พระครูธรรมสมาจารย์ (พัก ธมฺมทตฺโต)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระครูธรรมสมาจารย์

(พัก ธมฺมทตฺโต)
ชื่ออื่นพระอาจารย์พัก, หลวงปู่พัก
ส่วนบุคคล
เกิดพ.ศ. 2419 (82 ปี)
มรณภาพ14 สิงหาคม พ.ศ. 2501
นิกายมหานิกาย
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดบึงทองหลาง กรุงเทพมหานคร
อุปสมบทพ.ศ. 2439
พรรษา62
ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบึงทองหลาง

หลวงปู่พัก ธมฺมทตฺโต อดีตเจ้าอาวาสวัดบึงทองหลาง ระหว่าง พ.ศ. 2445-2501 เป็นเถราจารย์ที่คนเคารพศรัทธาแห่งบางกะปิ มี สมเด็จพระวันรัต (แดง สีลวฑฺฒโน) แห่ง วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร เป็นพระอุปัชฌาย์ทั้งขณะเป็นสามเณรและพระภิกษุ มีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว) {พ.ศ. 2399-2487} ที่กาลต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เป็นผู้ที่ได้เรียนวิปัสสนากรรมฐานจากสำนักของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว) วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหารด้วย เป็นผู้ที่ได้รับวิชาพุทธาคมจากพระอุปัชฌาย์อาจารย์ จนเป็นพระเกจิคณาจารย์ที่ได้รับความศรัทธาจนกระทั่งปัจจุบัน เมื่อมาดำตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบึงทองหลางแล้ว ได้ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่ทอง อายะนะ วัดลาดบัวขาว (ราชโยธา) พระโขนง กทม. รวมทั้งเป็นสหายธรรมกับ หลวงพ่อคง ธัมมโชโต วัดบางกะพ้อม อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม พระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุนี (แช่ม) วัดฉลอง จ.ภูเก็ต พระภาวนาโกศลเถระ (เอี่ยม สุวณฺณสโร) วัดหนัง กทม. พระครูกรุณาวิหารี (เผือก ปัญญาธโร) วัดกิ่งแก้ว จ.สมุทรปราการ พระปลัดหุ่น สุวณฺณสโร เก็บถาวร 2016-03-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ชาตกาล พ.ศ. 2436 - มรณะ พ.ศ. 2511 อายุ 75 ปี) วัดนวลจันทร์ (วัดบางขวด ระหว่าง พ.ศ. 2473-2511) กทม. หลวงพ่อเผือก (วัดลาดพร้าว) กทม. เป็นต้น

ประวัติ[แก้]

ชาติภูมิ[แก้]

พระครูธรรมสมาจารย์ (พัก ธมฺมทตฺโต) สกุลเดิม แย้มพิทักษ์ = พ.ศ. 2419-2501 หรือที่รู้จักกันอย่างดีในนามหลวงปู่พัก และ หลวงพ่อภักตร์ พื้นเพเดิมท่านเป็นคนอำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ท่านเกิดเมื่อวันเสาร์ เดือน 6 พ.ศ. 2419 เหตุที่ท่านมีชื่อ “พัก” นั้น เล่ากันว่า เพราะว่าโยมมารดาได้เดินทางกลับไปเยี่ยมบ้านเดิมเพื่อที่จะฝากครรภ์ ไว้ที่บ้านคุณตาคุณยาย ขณะที่หยุดพักใต้ร่มไม้ใหญ่ชายป่า เกิดเจ็บท้องกะทันหัน และได้คลอดบุตรชายออกมา จึงได้ตั้งชื่อว่า “เด็กชายพัก”[1]

บรรพชาและอุปสมบท[แก้]

