[แก้]

เจ้าจอมมารดา[แก้]

ลำดับ รูป นาม ชาติตระกูล หมายเหตุ
1.
เจ้าจอมมารดากลิ่น
ตำแหน่ง : พระสนมเอก[10]
นามเดิม: กลิ่น, ซ่อนกลิ่น (สกุลเดิม คชเสนี)
เกิด : พ.ศ. 2377
ถึงแก่อสัญกรรม : 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 (91 ปี)
2.
เจ้าจอมมารดาเกศ, เกษ
เกิด : พ.ศ. 2362
ถึงแก่อสัญกรรม : 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2458 (96 ปี)[11]
3.
เจ้าจอมมารดาแก้ว
นามเดิม: แก้ว (สกุลเดิม บุรณศิริ)[12]
เกิด : ไม่มีข้อมูล
ถึงแก่อสัญกรรม : 24 มกราคม พ.ศ. 2444[12]
4.
เจ้าจอมมารดาเขียน
นามเดิม: เขียน (สกุลเดิม สิริวันต์)
ฉายา : เขียนอิเหนา
เกิด : พ.ศ. 2385
ถึงแก่อสัญกรรม : พ.ศ. 2484 (99 ปี)
5.
เจ้าจอมมารดาจันทร์
ตำแหน่ง : พระสนมเอก[13]
นามเดิม: จันทร์ (สกุลเดิม สุขสถิต)
เกิด : ไม่มีข้อมูล
ถึงแก่อสัญกรรม : 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2448[13]
6.
เจ้าจอมมารดาชุ่ม
นามเดิม: ชุ่ม (สกุลเดิม โรจนดิศ)
เกิด : พ.ศ. 2387
ถึงแก่อสัญกรรม : 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2466 (80 ปี)
7.
เจ้าจอมมารดาเชย
เกิด : ไม่มีข้อมูล
ถึงแก่อสัญกรรม : 17 ธันวาคม พ.ศ. 2451[14]
  • บิดา : พระยานเรนบริรักษ์ (ก้อน)
  • มารดา : ไม่มีข้อมูล
  • พระราชธิดา : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงไม่มีพระนาม
8.
เจ้าจอมมารดาดวงคำ
นามเดิม: เจ้าหนูมั่นแห่งเวียงจันทน์
ฉายา : มั่นดวงคำ
เกิด : ไม่มีข้อมูล
ถึงแก่อสัญกรรม : 29 ตุลาคม พ.ศ. 2449[15]
9.
เจ้าจอมมารดาตลับ
ตำแหน่ง : พระสนมเอก[16]
นามเดิม: ตลับ (สกุลเดิม บุณยรัตพันธุ์)
เกิด : พ.ศ. 2375
ถึงแก่อสัญกรรม : พ.ศ. 2427 (52 ปี)[17]
10.
เจ้าจอมมารดาเที่ยง
ตำแหน่ง : พระสนมเอก[16]
นามเดิม: เที่ยง (สกุลเดิม โรจนดิศ)
เกิด : 27 ธันวาคม พ.ศ. 2374
ถึงแก่อสัญกรรม : 24 มกราคม พ.ศ. 2456 (81 ปี)
11.
เจ้าจอมมารดาน้อย
นามเดิม: คุณหญิงน้อย
เกิด : 24 ตุลาคม พ.ศ. 2348[18]
ถึงแก่อสัญกรรม : พ.ศ. 2389–2400 (ราว 41–52 ปี)
12.
เจ้าจอมมารดาบัว
นามเดิม: บัว (สกุลเดิม ณ นคร)
เกิด : ไม่มีข้อมูล
ถึงแก่อสัญกรรม : 31 มีนาคม พ.ศ. 2441
13.
เจ้าจอมมารดาเปี่ยม
ตำแหน่ง : พระสนมเอก[19]
นามเดิม: เปี่ยม (สกุลเดิม สุจริตกุล)
ประสูติ : 5 มีนาคม พ.ศ. 2381
พิราลัย : 13 เมษายน พ.ศ. 2447 (66 ปี)
14.
