ผู้ใช้:Naphatsaphon Hongchik/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

M-Commerce: from e-Commerce to mobile payment การทำธุรกรรมการเงินผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่[แก้]

การพาณิชย์บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ M-Commerce[แก้]

ปัจจุบันหน้าตาของอินเทอร์เน็ตได้เปลี่ยนโฉมไปแล้ว ในระยะเวลาอันไม่นานมานี้ ผู้คนส่วนมากสามารถเชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ต และ เข้าสู่ระบบได้ด้วยโทรศัพท์เคลื่อนที่ (mobile phone) , อุปกรณ์ต่อเชื่อมส่วนตัว (personal digital assistants) , วิทยุติดตามตัว (pager) , นาฬิกาข้อมือ (wristwatches) และ อุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีประสิทธิภาพที่เหนือกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ (personal computer) ที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไป มีจำนวนการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในปัจจุบันเป็นจำนวนหลายพันล้านคน ในขณะที่ทุกวันนี้มีเพียงจำนวนเล็กน้อยของการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ที่สามารถเชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตได้ ซึ่งสถานการณ์นี้กำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น ประเทศญี่ปุ่น การพาณิชย์บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ (M - Commerce) เป็นการเปิดรับข้อมูลที่เกี่ยวกับการใช้งาน และ การให้บริการ ที่จะชักนำให้เข้าถึงอุปกรณ์ที่มีความสามารถในการใช้งานเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต เป็นเทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ การให้บริการรูปแบบใหม่ และ เป็นรูปแบบใหม่ทางธุรกิจ ซึ่งต่างจากการทำ e-commerce) สมัยก่อนอย่างสิ้นเชิง โทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือ PDA มีข้อจำกัดในการใช้งานแตกต่างไปจากการใช้คอมพิวเตอร์บุคคล (Personal computer) อุปกรณ์เหล่านี้จะสามารถพลิกโฉมหน้าไปเป็นอุปกรณ์ที่มีความทันสมัยในอนาคต มันจะตามเราไปในทุกที่ที่เราพามันไป มันสะดวกในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ในขณะที่เราเดินบนถนนกับเพื่อน ๆ หรือ ขณะขับรถเพื่อหาร้านอาหารที่ใกล้ที่สุด หรือ ปั๊มน้ำมันที่ใกล้ที่สุด เหมือนการค้นหาทางอินเทอร์เน็ตด้วยการใช้อุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ตัวเรา เราใช้อุปกรณ์เหล่านี้เพื่อให้มันกลายเป็นสิ่งที่ต้องติดตามตัวเราไป ความพร้อมในวันนี้โทรศัพท์เคลื่อนที่ และ PDA สามารถจดจำเบอร์โทรศัพท์ได้มากมาย ในวันพรุ่งนี้อุปกรณ์เหล่านี้จะเข้ามาแทนที่กระเป๋าเงิน และ บัตรเครดิต วันหนึ่งอุปกรณ์เหล่านี้จะกลายเป็นผู้ช่วยที่เฉลียวฉลาดที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ เช่น การจัดเรียงลำดับการให้บริการรถแท็กซี่ให้มารับหลังจากเสร็จการประชุม หรือ ช่วยในการรวบรวมข่าวที่เกี่ยวข้อง และ ข้อความที่น่าสนใจ อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น กุญแจที่สำคัญอยู่ที่ความสามารถในการใช้ระบบรักษาความปลอดภัย (Security) และ ความเป็นส่วนตัว (Privacy)

อะไรคือการพาณิชย์บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ (M Commerce)[แก้]