เมื่ออายุ ๘ ขวบ โยมบิดาได้พาเข้ากรุงเทพ ฯ มาฝากให้เป็นศิษย์วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร คอยปรนนิบัติรับใช้ สมเด็จพระวันรัต (แดง) เมื่อมีความคุ้นเคยกับวัดดีแล้วสมเด็จพระวันรัต (แดง สีลวฑฺฒโน)ได้เมตตา บรรพชาให้เป็นสามเณร ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย พระปริยัติธรรม รวมทั้งเรียนพุทธเทวมหามนต์ วิชาความรู้ทางช่าง บูรณะวัดและวิชาความรู้ต่าง ๆ ที่มีครูผู้สอน มีตำรับตำราตกทอดกันมา ศึกษาตำราการสร้างพระที่มีตกทอดสืบกันมา รวมถึงได้มีโอกาสได้เรียนวิปัสสนากรรมฐานจากสำนักของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว) วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหารด้วย ล่วงมาจนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๓๙ อายุครบบวชได้อุปสมบท ณ พระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร โดยมีสมเด็จพระวันรัต (แดง สีลวฑฺฒโน)-พ.ศ. 2365-2443) เป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว) {พ.ศ. 2399-2487} ที่กาลต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ธมฺมทตฺโต” หลวงปู่พัก เป็นพระภิกษุที่ขยันหมั่นเพียร หมั่นฝึกฝนตนเอง ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยจนแตกฉาน ท่องบ่นพุทธเวทมหามนต์ชั้นสูงของสำนักวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหารตลอดจนมีความสามารถในการเจริญจิตภาวนา วิปัสสนากรรมฐาน มีความสามารถเชี่ยวชาญจนกระทั่งนำไปถ่ายทอดสอนให้แก่ผู้อื่น ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดบึงทองหลาง จนกระทั่ง 5 ปีผ่านไป ทางวัดบึงทองหลาง ซึ่งมีพระอธิการสิน เป็นเจ้าอาวาส ได้มีหนังสือมายัง สมเด็จพระวันรัต (แดง สีลวฑฺฒโน) ขอให้ส่งพระที่มีความรู้ มาช่วยดูแลวัดด้วยเพราะตัวท่านชราภาพมากแล้ว หลวงปู่พัก จึงได้รับคัดเลือกให้มาทำความเจริญรุ่งเรืองแก่วัดบึงทองหลางตั้งแต่บัดนั้น ในฐานะผู้ช่วยเจ้าอาวาส อีก 5 ปีต่อมาพระอธิการสิน มรณภาพ หลวงปู่พัก ได้จัดงานศพให้อย่างสมเกียรติ หลังจากนั้นจึงได้รับตราตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส และอีก 2 ปีต่อมา เมื่อ พ.ศ. 2445 ได้รับตราตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ เรียนวิชาเพิ่ม ในช่วงเวลานั้น หลวงปู่พัก ธมฺมทตฺโต ได้ยินกิตติศัพท์ของ หลวงปู่ทอง อายะนะ วัดลาดบัวขาว (ราชโยธา) พระโขนง กทม. ซึ่งอยู่ในละแวกเดียวกันว่าท่านเป็นพระแท้มีอาคมขลังเป็นที่นับถือของคนทั่วไปในย่านนั้น ท่านจึงพายเรือไปกราบนมัสการในฐานะพระผู้น้อยเคารพพระผู้ใหญ่ ต่อไปได้เห็นวัตรปฏิปทาของ หลวงปู่ทอง อายะนะ เพียบพร้อมน่าศรัทธา จึงบังเกิดความเลื่อมใส ขอฝากตัวเป็นศิษย์ ขอถ่ายทอดวิชาต่าง ๆ วิชาการสร้างวัตถุมงคลให้ขลัง เรียนวิชาทำผงพุทธคุณ เรียนทำผงตรีนิสิงเห เรียนสูตรเขียนยันต์จนชำนาญ สำเร็จยันต์ถึงขั้นเคาะผงทะลุกระดานได้ หลวงปู่พัก ชอบยันต์นี้มาก และใช้ยันต์เป็นประจำต่อมา เมื่อท่านเขียนยันต์ตรีนิสิงเห ลงในตระกรุดผ้าประเจียด ผ้ายันต์ แจกจ่ายแก่ลูกศิษย์ลูกหาญาติโยม ปรากฏว่า มีความศักดิ์สิทธิ์ในด้านคงกระพันชาตรี ป้องกันเขี้ยวงา จนเป็นที่เลื่องลือ ศิษย์ร่วมสำนัก ศิษย์ฝ่ายสงฆ์ที่ไปขอเรียนวิชากับหลวงปู่ทอง อายะนะ วัดลาดบัวขาว (ราชโยธา) ได้พบกันในกุฏิยุคนั้น