เจ้าจอมมารดาพึ่ง, ผึ้ง
ตำแหน่ง : พระสนมเอก[13]
นามเดิม: เต่า (สกุลเดิม อินทรวิมล)
เกิด : ไม่มีข้อมูล
ถึงแก่อสัญกรรม : 9 มีนาคม พ.ศ. 2433 (53 ปี)[13]
15.
เจ้าจอมมารดาพุ่ม
นามเดิม: พุ่ม (สกุลเดิม ณ ราชสีมา)
เกิด : ไม่มีข้อมูล
ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล
  • บิดา : นายศัลยวิชัย (ทองคำ ณ ราชสีมา)
  • มารดา : ไม่มีข้อมูล
  • พระราชธิดา : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพุทธประดิษฐา
16.
เจ้าจอมมารดาเพ็ง
นามเดิม: หุ่น
ฉายา : หุ่นเมขลา
เกิด : พ.ศ. 2386
ถึงแก่อสัญกรรม : 28 กันยายน พ.ศ. 2432[20]
17.
เจ้าจอมมารดาแพ
ตำแหน่ง : พระสนมเอก[13]
นามเดิม: แพ (สกุลเดิม ธรรมสโรช)
เกิด : ไม่มีข้อมูล
ถึงแก่อสัญกรรม : 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2404
18.
เจ้าจอมมารดามาไลย
เกิด : ไม่มีข้อมูล
ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล
  • บิดา : ไม่มีข้อมูล
  • มารดา : ไม่มีข้อมูล
  • ญาติ : พระยาราชรองเมือง
  • พระราชบุตร :
    • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงไม่มีพระนาม
    • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเสมอสมัยหรรษา
19.
เจ้าจอมมารดาวาด
ตำแหน่ง : พระสนมเอก[21]
นามเดิม : แมว (สกุลเดิม งามสมบัติ)
ฉายา : แมวอิเหนา
เกิด : 11 มกราคม พ.ศ. 2384
ถึงแก่อสัญกรรม : 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2482 (98 ปี)
20.
เจ้าจอมมารดาสังวาล
ตำแหน่ง : พระสนมโท[22]
นามเดิม: ปล้อง (สกุลเดิม ณ ราชสีมา)
สมญา : หนูสังวาลย์
เกิด : พ.ศ. 2381
ถึงแก่อสัญกรรม : 8 กันยายน พ.ศ. 2456 (75 ปี)
21.
เจ้าจอมมารดาสำลี
ตำแหน่ง : พระสนมเอก[11]
นามเดิม: สำลี (สกุลเดิม บุนนาค)
เกิด : พ.ศ. 2378
ถึงแก่อสัญกรรม : 21 มกราคม พ.ศ. 2443 (65 ปี)
22.
เจ้าจอมมารดาสุ่น
นามเดิม: ยี่สุ่น (สกุลเดิม สุกุมลจันทร์)
เกิด : ไม่มีข้อมูล
ถึงแก่อสัญกรรม : 3 กันยายน พ.ศ. 2443[23]
23.
เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์แสง
นามเดิม: หม่อมราชวงศ์แสง (สกุลเดิม ปาลกะวงศ์)
เกิด : ไม่มีข้อมูล
ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล
24.
เจ้าจอมมารดาหรุ่น
นามเดิม : หรุ่น (สกุลเดิม ศุภมิตร)[12]
เกิด : พ.ศ. 2384
ถึงแก่อสัญกรรม : 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472 (88 ปี)
25.
เจ้าจอมมารดาห่วง
เกิด : ไม่มีข้อมูล
ถึงแก่อสัญกรรม : พ.ศ. 2463
26.
เจ้าจอมมารดาหว้า
เกิด : ไม่มีข้อมูล
ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล
27.
เจ้าจอมมารดาหุ่น
เกิด : พ.ศ. 2383[25]
ถึงแก่อสัญกรรม : 16 มีนาคม พ.ศ. 2467
28.
เจ้าจอมมารดาเหม
ฉายา : แฝดเหม
เกิด : พ.ศ. 2382
ถึงแก่อสัญกรรม : 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465 (83 ปี)[26]
29.
เจ้าจอมมารดาโหมด
ตำแหน่ง : พระสนมโท[12]
นามเดิม: โหมด (สกุลเดิม อินทรวิมล)
เกิด : พ.ศ. 2381
ถึงแก่อสัญกรรม : 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2462 (81 ปี)[12]
30.