M-Commerce คือ การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรม หรือการเงิน โดยผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือการค้าขายตามระบบแนวความคิดของระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์ E-Commerce ที่ ใช้อุปกรณ์พกพาไร้สายเป็นเครื่องมือในการสั่งซื้อ และขายสินค้า ต่างๆ ทั้งการสั่งซื้อสินค้าที่เป็นรูปธรรม หรือนามธรรม รวมทั้งการรับ-ส่ง อีเมล์ สิ่งที่น่าสนใจ และเป็นจุดที่น่าศึกษา คือ โทรศัพท์เคลื่อนสามารถพกพาไปได้ทุกที่ไม่จำกัด ทำให้ตลาดการค้าออนไลน์ หรือการทำธุรกรรมเชิงพาณิชย์ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นตลาดที่น่ากลัวที่สุด เพราะสะดวกสบาย ไม่มีข้อจำกัดในการจับจ่าย และคนในสังคมไทยมีความคุ้นเคยกับการ ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่อยู่แล้ว โดย M-Commerce เป็นการแตกแขนงของเทคโนโลยีที่มีผลกระทบโดยตรงต่อการขยายตัวของธุรกิจพาณิชย์อิเล็คทรอนิคส์ โดย M-Commerce จะช่วยเร่งอัตราการเติบโตให้กับการดำเนินธุรกรรมผ่านเครือข่ายอิเล็คทรอนิคส์ได้เร็วกว่าการใช้เทคโนโลยี E-Commerce ขอบเขตของ M-Commerce ครอบคลุมทั้งการดำเนินธุรกรรมระหว่างผู้ดำเนินธุรกิจ กับผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่

จุดเด่นของ M-Commerce[แก้]

เนื่องจากลักษณะของ M-Commerce ในเรื่องของความสามารถในการเคลื่อนย้าย และการเข้าถึง ทำให้ข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์ และเวลาลดลง ส่งผลให้ M-Commerce มีจุดเด่นในด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1. ความ แพร่หลายของเครื่องลูกข่าย หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่หาซื้อได้ง่าย และในปัจจุบันมีความแพร่หลายมากขึ้น ด้วยผลจากการแข่งขันระหว่างผู้ให้บริการเครือข่าย รวมถึงแรงผลักดันของโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบพร้อมใช้ (เติมเงินได้) ทำให้การซื้อหาโทรศัพท์เคลื่อนที่ทำได้ง่าย 2. ความ สามารถในการติดตามตัวได้เสมอ ตราบใดที่ผู้ใช้บริการเปิดเครื่อง และอยู่ในบริเวณที่มีสัญญาณ การติดต่อสื่อสารจากเครือข่ายไปสู่เครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่จะทำได้เสมอ ทั้งนี้ผู้ใช้บริการมีสิทธิ์ที่จะระงับการติดตามตัวได้ในเวลาที่ต้องการ เช่น ระงับการโทรเข้า ให้โทรศัพท์เคลื่อนที่ทำได้เฉพาะการโทรออกเท่านั้น 3. กระบวนการรักษาความปลอดภัย โทรศัพท์เคลื่อนที่ในปัจจุบันมี SIM การ์ด ซึ่งใช้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญของผู้ใช้บริการ พร้อมกับการเข้ารหัสข้อมูลไว้ หากต้องมีการรับ-ส่ง ข้อมูลกับระบบเครือข่าย ตัวเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่จะมีความสามารถในการเข้ารหัสข้อมูลต่าง ๆ ที่มีการใช้งานด้วยรหัสที่ไม่สามารถถอดออก โดยบุคคลที่ 3 ได้ ตัวอย่างเช่น เครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่สนับสนุนเทคโนโลยี WAP (Wireless Application Protocol) เป็นต้น 4. ความสะดวกในการใช้งาน เนื่องจากการออกแบบโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นใหม่ ๆ ให้มีความสวยงาม และใช้งานง่ายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของหน้าจอ การแสดงผล และการป้อนข้อมูล รวมทั้งการเพิ่มหน่วยความจำภายในตัวเครื่องให้มากขึ้น ทำให้สามารถใช้บันทึกข้อมูลต่าง ๆ เช่น สมุดโทรศัพท์ รายการนัดหมาย หรือรหัสลับส่วนตัวต่าง ๆ ได้มากขึ้น

ลักษณะของ M-Commerce[แก้]

เนื่องจากจำนวนผู้ใช้อุปกรณ์สื่อสารไร้สายที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (Internet access) มีแนวโน้มที่จะลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดแรงขับดันในการทำธุรกรรมแบบไร้สายซึ่งมีลักษณะสำคัญ ดังนี้

