ผู้ใช้:Kmepsusurat/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มลพิษทางเสียง มลพิษทางเสียง หมายถึง สภาวะที่มีเสียงดังเกินปกติหรือเสียงดังต่อเนื่องยาวนานจนก่อให้เกิดความรำคาญหรือเกิดอันตรายต่อระบบการได้ยินของมนุษย์และหมายรวมถึงสภาพแวดล้อมที่มีเสียงสร้างความรบกวน ทำให้เกิดความเครียดทั้งทางร่างกายและ จิตใจ ทำให้ตกใจหรือบาดหูได้เช่นเสียงดังมากเสียงต่อเนื่องยาวนานไม่จบสิ้นเป็นต้นมลพิษทางเสียงเป็นหนึ่งในปัญหาสิ่งแวดล้อมของเมืองใหญ่ที่เกิดพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและวัฒนธรรมรวมถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นเสียงดังจากยานพาหนะที่ใช้เครื่องยนต์เสียงดังจากเครื่องจักรเสียงดังจากการก่อสร้างเสียงดังจากเครื่อง ขยายเสียง โทรทัศน์ วิทยุ และอุปกรณ์สื่อสาร เสียงเรียกเข้าโทรศัพท์มือถือ รวมทั้งเสียงสนทนาที่ดังเกินควรและไม่ถูก กาลเทศะ

มลพิษทางเสียงแบ่งได้เป็น 2 แบบ[แก้]

1. เสียงอึกทึก (Noise) หมายถึงเสียงที่คนเราไม่ต้องการ ไม่ปรารถนา หรือเป็นเสียงที่ไม่มีความไพเราะนุ่มนวล ไม่น่าฟัง เสียงอึกทึกนี้มีผลกระทบกระเทือนทางด้านจิตใจ และถ้าได้รับนานๆไป อาจทำให้สุขภาพอนามัยเสื่อมและทำให้หูหนวกได้

2. เสียงสบอารมณ์ (Sound) หมายถึงเสียงที่ฟังแล้วทำให้เกิดความสบายใจ ฟังแล้วมีความสุข ทำให้สามารถปฏิบัติงานได้ดียิ่งขึ้น

ผลกระทบจากมลพิษทางเสียง 

1) การได้ยิน: การสูญเสียการได้ยิน เสียงดังรบกวน เกิดเสียงหวีดก้องในหูหรือในสมอง

2) สุขภาพกาย: ความดันโลหิตสูง ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว มือเท้าเย็น การไหลเวียนกระแสโลหิตบกพร่อง จนถึงโรคหัวใจ

3) สุขภาพจิต: การรบกวนการพักผ่อน เกิดความเครียด และสภาวะตื่นตระหนก ซึ่งพัฒนาไปสู่อาการเจ็บป่วยเศร้าซึมและโรคจิตประสาทได้

4) สมาธิ ความคิด และการเรียนรู้: การรบกวนสมาธิ การคิดค้น วิเคราะห์ข้อมูล และการลดประสิทธิภาพการเรียนรู้ และการตั้งใจรับฟัง

5) ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการทำงาน: การรบกวนระบบและความต่อเนื่องของการทำงาน และทำให้งานล่าช้า ลดทั้งคุณภาพและปริมาณ

6) การติดต่อสื่อสาร: ขัดขวางการได้ยิน และทำให้ต้องตะโกนสื่อสารกัน ทำให้การสื่อสารบกพร่อง เกิดความเพี้ยนในการได้ยิน ในเด็กเล็กที่กำลังเรียนพูด จะถ่วงพัฒนาการในการฟัง การพูด และการออกเสียง ในผู้ใหญ่จะเป็นอุปสรรคต่อการรับฟังสัญญาณเตือนภัยอันอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุและอันตราย

7) การกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าว: เสียงดังเร้าอารมณ์ให้สร้างความรุนแรง ทำร้ายผู้อื่น

8) การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม: กระตุ้นให้เกิดค่านิยมในความรุนแรง ไม่เคารพสิทธิในความสงบสุขของผู้อื่นและสังคมโดยรวม และการขาดมารยาทสังคมที่ดีงาม

สาเหตุและผลกระทบของมลพิษทางเสียง[แก้]