  1. หลวงพ่อคง ธัมมโชโต วัดบางกะพ้อม อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
  2. พระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุนี (แช่ม) วัดฉลอง จ.ภูเก็ต
  3. พระภาวนาโกศลเถระ (เอี่ยม สุวณฺณสโร) วัดหนัง กทม.
  4. พระครูกรุณาวิหารี (เผือก ปัญญาธโร) วัดกิ่งแก้ว จ.สมุทรปราการ
  5. พระครูธรรมสมาจารย์ (พัก ธมฺมทตฺโต) วัดบึงทองหลาง กทม.
  6. พระปลัดหุ่น สุวณฺณสโร เก็บถาวร 2016-03-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ชาตกาล พ.ศ. 2436 - มรณะ พ.ศ. 2511 อายุ 75 ปี) วัดนวลจันทร์ (วัดบางขวด ระหว่าง พ.ศ. 2473-2511) กทม.
  7. หลวงพ่อเผือก (วัดลาดพร้าว) กทม.

ซึ่งคณาจารย์ที่กล่าวมาล้วนแต่เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง โดยคณาจารย์ล้วนแต่พายเรือลัดเลาะมาตามคลองเพื่อหาความรู้และหาครูบาอาจารย์ โดยมาขึ้นที่ท่าเทียบเรือวัดลาดบัวขาว (ราชโยธา) เพื่อฝากตัวเป็นศิษย์และศึกษาทางด้าน “เวทยาคม” จากหลวงปู่ทอง อายะนะ ทั้งสิ้น

สมณศักดิ์ ตำแหน่ง[แก้]

พ.ศ. 2445 เจ้าอาวาสวัดบึงทองหลาง

พ.ศ. 2465 เป็นพระอุป้ชฌาย์

พ.ศ. 2496 เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตร์ ที่พระครูธรรมสมาจารย์

พ.ศ. 2496 เป็นเจ้าคณะหมวดตำบล

งานหลวงปู่พัก ธมฺมทตฺโต[แก้]

1.ริเริ่มจัดสร้างโรงเรียนวัดบึงทองหลางในที่ธรณีสงฆ์ของวัดบึงทองหลาง ตั้งแต่ พ.ศ. 2475 ทั้งอุปถัมภ์ และสนับสนุนงบประมาณ

2.วางรากฐานวัดบึงทองหลาง จัดหาที่ดินอันเป็นที่ธรณีสงฆ์ให้เป็นสมบัติของวัดบึงทองหลาง ประมาณ 300 ไร่ ในปัจจุบัน

3.สร้างศาสนทายาท ผ่านการศึกษาอบรมที่วัดบึงทองหลาง จนมีผู้เคารพนับถือหลวงปู่พัก จนกระทั่งปัจจุบัน

4.พัฒนาคนผ่านสถาบันการศึกษาหลายสิบรุ่น หลายพันคน ผ่านโรงเรียนวัดบึงทองหลาง

5.สร้างเสนาสนะภายในวัดบึงทองหลางให้เป็นสมบัติของวัดและพระพุทธศาสนา ตั้งแต่มาอยู่วัดบึงทองหลางตั้งแต่ พ.ศ. 2445 จนกระทั่งมรณภาพ เมื่อ พ.ศ. 2501 เช่น อุโบสถ 100 ปี สร้าง พ.ศ. 2463 ที่ยังหลงเหลืออยู่ที่วัดบึงทองหลาง ศาลาการเปรียญ วิหาร และกุฏิที่พักสงฆ์ เป็นต้น

