พระพิพิธภักดี (ตนกูมุกดา อับดุลบุตร)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระพิพิธภักดี (ตนกูมุกดา อับดุลบุตร)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เสียชีวิต24 สิงหาคม พ.ศ. 2512
บุพการี

อำมาตย์ตรี พระพิพิธภักดี (ตนกูมุกดา อับดุลบุตร) เป็นบุตรชายคนโตของพระยาพิพิธเสนามาตยาธิบดีศรีสงคราม (นิโวะ อับดุลละบุตร)[1]เจ้าเมืองยะหริ่งคนที่ 7 (คนสุดท้าย)

ประวัติ[แก้]

พระพิพิธภักดี มีน้อง 5 คน คือ ตนกูไซนับ, ตนกูบือเซาะ, ตนกูบราเฮม (บันเทิง อับดุลบุตร), ตนกูมะหะหมัด (พยงค์ อับดุลบุตร) และตนกูเยาะ เคยได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล ต่อมาได้ลาออกจากตำแหน่งเพื่อลงสมัครเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปัตตานี ซึ่งพระพิพิธภักดีได้รับเลือกตั้งถึง 3 สมัยด้วยกัน ภายหลังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกวุฒิสภา 1 สมัย

ต่อมาป่วยเป็นอัมพาต จึงวางมือทางการเมือง และบันเทิง อับดุลบุตร (ตนกูบราเฮม) ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทน พระพิพิธภักดี ได้ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2512 โดยมีภรรยา 3 คน คือ

  • ตนกูเยาะ มีบุตร 1 คน คือ ตนกูอิสมาแอ
  • ตนกูซง มีบุตร 1 คน คือ ตนกูอับดุลฮามิด (มานพ พิพิธภักดี) พระบิดาในพระราชินีเติงกูอานิสแห่งรัฐกลันตัน
  • นางสวาสดิ์ มีบุตร 1 คน ธิดา 3 คน ดังนี้
    • ตนกูนูรดิน (นายวัยโรจน์ พิพิธภักดี)[2]
    • ตนกูรอซีดะห์ (นางวัลภา สมุทรโคจร)
    • ตนกูซาบีดะห์ (คุณหญิงวุจจิรา เด่นอุดม) สมรสกับ พล.อ.ณรงค์ เด่นอุดม อดีตแม่ทัพภาคที่ 4
    • ตนกูอาซีซะห์ (นางวัฒนาวิไล อับดุลบุตร)

สืบราชสกุลเจ้าผู้ครองเมืองปัตตานี[แก้]

พระพิพิธภักดี ได้รับพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้เข้าร่วมในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ในฐานะผู้สืบราชสกุลเจ้าผู้ครองเมืองปัตตานี (เจ้าเมืองประเทศราช)[3]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "พระพิพิธภักดี (ตนกูมุกดา อับดุลบุตร) ทายาทเจ้าเมืองยะหริ่ง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-17. สืบค้นเมื่อ 2013-05-06.
  2. "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานดินฝังศพ นายวัยโรจน์ พิพิธภักดี อดีต ส.ส.ปัตตานี หลายสมัย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-07-12. สืบค้นเมื่อ 2023-07-12.
  3. พิธีประกาศการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และเจริญพระพุทธมนต์[ลิงก์เสีย]