ผู้ใช้:Kchainoi/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Smartphone รูปร่างหน้าตาของ Smartphone

ยุคสมาร์ทโฟน (อังกฤษ: smartphone age)[1] เป็นยุคสมัยที่ให้ความสะดวกในการทำงานเกินความคาดหมาย สมาร์ทโฟนได้เข้ามาเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการสร้างความสะดวกสบายที่มากขึ้นให้กับชีวิตประจำวันอีกด้วย ทำให้มีผู้ชื่นชอบเป็นจำนวนมาก จึงมีการพัฒนาต่อยอดเป็นหลากหลายอุปกรณ์ อาทิเช่น เครื่องเล่นเกม สมาร์ททีวี กล่องรับสัญญาณโทรทัศน์และอินเตอร์เน็ต แท๊ปเล็ต [2]

ต้นกำเนิดของสมาร์ทโฟน[แก้]

Smartphone เครื่องแรกของโลก ได้พัฒนาขึ้นเมื่อ 20 ปีที่แล้ว โดยใช้ชื่อว่า “Simon” คิดค้นโดยค่าย IBM ในปี ค.ศ.1992 ถัดจากนั้นในปี ค.ศ.2000 บริษัทโนเกีย (Nokia) จำกัด ผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายใหญ่ของโลกได้พัฒนาระบบปฏิบัติการ “Symbian” พร้อมๆ กันกับ “Palm PDA” “Window Smartphone” และ “Black Berry” โดยบริษัทรีเสิร์จ อิน โมชั่น (Research In Motion Limited) จากนั้นในปี ค.ศ. 2005 ได้กำเนิดนวัตกรรมการสื่อสารที่พลิกโลกอีกครั้งโดยบริษัทแอปเปิ้ล (Apple Inc) กับ Smartphone ที่เรียกว่า “I Phone” จากการสำรวจของบริษัท Kantar Worldpanel ComTech(2011) พบว่า Smartphone นั้นเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องราว 1 ใน 3 หรือประมาณ 29% ของตลาดผู้ใช้โทรศัพท์มือถือโดยเฉพาะ Smartphone ที่มีหน้าจอขนาดใหญ่ 4.5 นิ้ว [3]

แนวโน้มการใช้งานสมาร์ทโฟนประเทศไทย[แก้]

ไทยแลนด์

แนวโน้มการใช้สมาร์ทโฟนในประเทศไทยพบว่า 52% เป็นคนไทยที่จะซื้อ iPhone และ35% ที่จะซื้อ Samsung มาใช้งานในอนาคต ซึ่งแนวโน้มนี้ก็ทำให้การตลาดบนสมาร์ทโฟนมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย จากการเปิดเผยผลประกอบการของแอปเปิลในไตรมาสที่ 4 เมื่อปี 2556 ที่ผ่านมา ซึ่งสามารถขายไอโฟนได้ทั้งหมดเกือบ 34 ล้านเครื่องในไตรมาสเดียว แสดงให้เห็นถึงความต้องการของผู้บริโภคในตลาดสมาร์ทโฟนที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องจากฟังก์ชันต่างๆของเครื่องที่สามารถตอบสนองการใช้งานได้หลายรูปแบบ โดยเฉพาะการอำนวยความสะดวกให้ผู้บริโภคสามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้แม้ไม่ได้อยู่บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ พฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ต และ Social Media ของคนไทยรวมถึงประเทศต่างๆ ทั่วโลกในปี 2555 และ 2556 พบว่าในกลุ่มคนไทยมีสัดส่วนการเป็นเจ้าของสมาร์ทโฟนเติบโตขึ้นมากในทุกช่วงอายุ อัตราการเป็นเจ้าของสมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้นสูงสุดในกลุ่มคนทำงานอายุ 25-34 ปี ที่จากเดิมมีคนเป็นเจ้าของสมาร์ทโฟนเพียง 45% ในปี 2555 แต่ในปี 2556 มีผู้เป็นเจ้าของสมาร์ทโฟนถึง 80% เพิ่มขึ้น 35% โดยมีความเป็นไปได้ว่าอัตราการถือครองที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดในกลุ่มนี้เป็นเพราะอยู่ในวัยที่กำลังซื้อสูง และมีรายได้เป็นของตนเอง ตามด้วยกลุ่มผู้ใหญ่อายุ 35-44 ปี ที่อัตราการเป็นเจ้าของสมาร์ทโฟนเพิ่มมากขึ้น 40% ขณะที่กลุ่มวัยรุ่นอัตราการเป็นเจ้าของสมาร์ทโฟนเพิ่มมากขึ้น 26% ซึ่งถึงแม้วัยรุ่นจะเป็นวัยที่มีความต้องการอุปกรณ์สื่อสารรุ่นใหม่ๆ สูง แต่ก็มีข้อจำกัดเรื่องรายได้มากกว่ากลุ่มอื่น ที่น่าสนใจก็คือ สมาร์ทโฟนสามารถตีตลาดในกลุ่มผู้สูงอายุได้มากยิ่งขึ้น โดยสามารถขายให้คนวัยนี้ได้เพิ่มขึ้น 25% ในปี 2556 ส่วนอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตอื่นๆ ที่มียอดการเป็นเจ้าของเติบโตขึ้นตามสมาร์ทโฟนมาคือ แท็บเลต ด้วยฟังก์ชันการใช้งานที่ใกล้เคียงสมาร์ทโฟนทุกอย่าง และพกพาสะดวกใช้งานง่าย ทำให้อุปกรณ์ชนิดนี้ได้รับความนิยมสูงขึ้นในทุกวัยเช่นกัน ในขณะที่สัดส่วนการเป็นเจ้าของคอมพิวเตอร์พีซี และแล็ปท็อปโตน้อยที่สุด แน่นอนว่าการที่สมาร์ทโฟนได้รับความนิยมมาจากฟังก์ชันการใช้งานที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคทางด้านต่างๆ ได้ โดยเฉพาะการใช้อินเตอร์เน็ต ดังนั้นการเพิ่มจำนวนขึ้นของสมาร์ทโฟนจึงส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตของผู้บริโภคไปโดยปริยาย [4]