  • ความสามารถเคลื่อนย้าย (Mobility) เป็น จุดดึงดูดที่น่าสนใจ เนื่องจากระบบไร้สายได้สนองตอบผู้บริโภคด้านสารสนเทศจากแหล่งต่าง ๆ ที่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตสามารถเข้าถึง ทำให้ลูกค้าสามารถเลือกซื้อสินค้าได้ทุกหนทุกแห่ง โดยใช้โทรศัพท์มือถือที่พกพาไปกับผู้ใช้งาน
  • ความสามารถเข้าถึง (Reach ability) หมายถึง บุคคลสามารถติดต่อ ณ เวลาใด ๆ (At any time) ที่ท่านสามารถกำหนดได้

ปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้ M-Commerce ประสบความสำเร็จ[แก้]

นอกจากลักษณะ และจุดเด่นของ M-Commerce ที่เป็นพื้นฐานสำคัญในการผลักดันให้การดำเนินธุรกรรมเชิงพาณิชย์ในรูปแบบของ M-Commerce เกิดขึ้นได้แล้ว ความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่ช่วยให้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในอนาคตอันใกล้มีขีดความสามารถเพิ่มเติมมากขึ้น จึงถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ M-Commerce ก้าวผ่านอุปสรรคที่ขัดขวางการเติบโตของกิจกรรม E-Commerce ซึ่งสามารถสรุปได้เป็น 3 ประการดังนี้ 1.การใช้ประโยชน์จากข้อมูลตำแหน่งท้องถิ่น เทคโนโลยี Location Based Service ซึ่งเป็นความก้าวหน้าอีกขั้นหนึ่งของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ จะทำให้เครือข่ายทราบได้ว่าผู้ใช้บริการแต่ละรายอยู่ ณที่แห่งใดได้ตลอดเวลา ทำให้สามารถสร้างบริการ M-Commerce ที่สัมพันธ์กับตำแหน่งที่อยู่ของผู้ใช้บริการได้อย่างอัตโนมัติซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่อาจเกิดขึ้นได้กับการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อทำธุรกรรมแบบ E-Commerce 2.สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่าย เพื่อติดต่อสื่อสารได้ในทันที ด้วยความพร้อมของเทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบใหม่ ๆ ในปัจจุบัน เช่น GPRS (Generic Packet Radio Service) ในเครือข่าย GSM ร่วมกับเทคโนโลยี WAP ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถติดต่อกับแหล่งให้บริการ M-Commerce หรือบริการอินเตอร์เน็ตต่าง ๆ ได้ทันทีที่ต้องการโดยไม่ต้องเสียเวลารอการเชื่อมต่อวงจรให้เรียบร้อยก่อนที่จะทำการสื่อสารได้เหมือนดังในกรณีของการพึ่งพาเทคโนโลยี WAP บนเครือข่าย GSM หรือการใช้คอมพิวเตอร์ทำธุรกรรมแบบ E-Commerce ซึ่งความสามารถแบบใหม่ของโทรศัพท์เคลื่อนที่นี้เองที่น่าจะตรงกับพฤติกรรมการใช้งานของมนุษย์ที่สุดและน่าจะเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้เกิดการเจริญเติบโตของกิจกรรม M-Commerce 3.การจัดการฐานข้อมูลส่วนบุคคลแม้ในปัจจุบันเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่บางรุ่นจะมีความสามารถในการบันทึกข้อมูลบางอย่างของผู้ใช้บริการบ้างแล้ว แต่โทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นใหม่ ๆที่มีหน่วยความจำมาก และมีการใช้เทคโนโลยีการพัฒนาโปรแกรมพิเศษ เช่นการใช้โปรแกรมแบบ Java2ME น่าจะเป็นจุดหักเหที่สำคัญสำหรับการเติบโตของกิจกรรม M-Commerce ตัวอย่างของข้อมูลที่เก็บไว้ในฐานข้อมูลส่วนบุคคลก็อาจจะเป็น ความชอบส่วนตัว, เลขที่บัตรประจำตัวที่สำคัญต่าง ๆ, กีฬาที่ชอบ ฯลฯ ซึ่งหากผู้ใช้บริการอนุญาตให้มีการเปิดเผยกับแหล่งให้บริการข้อมูล M-Commerce ก็จะทำให้เกิดบริการรูปแบบใหม่ ๆ ที่น่าสนใจขึ้นอีกมากมาย

