พระพุทธนรสีห์ตรีโลกเชฏฐ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระพุทธนรสีห์ตรีโลกเชฏฐ์

พระพุทธนรสีห์ตรีโลกเชฏฐ์ มเหธิศักดิ์ ปูชนียะชยันตะโคดม บรมศาสดาอนาวรญาณ หรือเรียกกันว่า หลวงพ่อปู่ เป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดหน้าตัก 2.5 เมตร สูง 3.5 เมตร ภายในองค์พระมีฉลองพระองค์ของสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทอีกด้วย นอกจากนี้ ยังมีพระพุทธรูป 16 องค์อยู่รายล้อมพระประธาน อันหมายถึง พุทธคุณชนะศัตรู ๗. พระพุทธนรสีห์ตรีโลกเชฏฐ์ วัดชนะสงคราม เขตพระนคร จังหวัดกรุงเทพมหานคร พระพุทธธนรสีห์ตรีโลกเชฏฐ์ มเหทธิศักดิ์ ปูชนียะชยันตะโคดม บรมศาสดาอนาวรญาณ เป็นพระพุทธรูป สมัยรัตนโกสินทร์ ปางมารวิชัย วัสดุปูนปั้นบุดีบุก ลงรักปิดทอง ขนาดหน้าตัก ๒.๕ เมตร สูง ๓.๕ เมตร

วัดชนะสงคราม เป็นวัดโบราณอีกวัดหนึ่งที่มีอยู่ก่อนสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ เดิมชื่อวัดกลางนา ครั้นเมื่อสถาปนากรุงเทพมหานคร แล้ว วัดนี้ได้รับการบูรณะ ปฏิสังขรณ์โดยสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทและเป็นวัดที่มีเจ้าอาวาสเป็นพระสงฆ์รามัญจึงมี นามวัด อีกนามหนึ่งว่าวัดตองปุตามแบบอย่างวัดตองปุที่กรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นวัดรามัญนิกายต่อมาภายหลังวัดตองปุได้รับพระราชทานนามว่า วัดชนะสงครามก็เนื่องด้วยสมเด็จพระบวรราชเจ้าฯ ผู้ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัด ทรงเป็นแม่ทัพคนสำคัญในรัชกาลที่ ๑ และทรงนำทัพ หน้าชนะศึกในการสงครามครั้งสำคัญหลายต่อหลายครั้ง

พระพุทธรูปประธานภายในพระอุโบสถวัดชนะสงคราม มีลักษณะพิเศษน่าสนใจอยู่หลายประการ กล่าวกันว่า ภายในพระพุทธรูปมีฉลอง พระองค์ลายยันต์ของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท และเสื้อผ้ายันต์ของเหล่านายทัพนายกองทหารของพระองค์เมื่อคราวมีชัย ในการสงคราม ซึ่งสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท โปรดเกล้าฯ ให้ช่างปั้นพระเอาปูนพอกไว้ด้วย ก่อนการบุดีบุกการนี้ทำให้ พระประธานองค์นี้มีขนาดใหญ่โตกว่าเดิมก่อนการปฏิสังขรณ์

นอกจากนี้ รอบๆ พระประธานยังมีพระพุทธรูปปูนปั้น ปางมารวิชัยอีก ๑๕ องค์ ซึ่งสันนิษฐานกันว่า สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิง หนาทจะทรงนำแบบอย่างมาจากวัดชุมพลนิกายรามที่ บางปะอิน ซึ่งหมายถึงพระพุทธเจ้า ๑๖ พระองค์ ที่ปรากฏนามอยู่ในบทสวดมนต์ อาฎานา ฏิยปริตร พระพุทธเจ้า ๑๖ พระองค์นี้ ตามคติโบราณนับถือกันว่า ทรงพระพุทธคุณในการประสิทธิ์ประสาทชัยชนะเหนือศัตรู และมีผู้บัญญัต ิอักขระย่อแทนพระนาม ผูกเป็นยันต์พระเจ้า ๑๖ พระองค์ เพื่อเป็รการสักการบูชา ดังนั้นพระพุทธนรสีห์ตรีโลกเชฏฐ์ จึงเป็นพระพุทธรูปสำคัญอีกองค์หนึ่งในกรุงรัตนโกสินทร์ที่มีผู้มาเคารพสักการะกันมากเป็นพิเศษด้วยความเชื่อประการที่กล่าวมาซึ่ง รับกับประวัติการสร้างและนามแห่งวัดชนะสงครามนี้

อ้างอิง[แก้]