1. การคมนาคม มีการใช้รถจักรยานยนต์ รถสามล้อเครื่อง รถยนต์ รถบรรทุก และเครื่องบิน เพิ่มมากขึ้น ทําให้ระดับเสียงเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน อาจจําแนกให้เห็นได้ดังนี้ รถจักรยานยนต์ รถสามล้อเครื่อง (ตุ๊ก ๆ) มีระดับเสียง 35 เดซิเบล รถยนต์ มีระดับเสียง 60 - 25 เดซิเบล รถบรรทุก มีระดับเสียง 95 - 120 เดซิเบล รถไฟวิ่งห่าง 100 ฟุต มีระดับเสียง 60 เดซิเบล เครื่องบิน มีระดับเสียง 100 - 140 เดซิเบล

2. โรงงานอุตสาหกรรม เป็นเสียงที่เกิดจากการทํางานของเครื่องจักรขนาดต่าง ๆ ซึ่งทําให้ เกิดระดับเสียงแตกต่างกันไปตั้งแต่ 60 เดซิเบล จนถึง 120 เดซิเบล แล้วแต่ขนาดแรงมาของเครื่องจักร วัสดุที่ใช้ทําฝาหรือเพดานโรงงาน รวมทั้งสภาพแวดล้อมของโรงงานด้วย

3. จากครัวเรือน เป็นเสียงที่เกิดจากเครื่องมือ เครื่องใช้ภายในบ้าน เช่น เครื่องตัดหญ้า เครื่อง ดูดฝุ่น เครื่องขัดพื้น วิทยุ และโทรทัศน์ ทําให้เกิดระดับเสียงประมาณ 60 -70 เดซิเบล

4. เสียงรบกวนที่เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้แก่ การโฆษณา ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า และเสียง ทะเลาะ วิวาทต่าง ๆ

ผลกระทบของมลพิษทางเสียง[แก้]

ข้อกําหนดขององค์การอนามัยโลกที่่เป็นสาเหตุให้เกิดผลกระทบของมลพิษทางเสียง สําหรับระดับเสียงที่ปลอดภัยคือ ไม่เกิน 85 เดซิเบล เมื่อ สัมผัสวันละ 8 ชั่วโมง อันตรายที่เกิดจากมลพิษของเสียง ถ้าให้สัมผัสวันละหลาย ๆ ชั่วโมงเป็นเวลา นาน ๆ ก็จะก่อให้เกิดอันตรายที่พอจะจําแนกได้ดังนี้คือ

1. ผลต่อจิตใจ ก่อให้เกิดอาการหงุดหงิด รําคาญใจ ประสาทเครียด ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ก่อให้เกิดการคลุ้มคลั่ง เสียสมาธิ

2. ผลต่อร่างกาย ทําให้หัวใจเต้นแรง อัตราการหายใจเปลี่ยนแปลง

3. ผลต่อการทํางาน ทําให้ประสิทธิภาพของการทํางานลดลง การติดต่อประสานงาน ล่า ช้า บางครั้งเกิดการผิดพลาดทําให้งานเสีย หรืออาจทําให้เกิดอุบัติเหตุได้

4. ผลต่อการสื่อสาร เสียงดังกว่าปกติอาจรบกวนต่อการสื่อสาร การรับสัญญาณ และการรับ คําสั่งต่าง ๆ อันอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้

5. เกิดความเสียหายต่อวัตถุ เสียงที่มีระดับสูง เช่น เสียงจากเครื่องบินชนิดเร็วกว่าเสียง ทํา ให้เกิดการสั่นสะเทือน บางครั้งยังมีความดันทําให้อากาศมีความดันสูงขึ้นระหว่าง 1-10 ปอนด์ต่อตา รางฟุต ทําให้วัตถุหรือสิ่งก่อสร้างบางชนิด เช่น กําแพง ฝาผนัง หลังคา และหน้าต่าง สั่นไหวได้ หน้า ต่างกระจกถูกทําลายได้

อาชีพที่เป็นแหล่งเสียงดังเกิน ได้แก่[แก้]