E-Commerce คืออะไร[แก้]

ความหมายของ Ecommerce[แก้]

E-Commerce มีชื่อที่แปลเป็นภาษาไทยว่า “พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์” โดยความหมายของคำว่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีผู้ให้คำนิยามไว้เป็นจำนวนมาก แต่ไม่มีคำจำกัดความใดที่ใช้เป็นคำอธิบายไว้อย่างเป็นทางการ ซึ่งมีดังนี้

  • “พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การดำเนินธุรกิจโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์” (ศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์, 2542)”
  • “พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การผลิต การกระจาย การตลาด การขาย หรือการขนส่งผลิตภัณฑ์และบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์” (WTO, 1998)
  • “พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ธุรกรรมทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ทั้งในระดับองค์กรและส่วนบุคคล บนพื้นฐานของ การประมวลและการส่งข้อมูลดิจิทัลที่มีทั้งข้อความ เสียง และภาพ” (OECD, 1997)

จากความหมายของ e-business กับ e-commerce จะเห็นได้ว่าสองคำนี้มีความหมายที่ใกล้เคียงกัน แต่อันที่จริงแล้วมีความหมายต่างกัน โดย e-business สรุปความหมายได้ว่าคือการทำกิจกรรมทุกๆอย่าง ทุกขั้นตอนผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีขอบเขตกว้างกว่า แต่ e-commerce จะเน้นที่การซื้อขายสินค้าและบริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เนตเท่านั้น จึงสรุปได้ว่า e-commerce เป็นส่วนหนึ่งของ e-business

ประเภทของ E-Commerce[แก้]

  • ธุรกิจกับผู้ซื้อปลีก หรือบีทูซี (Business to Consumer) คือผู้ซื้อปลีกใช้อินเตอร์เน็ตในการซื้อสินค้าจากธุรกิจที่โฆษณาอยู่ใน อินเตอร์เน็ต
  • ธุรกิจกับธุรกิจ หรือบีทูบี (Business to Business) คือธุรกิจกับธุรกิจติดต่อซื้อขายสินค้ากันผ่านอินเตอร์เน็ต
  • ธุรกิจกับรัฐบาล หรือบีทูจี (Business to Government) คือธุรกิจติดต่อกับหน่วยราชการ
  • รัฐบาลกับรัฐบาล หรือจีทูจี (Government to Government) คือหน่วยงานรัฐบาลหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งติดต่อกับหน่วยงานรัฐบาลอีกหน่วย งานหนึ่ง และ
  • ผู้บริโภคกับผู้บริโภค หรือซีทูซี (Consumer to Consumer) คือผู้บริโภคประกาศขายสินค้าแล้วผู้บริโภคอีกรายหนึ่งก็ซื้อไป

E-commerce ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้[แก้]

1. ผู้ประกอบการจัดตั้งร้านค้าหรือทำหน้าที่โฆษณาที่เรียกว่าโฮมเพจหรือเว็บเพจบนอินเตอร์เน็ต 2. ผู้ซื้อเข้าไปดูรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าในอินเตอร์เน็ต 3. ผู้ซื้อติดต่อสอบถามรายละเอียดจาก ผู้ขาย เช่นลักษณะสินค้า ส่งได้รวดเร็วเท่าใด มีส่วนลดหรือไม่ กรณีนี้ในต่างประเทศจำเป็นต้องอีเมล์ถามไป 4. ผู้ซื้อสั่งสินค้าและระบุวิธีจ่าย เงิน เช่น จ่ายผ่านบัตรเครดิต ทั้งนี้ โดยส่วนใหญ่ผู้ขายจะรวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดไว้กับราคาของด้วยแล้ว โดยเขาจะแยกให้เป็นกรณีๆ ไปว่าค่าอะไรเท่าไหร่ 5. ธนาคารตรวจสอบว่าผู้ซื้อมีเครดิตดีพอหรือไม่และแจ้งให้ผู้ขายทราบ 6. ผู้ขายส่งสินค้าให้ผู้ซื้อ 7. ผู้ซื้ออาจจะใช้อินเตอร์เน็ตติดต่อขอบริการหลังการขายจากผู้ขาย

