พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระพรหมบัณฑิต

(ประยูร ธมฺมจิตฺโต)
คำนำหน้าชื่อพระเดชพระคุณ
ส่วนบุคคล
เกิด17 กันยายน พ.ศ. 2498 (68 ปี)
นิกายมหานิกาย
การศึกษาน.ธ.เอก, ป.ธ. ๙ (นาคหลวง),
พธ.บ. (เกียรตินิยมอันดับ 1), M.A., M.Phil., Dip.in French, Ph.D (Philosophy)
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
อุปสมบท4 กรกฎาคม พ.ศ. 2519
พรรษา47
ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร, กรรมการมหาเถรสมาคม, อุปนายกสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ประธานกรรมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ, อาจารย์ประจำหลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ศาสตราจารย์,ดร. พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต ป.ธ.๙, Ph.D.) นามเดิม ประยูร นามสกุล มีฤกษ์ ฉายา ธมฺมจิตฺโต เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้นหิรัญบัฏ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการมหาเถรสมาคม, เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร, อุปนายกสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ประธานคณะกรรมการฝ่ายเผยแผ่พระพุทธศาสนาของมหาเถรสมาคม, ประธานศูนย์พระปริยัตินิเทศก์แห่งคณะสงฆ์, ประธานกรรมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ, ประธานสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ (IABU), ประธานสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก (ICDV), อาจารย์ประจำหลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต ป.ธ.๙) เป็นพระนักวิชาการ นักบริหาร นักการศึกษา นักเทศน์และนักเขียน ผู้มีผลงานมากมายทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เป็นพระสงฆ์ไทยรูปแรกที่ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัย ได้รับรางวัลและดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากหลายสถาบัน และเป็นราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญา ในฐานะเจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสได้บูรณปฏิสังขรณ์พระบรมธาตุมหาเจดีย์ของวัดจนได้รับรางวัลยอดเยี่ยม อันดับ 1 ด้านการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรรมจากองค์การยูเนสโก เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 5 สมัยได้ก่อสร้างสำนักงานใหญ่ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นประธานผู้ก่อตั้งสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติและประธานผู้ก่อตั้งสภาสากลวันวิสาขบูชาโลกที่ได้รับฐานะเป็นองค์กรที่ปรึกษาพิเศษขององค์การสหประชาชาติ

ประวัติ[แก้]

พระพรหมบัณฑิต เดิมชื่อ ประยูร มีฤกษ์ เกิดเมื่อวันที่ 17 เดือนกันยายน พ.ศ. 2498 ณ ตำบลโพธิ์พระยา อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 11 ปี ต่อมาในปี พ.ศ. 2519 ท่านสำเร็จการศึกษาขั้นสูงสุดในด้านบาลีศึกษาของประเทศไทย คือสอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค ขณะเป็นสามเณรและได้รับการอุปสมบทที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมราชูปถัมภ์ของ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในฐานะนาคหลวง

โดยมีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร) วัดสามพระยา เป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสโร) วัดชนะสงคราม ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระธรรมปิฎก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระธรรมธีรราชมหามุนี เป็นพระอนุสาวนาจารย์

สองปีต่อมา ท่านได้รับปริญญาตรีพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาปรัชญา เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หลังจากนั้น ท่านได้เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเดลี ประเทศอินเดีย ได้รับประกาศนียบัตรภาษาฝรั่งเศส ปริญญาโทและปริญญาเอก สาขาปรัชญา วิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาเอกของท่านซึ่งเขียนเป็นภาษาอังกฤษและได้รับการตีพิมพ์ในชื่อเรื่องว่า “อนัตตาในปรัชญาอัตถิภาวนิยมของซาตร์และในพุทธศาสนาดั้งเดิม” มีการพิมพ์ซ้ำหลายครั้ง