อุตสาหกรรมสิ่งทอ

อุตสาหกรรมเครื่องเรือน

อุตสาหกรรมถลุงเหล็ก

อุตสาหกรรมเครื่องเหล็ก

อุตสาหกรรมเครื่องแก้ว

โรงกลึง

โรงเลื่อย

ขับหรือหางยาว

ขับรถสามล้อเครื่อง

ตำรวจจราจรที่ปฏิบัติงานในท้องถนน

นักดนตรีในสถานเริงรมย์

ทหาร

การทำงานเกี่ยวกับการระเบิด

มลพิษทางดิน หมายถึง ดินที่มีมลสารหรือสารพิษมากเกินไปจึงทำให้ดินเสื่อมสภาพ จะมีผลทำให้ความสามารถของดินที่จะเป็นแหล่งธาตุอาหารของพืชลดลง อาจส่งผลอันตรายต่อสุขภาพ พลานามัย ของมนุษย์ และการเจริญเติบโตของสัตว์ ทั้งทางตรงและทางอ้อม

สาเหตุที่มีผลก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางดิน[แก้]

1.ภาคเกษตรกรรม

1.1 ปุ๋ยเคมี (Chemical Fertilizer) ธาตุอาหารพืชนั้นโดยปกติแล้วจะมีอยู่ในธรรมชาติเสมอ จะมีมากในดินป่าไม้ที่สมบูรณ์และจะมีน้อยลงในดินที่ผ่านการใช้ประโยชน์มาแล้ว เมื่อมีความจำเป็นจะต้องใช้ปุ๋ยเคมีในการเพิ่มผลผลิตเพื่อผลิตอาหารและปัจจัยสี่ด้านอื่นๆให้เพียงพอต่อความต้องการของประชากรที่เพิ่มขึ้น ต้องคำนึงถึงข้อจำกัดต่างๆ จึงเป็นความจำเป็นต้องมีความรู้และประสบการณ์ ต้องเข้าใจว่าดินเป็นระบบของผสมที่แลกเปลี่ยนมวลและพลังงานกับระบบอื่นๆ และมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเสมอ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยเคมีจึงต้องทำด้วยความระมัดระวัง หากใส่ปุ๋ยเคมีอย่างไม่ระมัดระวังและไม่คำนึงถึงความถูกต้อง จะทำให้ดินเสื่อมโทรมและผลผลิตที่ได้รับจากดินต่ำลง

ปุ๋ยไนเตรต จะถูกรีดิวซ์ให้เป็นไนไตรต์ อนุมูลไนไตรต์สามารถรวมตัวกับเฮโมโกลบิน (Methemoglobin) ทำให้เฮโมโกบิน ไม่สามารถนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ ดังนั้นพืชที่มีไนเตรตมากจึงสามารถก่อปัญหาสุขภาพได้ ขณะเดียวกันการเกิดสภาวะการพังทลายของดิน จะพัดพาไนเตรตลงสู่แหล่งน้ำจึงมีผลต่อคุณภาพน้ำด้วย

ปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟส ปุ๋ยชนิดนี้สามารถรวมตัวเป็นตะกอนกับธาตุอื่น เช่น แคลเซียม เหล็ก หรืออะลูมิเนียมได้ ตะกอนนี้จะอยู่สภาพของแข็งที่อยู่ในดิน การเคลื่อนที่หลุดหนีไปจากพื้นที่ที่ทำการเพาะปลูกจึงมีไม่มากนัก แต่ถ้าเป็นดินทรายมากหรือมีกระแสน้ำพัดพาฟอสเฟตกระจายไปตามน้ำที่ไหลซึมลงในดินหรือพัดพาลงสู่แหล่งน้ำ ฟอสเฟตจะช่วยให้พืชน้ำเจริญเติบโตได้ดีทำให้เกิดภาวะสาหร่ายสะพรั่ง (Algal bloom) ได้

ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต ปุ๋ยชนิดนี้จะละลายน้ำแตกตัวให้แอมโมเนียมไอออน และซัลเฟตไอออน โดยแอมโมเนียมไอออนจะเปลี่ยนเป็นไนเตรตไอออนโดยจุลินทรีย์ดิน พืชสามารถดูดไนเตรตไอออนและนำไปใช้ประโยชน์ได้แต่กระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้เกิดช้ามากแอมโมเนียมไอออนจึงอาจเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซิสได้ไฮเดรเนียมไอออนสะสมในดิน ดินจึงเป็นกรดมากขึ้น