สำหรับอี-คอมเมิร์ซแบ่ง 2 ประเภทตามสินค้าคือ[แก้]

1. สินค้าดิจิตอล เช่น ซอฟท์แวร์ เพลง วิดีโอ หนังสือ ดิจิตอล เป็นต้น ซึ่งสามารถส่งสินค้าได้โดยผ่านอินเตอร์เน็ต 2. สินค้าที่ไม่ใช่ดิจิตอล เช่น สินค้าหัตถกรรม สินค้าศิลปาชีพ เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม เครื่องหนัง เครื่องประดับ เครื่องจักรอุปกรณ์ เป็นต้น ซึ่งต้องส่งสินค้าทางพัสดุภัณฑ์ ผ่านไปรษณีย์ หรือบริษัทรับส่งพัสดุภัณฑ์

ข้อดีของ E- commerce[แก้]

1.เปิดดำเนินการค้า 24 ชั่วโมง 2.ดำเนินการค้าอย่างไร้พรมแดนทั่วโลก 3.ใช้งบประมาณลงทุนน้อย 4.ตัดปัญหาด้านการเดินทาง 5.ง่ายต่อการประชาสัมพัธ์โดย สามารถประชาสัมพันธ์ได้ทั่วโลก

ข้อเสียของ E- commerce[แก้]

1.ต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ 2.ประเทศของผู้ซื้อและผู้ขายจำเป็นต้องมีกฎหมายรองรับอย่างมีประสิทธิภาพ 3.การดำเนินการด้านภาษีต้องชัดเจน 4.ผู้ซื้อและผู้ขายจำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานในเทคโนโลยีอินเทอร์เนต

ตัวอย่างที่น่าสนใจของ E-Commerce[แก้]

  • www.se-ed.com เป็นเว็บไซต์ของร้านซีเอ็ดที่มีหน้าร้านขายจริงๆ อยู่แล้ว ทำธุรกิจเกี่ยวกับขายหนังสือที่น่าสนในมากมาย
  • www.amazon.com เป็นบริษัทผู้ขายปลีกสินค้าผ่านเว็บไซต์เริ่มจากการขายหนังสือจนเป็นร้านหนังสือที่ใหญ่ที่สุดในโลก ปัจจุบันเป็นร้านขายของและขายหนังสือที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีหนังสือมากมายให้เลือกสรร
  • www.ebay.com เป็นแหล่งที่ผู้ขายมาเสนอขาย และผู้ซื้อประมูลซื้อแข่งกันผู้ซื้อและผู้ขายติดต่อกันผ่านอีเมล์
  • www.pantipmarket.com ซึ่งเป็นลักษณะแบบ C2C โดยเป็นการประกาศขายสินค้า โดยมีเว็บไซต์ เป็นตัวกลาง ซึ่งเว็บไซต์ นี้เป็นเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือของคนไทยและ มีความปลอดภัยมั่นคงในการสมัครสมาชิกโดยการลงทะเบียนต้องแนบสำเนาบัตรประชาชนสแกน ส่งไปเพื่อทำการลงทะเบียน

Mobile Payment[แก้]

Mobile Payment คือ การทำธุรกรรมการชำระเงินผ่านเครือข่ายของระบบโทรศัพท์มือถือ โดยใช้โทรศัพท์มือถือเป็นสื่อในการโอนเงิน หรือชำระเงินให้แก่ร้านค้า รวมทั้งการชำระค่าสินค้าหรือบริการต่าง ๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต แหล่งเงินที่ผู้ใช้บริการจะต้องเลือกและสมัครเพื่อเชื่อมโยงเข้ากับโทรศัพท์มือถือ เพื่อตัดเงินเมื่อทำรายการ ได้แก่ บัญชีธนาคาร บัตรเครดิต หรือเงินอิเล็กทรอนิกส์(e-Money)