การคาดการตลาดของสมาร์ทโฟนประเทศไทยในอนาคต[แก้]

ในอนาคตตลาดสมาร์ทโฟนในประเทศไทยนั้นจะมีการเติบโตสูงขึ้นอีกเพราะผู้ผลิตมีการแข่งขันสูงทำให้ราคาสมาร์ทโฟนมาราคาถูกลงอย่างมากและมีประสิทธิภาพสูงเทียบเท่ารุ่นระดับสูงในราคาที่ถูกลงโดยเฉพาะตลาดสมาร์ทโฟนจอใหญ่หรือเรียกว่า "แฟ็บเล็ท" นั้นจะมีโอกาศขยายตัวสูงสุดเพราะผู้ใช้กำลังนิยมสมาร์ทโฟนจอใหญ่เพิ่มขึ้น

Smartphone/Tablet Explosion:Post-PC Era[แก้]

กระแสการใช้ Smartphone และ Tablet บ้านเราก็ยังแรงต่อเนื่อง และการใช้ไอทีในบ้านเราก็เข้าสู่ยุคหลังพีซีอย่างแท้จริงจากเดิมที่ผู้ใช้ไอทีจะใช้เครื่องพีซีที่มีระบบปฎิบัติการ Windows เป็นหลัก แต่วันนี้ผู้ใช้ไอทีจะมีอุปกรณ์และระบบปฎิบัติการที่หลากหลายและ Windows เป็นเพียงหนึ่งในตัวเลือก

ข้อมูลล่าสุดจากกสทช.จำนวนผู้ใช้โทรศัพท์เครื่องที่ในประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 89.98 ล้านเลขหมาย ซึ่งคิดเป็น 131.84% ของประชากร และในจำนวนนี้คาดว่า 31% ของประชากรไทยมีการใช้งาน Smartphone [ข้อมูลจาก Our Mobile Planet] และถ้าบริษัทวิจัย GfK ก็ระบุว่าใน 4 เดือนของปี 2013 มีเครื่อง Smartphone จำหน่ายไปแล้วกว่า 2.87 ล้านเครื่อง โดยคาดการณ์ยอดจำหน่ายทั้งปีประมาณ 7.5 ล้านเครื่องจากเครื่องโทรศัพท์มือถือ 16 ล้านเครื่อง

ในด้านของอุปกรณ์เราจะเห็นว่าข้อมูลจากการสำรวจของสวทช.ระบุว่าปีที่แล้วเรามียอดจำหน่ายเครื่องเดสต์ท็อปพีซี 1.26 ล้านเครื่อง Notebook 2.1 ล้านเครื่อง และ Tablet 1.3 ล้านเครื่อง ซึ่งในปีนี้ทาง IDC คาดการณ์ว่ายอดจำหน่าย Tablet จะพุ่งขึ้นสูงถึง 3.5 ล้านเครื่องทั้งนี้จากนโยบาย OTPC ของรัฐบาล และจะมียอดของ Notebook 2.5 ล้านเครื่อง และ เดสต์ท็อปพีซี 1.5 ล้านเครื่อง