หลังจากที่จบปริญญาเอก ท่านได้เป็นอาจารย์ประจำที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยระยะหนึ่ง ในปี 2529 ท่านได้รับอนุมัติจากมหาเถรสมาคมให้ไปเป็นพระธรรมทูต ประจำวัดธัมมาราม ชิคาโก สหรัฐอเมริกา และกลับมารับตำแหน่งผู้อำนวยการกองวิชาการ และเป็นคณบดีบัณฑิตวิทยาลัยท่านแรก และได้รับแต่งตั้งเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยจากสมเด็จพระสังฆราช เมื่อปี พ.ศ. 2540 และในปีถัดมาก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะภาค 2 รับผิดชอบเขตปกครองคณะสงฆ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดสระบุรี จังหวัดอ่างทอง

นอกจากงานปกครองคณะสงฆ์แล้ว ท่านยังเป็นพระภิกษุผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิชาการของประเทศไทยรูปหนึ่ง ได้นิพนธ์หนังสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญากว่า 60 เล่ม งานพิมพ์ต่าง ๆ ของท่านทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมทั้งหนังสืออื่น ๆ เช่น ประวัติศาสตร์ปรัชญากรีก พุทธวิธีสร้างสันติภาพ จริยธรรมชาวพุทธ โลกทัศน์ของชาวพุทธ และ วันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก

ท่านได้รับเชิญให้กล่าวบรรยายธรรมทั้งทางวิทยุและโทรทัศน์ และได้รับเชิญให้บรรยายธรรมเป็นประจำทุกปีทั่วประเทศและทั่วโลกตั้งแต่ 20 ปีที่แล้วมา ซึ่งรวมทั้งการบรรยายธรรมเป็นชุดต่อเนื่องในสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2537 เป็นผู้แทนของประเทศไทยเสนอบทความทางวิชาการ ในที่ประชุมใหญ่ขององค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ที่กรุงเทพมหานคร และในที่ประชุมสัมมนาผู้นำทางศาสนาที่จัดเนื่องในการประชุมใหญ่ขององค์การสหประชาชาติ ณ กรุงไคโร ประเทศอียิปต์

ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2543 ท่านได้รับเชิญไปบรรยายเรื่อง “พุทธทัศนะสลายความขัดแย้ง” ในการประชุมสุดยอดผู้นำทางศาสนาและจิตวิญญาณเพื่อสันติภาพโลก ณ สหประชาชาติ นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา สามเดือนต่อมาท่านได้บรรยายพิเศษเรื่อง “การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพของโลก” ในการประชุมสุดยอดผู้นำชาวพุทธเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งโลกครั้งที่สอง ณ พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ประเทศไทย

ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาท่านได้รับอาราธนาไปบรรยายธรรม และแสดงปาฐกถาเป็นภาษาอังกฤษจำนวนหลายครั้งในที่ประชุมนานาชาติในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งรวมทั้งสำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ

ด้วยการเป็นที่ยอมรับในงานบทความด้านวิชาการและการสละอุทิศตน เพื่อสังคมในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของท่าน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของประเทศไทยจึงพระราชทานตำแหน่งศาสตราจารย์สาขาปรัชญาแก่ท่าน ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2546

ท่านได้เป็นประธานคณะกรรมการจัดงานในการประชุมสุดยอดผู้นำชาวพุทธเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งโลก ครั้งที่สอง จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 9 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543

นอกจากนี้ ท่านยังเป็นประธานคณะกรรมการจัดประชุมสภาผู้นำศาสนาแห่งโลก ณ พุทธมณฑล และศูนย์การประชุมสหประชาชาติ ระหว่างวันที่ 12 -14 มิถุนายน พ.ศ. 2545