เจ้าจอมมารดาอิ่ม, อินทร์
เกิด : ไม่มีข้อมูล
ถึงแก่อสัญกรรม : 19 ตุลาคม พ.ศ. 2450[27]
  • บิดา : พระยาสวัสดินิกร (มิ่ง)
  • มารดา : ไม่มีข้อมูล
  • พระราชธิดา : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงไม่มีพระนาม
31.
เจ้าจอมมารดาเอม
นามเดิม: เอม (สกุลเดิม นาครทรรพ)
เกิด : พ.ศ. 2382
ถึงแก่อสัญกรรม : 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456 (75 ปี)[28]
32.
เจ้าจอมมารดาเอี่ยม
เกิด : ไม่มีข้อมูล
ถึงแก่อสัญกรรม : 3 ตุลาคม พ.ศ. 2443[29]

เจ้าจอม[แก้]

ลำดับ รูป นาม ชาติตระกูล หมายเหตุ
1.
เจ้าจอมกลิ่น
นามเดิม : กลิ่น (สกุลเดิม ณ นคร)
เกิด : ไม่มีข้อมูล
ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล
ภายหลังได้เป็น ท้าวศรีสัจจา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[30]
2.
เจ้าจอมกลีบ
นามเดิม : กลีบ (สกุลเดิม บุณยรัตพันธุ์)
เกิด : ไม่มีข้อมูล
ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล
  • บิดา : หลวงอนุชิตพิทักษ์ (วงศ์ บุณยรัตพันธุ์)[31]
  • มารดา : ไม่มีข้อมูล
3.
เจ้าจอมกลีบ
เกิด : พ.ศ. 2391
ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล
  • บิดา : พระยาปรีชาชีพ (กระต่าย)[32]
  • มารดา : ไม่มีข้อมูล
ขอลาออกจากราชการเมื่ออายุ 15 ปี เพราะมีมรดกจากการมรณกรรมของบิดาไว้เลี้ยงตัวได้[32]
4.
เจ้าจอมพระองค์เจ้ากำโพชราชสุดาดวง
พระนามเดิม : นักเยี่ยม
ประสูติ : พ.ศ. 2394
สิ้นพระชนม์ : ไม่มีข้อมูล
5.
เจ้าจอมกุหลาบ
นามเดิม : กุหลาบ (สกุลเดิม ณ นคร)
เกิด : ไม่มีข้อมูล
ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล
  • บิดา : พระอุทัยธานี (ม่วง ณ นคร)
  • มารดา : ไม่มีข้อมูล
6.
เจ้าจอมกุหลาบ
นามเดิม : กุหลาบ (สกุลเดิม ณ สงขลา)[33]
เกิด : ไม่มีข้อมูล
ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล
  • บิดา : เจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น ณ สงขลา)
  • มารดา : ท่านผู้หญิงสุทธิ์
7.
เจ้าจอมเกด
เกิด : ไม่มีข้อมูล
ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล
  • บิดา : ไม่มีข้อมูล
  • มารดา : ไม่มีข้อมูล
8.
เจ้าจอมเกตุ
นามเดิม : เกตุ (สกุลเดิม ณ นคร)
เกิด : ไม่มีข้อมูล
ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล
  • บิดา : พระยาวิชิตสรไกร (กล่อม ณ นคร)
  • มารดา : ไม่มีข้อมูล
9.
เจ้าจอมเขียน
นามเดิม : เขียน (สกุลเดิม ณ นคร)
เกิด : ไม่มีข้อมูล
ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล
  • บิดา : พระยาเสนานุชิด (นุช ณ นคร)[34]
  • มารดา : ไม่มีข้อมูล
10.
เจ้าจอมแจ่ม
นามเดิม : แจ่ม (สกุลเดิม บุณยรัตพันธุ์)
เกิด : ไม่มีข้อมูล
ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล
  • บิดา : เจ้าพระยาภูธราภัย (นุช บุณยรัตพันธุ์)[35]
  • มารดา : ไม่มีข้อมูล
ลาออกจากราชการ[35]
11.
