วัดพระธาตุบังพวน

พิกัด: 17°44′42″N 102°40′52″E / 17.74503°N 102.68109°E / 17.74503; 102.68109
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พระธาตุบังพวน)
พระธาตุบังพวน จังหวัดหนองคาย

วัดพระธาตุบังพวน เป็นวัดราษฎร์ ตั้งอยู่ที่ 172 หมู่ 3 ตำบลพระธาตุบังพวน อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคายสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย

พระธาตุบังพวนมีเนื้อที่ 102 ไร่ เจดีย์พระธาตุบังพวน เป็นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยม สร้างด้วยศิลาแลง อิฐดินเผา พ.ศ. 2210 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา โบราณวัตถุภายในวัดพระธาตุบังพวน ได้แก่ พระพุทธรูปใหญ่ 1 องค์ พระปางนาคปรก 1 องค์ ศิลาจารึก 1 หลัก พระธาตุบังพวน พระปรางค์ 3 องค์ เจดีย์เล็ก 7 องค์

เพื่อให้รู้ที่มาที่ไปของพระธาตุบังพวน ตามปรากฏในตำนานอุรังคธาตุ กล่าวว่า พระยาสุวรรณพิงคานเจ้าเมืองหนองหาน สกลนคร พระคำแดง เจ้าเมืองหนองหานน้อย อุดรธานี และพระยาจุลณีพรหมทัติ เจ้าเมืองจุลณี (ลาวเหนือ แคว้นสิบสองจุไทย) พระยาอินทปัตถนคร เจ้าเมืองอินทปัตถนคร (เขมร) และพระยานันทเสน เจ้าเมืองศรีโคตรบูรณ์หลวง กษัตริย์ทั้ง 5 พระองค์ได้ทรงอุปถัมภ์พระมหกัสสปะเถระ พร้อมด้วย พระอรหันต์อีก 500ก่อสร้างพระธาตุพนมจนเสร็จแล้วและได้บรรลุอรหันต์ในเวลาต่อมา กษัตริย์ทั้ง 5 จึงออกเดินทางไปอินเดีย เพื่ออัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจำนวน 45 องค์ มาประดิษฐานไว้ในสถานที่ 4 แห่ง ได้แก่

  • 1.อัญเชิญพระธาตุหัวเหน่า จำนวน 29 องค์ มาประดิษฐานไว้ที่พระธาตุบังพวน หรือภูเขาหลวง
  • 2.อัญเชิญพระธาตุฝ่าพระบาทก้ำขวา จำนวน 9 องค์ มาประดิษฐานไว้ที่เจดีย์พระธาตุกลางแม่น้ำโขง ณ เมืองหล้าหนองคาย
  • 3.อัญเชิญพระธาตุเขี้ยวฝาง 3 องค์ มาประดิษฐานไว้ที่พระธาตุโพนจิกเวียงงัว บ้านปะโค จังหวัดหนองคาย
  • 4.อัญเชิญพระธาตุเขี้ยวฝาง จำนวน 4 องค์ มาประดิษฐานไว้ที่เจดีย์พระธาตุหอผ้าหอแพ เมืองเวียงจันทร์

วัดพระธาตุบังพวน นอกจากมีองค์พระธาตุแล้ว ยังกลุ่มโบราณสถานที่เรียกว่า สัตตมหาสถาน ที่สร้างขึ้นตามคติพุทธศาสนา หมายถึงการจำลองสถานที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธองค์ หลังจากตรัสรู้แล้ว จำนวน 7 แห่ง คือ โพธิบัลลังก์, อนิมมิสเจดีย์ ,รัตนจงกรมเจดีย์, รัตนฆรเจดีย์,อชาปาลนิโครธเจดีย์,มุจลินทเจดีย์ และราชายตนะเจดีย์ ซึ่งในวัดพระธาตุบังพวนแห่งนี้นับเป็นที่เดียวในโลกที่ยังหลงเหลือโบราณสถานอันเป็นสัตตมหาสถานจากอดีตครบทั้ง 7 สิ่ง