สองปีต่อมา ท่านได้ทำหน้าที่เป็นประธานคณะกรรมการจัดงานการประชุมสภาผู้นำศาสนาแห่งโลก พร้อมกับการจัดการประชุมสุดยอดผู้นำเยาวชนเพื่อสันติภาพแห่งโลก ณ พุทธมณฑล ระหว่างวันที่ 24-29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 และเป็นประธานคณะกรรมการจัดงาน การประชุมการทำงานร่วมกันชาวพุทธนานาชาติ ครั้งที่หนึ่ง หัวข้อ “เอกภาพและความร่วมมือของชาวพุทธ” ณ พุทธมณฑล และศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 16-20 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 และจากนั้นเป็นต้นมาก็เป็นแกนหลัก และประธานการจัดงานเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลกที่ประเทศไทย และเป็นประธานคณะกรรมการการจัดงานประชุมนานาชาติ วันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ครั้งที่สอง และครั้งที่สาม อย่างต่อเนื่องในปี พ.ศ. 2548 และ พ.ศ. 2549 ตามลำดับ

หลังจากการจัดประชุมวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลกครั้งที่ 2 พ.ศ. 2548 ประมุขสงฆ์และผู้นำชาวพุทธทั่วโลกได้ลงนามในแถลงการณ์ร่วมรับรองให้พุทธมณฑลเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาของโลก

ท่านเป็นประธานคณะกรรมการการจัดงานการประชุมนานาชาติ ครั้งที่สี่ วันวิสาขบูชาวันสำคัญสากลของโลก ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 -29 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ภายหลังการประชุมท่านได้รับเลือกเป็นนายกสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย แต่งตั้งให้พระพรหมบัณฑิต ผู้เคยดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นอุปนายกสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย[1]

สมณศักดิ์[แก้]

สมณศักดิ์ไทย[แก้]

พระพรหมบัณฑิตได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์ตามลำดับ ดังนี้

สมณศักดิ์ต่างประเทศ[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

เกียรติคุณที่ได้รับ[แก้]

  • พ.ศ. 2537 ได้รับรางวัลคนดีศรีสังคม จากสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย
  • พ.ศ. 2539 ได้รับรางวัลเสาเสมาธรรมจักร ด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
  • พ.ศ. 2540 ได้รับรางวัลมหิดลวรานุสรณ์
  • พ.ศ. 2541 ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญาการศึกษา จากมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ
  • พ.ศ. 2544 ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญาและศาสนา จากมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์
  • พ.ศ. 2547 ได้รับปริญญาศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพระพุทธศาสนา จากมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2548 ได้รับปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการบริหารองค์การจากมหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • พ.ศ. 2548 ได้รับรางวัลกิตติคุณเสมาคุณูปการ จากกระทรวงศึกษาธิการ
  • พ.ศ. 2548 ได้รับเข็มกิตติคุณสถาบันพระปกเกล้า
  • พ.ศ. 2548 ได้รับพระราชทานรางวัลศาสตรเมธี สาขาศึกษาศาสตร์ ด้านการบริหารการศึกษา จากมูลนิธิศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมาร
  • พ.ศ. 2550 ได้รับเกียรติบัตรศิษย์เก่าดีเด่นเกียรติคุณของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่ได้บำเพ็ญประโยชน์แก่สังคม ประเทศชาติ พระพุทธศาสนา
  • พ.ศ. 2551 สภาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ถวายปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ภาษาอังกฤษ)
  • พ.ศ. 2551 สภามหาวิทยาลัยวงษ์เชาวลิตกุล ถวายปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
  • พ.ศ. 2546 ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ตำแหน่งศาสตราจารย์ สาขาวิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2546[8]
  • พ.ศ. 2552 ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ประเภทวิชาปรัชญา สาขาวิชาอัคฆวิทยา ตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม 2552[9]

ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือ[แก้]

ผลงานที่จัดพิมพ์เผยแพร่

  • พ.ศ. ๒๕๒๖

เล่มที่ ๑. เปรียบเทียบแนวคิดพุทธทาสกับซาตร์

  • พ.ศ. ๒๕๓๐

เล่มที่ ๒. พระพุทธประวัติ

  • พ.ศ. ๒๕๓๑

เล่มที่ ๓. Sarte's Existentialism and Early Buddhism

  • พ.ศ. ๒๕๓๒

เล่มที่ ๔. A Buddhist Approach to Peace (พุทธวิธีสร้างสันติภาพ)