เจ้าจอมจับ
นามเดิม : จับ (สกุลเดิม ณ นคร)
เกิด : ไม่มีข้อมูล
ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล
  • บิดา : เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อยกลาง ณ นคร)
  • มารดา : ไม่มีข้อมูล
12.
เจ้าจอมช้อย
นามเดิม : ช้อย (สกุลเดิม โรจนดิศ)
เกิด : ไม่มีข้อมูล
ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล
  • บิดา : พระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ โรจนดิศ)
  • มารดา : ไม่มีข้อมูล
13.
เจ้าจอมตาด
เกิด : พ.ศ. 2369
ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล
  • บิดา : นายศรีมหาดเล็ก[32]
  • มารดา : ไม่มีข้อมูล
ลาออกจากราชการเมื่ออายุ 37 ปี เดิมถวายตัวเป็นพนักงานชวาลามาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ลาออกเพราะอยากใช้ชีวิตนอกพระราชวัง[32]
14.
เจ้าจอมทองดี
เกิด : ไม่มีข้อมูล
ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล
  • บิดา : ไม่มีข้อมูล
  • มารดา : ไม่มีข้อมูล
15.
เจ้าจอมทับทิม
นามเดิม : ทับทิม (สกุลเดิม ณ นคร)
เกิด : ไม่มีข้อมูล
ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล
  • บิดา : พระยาเสนานุชิด (นุช ณ นคร)
  • มารดา : ไม่มีข้อมูล
16.
เจ้าจอมทับทิม
นามเดิม : ทับทิม (สกุลเดิม เพ็ญกุล)
เกิด : ไม่มีข้อมูล
ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล
  • บิดา : เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล)
  • มารดา : ท่านผู้หญิงหุ่น
หลังสิ้นรัชกาล ได้ทูลลาออกไปสมรสกับพระยาราชานุประพันธ์ (สุดใจ บุนนาค)[36]
17.
เจ้าจอมทับทิม
นามเดิม : ทับทิม (สกุลเดิม วัชโรทัย)
เกิด : ไม่มีข้อมูล
ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล
  • บิดา : พระจำนงภูษิต (อยู่ วัชโรทัย)
  • มารดา : ไม่มีข้อมูล
18.
เจ้าจอมทับทิม
นามเดิม : ทับทิม (สกุลเดิม สุรคุปต์)
เกิด : ไม่มีข้อมูล
ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล
  • บิดา : พระยาราชสุภาวดี (ปาน สุรคุปต์)
  • มารดา : ไม่มีข้อมูล
19.
เจ้าจอมทิพย์
เกิด : ไม่มีข้อมูล
ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล
  • บิดา : ไม่มีข้อมูล
  • มารดา : ไม่มีข้อมูล
20.
เจ้าจอมนวน
นามเดิม : นวน (สกุลเดิม บุณยรัตพันธุ์)
เกิด : ไม่มีข้อมูล
ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล
  • บิดา : เจ้าพระยาภูธราภัย (นุช บุณยรัตพันธุ์)[35]
  • มารดา : ไม่มีข้อมูล
ลาออกจากราชการ[35]
21.
เจ้าจอมบุนนาค
เกิด : ไม่มีข้อมูล
ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล
  • บิดา : ไม่มีข้อมูล
  • มารดา : ไม่มีข้อมูล
22.
เจ้าจอมประทุม
นามเดิม : เจ้าประทุมแห่งเวียงจันทน์
เกิด : ไม่มีข้อมูล
ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล
  • บิดา : เจ้าอนุวงศ์[37] หรือเจ้าจันทรเทพสุริยวงศ์เมืองมุกดาหาร[38]
  • มารดา : ไม่มีข้อมูล
23.
เจ้าจอมปริก
เกิด : พ.ศ. 2390
ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล
  • บิดา : หลวงอุดมจินดา[32]
  • มารดา : ไม่มีข้อมูล
ขอลาออกจากราชการเมื่ออายุ 16 ปี ตามความประสงค์ของมารดา และมีทักษะการเป็นนางละครสามารถเลี้ยงตัวได้[32]
24.
เจ้าจอมเปลี่ยน
เกิด : ไม่มีข้อมูล
ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล
  • บิดา : ไม่มีข้อมูล
  • มารดา : ไม่มีข้อมูล
25.