ข้อมูลจาก Gartner เมื่อเดือนเมษายน 2013 ก็ระบุให้เห็นเช่นกันว่ายอดจำหน่ายเครื่องพีซีทั้งเดสต์ท็อปและ Notebook ทั่วโลก จะมีแนวโน้มที่จะลดลงอย่างต่อเนื่องคือประมาณการณ์ว่าจาก 315 ล้านเครื่องต่อปีในปี 2013 เหลือเพียง 271 ล้านเครื่องต่อปีในปี 2017 ในขณะที่ยอดจำหน่าย Tablet ทั่วโลกจะแซงหน้ายอดของเครื่องพีซีโดยจะมีจำนวน 467 ล้านเครื่องต่อปีในปี 2017

สำหรับสัดส่วนการตลาดของเครื่อง Smartphone และ Tablet ทาง IDC ได้เปิดเผยข้อมูลยอดจำหน่ายในไตรมาสสองปีนี้ให้เห็นว่าเครื่องที่ใช้ระบบปฎิบัติการ Android มีสัดส่วนที่แซงหน้ารับบปฎิบัติการ iOS ของ Apple ไปอย่างมากโดยมีสัดส่วนการตลาด Smartphone ถึง 79% เมื่อเทียบกับ iOS ที่ลดลงเหลือเพียง 13% และก็มีสัดส่วนการตลาดของ Tablet 62.6% เมื่อเทียบกับ iPad ที่ลดลงเหลือเพียง 32.5% ทั้งๆที่ในไตรมาสสองปีที่แล้ว iPad มีสัดส่วนการตลาดนำ Android ถึง 60% ต่อ 38% ซึ่งแนวโน้มนี้ก็สอดคล้องกับตลาดในประเทศไทยที่ทาง GfK ระบุว่า ตลาด Smartphone ในประเทศไทยเป็นระบบ Android 70% เมื่อเทียบกับ iOS ที่ 20%

เด็กติดสมาร์ทโฟน (Children’s Smartphone Addiction)[แก้]

เด็กติดสมาร์ทโฟน (Children’s Smartphone Addiction) หมายถึง เด็กที่ใช้เวลาเล่นสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตวันละหลายชั่ว โมงติดต่อกัน ส่งผลให้กิจวัตรบางอย่างได้รับผลกระทบ เป็นต้นว่า เด็กปฏิเสธที่จะทำการบ้าน ถ้าพวกเขาไม่ได้เล่นเกม หรือดูคลิปในยูทูปบนแท็บเล็ตเป็นการแลกเปลี่ยน หรือเล่นสมาร์ทโฟนอยู่บนเตียงจนเผลอหลับไป เป็นต้น พฤติกรรมเช่น นี้สร้างความหนักใจให้กับพ่อแม่ ทั้งนี้ มีผู้ปกครองหลายครอบครัวยอมควักเงินซื้ออุปกรณ์ไฮเทคจำพวกสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตเพื่อต่อยอดการเรียนรู้ของลูก แต่ผลลัพธ์ที่ได้กลายเป็นตรงกันข้าม เด็กหลายคนติดสมาร์ทโฟนกันงอมแงม จนกระ ทบกับการเรียนและพัฒนาการทางด้านร่างกายและจิตใจของเด็กอีกด้วยทั้งนี้ สถาบันที่เชี่ยวชาญทางด้านเด็กของสหรัฐอเมริกาเปิดเผยว่า เด็กทารกจนถึงวัย 2 ขวบ ไม่ควรหยิบจับอุปกรณ์ไฮเทคต่างๆ ส่วนเด็กอายุ 3 – 5 ขวบนั้นให้เล่นได้วันละไม่เกิน 1 ชั่วโมง และในวัยที่โตกว่านั้นจนถึงอายุ 18 ปี ควรเล่นแค่วันละ 2 ชั่วโมง แต่จากข้อมูลที่นำเสนอผ่านสื่อสาธารณะได้ระบุว่า ชั่วโมงการใช้งานอุปกรณ์ทางด้านเทคโนโลยีของเด็กในสหรัฐฯ และแคนาดาสูงกว่าจำนวนที่แนะนำไว้ 4 ถึง 5 เท่า ดังนั้น ปัญหาเด็กติดสมาร์ทโฟนนับวันจะยิ่งปรากฏให้เห็นมากขึ้นในสังคมทั่วโลก รวมถึงสังคมไทยที่มีจำนวนผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตเพิ่มสูงขึ้นในทุกๆปี พ่อแม่จึงไม่ควรวางใจให้ลูกอยู่กับสมาร์ทโฟนเพียงลำพัง ควรดูแลพฤติกรรมการเล่นสมาร์ทโฟนของเด็กอย่างใกล้ชิด ไม่ให้เกิดปัญหาเด็กติดสมาร์ทโฟนในภายหลัง [5]