เล่มที่ ๕. ไตรลักษณ์ในชีวิตประจำวัน

  • พ.ศ. ๒๕๓๓

เล่มที่ ๖. พุทธศาสนากับปรัชญา

เล่มที่ ๗. ระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ไทย

เล่มที่ ๘. ปรัชญากรีก

  • พ.ศ. ๒๕๓๔

เล่มที่ ๙. พัฒนาชีวิตด้วยแนวคิดเชิงคุณธรรม

เล่มที่ ๑๐.พรใดก็ไร้ค่าถ้าไม่ทำ

  • พ.ศ. ๒๕๓๕

เลมที่ ๑๑. ด้วยความหวังและกำลังใจ

เล่มที่ ๑๒. กรรม การเวียนว่ายตายเกิด

เล่มที่ ๑๓. ธรรมานุสรณ์วีรชนประชาธิปไตย

  • พ.ศ. ๒๕๓๖

เล่มที่ ๑๔. คุณธรรมสำหรับนักบริหาร

เล่มที่ ๑๕. ทางแห่งความสำเร็จ

เล่มที่ ๑๖. ปรัชญาแก้เซ็งและสร้างสุข

เล่มที่ ๑๗. ทำความดีมีความสุข

เล่มที่ ๑๘. ธรรมเพื่อชีวิตใหม่

เล่มที่ ๑๙. มองสังคมไทย

  • พ.ศ. ๒๕๓๗

เล่มที่ ๒๐. ปรัชญากรีก : บ่อเกิดภูมิปัญญาตะวันตก

เล่มที่ ๒๐. ปรัชญากรีก : บ่อเกิดภูมิปัญญาตะวันตก (ฉบับแก้ไขพิมพ์ครั้งที่ ๘)

เล่มที่ ๒๑. ความรักในหน้าที่

เล่มที่ ๒๒. อภิธรรมาวตาร (ประธานคณะผู้ปริวรรต)

เล่มที่ ๒๓. อยู่อย่างไรให้เป็นสุข

เล่มที่ ๒๔. Buddhist Morality

  • พ.ศ. ๒๕๓๘

เล่มที่ ๒๕. สุขภาพใจ

เล่มที่ ๒๖. สติในชีวิตประจำวัน

เล่มที่ ๒๗. วิมุตติมรรค (ประธานคณะผู้แปล)

เล่มที่ ๒๘. สร้างฝันให้เป็นจริง

เล่มที่ ๒๙. ธรรมะและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

เล่มที่ ๓๐. จรรยาบรรณของข้าราชการ

เล่มที่ ๓๑. การควบคุมสัญชาตญาณ

  • พ.ศ. ๒๕๓๙

เล่มที่ ๓๒. มธุรตฺถปกาสินี นาม มิลินฺทปญฺหฏีกา (ประธานปริวรรต)

เล่มที่ ๓๓. การบำเพ็ญและสร้างสมบารมี

เล่มที่ ๓๔. พระพุทธศาสนาในยุคโลกาภิวัตน์

เล่มที่ ๓๕. ธรรมมงคลแห่งชีวิต

เล่มที่ ๓๖. อนุทินธรรมะ : ธรรมะสำหรับ ๓๖๕ วัน

เล่มที่ ๓๗. พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (ประธานบรรณาธิการ)

  • พ.ศ. ๒๕๔๐

เล่มที่ ๓๘. มณีแห่งปัญญา

เล่มที่ ๓๙. ขอบฟ้าแห่งความรู้

  • พ.ศ. ๒๕๔๑

เล่มที่ ๔๐. ปลุกปลอบใจในยามวิกฤต

เล่มที่ ๔๑. วิทยาศาสตร์ในทรรศนะของพระพุทธศาสนา

เล่มที่ ๔๒. Educating for Balance : A Buddhist Perspective (พุทธทัศนะ : การศึกษาเพื่อความสมดุล)