1.2 สารฆ่าศัตรูพืช (Pesticide) สารฆ่าศัตรูพืช มีทั้งสารอินทรีย์ และสารอนินทรีย์ ที่สังเคราะห์ขึ้นมาโดยกระบวนการทางเคมี และหรือสารสกัดจากธรรมชาติ การแบ่งประเภทของสารฆ่าศัตรูพืช ส่วนใหญ่จะแบ่งตามกลุ่มของศัตรูพืชเป็น สารฆ่าแมลง สารฆ่าเชื้อรา สารฆ่าวัชพืช เป็นต้น ปัญหาดินเป็นพิษ เนื่องจากสารฆ่าศัตรูพืชนี้ขึ้นอยู่กับความคงทนในดินและพิษที่ทำลายสิ่งมีชีวิตในดิน/จุลินทรีย์ดิน รวมทั้งส่งผลทางลบแก่พืชที่จะเจริญเติบโตในบริเวณนั้น สารฆ่าแมลงประเภทคลอริเนเตต ไฮโดรคาร์บอน (Chlorinated Hydrocarbon Insecticide) จะมีความคงทนในดินได้นานที่สุด เช่น Nash และ Harris (1973) ได้รายงานว่า ดินร่วนปนทราย ของรัฐแมรีแลนด์ ยังคงมีสารฆ่าแมลงประเภทคลอริกเนเตท ไฮโดรคาร์บอน ถึง 7-49% ของความเข้มข้นเริ่มต้นที่ใส่ลงในดิน แม้ว่าเวลาผ่านไปแล้วถึง 16 ปี ก็ตาม ความคงทนของกลุ่มสารฆ่าแมลงประเภทนี้มีมาก อีกทั้งอาจกล่าวได้ว่า ไม่มีการเคลื่อนที่ในดิน (Pionke และ Chesters,1937) ความคงทนในดิน พิจารณาจากครึ่งชีวิต (Half Life Period) ของสารฆ่าศัตรูพืช ชนิดนั้นๆด้วย เหตุที่ครึ่งชีวิตจะเป็นตัวเลขประมาณการให้ทราบว่า เมื่อเวลาผ่านไปเท่ากับครึ่งชีวิต สารชนิดนั้นๆ จะลดลงเหลือครึ่งหนึ่งของปริมาณสารตั้งต้น

2.ภาคอุตสาหกรรม

กระบวนการอุตสาหกรรมจะสร้างปัญหามากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับ วัตถุดิบ กระบวนการผลิต วิธีการผลิต ประเภทของผลิตภัณฑ์ที่ได้ ทุกขั้นตอนล้วนบ่งชีถึงโอกาสรวมทั้งความมากน้อยของความเป็นพิษในดินได้ทั้งสิ้น เพราะทุกขั้นตอนจะมีการทิ้งลงสู่ดิน การพิจารณาในเรื่องนี้จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงรายละเอียดเฉพาะกรณีของกิจการอุตสาหกรรมนั้นๆ กลุ่มของอุตสาหกรรมที่มีกระบวกการผลิตวิธีการผลิตแบบเดียวกัน กลุ่มของอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบประเภทเดียวกัน

ปัญหามลพิษจากดิน

ส่วนประกอบต่างๆของดินไม่ว่าจะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือกิจกรรมใจชีวิตของมนุษย์เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง จะเป็นตัวกำหนดความรุนแรงของปัญหาของมลพิษที่เกิดจากดิน หากดินมีส่วนประกอบของเชื้อโรค มีสารกำจัดศัตรูพืช มีธาตุอาหารพืช มีสารพิษ เมื่อดินเหล่านี้ถูกพัดพาไปสู่แหล่งน้ำ สู่อากาศ ก็จะก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำและมลพิษทางอากาศ 1.ดินเป็นมลสารก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศ การฟุ้งกระจายของเม็ดดิน ในรูปของฝุ่นก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศ ความรุนแรงของปัญหาและความกว้างไกลของปัญหาขึ้นอยู่กับสภาพอุตอนิยมวิทยา รวมทั้งขนาดเม็ดดินที่ฟุ้งกระจาย ฝุ่นก่อให้เกิดปัญหามลภาวะทางสายตา ทำให้พืชลดประสิทธิภาพในการสังเคราะห์แสง ทำให้ระบบทางเดินหายใจของมนุษย์มีปัญหา นอกจากนี้ ดิน ยังปลดปล่อยสารประกอบที่ระเหยได้จากดินสู่บรรยากาศ เช่น การปลดปล่อยไนโตรเจนออกจากดินในรูปของก๊าซโดยกระบวนการดีไนทริฟิเคชัน(Denitrification) การย่อยสลายของอินทรีย์สารต่างๆ ในดิน จะปลดปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์