เจ้าจอมเป้า
นามเดิม : เป้า (สกุลเดิม ณ นคร)
เกิด : ไม่มีข้อมูล
ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล
  • บิดา : พระยาบริรักษ์ภูธร (แสง ณ นคร)
  • มารดา : ไม่มีข้อมูล
26.
เจ้าจอมเผือก
เกิด : พ.ศ. 2368
ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล
  • บิดา : พระยาประชาชีพ (คต)[32]
  • มารดา : ไม่มีข้อมูล
ขอลาออกจากราชการเมื่ออายุ 38 ปี เดิมเป็นเจ้าจอมอยู่งานในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นพนักงานชวาลาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ลาออกเพราะอยากใช้ชีวิตนอกพระราชวัง[32]
27.
เจ้าจอมพร้อม
นามเดิม : พร้อม (สกุลเดิม บุณยรัตพันธุ์)
เกิด : ไม่มีข้อมูล
ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล
  • บิดา : พระยาสีหราชฤทธิไกร (แย้ม บุณยรัตพันธุ์)[39]
  • มารดา : คุณหญิงกลาง[39]
หลังสิ้นรัชกาล ได้ทูลลาออกมาสมรสกับพระยาประสการีวงศ์ (ชาย) และพระสถลรัฐยาภิบาล (นุ้ย บุณยรัตพันธุ์)[39]
28.
เจ้าจอมนักพลอย
พระนามเดิม : นักพลอย
ประสูติ : ไม่มีข้อมูล
สิ้นพระชนม์ : ไม่มีข้อมูล
29.
เจ้าจอมพัน
เกิด : พ.ศ. 2391
ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล
  • บิดา : ขุนชำนาญคดี[32]
  • มารดา : ไม่มีข้อมูล
ออกจากราชการเมื่ออายุ 15 ปี เพราะเป็นคนมือไว จึงถูกเชิญให้ออกจากราชการ[32]
30.
เจ้าจอมพุ่ม
เกิด : พ.ศ. 2390
ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล
  • บิดา : พระยาปรีชาชีพ (กระต่าย)[32]
  • มารดา : ไม่มีข้อมูล
ขอลาออกจากราชการเมื่ออายุ 16 ปี เพราะมีมรดกจากการมรณกรรมของบิดาไว้เลี้ยงตัวได้[32]
31.
เจ้าจอมรุน
เกิด : ไม่มีข้อมูล
ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล
  • บิดา : พระยาอภัยพิพิธ (กระต่าย)
  • มารดา : ไม่มีข้อมูล
32.
เจ้าจอมเล็ก
เกิด : ไม่มีข้อมูล
ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล
  • บิดา : นุช
  • มารดา : ท้าวทองกีบม้า (กลีบ)
33.
เจ้าจอมหม่อมหลวงเลี่ยม
นามเดิม : หม่อมหลวงเลี่ยม เทพหัสดิน
เกิด : พ.ศ. 2385
ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล
  • บิดา : พระยาราชภักดี (หม่อมราชวงศ์ช้าง เทพหัสดิน)[32]
  • มารดา : ไม่มีข้อมูล
ลาออกจากราชการเมื่ออายุ 21 ปี เดิมถวายตัวเป็นพนักงานพระแสง แต่ลาออกเพราะป่วยเป็นโรคลมสันดาน[32]
34.
เจ้าจอมเลี่ยม
เกิด : พ.ศ. 2391
ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล
  • บิดา : หลวงอุธยานานิกรณ์[32]
  • มารดา : ไม่มีข้อมูล
ลาออกจากราชการเมื่ออายุ 15 ปี ลาออกเพราะ "...หูตาน่ากลัวนัก ขัดใจก็ออกเสีย บิดามารดาก็เห็นชอบด้วย"[32]
35.
เจ้าจอมวัน
นามเดิม : วัน (สกุลเดิม บุนนาค)
เกิด : ไม่มีข้อมูล
ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล
  • บิดา : พระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (แย้ม บุนนาค)
  • มารดา : คุณหญิงทองคำ
36.