- สร้างอุโบสถและตัดลูกนิมิตร พ.ศ. 2463

-สร้างศาลาการเปรียญหลังเก่าแล้วเสร็จ พ.ศ. 2469 สิ้นค่าก่อสร้าง จำนวน 30,000.-บาท (สามหมื่นบาท)

- ก่อสร้างโรงเรียนวัดบึงทองหลางมอบให้ทางราชการ เริ่มสร้าง พ.ศ. 2477 แล้วเสร็จ พ.ศ. 2484 (ตึกเหลือง) สินค่าก่อสร้างประมาณ 20,000.- บาท (สองหมื่นบาท)

จัดหาที่ดินที่ธรณีสงฆ์ให้วัดบึงทองหลาง[แก้]

หลวงปู่พัก ธมฺมทตฺโต นับได้ว่าเป็นพระเถระที่มาบุกเบิกวัดบึงทองหลาง อย่างแท้จริง ด้วยในช่วงสมัยที่ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ท่านได้จัดหาที่ดินอันเป็นที่ธรณีสงฆ์ ไว้เป็นสมบัติของวัดบึงทองหลางจำนวนมาก ร่วมประมาณ 300 ไร่ ในปัจจุบัน และได้มีการจัดมอบให้เป็นที่อยู่อาศัย แก่ประชาชนในนามวัดบึงทองหลาง ทำหน้าที่สงเคราะห์ประชาชน ให้เป็นสถานศึกษาโรงเรียนจำนวน 3 โรงเรียนอันประกอบด้วย โรงเรียนวัดบึงทองหลาง (ประถมศึกษา) โรงเรียนมัธยมวัดบึงทองหลาง (ระดับมัธยมศึกษา 1-6) และวิทยาลัยศิลปหัตถกรรมกรุงเทพ ฯ (ระดับอาชีวะ ปวช. / ปวส.) และจัดมอบให้เป็นที่ทำธสาธารณะประโยชน์ เช่น จัดทำถนนเส้นเชื่อมระหว่างวัดบึงทองหลาง กับถนนลาดพร้าว หรือถนนเส้นหน้าวัดบึงทองหลาง ซอย 101 ในปัจจุบัน เป็นต้น โดยที่ดินที่ปรากฏหลักฐานเป็นสินทรัพย์ของวัดบึงทองหลางในปัจจุบัน ประกอบด้วย

1.ที่ดินแปลงตั้งวัดเรียกว่าที่ตั้งวัดในปัจจุบัน ประมาณ 60 ไร่  อันเป็นสถานที่จัดสร้างศาสนวัตถุที่พัฒนามาพร้อมกับเวลา เช่น อุโบสถ 1 หลัง วิหาร 2 หลัง ศาลาอเนกประสงค์ ศาลาสวดศพกว่าประมาณ 16 หลัง กุฎิที่พำนักสงฆ์กว่า 30 หลัง ที่จอดรถ เมรุเผาศพ 4 เตาเผา เป็นต้น

2.ที่ดินแปลงตั้งโรงเรียนมัธยมวัดบึงทองหลาง ประมาณ 30 ไร่

3.ที่ดินแปลงตั้งโรงเรียนวัดบึงทองหลาง ประมาณ 30 ไร่

4.ที่ดินแปลงตั้งวิทยาลัยศิลปหัตถกรรมกรุงเทพ ประมาณ 30 ไร่

5.ที่ธรณีสงฆ์แปลงถนนลาดพร้าว 101 ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ ชุมชน 101 บึงทองหลาง (หน้าวัด) ที่ตั้ง..ถนนลาดพร้าว ซอย 101 เขตบางกะปิ มีพื้นที่ธรณีสงฆ์ จำนวน 27 ไร่ ทางวัดได้จัดสรรให้ประชาชนเข้าอยู่อาศัยประมาณ พ.ศ. 2518 ? และได้รับการจดทะเบียนเป็นชุมชนโดยสำนักพัฒนาชุมชน กรุงเทพมหานคร เมื่อ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2535 (1992) ปัจจุบันมีผู้อยู่อาศัยประมาณ 210+  ครอบครัว 798+  คน

