พรรคสังคมประชาธิปไตยเยอรมนี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พรรคสังคมประชาธิปไตยเยอรมนี
Sozialdemokratische Partei Deutschlands
ชื่อย่อSPD
หัวหน้าSaskia Esken
Norbert Walter-Borjans
รองหัวหน้า
เลขาธิการ Lars Klingbeil
ก่อตั้งพ.ศ. 2406
รวมตัวกับADAV และ SDAP
ที่ทำการวิลลี-บรันท์-Haus D-10911 กรุงเบอร์ลิน, ประเทศเยอรมัน
หนังสือพิมพ์Vorwärts
ฝ่ายนักเรียนนักศึกษา
ฝ่ายเยาวชนJusos
แนวร่วมสตรีสมาคมสตรีสังคมประชาธิปไตย
จำนวนสมาชิก  (ปี ธันวาคม 2561)ลดลง 437,754[1]
อุดมการณ์
จุดยืนกลาง-ซ้าย
กลุ่มระดับสากลพันธมิตรก้าวหน้า
กลุ่มในภูมิภาคพรรคสังคมนิยมยุโรป
กลุ่มในสภายุโรปกลุ่มพันธมิตรที่ก้าวหน้าของพรรคสังคมนิยมและพรรคเดโมแครต
สีสีแดง
สภาผู้แทนราษฎร
153 / 709
สภาผู้แทนรัฐ
21 / 69
รัฐสภาของรัฐ
496 / 1,821
รัฐสภายุโรป
27 / 96
ประธานรัฐมนตรีของรัฐ
7 / 16
เว็บไซต์
http://www.spd.de/
ธงประจำพรรค
Flag of the Social Democratic Party of Germany
การเมืองประเทศเยอรมัน
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรคสังคมประชาธิปไตยเยอรมนี (อังกฤษ: Social Democratic Party of Germany, เยอรมัน: Sozialdemokratische Partei Deutschlands, SPD) เป็นพรรคการเมืองสังคมประชาธิปไตยที่เป็นฝ่ายซ้ายกลางในเยอรมนี มันเป็นหนึ่งในพรรคใหญ่ของเยอรมนีร่วมสมัย

ซัสเกีย เอสเก็นเป็นผู้นำพรรคนับตั้งแต่การเลือกตั้งผู้นำ ค.ศ. 2019 พร้อมกับลาร์ส คลิงไบล์ ที่ได้เข้าร่วมกับเธอในเเดือนธันวาคม ค.ศ. 2021 ภายหลังโอลัฟ ช็อลทซ์ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีใน ค.ศ. 2021 เอ็สเพเดได้กลายเป็นพรรคนำของรัฐบาลกลาง ซึ่งเอ็สเพเดได้จัดตั้งร่วมกับพรรคกรีนและพรรคประชาธิปไตยเสรี หลังการเลือกตั้งสหพันธรัฐ ค.ศ. 2021 เอ็สเพเดเป็นสมาชิก 11 ใน 16 รัฐบาลท้องถิ่นของเยอรมันและหุ้นส่วนชั้นนำในเจ็ดแห่งของพวกเขา

เอ็สเพเดถูกก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1863 มันเป็นหนึ่งในพรรคการเมืองที่ได้รับอิทธิพลลัทธิมาร์กซิสม์ช่วงแรกในโลก ตั้งแต่ ค.ศ. 1890 จนถึงช่วงต้นของศตวรรษที่ 20 เอ็สเพเดเป็นพรรคการเมืองลัทธิมาร์ซิสต์ขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรป และพรรคการเมืองที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในเยอรมนี ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง พรรคได้ถูกแบ่งแยกระหว่างฝ่ายสนับสนุนสงครามที่เป็นกระแสหลักและพรรคสังคมประชาธิปไตยอิสระที่เป็นฝ่ายต่อต้านสงคราม ซึ่งสมาชิกบางส่วนได้ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์เยอรมนี(KPD) เอ็สเพเดได้มีบทบาทที่สำคัญในการปฏิวัติเยอรมัน ค.ศ. 1918-1919 และรับผิดชอบในการก่อตั้งสาธารณรัฐไวมาร์ นักการเมืองจากพรรคเอ็สเพเดนามว่า ฟรีดริช เอเบิร์ท ได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีเยอรมนีคนแรก

ภายหลังการเถลิงอำนาจของพรรคนาซี เอ็สเพเดเป็นพรรคเดียวที่อยู่ในรัฐสภาไรชส์ทาคที่ได้ลงคะแนนเสียงต่อต้านรัฐบัญญัติมอบอำนาจ ค.ศ. 1933 ต่อมาเอ็สเพเดได้ถูกสั่งห้ามและดำเนินการในการลี้ภัยที่มีชื่อว่า โซเพรด(Sopade) หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เอ็สเพเดได้ถูกก่อตั้งขึ้นอีกครั้ง ในเยอรมนีตะวันออก ได้ถูกรวมเข้ากับพรรคเคเพเดเพื่อก่อตั้งพรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี ในเยอรมนีตะวันตก เอ็สเพเดกลายเป็นหนึ่งในสองพรรคการเมืองใหญ่เคียงข้างกับพรรคสหภาพประชาธิปไตยคริสเตียนแห่งเยอรมนี(เซเดอู)/พรรคสหภาพสังคมคริสเตียนในบาวาเรีย(เซเอ็สอู) ในโครงการโกเดิสแบร์ ค.ศ. 1959 เอ็สเพเดได้ละทิ้งความมุ่งมั่นต่อลัทธิมาร์ซิสต์และกลายเป็นพรรคการเมืองเต๊นท์ใหญ่ของฝ่ายซ้ายกลาง เอ็สเพเดได้เป็นผู้นำรัฐบาลกลาง ตั้งแต่ ค.ศ. 1969 ถึง ค.ศ. 1982, ค.ศ. 1998 ถึง ค.ศ. 2005 และอีกครั้งนับตั้งแต่ ค.ศ. 2021 โดยได้ทำหน้าที่เป็นหุ้นส่วนรุ่นเยาว์ให้กับพรรคเซเดอู/เซเอ็สอูที่เป็นผู้นำรัฐบาลกลาง ตั้งแต่ ค.ศ. 1966 ถึง ค.ศ. 1969 ค.ศ. 2005 ถึง ค.ศ. 2009 และตั้งแต่ ค.ศ. 2013 ถึง ค.ศ. 2021

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "SPD verliert Mitglieder". JUNGE Freiheit. สืบค้นเมื่อ 18 February 2019.
  2. Nordsieck, Wolfram (2017). "Germany". Parties and Elections in Europe.
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ reform
  4. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Almeida
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Lavelle2013
  6. Christian Krell (2009). Sozialdemokratie und Europa: Die Europapolitik von SPD, Labour Party und Parti Socialiste. VS Verlag für Sozialwissenschaften/Springer-Verlag.