ผ้าโพกหัว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มูฮัมมัด อาลิม ข่าน (เอมีร์องค์สุดท้ายแห่งเอมิเรตบูฆอรอ) สวมผ้าโพกหัวใน ค.ศ. 1911

ผ้าโพกหัว (อังกฤษ: turban; จากเปอร์เซีย: دولبند‌, ดูลแบนด์ ผ่านภาษาฝรั่งเศสสมัยกลาง turbant) เป็นหมวกที่มีหลายรูปแบบ ซึ่งสวมใส่ในฐานะผ้าโพกหัวตามประเพณีในหลายวัฒนธรรม[1] สังคมที่นิยมสวมผ้าโพกหัวพบได้ในอนุทวีปอินเดีย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, คาบสมุทรอาหรับ, ตะวันออกกลาง, คาบสมุทรบอลข่าน, คอเคซัส, เอเชียกลาง, แอฟริกาเหนือ, แอฟริกาตะวันตก, แอฟริกาตะวันออก และในกลุ่มชนเตอร์กิกที่ประเทศรัสเซียกับชาวยิวอัชเคนาซิ

การสวมผ้าโพกหัวพบได้ทั่วไปในผู้ที่นับถือศาสนาซิกข์ ซึ่งรวมถึงผู้หญิงด้วย[2] และพราหมณ์ฮินดูก็สวมเช่นกัน ผ้าโพกหัวนี้ยังมีสถานะเป็นการปฏิบัติศาสนกิจ เช่นมุสลิมนิกายชีอะฮ์ที่ถือว่าการสวมผ้าโพกหัวเป็น ซุนนะฮ์ที่ได้รับการยืนยัน (ธรรมเนียมที่ได้รับการยืนยัน)[3]

ประวัติ[แก้]

ทหารซิกข์อินเดียในการทัพอิตาลี

ต้นกำเนิดของผ้าโพกหัวยังไม่เป็นที่กระจ่าง อารยธรรมโบราณอย่างอินเดียโบราณ, เมโสโปเตเมีย, ซูเมเรีย และบาบิโลเนียเคยใช้ผ้าโพกหัว[4][5][6][7] มีการสวมใส่ผ้าโพกหัวแบบ phakeolis ในกองทหารของจักรวรรดิไบแซนไทน์ใน ค.ศ. 400–600[8] เช่นเดียวกันกับพลเมืองไบแซนไทน์ในภาพเฟรสโกของกรีกในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ที่แคปพาโดเชียในประเทศตุรกีในปัจจุบัน[9] ศาสดามุฮัมมัด (ค.ศ. 570–632) เคยสวมผ้าโพกหัวสีขาว ซึ่งเป็นสีที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด รูปแบบที่ท่านสวมเป็นหมวกที่มีผ้าพันรอบตัว มีชื่อเรียกว่า อิมามะฮ์ และมักสวมใส่โดยกษัตริย์และนักวิชาการมุสลิมตลอดทั้งประวัติศาสตร์ หมอสอนศาสนานิกายชีอะฮ์ในปัจจุบันใช้ผ้าโพกหัวสีขาว เว้นแต่พวกเขาเป็นผู้สืบเชื้อสายจากท่านศาสดามุฮัมมัดหรือซัยยิด ซึ่งสามารถใช้ผ้าโพกหัวดำได้ มุสลิมหลายคนเลือกที่จะใช้สีเขียว เพราะเป็นสัญลักษณ์ของสวรรค์ ในแอฟริกาเหนือบางส่วน สีของผ้าโพกหัวสามารถระบุชนเผ่าของผู้สวมใส่ได้[10]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Turbans Facts, information, pictures | Encyclopedia.com articles about Turbans". www.encyclopedia.com. สืบค้นเมื่อ 2016-04-19.
  2. "Do Sikh women have to wear a Turban (Dastaar) as well as men? | Sikh Answers". www.sikhanswers.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ 2016-04-19.
  3. Haddad, Sh. G. F. "The turban tradition in Islam". Living Islam. สืบค้นเมื่อ 5 August 2013.
  4. Ethnic Dress in the United States: A Cultural Encyclopedia, page 293, Annette Lynch, Mitchell D. Strauss, Rowman & Littlefield
  5. India: The Ancient Past: A History of the Indian Subcontinent from C. 7000 BCE to CE 1200, page 58, Burjor Avari, Routledge
  6. "P. Ovidius Naso, Metamorphoses, Book 11, line 146". www.perseus.tufts.edu. สืบค้นเมื่อ 21 January 2017.
  7. Goldman, Norma; Nyenhuis, Jacob E. (1 January 1982). Latin Via Ovid: A First Course (ภาษาอังกฤษ). Wayne State University Press. ISBN 0814317324. สืบค้นเมื่อ 21 January 2017.
  8. D'Amato, Raffaele (10 August 2005). Roman Military Clothing (3): AD 400–640 (ภาษาอังกฤษ). Bloomsbury USA. ISBN 9781841768434. สืบค้นเมื่อ 21 January 2017.[ลิงก์เสีย]
  9. Condra, Jill (1 January 2008). The Greenwood Encyclopedia of Clothing Through World History: 1801 to the present (ภาษาอังกฤษ). Greenwood Publishing Group. ISBN 9780313336652. สืบค้นเมื่อ 21 January 2017.
  10. Hughes, Thomas Patrick. A Dictionary of Islam: Being a Cyclopedia of the Doctrines, Rites, Ceremonies and Customs Together with the Technical and Theological Terms of the Muhammadan Religion. WH Allen & Company, 1895.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]