6.ที่ธรณีสงฆ์แปลง ลาดพร้าว 87 ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ ชุมชนจันทราสุข ตั้งอยู่ถนนลาดพร้าว ซอย ๘๗ เขตวังทองหลาง มีพื้นที่ธรณีสงฆ์ จำนวน 24.07 ไร่ เข้าอยู่อาศัยประมาณ พ.ศ. 2518 และได้รับการจดทะเบียนจัดตั้งเป็นชุมชน โดยสำนักพัฒนาชุมชน กรุงเทพมหานคร เมื่อ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2535 ปัจจุบันมีผู้อยู่อาศัยประมาณ 218+ ครอบครัว 766+ คน

7. ที่ธรณีสงฆ์แปลงรามอินทรา ซอยวัชรพล (ท่าแร้ง) มีเนื้อที่ จำนวน 25 ไร่ จัดสรรค์ให้ประชาชนได้อยู่อาศัย เรียก ชุมชนวัชรปราณี (ท่าแร้ง)   ถนนรามอินทรา ซอยวัชรพล (ห้าแยกวัชรพล) แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน ทางวัดได้จัดสรรให้ประชาชนเข้าอยู่อาศัยเมื่อประมาณ พ.ศ. 2520? และได้รับการจดทะเบียนจัดตั้งเป็นชุมชนโดยสำนักพัฒนาชุมชน กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2539 ปัจจุบันมีผู้อยู่อาศัยประมาณ 225+ ครอบครัว 804+ คน

8. ที่ธรณีสงฆ์แปลงเรียบถนนเกษตร-นวมินทร์ แปลงถนนเกษตรศาสตร์-นวมินทร์ ประมาณ 65 ไร่ จำนวน 2 โฉนด คือ 1125 เนื้อที่ทั้งหมด 43 ไร่ 1 งาน 72 วา (ถูกเวนจำนวน 4 ไร่ 1 งาน 21.7 วา คงเหลือ 39 ไร่ 50.3 วา) และโฉนดเลขที่ 1126 จำนวน 27 ไร่ 1 งาน 96 วา (ถูกเวนคืน 2 ไร่ 6.6 วา คงเหลือ 25 ไร่ 1 งาน 89.4 วา) ปัจจุบันให้เอกชนเช่า [บุญถาวร สาขาเกษตรนวมินทร์]

วัตถุมงคลที่จัดสร้างในนามวัดบึงทองหลางหลาง[แก้]

1.สมเด็จดำ หลวงปู่พัก ประวัติการสร้างอาจไม่ชัดเจนนักแต่จากข้อมูลมีว่ามวลสารที่หลวงปู่นำมาสร้างสมเด็จนี้ ได้มาจากผงในสมเด็จพระสังฆราชแพ ซึ่งเป็นครูบาอาจารย์สายตรงของท่านที่ท่านบวชและเคยอยู่ที่วัดสุทัศนวรารามมาก่อน นอกจากนี้ยังมีผงวัดระฆัง บางขุนพรม ผงหลวงพ่อพริ้ง ผงวัดสามปลื้ม ผงวัดพลับ ซึ่งปลุกเสกเดียวโดยหลวงปู่พักเอง จัดสร้างใน พ.ศ.ใดนั้นไม่แน่ชัด แต่น่าจะก่อน พ.ศ. ๒๕๐๐ ซึ่งก็เป็นของนักสะสมที่นิยมสะสมกันพอสมควร โดยลักษณะเป็นรูปพระปางสมาธิมีฐานรอง ๓ ชั้น ลักษณะมวลสารอาจดูไม่ละเอียดเมื่อเทียบกับสมเด็จในรุ่นเดียวกันแต่ก็น่าหามาสะสมไว้แล