  • พ.ศ. ๒๕๔๒

เล่มที่ ๔๓. พระธรรมเทศนากัณฑ์พิเศษ

เล่มที่ ๔๔. เพื่อน

เล่มที่ ๔๕. การคณะสงฆ์กับ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ

  • พ.ศ. ๒๕๔๓

เล่มที่ ๔๖. จักรพรรดิธรรม

เล่มที่ ๔๗. กระบวนการเรียนรู้ในพระพุทธศาสนา

เล่มที่ ๔๘. A Buddhist Worldview (โลกทัศน์ของชาวพุทธ)

  • พ.ศ. ๒๕๔๕

เล่มที่ ๔๙. กรอบความคิดในการจัดทำสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนาในหลักสูตรใหม่

  • พ.ศ. ๒๕๔๖

เล่มที่ ๕๐. พุทธธรรมเพื่อการพัฒนา

เล่มที่ ๕๑. ทิศทางการศึกษาไทย

เล่มที่ ๕๒. Buddhism in Contemporary Thailand (พระพุทธศาสนาในประเทศไทยสมัยปัจจุบัน)

เล่มที่ ๕๓. วัดประยุรวงศาวาสวรวิหารกับราชนิกุลบุนนาค

  • พ.ศ. ๒๕๔๗

เล่มที่ ๕๔. International Recognition of the Day of Vesak (วิสาขบูชา วันสำคัญสากลของสหประชาชาติ)

เล่มที่ ๕๕. มหาราชนักปฏิรูป

เล่มที่ ๕๖. พระพุทธศาสนา : การวิจัย

  • พ.ศ. ๒๕๔๘

เล่มที่ ๕๗. ธรรมรักษาใจสู้ภัยสึนามิ

เล่มที่ ๕๘. อานุภาพพระปริตร

เล่มที่ ๕๙. พุทธวิธีบริหาร

เล่มที่ ๖๐. การเผยแผ่เชิงรุก

  • พ.ศ. ๒๕๕๐

เล่มที่ ๖๑. พระพุทธศาสนากับความสมานฉันท์แห่งชาติ

เล่มที่ ๖๒. ธ ทรงครองแผ่นดินโดยทศพิธราชธรรม

เล่มที่ ๖๓. สมาธิในชีวิตประจำวัน

เล่มที่ ๖๔. ดวงตาเห็นธรรม

  • พ.ศ. ๒๕๕๑

เล่มที่ ๖๕. ทำอย่างไรจึงเรียนเก่ง

เล่มที่ ๖๖. กว่าจะมีวันนี้

เล่มที่ ๖๗. พุทธวิธีครองรักครองเรือน (Dharma for Love and Marriage)

เล่มที่ ๖๘. สืบสานตำนานสาริกาป้อนเหยื่อ

เล่มที่ ๖๙. สาระนโยบายพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน

  • พ.ศ. ๒๕๕๒

เล่มที่ ๗๐. วิธีบูรณาการพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่

เล่มที่ ๗๑. พระพุทธศาสนากับฟิสิกส์ควอนตัม : ความเหมือนที่แตกต่าง

เล่มที่ ๗๒. พระพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์ สร้างสรรค์วัฒนธรรมแห่งปัญญา

  • พ.ศ. ๒๕๕๓

เล่มที่ ๗๓. ทำไมเรารักพระเจ้าอยู่หัว

เล่มที่ ๗๔. หัวใจพระพุทธศาสนา (The Heart of the Buddhist Teaching)

เล่มที่ ๗๕. ปัญญาต้องคู่กับกรุณาจึงจะพาชาติรอด

เล่มที่ ๗๖. หนังสือเรียนรายวิชาพระพุทธศาสนา ชั้นป.๑-ม.๖ (ประธานกรรมการจัดทำ)

