สุคนธ์ พรพิรุณ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พรพิรุณ)
สุคนธ์ พรพิรุณ
ชื่อเกิดสุคนธ์ กุสุมภ์
เกิด1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2478
เสียชีวิต23 กันยายน พ.ศ. 2563 (84 ปี)
โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า นนทบุรี
บิดาจรัส กุสุมภ์
คู่สมรสไพบูลย์ จุลการ
บุตร1 คน
อาชีพนักแต่งเพลง
ปีที่แสดงพ.ศ. 2503 – 2563 (60 ปี)
ศิลปินแห่งชาติพ.ศ. 2561สาขาศิลปะการแสดง (ผู้ประพันธ์เพลงไทยสากล)

สุคนธ์ พรพิรุณ (1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2478 – 23 กันยายน พ.ศ. 2563) นักแต่งเพลง ที่เป็นที่รู้จักในนาม พรพิรุณ มีผลงานประพันธ์คำร้องเพลงไทยสากลที่ได้รับความนิยมมากมาย และเป็นผู้ประพันธ์เพลงสำหรับโอกาสสำคัญ เช่น เพลง “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม” เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ พ.ศ. 2529, เพลง "กาญจนาภิเษก" ในวาระครองราชย์ 50 ปี เมื่อ พ.ศ. 2538, เพลง "72 พรรษานวรัชจักรีมหาราชา" เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ พ.ศ. 2541, เพลง “ด้วยหัวใจที่แข็งแกร่ง” เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิ เมื่อ พ.ศ. 2547[1]

ประวัติ[แก้]

สุคนธ์ พรพิรุณ เกิดที่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เดิมชื่อ สุคนธ์ กุสุมภ์ จบชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์ และจบวิชาพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัย ชั้น 1 โรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัย (ปัจจุบันคือ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) เมื่อ พ.ศ. 2498[2] ต่อมาเข้าเป็นสมาชิกในวงสุนทราภรณ์ ทำหน้าที่ขับร้อง เริ่มแต่งเนื้อเพลงให้กับครูเอื้อ สุนทรสนาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 โดยใช้ชื่อ "พรพิรุณ" ซึ่งตั้งให้โดย สมาน กาญจนะผลิน ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทานประเภทเรียบเรียงเสียงประสานจากเพลงขอปันรัก ซึ่งขับร้องโดยเสกสรรค์ กุสุมภ์ ผู้เป็นน้องชาย ในปี พ.ศ. 2508 ได้รับปริญญาครุศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เมื่อ พ.ศ. 2543[3]

ผลงานเพลง[แก้]

ตัวอย่างงานประพันธ์เพลงที่โดดเด่น[1]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "พรพิรุณ : "ดิฉันเกลียดความสุข" !". ผู้จัดการออนไลน์. 2 มิถุนายน 2021.
  2. บูรพา อารัมภีร, บ.ก. (ตุลาคม 2016). ""พรพิรุณ" ศิลปินแห่งชาติ เผยเหตุเป็นนักดนตรี-นักแต่งเพลง สู่การประพันธ์ผลงานระดับชาติ". silpa-mag.com. มติชน.
  3. "ครูพรพิรุณ เจ้าแม่เพลงสถาบัน". janicha.net. 4 กุมภาพันธ์ 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2013.
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๓ เก็บถาวร 2022-05-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๒ ข หน้า ๒๔๑, ๒๙ มกราคม ๒๕๖๔

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • ถวัลย์ สุรภาพประดิษฐ์. "พร พิรุณ". "ครูเพลง" (ฉบับพิเศษ) – โดยทาง บ้านคนรักสุนทราภรณ์.