พระปัทมปาณิโพธิสัตว์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพวาดพระปัทมปาณิโพธิสัตว์ จิตรกรรมที่ผนังถ้ำอชันตา หมายเลข1 ศิลปะคุปตะตอนปลาย หรือหลังคุปตะ(พุทธศตวรรษที่12) ถือกันว่าเป็นงานจิตรกรรมที่งดงามที่สุดภาพหนึ่งของประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดีย

พระปัทมปาณิโพธิสัตว์ (สันสกฤต: पद्मपाणि padmapāṇi) เป็นพระโพธิสัตว์ที่มีผู้นับถือตั้งแต่ช่วงแรก ๆ ก่อนการกำเนิดของนิกายตันตระ ชื่อของท่านหมายถึงผู้ถือดอกบัวปรากฏคู่กับพระวัชรปาณีโพธิสัตว์ในศิลปะอินเดียแบบมถุระเมื่อพุทธศตวรรษที่ 7 บางครั้งปรากฏคู่กับพระมัญชุศรีและพระวัชรปาณิเพื่อเป็นตัวแทนของพระโพธิสัตว์จากโคตรทั้งสามคือ ปัทมโคตร ตถาคตโคตร และวัชรโคตร ตามลำดับ รูปลักษณ์ของท่านต่างไปในแต่ละท้องที่ โดยมากเป็นรูปผู้ชายถือดอกบัว ต่อมาได้เพิ่มแจกันใส่น้ำทิพย์ด้วย บางท้องที่ถือว่าเป็นภาคสำแดงของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์

อ้างอิง[แก้]

  • สุมาลี มหณรงค์ชัย. พระชินพุทธะทั้งห้า. กทม. ศูนย์ไทยธิเบต. 2547