เจ้าจอมวาศ
นามเดิม : วาศ (สกุลเดิม บุณยรัตพันธุ์)
เกิด : ไม่มีข้อมูล
ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล
  • บิดา : จมื่นมณเฑียรพิทักษ์ (สวัสดิ์ บุณยรัตพันธุ์)
  • มารดา : ไม่มีข้อมูล
หลังสิ้นรัชกาล ได้ทูลลาออกไปสมรสกับเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช (เวก บุณยรัตพันธุ์)[40]
37.
เจ้าจอมสังวาล
เกิด : พ.ศ. 2388
ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล
  • บิดา : พระยาราชสมบัติ[32]
  • มารดา : ไม่มีข้อมูล
ลาออกจากราชการเมื่ออายุ 18 ปี ตามความประสงค์ของมารดา และมีทักษะการเป็นนางละครสามารถเลี้ยงตัวได้[32]
38.
เจ้าจอมสารภี
เกิด : พ.ศ. 2391
ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล
  • บิดา : ขุนบุรินทรเก่า[32]
  • มารดา : ไม่มีข้อมูล
ลาออกจากราชการเมื่ออายุ 15 ปี ให้ออกเพราะ "...รูปพรรณ์ก็ชอบกลอยู่..." และ "...ทรงเห็นว่ามีกิริยาแง่งอนศึกษามากเกินการไป..."[32]
39.
เจ้าจอมตนกูสุเบีย
พระนามเดิม : เติงกูซาฟียะฮ์ บินตี อัลมาร์ฮุม ซุลตัน มูฮัมเมด มูอัซซัม ชะฮ์
ประสูติ : ไม่มีข้อมูล
สิ้นพระชนม์ : 16 มกราคม พ.ศ. 2437
  • พระชนก : สุลต่านมูฮัมมัดที่ 2 มูอัซซัม ชะฮ์ แห่งเรียว-ลิงกา
  • พระชนนี : เติงกูเกิลซุม เลอบาร์ ปูติฮ์แห่งตรังกานู (หรือตนกูลีปอ)
หลังสิ้นรัชกาล ได้ทูลลาออกไปสมรสกับเติงกูลง บินเติงกูกูดิน
40.
เจ้าจอมเสงี่ยม
นามเดิม : เสงี่ยม (สกุลเดิม อมาตยกุล)
เกิด : ไม่มีข้อมูล
ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล
  • บิดา : พระยาอุไทยมนตรี (ขลิบ อมาตยกุล)[41]
  • มารดา : จั่น[41]
41.
เจ้าจอมแสง
เกิด : พ.ศ. 2367
ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล
  • บิดา : พระยาเพชรชฎา (น้อย)[32]
  • มารดา : ไม่มีข้อมูล
ลาออกจากราชการเมื่ออายุ 39 ปี เคยเป็นเจ้าจอมอยู่งานในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพนักงานพระสุธารสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ลาออกเพื่อไปใช้ชีวิตออกพระราชวัง[32]
42.
เจ้าจอมหนูชี
นามเดิม : หนูชี (สกุลเดิม ณ นคร)
เกิด : ไม่มีข้อมูล
ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล
  • บิดา : เจ้าพระยามหาศิริธรรม (น้อยใหญ่ ณ นคร)
  • มารดา : ท่านผู้หญิงเผือก
43.
เจ้าจอมหนูสุด
นามเดิม : สุด (สกุลเดิม บุนนาค)[42]
เกิด : ไม่มีข้อมูล
ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล
  • บิดา : พระสุริยภักดี (สนิท บุนนาค)
  • มารดา : จัน
44.
เจ้าจอมหุ่น
เกิด : พ.ศ. 2383
ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล
  • บิดา : พระหฤทัย[32]
  • มารดา : ไม่มีข้อมูล
ลาออกจากราชการเมื่ออายุ 23 ปี ถวายตัวแก่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นเจ้าจอมอยู่งานในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอลาออกเพื่อไปใช้ชีวิตออกพระราชวัง[32]
45.
เจ้าจอมเหลี่ยม
เกิด : ไม่มีข้อมูล
ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล
  • บิดา : ไม่มีข้อมูล
  • มารดา : ไม่มีข้อมูล
46.
เจ้าจอมองุ่น
เกิด : ไม่มีข้อมูล
ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล
  • บิดา : ไม่มีข้อมูล
  • มารดา : ไม่มีข้อมูล
47.