แนวโน้มการใช้งานระบบปฏิบัติการบนสมาร์ทโฟน[แก้]

แนวโน้มของสมาร์ทโฟนยังคงเป็นสินค้าขายดีในตลาด โดยในปัจจุบันและอนาคตผู้ผลิตจะเน้นไปที่ความเร็วในการประมวลผล, การออกแบบหน้าจอให้มีขนาดใหญ่ ความละเอียดสูงและคมชัด (สมาร์ทโฟนหน้าจอใหญ่ บางรุ่นมีขนาดหน้าจอถึง 5-5.4 นิ้ว), การปรับปรุงคุณภาพของกล้องถ่ายรูป, การแก้ปัญหาแบตเตอรี่หมดไว, การออกแอพพลิเคชั่นหรือลูกเล่นใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้น

ระบบปฏิบัติบนโทรศัพท์มือถือประเภทสมาร์ทโฟนในปัจจุบันนั้นมีอยู่หลายแบบ แต่ส่วนแบ่งการตลาดส่วนใหญ่กลับไปอยู่กับ Google Android เป็นหลัก และรองลงมาเป็น Apple iOS โดยที่มีค่ายอื่นๆเข้ามาแข่งขันด้วยเช่น Windows Phone ของทาง Microsoft แต่จากข้อมูลในไตรมาสสุดท้ายของปี 2013 จะเห็นว่าส่วนแบ่งการตลาดเป็นของ Android และ iOS เกือบทั้งหมด

ตัวเลขของสมาร์ทโฟนในตลาดเมื่อปี 2013 ที่ผ่านมานั้น เติบโตขึ้นสูงเกือบร้อยละ 40 และแม้ว่า Windows Phone จะเริ่มทำได้ดี ด้วยการขยับขึ้นมามีส่วนแบ่งมากขึ้น คือจากร้อยละ 2.4 มาเป็น 3.3 แล้ว และยังคงรักษาอันดับที่สามไว้ได้ แต่ตามการคาดการณ์แล้ว ทาง Windows Phone ไม่น่าจะขยับเข้ามาใกล้เคียงสองค่ายหลักได้

เมื่อผลรวมของส่วนแบ่งการตลาดของทั้งสองระบบปฏิบัติการหลัก ได้แก่ Android และ iOS คิดเฉพาะไตรมาสล่าสุด มีส่วนแบ่งการตลาดรวมมากถึง 95.7 เหลือให้ระบบปฏิบัติการอื่นๆ อีกเพียงแค่ราวร้อยละ 4 เท่านั้น โดยในฟากของ Android นั้น Samsung ยังคงนำเป็นเจ้าตลาดอยู่ ในขณะที่ Motorola และ Huawei ก็ตามมาสมทบ พา Android เติบโตเหนือ iOS ต่อไป

Operating System 2013 Shipment Volumes 2013 Market Share 2012 Shipment Volums 2012 Market Share Year-Over-Year Change
Android 739.6 78.6% 500.1 69.0% 58.7%
iOS 153.4 15.2% 135.9 18.7% 12.9%
Windows Phone 33.4 3.3% 17.5 2.4% 90.9%
BlackBerry 19.2 1.9% 32.5 4.5% -40.9%
Others 10.0 1.0% 39.3 5.4% -74.6%
Total 10209.6 100.0% 725.3 100.0% 100.0%

[6]

โลกเข้าสู่ยุค Post PC แล้ว[แก้]