และเป็นสถานที่เกี่ยวกับพญานาค พลาดไม่ได้จริง ๆ ก็คือ “สระมุจลินท์” หรือ “สระพญานาค” สระ น้ำโบราณที่มีบันทึกในหนังสือใบลานที่เขียนเป็นภาษามคธ เรียกชื่อว่า “สระมังคละน้ำเที่ยงหมัน” เมื่อครั้งได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุของพระ พุทธเจ้าบรรจุไว้ในองค์พระธาตุได้เกิดปรากฏการณ์ประหลาดมีสายน้ำพวยพุ่งออกมาจากพื้นดิน พระมหาเทพหลวงและพระมหาเทพพล พระภิกษุที่ดูแลองค์พระธาตุ ได้สังเกตเห็นว่ามีสายน้ำพุ่งขึ้นมาตลอดเวลาจากปล่องภูพญานาคที่เฝ้ารักษาพระธาตุบังพวน จึงได้ชักชวนญาติโยมขุดสระรองรับน้ำเอาไว้ และสร้างรูปปั้นพญานาค 7เศียรไว้กลางสระแห่งนี้ รูปแบบศิลปะแบบล้านช้าง ในสมัยพระเจ้าวิชลราช กษัตริย์ล้านช้างได้เสด็จมานมัสการพระธาตุ (ช่วงพ.ศ. 2043 – 2063) โปรดให้มีการปรับปรุงสระน้ำแห่งนี้และนิมนต์พระคุณเจ้าจัดทำพิธีมหาพุทธาภิเษก สระมุจลินท์ถือเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ และนำน้ำศักดิ์สิทธิแห่งนี้ไปใช้ในพิธีสำคัญในราชสำนักล้านช้างเป็นต้นมา

ในสมัยต่อมา สมเด็จพระไชยเชษฐา (พ.ศ. 2093–2115) กษัตริย์ล้านช้างได้โปรดเกล้าให้สร้างพระพุทธรูปนาคปรก 9 เศียร ไว้ในบริเวณใกล้เคียงกันด้วย ซึ่งเห็นได้ว่าในยุคสมัยพุทธกาลก็มีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพญานาค มีให้เห็นได้ในทุกยุคทุกสมัยแม้จะไม่สามารถพิสูจน์ได้ก็ตาม ปัจจุบันสระมุจลินท์แห่งนี้ถือเป็นสระน้ำสำคัญประจำจังหวัดหนองคาย น้ำในสระแห่งนี้ถูกนำไปใช้ในพิธีสรงมูรธราชาภิเษก พิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา และพิธีศักดิ์สิทธิ์สำคัญ ๆ ในรัชกาลปัจจุบันเป็นประจำ แต่น่าเสียดายวันที่ไป บ่อน้ำมีระดับน้ำที่ลดลงจากสภาพอากาศที่ร้อนมาก ๆ แต่ก็มิอาจลดความเข้มขลังของสระน้ำพญานาคอันศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ไปได้

เชื่อกันว่าการได้ไหว้สักการะพระธาตุอันเป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอริยสงฆ์นั้น จะนำมาซึ่งความสุข ความเจริญมาสู่ผู้ที่เคารพบูชา อีกทั้งอานิสงส์ผลบุญที่ได้จากการกราบไหว้บูชา และสร้างกุศลกับพระธาตุนั้น เชื่อว่าส่งผลแรงยิ่งนัก หากผู้ใดปฏิบัติบูชาด้วยจิตใจอันบริสุทธิ์ และหมั่นกราบไหว้บูชาตามกำลังความสามารถทุกครั้ง อานุภาพความศักดิ์สิทธิ์ของพระธาตุ จะดลบันดาลให้เกิดสิริมงคลในชีวิตแก่ตัวผู้บูชา

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

17°44′42″N 102°40′52″E / 17.74503°N 102.68109°E / 17.74503; 102.68109