เจ้าจอมอรุ่น
ฉายา : อรุ่นบุษบา
เกิด : พ.ศ. 2385
ถึงแก่อสัญกรรม : 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2467 (82 ปี)
  • บิดา : หลวงมหามนเทียร (จุ้ย)
  • มารดา : นุ่ม
หลังสิ้นรัชกาล ได้ทูลลาออกไปสมรสกับพระยาอรรคราชนาคภักดี (เนตร เนตรายน)[43]
48.
เจ้าจอมอำพัน
นามเดิม : อำพัน (สกุลเดิม ณ นคร)
เกิด : ไม่มีข้อมูล
ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล
  • บิดา : พระอุทัยธานี (ม่วง ณ นคร)
  • มารดา : ไม่มีข้อมูล
49.
เจ้าจอมอิ่ม
นามเดิม : อิ่ม (สกุลเดิม ณ นคร)
เกิด : ไม่มีข้อมูล
ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล
  • บิดา : เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อยกลาง ณ นคร)
  • มารดา : ไม่มีข้อมูล
50.
เจ้าจอมอิ่ม
นามเดิม : อิ่ม (สกุลเดิม บุณยรัตพันธุ์)
เกิด : ไม่มีข้อมูล
ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล
  • บิดา : เจ้าพระยาภูธราภัย (นุช บุณยรัตพันธุ์)[35]
  • มารดา : ไม่มีข้อมูล
หลังสิ้นรัชกาล ได้ทูลลาออกไปสมรสกับพระยาสีหราชฤทธิไกร (แย้ม บุณยรัตพันธุ์)[35]
51.
เจ้าจอมเอี่ยม
นามเดิม : เอี่ยม (สกุลเดิม จาตุรงคกุล)
เกิด : ไม่มีข้อมูล
ถึงแก่อสัญกรรม : ไม่มีข้อมูล
  • บิดา : พระยาเสนามหามนตรี (น้อยเอียด จาตุรงคกุล)
  • มารดา : ไม่มีข้อมูล

อ้างอิง[แก้]

  1. พระภรรยาเจ้า และสมเด็จเจ้าฟ้าในรัชกาลที่ 5, หน้า 43-44
  2. วิภา จิรภาไพศาล (11 พฤษภาคม 2564). "วิวัฒนาการความเป็นมาของตำแหน่ง "พระภรรยาเจ้า"". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.0 3.1 จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ พระ. "พระราชนิพนธ์ ธรรมเนียมราชตระกูล ในกรุงสยาม". วชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. ""หม่อมเจ้าพรรณราย" พระมเหสีผู้ทรง "ออกรับแขกเมือง" สมัยรัชกาลที่ 4". ศิลปวัฒนธรรม. 22 มกราคม 2564. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. สตรีสยามในอดีต, หน้า 244-245
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 สตรีสยามในอดีต, หน้า 246-248
  7. นักรบ มูลมานัส (10 ตุลาคม 2561). "เรื่องเล่าเส้นผมเจ้าดารารัศมี ทหารอินเดียนแดง ที่ไขข้อข้องใจว่าทำไมถึง Don't touch my hair!". The Cloud. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. มองสยามผ่านแอนนา, หน้า 163
  9. มองสยามผ่านแอนนา, หน้า 121
  10. ราชสกุลวงศ์, หน้า 55
  11. 11.0 11.1 ราชสกุลวงศ์, หน้า 54
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 ราชสกุลวงศ์, หน้า 63
  13. 13.0 13.1 13.2 13.3 13.4 ราชสกุลวงศ์, หน้า 51
  14. ราชสกุลวงศ์, หน้า 78
  15. ราชสกุลวงศ์, หน้า 69
  16. 16.0 16.1 ราชสกุลวงศ์, หน้า 52
  17. "ข่าวตาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 1 (43): 385. 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2427. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  18. ราชสกุลวงศ์, หน้า 50
  19. ราชสกุลวงศ์, หน้า 60
  20. ราชสกุลวงศ์, หน้า 71
  21. ราชสกุลวงศ์, หน้า 73
  22. ราชสกุลวงศ์, หน้า 58
  23. ราชสกุลวงศ์, หน้า 76
  24. ราชสกุลวงศ์, หน้า 77
  25. ราชสกุลวงศ์, หน้า 67
  26. ราชสกุลวงศ์, หน้า 72
  27. ราชสกุลวงศ์, หน้า 79
  28. ราชสกุลวงศ์, หน้า 62
  29. ราชสกุลวงศ์, หน้า 53
  30. 30.0 30.1 เทวะวงศ์วโรปการ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา (2465). พระราชหัดถเลขาในพระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมครั้งที่ 3 (PDF). พระนคร: โสภณพิพรรฒธนากร. p. 12.[ลิงก์เสีย]
  31. "ลำดับสกุลบุณยรัตพันธุ์". สาส์นสมเด็จ ลายพระหัตถ์สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ภาค 3, หน้า 13
  32. 32.00 32.01 32.02 32.03 32.04 32.05 32.06 32.07 32.08 32.09 32.10 32.11 32.12 32.13 32.14 32.15 32.16 32.17 32.18 32.19 32.20 32.21 32.22 32.23 สตรีสยามในอดีต, หน้า 248-249
  33. เกียรติประวัติตระกูล ณ สงขลา (PDF). ม.ป.ท. 2554. p. 125.
