พระครูพิศาลพรหมจรรย์ (สวัสดิ์ ปฺณณสีโล)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระครูพิศาลพรหมจรรย์

(สวัสดิ์ ปฺณณสีโล)
ส่วนบุคคล
เกิด18 มีนาคม พ.ศ. 2451 (95 ปี 14 วัน ปี)
มรณภาพ1 เมษายน พ.ศ. 2547
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดบึงบวรสถิตย์ จังหวัดชลบุรี
อุปสมบท20 ธันวาคม พ.ศ. 2476
พรรษา70 ปี 102 วัน
ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบึงบวรสถิตย์
เจ้าอาวาสวัดชากนิมิตรวิทยา
เจ้าคณะอำเภอบ้านบึง

พระครูพิศาลพรหมจรรย์ หรือ หลวงพ่อสวัสดิ์ ปุณณสีโล (18 มีนาคม พ.ศ. 2452 - 1 เมษายน พ.ศ. 2547) เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงรูปหนึ่งของชลบุรี และภาคตะวันออก เชื่อกันว่าท่านสำเร็จอภิญญา อิทธิวัตถุมงคลทุกรุ่นที่ท่านตั้งจิตอธิษฐานจิตปลุกเสกไว้มีพุทธคุณเป็นเยี่ยมทางด้านมหาอุดและคงกระพันให้โจษจันเล่าขานตลอดมา เมื่อประจักษ์แก่สายตาของบรรดาเหล่าศิษย์

ประวัติ[แก้]

หลวงพ่อสวัสดิ์ ปุณณสโล ท่านเกิดเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2452 (นับแบบใหม่) ตรงกับปลายแผ่นดินรัชกาลที่ 5 อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่ออายุ 25 ปี ตรงกับวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2476 ณ พัทธสีมา วัดดอกไม้ ตำบลคลองโค อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ โดมีหลวงพ่อกล่อม เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากอุปสมบทได้อยู่ปฏิบัติพระอุปัชฌาย์ 2 พรรษา แล้วออกเดินธุดงค์สั่งสมประสบการณ์ในทางธรรมไปในสถานที่ต่าง ๆ เช่น ภาคเหนือ ภาคอีสาน ก่อนข้ามไปศึกษาวิชาในเขมร จนถึงปี พ.ศ. 2479 เข้าจำพรรษาอยู่ที่วัดกำแพง ก่อนที่จะเป็นเจ้าอาวาสวัดซากนิมิตรวิทยา อำเภอบ้านบึง พอถึงปี พ.ศ. 2528 ได้สร้างสำนักวิปัสสนาเม้าสุขา จากนั้นปี พ.ศ. 2530 ได้ย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดบึงบวรสถิตย์และเป็นเจ้าคณะอำเภอบ้านบึงจนถึงปี พ.ศ. 2542 หลวงพ่อท่านมรณภาพเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2547 ในแผ่นดินรัชกาลที่ 9 รวมสิริอายุได้ 96 ปี พรรษา 70

จริยวัตร[แก้]

หลวงพ่อสวัสดิ์ท่านเป็นคนสมถะเรียบง่าย มีความเมตตาต่อญาติโยม ไม่ว่าใครจะมีทุกข์ร้อนอะไรมาขอความช่วยเหลือ ท่านจะช่วยสงเคราะห์ให้ตลอด เป็นนักพัฒนารูปสำคัญของจังหวัดชลบุรี ได้ดำริจัดสร้างสถานที่ต่าง ๆ ไว้มากมาย รวมทั้งให้ความสำคัญกับการศึกษาของเด็กและเยาวชนด้วยการจัดตั้งโรงเรียนสอนเด็กวันอาทิตย์โรงเรียนสอนเด็กอ่อนเกณฑ์ในวัดรวมทั้งสถานที่ปฏิบัติธรรมเพื่อหล่อหลอมจิตใจของชาวบ้าน โดยการอบรมวิปัสสนากรรมฐานอย่างต่อเนื่อง เป็นผู้นำพระภิกษุทั่วทั้งอำเภอออกธุดงค์เป็นเวลาประมาณ 1 เดือนเป็นประจำทุกปีและนำสิ่งของไปช่วยผู้ประสบอุทกภัยและวาตภัยทั่วประเทศอยู่เสมอมา

อ้างอิง[แก้]

  1. หนังสือรวมสุดยอดพระคณาจารย์ทั้งหมด 180 พระองค์