รูปแบบ Mobile Payment[แก้]

ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ บริการ Mobile banking ของธนาคาร (โอนเงิน หรือชำระค่าสินค้าและบริการ) และบริการ mPay และ True Moneyซึ่งเป็นผู้ให้บริการ e-Money ผ่านโทรศัพท์มือถือ เทคโนโลยีประเภทต่าง ๆ ที่ใช้เชื่อมต่อข้อมูลของบริการ Mobile Payment อาทิ ส่ง SMS ผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ วิธีการ WAP (Wireless Application Protocal) หรือ HTTP (Hypertext Transfer Protocal) ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือเทคโนโลยี RFID (Radio-Frequency Identification) ซึ่งจะใช้เครื่องรับคลื่นสัญญาณวิทยุระยะใกล้ ณ จุดขาย ส่งข้อมูลไปยังชิพหรือสมาร์ทการ์ดในโทรศัพท์มือถือ

ข้อควรระวังในการใช้บริการ Mobile Payment[แก้]

  • หลีกเลี่ยงการตั้ง PIN/Password ที่ง่ายต่อการคาดเดา และต้องเก็บรักษา User ID และ Password ให้เป็นความลับส่วนบุคคล พร้อมทั้งเปลี่ยน Password เป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
  • ไม่ควรละเลย SMS หรืออีเมลที่ได้รับจากธนาคาร และควรตรวจสอบยอดเงินคงเหลือทุกครั้งที่มีการชำระเงิน
  • ควรศึกษารูปแบบธุรกรรมและวิธีการรักษาความปลอดภัยที่ผู้ให้บริการเสนอก่อนตัดสินใจใช้บริการ
  • ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ และวิธีการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในการใช้โทรศัพท์มือถือ โดยเฉพาะกรณีที่ใช้งานเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
  • กรณีที่ใช้บริการ Mobile Payment โดยเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ควรตรวจสอบโปรโมชั่นและค่าใช้จ่ายจากผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือที่ใช้ และเลือกโปรโมชั่นที่เหมาะกับพฤติกรรมการใช้งาน เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย

"ความปลอดภัยที่มาพร้อมกับความสะดวกสบาย สำหรับการชำระเงิน Online"[แก้]

  • การชำระเงินผ่านทางโทรศัพท์มือถือ ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ช่วยให้ลูกค้าได้รับความสะดวกสบาย รวดเร็ว ในการชำระเงินจากค่าบริการต่างๆ โดยการชำระเงินจะทำผ่านระบบชำระเงินของผู้ให้บริการเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือในแต่ละเจ้า สำหรับลูกค้าผู้ใช้บริการแบบ Prepaid นั้น ระบบจะทำการหักเงินจากเครดิตในยอดเงินคงเหลือ ส่วนลูกค้าผู้ใช้บริการแบบ Postpaid ค่าบริการจะถูกคิดรวมไปกับค่าบริการที่ลูกค้าต้องทำการชำระเป็นรายเดือน
  • ระบบ Playwork Mobile Payment ทำหน้าที่เป็นตัวกลางสำหรับการพัฒนา API (Application Program Interface) สำหรับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือและ พันธมิตรทางธุรกิจ (พาร์ทเนอร์) ตัวระบบจะอนุญาตให้ผู้เข้าใช้ระบบ จะต้องมี IP Address ที่ได้รับสิทธิ์เท่านั้น จึงจะสามารถเข้าใช้ระบบได้ เพื่อความปลอดภัยอย่างถึงที่สุด ต่อข้อมูลในเชิงพาณิชย์ ของพาร์ทเนอร์
  • การชำระเงินผ่านทางโทรศัพท์มือถือนั้น เอื้ออำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า ในหลายกหลายประเภทธุรกิจ อันได้แก่ ธุรกิจการซื้อขาย ผ่านทางโทรศัพท์มือถือ, การลงทะเบียนเข้ารับบริการผ่านช่องทางออนไลน์, การจองตั๋วโดยสารประเภทต่างๆ , การซื้อบัตรชมภาพยนตร์, การจองโรงแรมและที่พัก และอื่นๆ อีกมากมาย