  • พ.ศ. ๒๕๕๔

เล่มที่ ๗๗. ก้าวข้ามวิกฤตโดยเลือกตั้งให้สุจริตเที่ยงธรรม

เล่มที่ ๗๘. ยุทธศาสตร์ในการพัฒนามหาวิทยาลัยสงฆ์

  • พ.ศ. ๒๕๕๕

เล่มที่ ๗๙. การศึกษาเพื่อสันติสุขของสังคมไทย

เล่มที่ ๘๐. หลักการและวิธีการเทศน์

  • พ.ศ. ๒๕๕๖

เล่มที่ ๘๑. พระธรรมเทศนา ๕๗ กัณฑ์

เล่มที่ ๘๒. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสกับการปฏิรูปการศึกษาพระพุทธศาสนา

  • พ.ศ. ๒๕๕๗

เล่มที่ ๘๓. พระบรมธาตุมหาเจดีย์ กับรางวัลยูเนสโก

เล่มที่ ๘๔. ธรรมราชา

เล่มที่ ๘๕. ธรรมส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่

  • พ.ศ. ๒๕๕๘

เล่มที่ ๘๖. วิปัสสนากัมมัฏฐาน (Vipassana Meditation)

เล่มที่ ๘๗. การปฏิรูปกิจการพระศาสนา

เล่มที่ ๘๘. พระธรรมเทศนา ๖๑ กัณฑ์

เล่มที่ ๘๙. ภาพชีวิต

เล่มที่ ๙๐. พระธรรมเทศนาในอเมริกา

เล่มที่ ๙๑. สุชีพ ปุญญานุภาพ : คนดีศรีพระพุทธศาสนา

  • พ.ศ. ๒๕๕๙

เล่มที่ ๙๒. ศิลปะแห่งการเตือนตน ต้อนรับปีใหม่ ๒๕๕๙

เล่มที่ ๙๓. สุจริตธรรมกถา

เล่มที่ ๙๔. หลักธรรมกับแนวคิดในการผลิตบัณฑิต

เล่มที่ ๙๕. ปาปณิกธัมมกถา ธรรมะของนักบริหาร

  • พ.ศ. ๒๕๖๐

เล่มที่ ๙๖. วิถีแห่งธรรมธรรมราชย์ ศาสตร์แห่งพระราชา

เล่มที่ ๙๗. COMMON BUDDHIST TEXT : CBT

เล่มที่ ๙๘. ศาสตร์พระราชา

  • พ.ศ. ๒๕๖๑

เล่มที่ ๙๙. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) : พระอรรถกถาจารย์ร่วมสมัย

เล่มที่ ๑๐๐.ธรรมจรณกถา ว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่

เล่มที่ ๑๐๑.กุศโลบายในการเตรียมสอบบาลี

เล่มที่ ๑๐๒.ทานผลกถา ว่าด้วยผลของทาน

เล่มที่ ๑๐๓.สังคหวัตถุกถา ว่าด้วยการสงเคราะห์

เล่มที่ ๑๐๔.สาธุนรธรรมกถา ว่าด้วยธรรมของคนดี

เล่มที่ ๑๐๕.อนภินิเวสกถา ว่าด้วยการไม่ยึดมั่นถือมั่น

เล่มที่ ๑๐๖.ธรรมดากถา ว่าด้วยธรรมดาของชีวิต

เล่มที่ ๑๐๗.ทหรกถา ว่าด้วยการไม่ดูหมิ่นของเล็กน้อย

เล่มที่ ๑๐๘.โกศลกถา ว่าด้วยความฉลาด

เล่มที่ ๑๐๙.ปัญญาปริหารกถา ว่าด้วยการบริหารด้วยปัญญา

เล่มที่ ๑๑๐.จิตอาสากับการพัฒนาที่ยั่งยืน

เล่มที่ ๑๑๑.ธรรมกถาว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่อธิการบดี

เล่มที่ ๑๑๒.สังคหวัตถุกถา ว่าด้วยวิธีการสงเคราะห์

เล่มที่ ๑๑๓.วิสาสภยกถา ว่าด้วยภัยมาจากความไว้วางใจ

เล่มที่ ๑๑๔.ความรู้ควรเรียนทุกอย่าง

เล่มที่ ๑๑๕.อัปปมาทกถา ว่าด้วยความไม่ประมาทในชีวิต

เล่มที่ ๑๑๖.ธัมมัฏฐกถา ว่าด้วยผู้เที่ยงธรรม

เล่มที่ ๑๑๗.บาลีศึกษาสืบต่อพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง

  • พ.ศ. ๒๕๖๒

เล่มที่ ๑๑๘.ศาสนากับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เล่มที่ ๑

เล่มที่ ๑๑๙.ศาสนากับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เล่มที่ ๒

  • พ.ศ. ๒๕๖๔

เล่มที่ ๑๒๐ พระพุทธศาสนากับการพัฒนาที่ยั่งยืน

แสดงพระธรรมเทศนา[แก้]

  • พระธรรมเทศนา ว่าด้วยการกำจัดมลทิน
  • พระธรรมเทศนา จิตนิคหกถา ว่าด้วยการข่มจิต
  • พระธรรมเทศนา อเวรกถา ว่าด้วยการไม่จองเวร
  • พระธรรมเทศนา สุจริตธรรมกถา

บรรยาย-ปาฐกถา[แก้]

  • ความขัดแย้งในสังคมไทย
  • ปาฐกถาธรรม เรื่อง "ธรรมาธิปไตย"
  • ปาฐกถาธรรมหัวข้อเรื่อง "ดวงตาเห็นธรรม"
  • ภัยคุกคามพระพุทธศาสนา

บันทึกวีดิทัศน์[แก้]

  • "ทิศทางการสอนศีลธรรมในยุคปัจจุบัน"
  • พระธรรมโกศาจารย์ เยือนสหภาพพม่า ถวายสมณศักดิ์ที่ อัคคมหาสัทธัมมโชติกะธชะ แก่พระธรรมโกศาจารย์
  • พระธรรมโกศาจารย์ เยือนประเทศอียิปต์ พบผู้นำศาสนาอิสลามอย่างเป็นทางการ นับเป็นประวัติศาสตร์ครั้งแรกของคณะสงฆ์ไทย

บทความจากสื่อสารมวลชน[แก้]

  • อธิการบดีมจร."จี้พระนักเผยแผ่อย่ามัวแต่จำวัด"
  • วิสาขบูชาโลก ดึงคนเข้าใกล้ธรรม
  • ปาฐกถาพระธรรมโกศาจารย์ ชี้ "งานวิจัยคุณธรรม" ใช้ประโยชน์ได้จริง

อ้างอิง[แก้]

  • "พระพรหมบัณฑิต". วัดประยุรวงศาวาส. 2558. สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  1. "วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ถนนประชาธิปก แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร". www.watprayoon.com.
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 106, ตอนที่ 217 ง ฉบับพิเศษ, 8 ธันวาคม 2532, หน้า 5
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 113, ตอนที่ 23 ข, 5 ธันวาคม 2539, หน้า 19
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 117, ตอนที่ 28 ข, 28 ธันวาคม 2543, หน้า 25
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 123, ตอนที่ 2 ข, 12 มกราคม 2549, หน้า 3
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 130, ตอนที่ 2 ข, 23 มกราคม 2556, หน้า 1-5
  7. "รัฐบาลเมียนมาร์ถวายสมณศักดิ์พระสงฆ์ไทย". คมชัดลึก. 23 มีนาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย[ลิงก์เสีย], เล่ม 121, ตอน 8 ง, 27 มกราคม พ.ศ. 2547, หน้า 1
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์, เล่ม 126, ตอนพิเศษ 62 ง, 23 เมษายน 2552, หน้า 31
ก่อนหน้า พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) ถัดไป
พระราชรัตนโมลี (นคร เขมปาลี) อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
(พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2561)
พระธรรมวัชรบัณฑิต (สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ)
ก่อนหน้า พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) ถัดไป
สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม) รักษาการแทนเจ้าคณะใหญ่หนกลาง
(พ.ศ. 2561 - พ.ศ. 2563)
สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี (ธงชัย ธมฺมธโช)