พยาธิวิทยาคลินิก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พยาธิวิทยาคลินิก หรือเวชศาสตร์ชันสูตร (อังกฤษ: Clinical pathology or Laboratory Medicine) เป็นการแพทย์เฉพาะทางที่เกี่ยวกับการวินิจฉัยโรคโดยอาศัยการวิเคระห์ทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์จากสิ่งส่งตรวจเช่นสารน้ำในร่างกาย เลือด หรือปัสสาวะ โดยอาศัยความรู้ทางเคมีคลินิก จุลชีววิทยาคลินิก โลหิตวิทยา และพยาธิวิทยาโมเลกุล (molecular pathology) ซึ่งแพทย์ด้านนี้จะทำงานร่วมกันกับนักเทคนิคการแพทย์

โลหิตวิทยา: สเมียร์เลือดบนสไลด์แก้ว ย้อมสีเพื่อศึกษาใต้กล้องจุลทรรศน์
โลหิตวิทยา: ภาพจุลทรรศน์ของสเมียร์เลือดปกติ แสดง a:เม็ดเลือดแดง, b:นิวโทรฟิล, c:อีโอสิโนฟิล, d:ลิมโฟไซต์.
วิทยาแบคทีเรีย: โคโลนีแบคทีเรียเจริญบนอาหารเลี้ยงเชื้อ
วิทยาแบคทีเรีย: ภาพจุลทรรศน์ของเชื้อผสมของแบคทีเรีย 2 ชนิดย้อมด้วยสีย้อมแกรม
เคมีคลินิก: เครื่องวิเคราะห์เคมีของเลือดอัตโนมัติ
เคมีคลินิก: ภาพจุลทรรศน์ของผลึกในปัสสาวะ

พยาธิวิทยาคลินิกเป็นหนึ่งในสองแขนงวิชาหลักของพยาธิวิทยา ซึ่งได้แก่พยาธิกายวิภาคและพยาธิวิทยาคลินิก พยาธิแพทย์อาจต้องศึกษาทั้งสองสาขาวิชาซึ่งเรียกว่า พยาธิวิทยาทั่วไป (general pathology)

พยาธิวิทยาคลินิกแบ่งออกได้อีกเป็นสาขาวิชาย่อยหลักๆ ได้แก่ เคมีคลินิก (clinical chemistry) , โลหิตวิทยาคลินิก (clinical hematology) , เวชศาสตร์การบริการโลหิตหรือธนาคารเลือด และจุลชีววิทยาคลินิก


ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]