Post-PC นั้นคือการเข้าสู่ยุคของการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ที่ไม่ใช่คอมพิวเตอร์ อย่างเช่น เครื่องเล่นเกม สมาร์ททีวี กล่องรับสัญญาณโทรทัศน์และอินเตอร์เน็ต แท๊ปเล็ต และสมาร์ทโฟน ที่สามารถเชื่อมต่อข้อมูลอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงได้นั่นเอง เหล่านี้ถือเป็น Post-PC ทั้งสิ้น ซึ่งจากรายงานในช่วงปลายปี 2011 ของ Sandvine บริษัทที่จัดทำรายงาน Global Internet Phenomena Report ว่าด้วยการเก็บสถิติของผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตพบว่าการใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์ประเภท Post-PC นั้นสูงกว่าคอมพิวเตอร์ไปแล้ว รูปแบบการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตปัจจุบันมีหลายหลายมากจนยอดนั้นสูงถึง 55% ของการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตเลยทีเดียว โดยเฉพาะในอเมริกาเหนือ นับเป็น Real-Time Entertainment traffic ผ่าน Post-PC แทบทั้งสิ้น ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าปัจจุบันมีผู้ให้บริการคอนเท้นต์ทั้งหลายต่างให้ความร่วมมือกันในการส่งเสริมบริการต่างๆของตัวเองส่งตรงไปยัง Post-PC ให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงความบันเทิงได้อย่างหลากหลาย [7]

อ้างอิง[แก้]

  1. อาจารย์พรพิสุทธิ์ มงคลวนิช (16 March 2013). "ชีวิตที่เปลี่ยนไปกับการใช้สมาร์ทโฟน". Etpnews.
  2. "โลกเข้าสู่ยุค Post-PC แล้ว [Infographic]". Veedvid Tech News & Info. 2 November 2011.
  3. https://sites.google.com/a/bumail.net/1560508762/activities/kaneid-smart-phone
  4. http://www.siamintelligence.com/smartphone-penetration-10-percent/
  5. http://taamkru.com/th/%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B9%82%E0%B8%9F%E0%B8%99/
  6. https://sites.google.com/a/bumail.net/smartphones-lifestyle/naew-nom-kar-chi-ngan-rabb-ptibati-kar-bn-sma-rth-fon
  7. http://www.veedvil.com/infographics/post-pc-era-infographic

[1]

Online Consumerization: Social Networks / 3G /Broadband

การเปิดให้บริการ 3G อย่างเต็มรูปแบบของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทยจะทำให้คนไทยใช้บริการออนไลน์มากขึ้น ได้ทุกที่ทุกเวลา ซึ่งจากข้อมูลของ TrueHits แสดงให้เห็นว่าในป้จจุบันเรามีประชากรอินเตอร์เน็ตในประเทศจำนวน 23.86 ล้านคนหรือคิดเป็นอัตราส่วน 35.8% และเรายังมีการเชื่อมต่อ Broadband ตามบ้านถึง 4.55 ล้านหลัง หรือคิดเป็น 22.7% ของจำนวนที่อยู่อาศัย นอกจากนี้คนไทยยังใช้งาน Social Networks ค่อนข้างสูง โดยได้เปลี่ยนรูปแบบการสื่อสารแบบเดิมมาสู่สังคมออนไลน์มากขึ้น โดยข้อมูลจาก ZocialRank ระบุว่าเรามีจำนวนผู้ใช้ Facebook 18.5 ล้านคน Line 18 ล้านคน และ Twitter 2 ล้านคน นอกจากนี้เรายังมีวิดีโอบน YouTube ในประเทศถึง 5.3 ล้านคลิป

คนไทยกำลังเข้าสู่ยุคที่มีสี่หน้าจอต่อหนึ่งผู้ใช้ ที่เราอาจใช้อุปกรณ์อย่างมือถือ คอมพิวเตอร์ ทีวี หรือแทปแล็ตที่ทำงานคล้ายๆกัน และ sync ข้อมูลต่างๆเข้าหากัน โดยเราอาจดูทีวีหรือหนังผ่านมือถือหรือแทปเล็ต และก็เป็นไปได้ที่เราอาจเล่นอินเตอร์เน็ตทางจอทีวี ข้อมูลจาก We arre social ระบุว่าคนไทยโดยเฉลี่ยใช้เวลา 16.6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในการเล่นอินเตอร์เน็ตขณะที่เราใช้เวลาในการดูทีวีโดยเฉลี่ยเพียง 10.9 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ นอกจากนี้จากการสำรวจของ Nielsen Thailand ระบุว่า คนไทยเล่นอินเตอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์มือถือถึง 49% ขณะที่ใช้คอมพิวเตอร์เพียง36%

อ้างอิง[แก้]

[1]

  1. http://thanachart.org/2013/09/06/technology-trends-2014/