วัตถุมงคลร่วมเถราภิเษก[แก้]

1.“พระพุทธชินราชอินโดจีน ปี 2485” “พระพุทธชินราชอินโดจีน” เป็นพระหล่อเนื้อโลหะผสม โดยมีทองเหลืองเป็นหลัก จัดสร้างจำนวนมาก แต่คัดสภาพสมบูรณ์เหลือเพียง 84,000 องค์ ลักษณะจะคล้ายพระยอดธง ด้านหน้า จำลององค์พระพุทธชินราช มีซุ้มเรือนแก้ว เหนืออาสนะบัว 2 ชั้น ใต้ฐาน ปั๊ม “อกเลา” บานประตูพระวิหาร วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ และ “ธรรมจักร” ส่วน “เหรียญพระพุทธชินราชอินโดจีน” สร้างเป็นเนื้อทองแดงรมดำ จำนวน 3,000 เหรียญ ลักษณะเป็นเหรียญปั๊ม รูปทรงเสมา ด้านหน้า เป็นรูปจำลองพระพุทธชินราช มีซุ้มเรือนแก้ว เหนืออาสนะบัว 2 ชั้น ด้านหลัง เป็นรูป “อกเลา” บานประตูพระวิหาร วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ และอักษรไทยว่า “อกเลาวิหารพระ พุทธชินราช” ประกอบพิธีเททองหล่อตาม ‘ตำราการสร้างพระกริ่ง พระชัยวัฒน์’ ของวัดสุทัศน์อย่างสมบูรณ์ ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก ในวันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 3 ตรงกับวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 จากนั้นประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถ วัดสุทัศนเทพวราราม ในวันที่21 มีนาคม พ.ศ. 2485 โดยมี ท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทวมหาเถร) เป็นองค์ประธาน เจ้าคุณศรีสัจจญาณมุนี (สนธิ์) เป็นแม่งาน

2.ร่วมเถราภิเษก พระรอด วัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม่ พ.ศ. 2496 ในการสร้างพุทธสถานเชียงใหม่ ซึ่งได้กระทำพิธีวางศิลาฤกษ์ ณ บริเวณวัดอุปคุต เชิงสพานเนาวรัตน์ เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พุทธศักราช 2496 เวลา 11.45 น. ตรง และในเดือนเดี่ยวกันนั้นเอง ตรงกับวันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 7 ปี มะเส็ง จัตวาศก จุลศักราช 1315 วันที่ 23 พฤษภาคม พุทธศักราช 2496 เริ่ม พิธี 9.21 น. 41 วินาที และเริ่มจุดเทียนไชย เวลา 19.29 น. พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ ประธานกรรมการจัดสร้างพระรอด พร้อม ด้วยคณะกรรมการพุทธสถานก็ได้รวมกันประกอบพิธีมหามงคลสร้างพระรอด 84,000 องค์ เพื่อสมทบทุนสร้างทธสถานเชียงใหม่

3.ร่วมเถราภิเษก พระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ’ จัดสร้างในโอกาส สร้าง “พระประธานพุทธมณฑล” เป็นพระพุทธรูปปางลีลา ความสูง 2,500 นิ้ว (62.50 เมตร) พระนาม “พระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑล” บนเนื้อที่ 2,500 ไร่ ที่ ต.ศาลายา อ.นครปฐม ซึ่งก็คือ ‘พุทธมณฑล’ โดยมีวัตถุประสงค์การจัดงานนั้นก็เพื่อต้องการให้เมืองไทยเป็นศูนย์กลางทางพุทธศาสนาแห่งโลก ในครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช (รัชกาลที่ 9) เสด็จฯ ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์สร้าง “พุทธมณฑล” เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 และเสด็จฯ ประกอบพิธีเททองหล่อ "พระพุทธปฏิมาประธานพุทธมณฑล" และทรงกดพระพิมพ์ “พระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ” เนื้อดินจำนวน 30 องค์ ณ มณฑลพิธีวัดสุทัศนเทพวราราม เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500

