พระมหาบุญมี มาลาวชิโร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อาจารย์บุญมี พวงเพชร เป็นอาจารย์ประจำอยู่ที่วิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นนักวิชาการด้านศาสนศึกษา สนใจการวิจัยเกี่ยวกับ Early Buddhism เป็นพิเศษ ซึ่งการศึกษาดังกล่าวมุ่งเน้นค้นหาคำสอนของพระพุทธเจ้าอันแท้จริง ก่อนที่จะมีการแยกเป็นนิกายต่างๆ ซึ่งเชื่อว่า แต่ละนิกายมีการตีความคำสอนเพิ่มเติม ทำให้มีความเห็นที่แตกต่างกัน การศึกษาคำสอนพุทธศาสนาในยุคแรกทำให้เข้าใจคำสอนอย่างถูกต้อง ไม่ยึดติดกับนิกายใดนิกายหนึ่ง

ประวัติ[แก้]

ประวัติการศึกษา[แก้]

อาจารย์บุญมี พวงเพชร จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาศาสนศึกษา (เกียรตินิยมอันดับ ๒) จากวิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ปริญญาโท ด้านศาสนศึกษา จาก University of the West สหรัฐอเมริกา และเป็น Ph.D Candidate สาขาศาสนศึกษาที่ University of the West สหรัฐอเมริกา

ประวัติการทำงาน[แก้]

อาจารย์บุญมี พวงเพชร เป็นนักคิด นักเขียน นักบรรบาย นอกจากงานสอนที่วิทยาลัยศาสนศึกษาแล้ว ยังเคยเป็นอาจารย์พิเศษที่สอนเกี่ยวกับศาสนาในหลายสถาบันการศึกษา เช่น วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์ เป็นต้น และยังได้เดินทางไปเข้าร่วมประชุมด้านศาสนศึกษา ในต่างประเทศหลายประเทศด้วยกัน เช่น สิงคโปร์ ฟินแลนด์ ญี่ปุ่น อเมริกา เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วอาจารย์บุญมียังมีความสนใจเป็นพิเศษในเรื่องของการปฏิบัติสมาธิ

ผลงานเขียน[แก้]

  1. ๑. รู้จักบุญ รู้จักดำเนินชีวิต            ๒. พุทธศาสนากับความตาย            ๓. ครองตน ครองคน ครองงาน            ๔. ธรรมใจ            ๕. มืดมา สว่างไป            ๖. วันโลกาวินาศใกล้มาถึงแล้ว            ๗. ธรรมะรักษาโรค เล่ม ๑            ๘. ธรรมะรักษาโรค เล่ม ๒            ๙. พุทธบริหาร            ๑๐. มหัศจรรย์พลังแห่งชีวิต            ๑๑. เปลี่ยนกรรมทำแล้วรุ่ง            ๑๒. ธรรมะ 2 มาตรฐาน            ๑๓. หลายสิ่งที่พระพุทธเจ้ารู้ ไอสไตน์ไม่เคยพบฯ            ๑๔. เมตตาฆ่าศัตรู            ๑๕.  อานุภาพแห่งการอ่านธรรม            ๑๖. Happy Life: พลังคำสอนของดาไลลามะ            ๑๗. พลังคำสอนของขงจื๊อ            ๑๘. เลี้ยงลูกอย่างไรให้เป็นอภิชาตบุตร            ๑๙. รู้ใจคนในหนึ่งนาที ด้วยวิธีของพระพุทธเจ้า            ๒๐. ณ ความทรงจำแห่งธรรม (ร่วมเขียน)            ๒๑. เรื่องจริงที่ยังสงสัย บอกได้ชาตินี้เท่านั้น เล่ม ๒๐ (ร่วมเขียน)
  2. ๒๒. ป่วยกายรักษาด้วยสมุนไพร ป่วยใจรักษาด้วยธรรมะ


บทความทางวิชาการ

            ๑. Engaged Buddhism and Mahidol Monks. นำเสนอในงานประชุมนานาชาติ สมาคมมหาวิทยาลัยพุทธศาสนาเถรวาท (The Association of Theravada Buddhist University) ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่สอง ณ สถาบันการศึกษาพระพุทธศาสนาสิตคูนานาชาติ (SIBA) ณ เมืองสกาย (Sagaing) ที่ประเทศพม่า (๓-๑๑ มีนาคม ๒๕๕๒)

           ๒. Thai Buddhist Monks’Role in Dealing with Consumerism in Thai Society. นำเสนอในงานประชุมนานาชาติ “Buddhism and Globalization” ณ มหาวิทยาลัยเดลี (Delhe) ประเทศอินเดีย (๒๕๕๓)

           ๓. Global Recovery by Volunteers: A Cast Study from Volunteer Group of the College of Religious Studies, Mahidol University. นำเสนอในงานประชุมนานาชาติ วิสาขบูชาโลก ครั้งที่ ๗ (The 7th International Buddhist Conference on the United Nations Day of Vesak Celebrations 23-25 May 2010/2553) ประเทศไทย (๒๕๕๓)

๔. Buddha’s Life Coaching in the Pāli Canon จากวารสาร International Journal of Social Sciences: Current and Future Research Trends (IJSSCFRT) ฉบับ Vol. 15 No. 1 (2022) หน้า 107 – 112

๕. “Using Cannabis in Buddhist Culture: Based on the Pāli Canon” จากวารสาร Journal of Liberal Arts and Humanities (JLAH) ISSN 2690-070X Vol. 3; No.10. October 2022 issue.

งานวิจัยร่วมกับต่างประเทศ

๑. ทำวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยโอเรกอน (University of Oregon, USA) เรื่อง Cross-Cultural Differences in a Global: ‘Survey of World Views’. และตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Cross-Cultural Psychology

บทความทางวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสาร

๑. การโค้ชเงินเชิงพุทธ (Buddhist Based Coaching). วารสารศาสนาและวัฒนธรรม. ปีที่ ๖ ฉบบที่ ๑, วิทยาลัยศานศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

อ้างอิง[แก้]