พระนาคสวาดิเรือนแก้ว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระนากสวาดิเรือนแก้ว
ชื่อเต็มพระนากสวาดิเรือนแก้ว
ชื่อสามัญพระนากสวาดิเรือนแก้ว
ประเภทพระพุทธรูป
ศิลปะปางสมาธิ
ความสูง11.80 เซนติเมตร
วัสดุหยกสีเขียว
สถานที่ประดิษฐานหอพระสุราลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ความสำคัญเป็นพระแก้วประจำรัชกาลที่ 3
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

พระนากสวาดิเรือนแก้ว เป็นพระรัตนปฏิมาจำลอง สลักจากหยกสีเขียว ศิลปะราวสมัยพุทธศตวรรษที่ 21 และถือเป็นพระแก้วประจำรัชกาลที่ 3

ประวัติ[แก้]

ในปี พ.ศ. 2368 ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดสงครามต่อต้านอำนาจสยามโดยเจ้าอนุวงศ์ขึ้นที่นครเวียงจันทน์ จึงได้มีรับสั่งให้พระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นแม่ทัพหน้ายกไปปราบปรามบรรดาหัวเมืองลาวและนครเวียงจันทน์ ภายหลังจากที่ปราบปรามสำเร็จพระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) ก็ได้กระทำการยึดเอาสมบัติล้ำค่าของหัวเมืองลาวและนครเวียงจันทน์ อัญเชิญพระพุทธรูปที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาจากเมืองเวียงจันทน์หลายองค์ ได้แก่ พระบาง(อัญเชิญลงมาเป็นครั้งที่สอง) พระแทรกคำ พระฉันสมอ พระเสริม พระสุก พระใส พระแก่นจันทน์ พระเงินหล่อ พระเงินบุ พระสรงน้ำ รวมถึงพระพุทธรูปศิลาเขียวด้วย โดยผลแห่งความดีความชอบในครั้งนี้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าพระยาราชสุภาวดีว่าที่สมุหนายก ต่อมาภายหลังพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างเรือนแก้วทองคำลงยาราชาวดีถวายพระพุทธรูปศิลาเขียว และทรงถวายพระนามว่า พระนากสวาดิเรือนแก้ว ถือว่าเป็นพระแก้วประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

อ้างอิง[แก้]