วัตถุมงคล ชนิดวัตถุมงตล ประวัติและพัฒนาการของพระ เถราจารย์
“พระพุทธชินราชอินโดจีน ปี 2485” “พระพุทธชินราชอินโดจีน” เป็นพระหล่อเนื้อโลหะผสม โดยมีทองเหลืองเป็นหลัก จัดสร้างจำนวนมาก แต่คัดสภาพสมบูรณ์เหลือเพียง 84,000 องค์ ลักษณะจะคล้ายพระยอดธง ด้านหน้า จำลององค์พระพุทธชินราช มีซุ้มเรือนแก้ว เหนืออาสนะบัว 2 ชั้น ใต้ฐาน ปั๊ม “อกเลา” บานประตูพระวิหาร วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ และ “ธรรมจักร” ส่วน “เหรียญพระพุทธชินราชอินโดจีน” สร้างเป็นเนื้อทองแดงรมดำ จำนวน 3,000 เหรียญ ลักษณะเป็นเหรียญปั๊ม รูปทรงเสมา ด้านหน้า เป็นรูปจำลองพระพุทธชินราช มีซุ้มเรือนแก้ว เหนืออาสนะบัว 2 ชั้น ด้านหลัง เป็นรูป “อกเลา” บานประตูพระวิหาร วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ และอักษรไทยว่า “อกเลาวิหารพระ พุทธชินราช” ประกอบพิธีเททองหล่อตาม ‘ตำราการสร้างพระกริ่ง พระชัยวัฒน์’ ของวัดสุทัศน์อย่างสมบูรณ์ ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก ในวันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 3 ตรงกับวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 จากนั้นประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถ วัดสุทัศนเทพวราราม ในวันที่21 มีนาคม พ.ศ. 2485 โดยมี ท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทวมหาเถร) เป็นองค์ประธาน เจ้าคุณศรีสัจจญาณมุนี (สนธิ์) เป็นแม่งาน 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485
ร่วมเถราภิเษก พระรอด วัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม่ พ.ศ. 2496 ในการสร้างพุทธสถานเชียงใหม่ ซึ่งได้กระทำพิธีวางศิลาฤกษ์ ณ บริเวณวัดอุปคุต เชิงสพานเนาวรัตน์ เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พุทธศักราช 2496 เวลา 11.45 น. ตรง และในเดือนเดี่ยวกันนั้นเอง ตรงกับวันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 7 ปี มะเส็ง จัตวาศก จุลศักราช 1315 วันที่ 23 พฤษภาคม พุทธศักราช 2496 เริ่ม พิธี 9.21 น. 41 วินาที และเริ่มจุดเทียนไชย เวลา 19.29 น. พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ ประธานกรรมการจัดสร้างพระรอด พร้อม ด้วยคณะกรรมการพุทธสถานก็ได้รวมกันประกอบพิธีมหามงคลสร้างพระรอด 84,000 องค์ เพื่อสมทบทุนสร้างทธสถานเชียงใหม่ 23 พฤษภาคม พุทธศักราช 2496
ร่วมเถราภิเษก พระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ จัดสร้างในโอกาส สร้าง “พระประธานพุทธมณฑล” เป็นพระพุทธรูปปางลีลา ความสูง 2,500 นิ้ว (62.50 เมตร) พระนาม “พระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑล” บนเนื้อที่ 2,500 ไร่ ที่ ต.ศาลายา อ.นครปฐม ซึ่งก็คือ ‘พุทธมณฑล’ โดยมีวัตถุประสงค์การจัดงานนั้นก็เพื่อต้องการให้เมืองไทยเป็นศูนย์กลางทางพุทธศาสนาแห่งโลก ในครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช (รัชกาลที่ 9) เสด็จฯ ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์สร้าง “พุทธมณฑล” เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 และเสด็จฯ ประกอบพิธีเททองหล่อ "พระพุทธปฏิมาประธานพุทธมณฑล" และทรงกดพระพิมพ์ “พระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ” เนื้อดินจำนวน 30 องค์ ณ มณฑลพิธีวัดสุทัศนเทพวราราม เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500