  34. เทวะวงศ์วโรปการ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา (2465). พระราชหัดถเลขาในพระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมครั้งที่ 3 (PDF). พระนคร: โสภณพิพรรฒธนากร. p. 10.[ลิงก์เสีย]
  35. 35.0 35.1 35.2 35.3 35.4 35.5 "ลำดับสกุลบุณยรัตพันธุ์". สาส์นสมเด็จ ลายพระหัตถ์สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ภาค 3, หน้า 9
  36. ลูกท่านหลานเธอ ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในราชสำนัก, หน้า 233
  37. สุเจน กรรพฤทธิ์. ตามรอยเจ้าอนุวงศ์ คลี่ปมประวัติศาสตร์ไทย-ลาว. กรุงเทพฯ:สารคดี. 2555, หน้า 48-49
  38. คุณพุ่ม. นิราศบางยี่ขัน. ม.ป.ท.:โสภณพิพรรฒธนากร. 2465, หน้า 1
  39. 39.0 39.1 39.2 "ลำดับสกุลบุณยรัตพันธุ์". สาส์นสมเด็จ ลายพระหัตถ์สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ภาค 3, หน้า 16-17
  40. "ลำดับสกุลบุณยรัตพันธุ์". สาส์นสมเด็จ ลายพระหัตถ์สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ภาค 3, หน้า 12
  41. 41.0 41.1 ประวัติบรรพบุรุษ และสกุลวงศ์อมาตยกุล, หน้า 20
  42. ชมรมสายสกุลบุนนาค. พระสุริยภักดี (สนิท บุนนาค) เก็บถาวร 2012-10-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เรียกดูเมื่อ 18 เมษายน 2556
  43. ลูกท่านหลานเธอ ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในราชสำนัก, หน้า 235
  • Jeffary Finestone. สมุดพระรูปพระราชโอรส พระราชธิดาและพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพ : บริษัทกู๊ดวิว เพรส จำกัด, พ.ศ. 2543. 394 หน้า. ISBN 974-87148-8-8
  • สาระ มีผลกิจ. ราชสำนักฝ่ายในสมัยรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : มิวเซียมเพรส, 2551. 296 หน้า. ISBN 9744516817 ข้อผิดพลาดพารามิเตอร์ใน {{ISBN}}: checksum
  • ส.พลายน้อย. พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ฐานบุ๊คส์, ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2554. 368 หน้า. ISBN 9786167058580
  • วรรณพร บุญญาสถิตย์. จอมนางแห่งสยาม ในสมัยรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 6 กับกระแสวัฒนธรรมตะวันตก. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์สร้างสรรค์บุ๊คส์, พ.ศ. 2549. 338 หน้า. ISBN 874341-471-1 ข้อผิดพลาดพารามิเตอร์ใน {{ISBN}}: checksum
  • ธนากิต. พระบรมราชินีนาถ เจ้าจอมมารดา และเจ้าจอม. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์พีระมิด, พ.ศ. 2543.

ดูเพิ่ม[แก้]