พญาแก้ว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าศิริธรรมจักรพรรดิ (พญาแก้ว)
พระมหากษัตริย์ล้านนา รัชกาลที่ 11
ครองราชย์พ.ศ. 2038-2068
ราชาภิเษกพ.ศ. 2039
ประสูติพ.ศ. 2026
สวรรคตพ.ศ. 2068
ราชวงศ์ราชวงศ์มังราย
พระราชบิดาพญายอดเชียงราย
พระราชมารดาพระนางสิริยศวดีเทวี

พระเจ้าศิริธรรมจักรพรรดิ หรือพญาแก้ว (พระเมืองแก้ว) (ไทยถิ่นเหนือ: )เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 11 ในราชวงศ์มังราย แห่งอาณาจักรล้านนา[1] ทรงครองราชย์ใน พ.ศ. 2038 - 2068 พญาแก้ว มีพระนามที่เรียกกันต่าง ๆ คือ พระเมืองแก้ว หรือพ่อท้าวแก้ว หรือเจ้ารัตนราชกุมาร หรือพญาแก้วภูตาธิปติราช หรือ พระเจ้าติลกปนัดดาธิราช ทรงเป็นพระปนัดดาของพระเจ้าติโลกราช และเป็นราชบุตรของพญายอดเชียงรายกับพระนางสิริยสวดี (เทวีปงน้อย) ประสูติในปีขาล ได้รับราชาภิเษกเมื่อชนมายุ 13 ปี ในวันเพ็ญเดือน 9 พ.ศ. 2039

พระกรณียกิจ[แก้]

ด้านการสงคราม ทรงรบกับอยุธยาที่ชายแดน พ.ศ. 2050 ทรงส่งกองทัพไปตีสุโขทัยแต่ไม่สำเร็จ ต่อมาปี พ.ศ. 2058 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พ.ศ. 2034-72) แห่งอยุธยาขึ้นมาตีลำปางแตก แล้วกวาดต้อนผู้คนกลับไป

ด้านทำนุบำรุงบ้านเมือง ทรงให้ก่อกำแพงเมืองลำพูนด้วยอิฐ ปี พ.ศ. 2060 เพื่อป้องกันข้าศึก จากนั้นจึงก่อกำแพงเมืองเชียงใหม่ให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการยิงด้วยปืนใหญ่ และ พ.ศ. 2061 ให้สร้างสะพานใหญ่ข้ามแม่น้ำปิงที่ท่าสถานหลวง

ด้านการทำนุบำรุงศาสนา พญาแก้ว ทรงเลื่อมใสในพุทธศาสนาและบำเพ็ญทานเป็นเอนก ทรงสร้างปูชนียสถานและถาวรวัตถุต่าง ๆ มากมาย เช่น สร้างวัดปุพพาราม ในปีมะโรง พ.ศ. 2040 ต่อมาปีมะเมียทรงสร้างปราสาทในวัดนั้น ปีระกาทรงฉลองพระไตรปิฏกฉบับลงทอง และหอพระมณเฑียรธรรมที่โปรดให้สร้างไว้ ณ วัดปุพพาราม

ราชตระกูล[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. รุ่งพงษ์ ชัยนาม. ประวัติศาสตร์ล้านนา : ประวัติศาสตร์ไทยที่คนไทยไม่ค่อยมีโกาสได้ศึกษา. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ก่อนหน้า พญาแก้ว ถัดไป
พระยอดเชียงราย
ราชวงศ์มังราย
กษัตริย์อาณาจักรล้านนา
(พ.ศ. 1877 - พ.ศ. 1879)
พญาเกศเชษฐราช
ราชวงศ์มังราย