วาระสุดท้ายของหลวงปู่พัก ธมฺมทตฺโต[แก้]

ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ตั้ง แต่ พ.ศ. 2445 จนถึง 14 สิงหาคม พ.ศ. 2501 ได้ถึงแก่มรณภาพด้วยชราภาพ ในเวลาพลบค่ำ เวลาประมาณ 19:00 น จากนั้นได้มีพระครูพิศาลวิริยคุณ (สิงห์โต ติสฺโส) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อมา [2]และวางรากฐาน และพัฒนาวัดบึงทองหลางจนเจริญก้าวหน้า เช่น การริเริ่มและจัดสร้างสถาบันการศึกษาโรงเรียนมัธยมวัดบึงทองหลาง วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมกรุงเทพ ซึ่งตั้งอยู่ในที่ธรณีสงฆ์ของวัดบึงทองหลาง การริเร่มจัดสร้างถนนที่เชื่อมระหว่างถนนลาดพร้าว กับวัดบึงทองหลาง รวมทางยาวประมาณ 3 กิโลเมตร โดยขอบริจาคที่ดินจากชาวบ้านเมื่อ พ.ศ. 2508 ความกว้างรวม 20 เมตร เมื่อทางการมาขยายถนนไม่ต้องเวนคืนให้เสียงบประมาณแผ่น และถนนเป็น 4 เลน กว้างขวางเชื่อมระหว่างวัดบึงทองหลาง และถนนลาดพร้าว ถนนนวมินทร์ เป็นต้น หลวงพ่อสิงห์โต พัฒนาวัดเป็นระยะเวลา 46 ปี และมรณภาพเมื่อ 27 มิถุนายน 2561 [3]

อ้างอิง[แก้]

  1. คณะสงฆ์วัดบึงทองหลาง. (2552). หนังสือที่ระลึกงานสมโภชน์ยกช่อฟ้าและฉลองมณฑปธรรมสมาจารย์นุสรณ์ วัดบึงทองหลาง เขตบางกะปิ กทม. วันที่ 30 เดือน มีนาคม พุทธศักราช 2552,กรุงเทพ ฯ , สำนักพิมพ์ธรรมสภา,2552, หน้า 20-30.
  2. ผศ.ดร.พิเชฐ ทั่งโต,(บรรณาธิการ).ปกิณกะคำสอนหลวงพ่อโต, (กรุงเทพ ฯ ,สำนักพิมพ์สินธนา,2549 : พิมพ์เนื่องในงานครบรอบ 80 ปี พระครูพิศาลวิริยคุณ) หน้า 130
  3. รศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม [บรรณาธิการ] (2561). บทบาทพระสงฆ์กับการพัฒนาชุมชนและสังคม. ที่ระลึกในงานประชุมเพลิงศพพระครูพิศาลวิริยคุณ (สิงห์โต ติสฺโส) ณ ฌาปนสถานวัดบึงทองหลาง ลาดพร้าว 101 บางกะปิ กรุงเทพ ฯ 7 กรกฎาคม 2561. พระนครศรีอยุธยา : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย


แม่แบบ:พระสังฆาธิการเจ้าอาวาส