ผู้ใช้:KarnRedsun/ลองเขียน/สมาพันธรัฐลุ่มแม่น้ำไรน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมาพันธรัฐแห่งลุ่มแม่น้ำไรน์

Rheinbund (de)
États confédérés du Rhin (fr)
1806–1813
Rheinbundmedailleของสมาพันธรัฐแห่งลุ่มแม่น้ำไรน์
Rheinbundmedaille
สมาพันธรัฐแห่งลุ่มแม่น้ำไรน์ในปี 1812
สมาพันธรัฐแห่งลุ่มแม่น้ำไรน์ในปี 1812
สถานะรัฐบริวารของฝรั่งเศส
เมืองหลวงแฟรงก์เฟิร์ต
ผู้คุ้มครอง 
ไพรเมต 
• 1806-1813
คาร์ล ฟอน ดัลเบิร์ก
• 1813
ยูจีน เดอ บิวฮาร์เนิส
ยุคประวัติศาสตร์สงครามนโปเลียน
12 กรกฎาคม 1806
6 สิงหาคม 1806
4 พฤศจิกายน 1813
ก่อนหน้า
ถัดไป
จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
สมาพันธรัฐเยอรมัน

สมาพันธรัฐแห่งลุ่มแม่น้ำไรน์ หรือ สมาพันธรัฐลุ่มแม่น้ำไรน์ (เยอรมัน: Rheinbund; [États confédérés du Rhin อย่างเป็นทางการและ Confédération du Rhin ในทางปฏิบัติ ] ข้อผิดพลาด: {{Lang-xx}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ)) เป็นรัฐบริวารของจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 1 ก่อตั้งจากรัฐเยอรมันทั้ง 16 รัฐ โดยนโปเลียนหลังจากที่เขารบชนะฟรานซิสที่ 2แห่งออสเตรีย และอเล็กซานเดอร์ที่ 1แห่งรัสเซีย ในยุทธการออสเตอร์ลิสต์ สนธิสัญญาเพรซเบิร์กซึ่งนำไปสู่การก่อตั้งสมาพันธรัฐแห่งลุ่มแม่น้ำไรน์ ซึ่งดำรงอยู่ตั้งแต่ปี 1806 ถึงปี 1813.

สมาชิกของสมาพันธ์คือเจ้าชายเยอรมัน (Fürsten) จากจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และไม่มีผู้ปกครองรัฐเป็นของตนเอง มีรัฐ 19 รัฐรวมเข้าด้วยกันในสมาพันธรัฐปกครองประชากร 15 ล้าน สร้างผลประโยชน์เชิงยุทธศาสตร์อย่างมากให้จักรวรรดิฝรั่งเศสในแนวหน้าฝั่งตะวันออก

การก่อตั้ง[แก้]

ในวันที่ 12 กรกฎาคม 1806 มีการลงนามในสนธิสัญญาสมาพันธรัฐแห่งลุ่มแม่น้ำไรน์ (เยอรมัน: Rheinbundakte) 16 รัฐ ที่ในปัจจุบันคือเยอรมนี ที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และรวมกันในสมาพันธรัฐ (สนธิสัญญานี้เรียกว่า états confédérés du Rhin, เกี่ยวกับสิ่งที่แสดงถึง สันนิบาตแห่งลุ่มแม่น้ำไรน์) นโปเลียนเป็น"ผู้คุ้มครอง" ในวันที่ 6 สิงหาคม ตามคำขาดของนโปเลียน ฟรานซิสที่ 2จึงสละตำแหน่งจักรพรรดิและล้มเลิกจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ในปีต่อมา รัฐเยอรมันมากว่า 23 รัฐก็เข้าร่วมสมาพันธรัฐ ราชวงศ์ฮับสบูร์กของฟรานซิสจะปกครองส่วนที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิในชื่อออสเตรีย มีเฉพาะออสเตรีย ปรัสเซีย โฮลสไตน์ส่วนที่เป็นของเดนมาร์ก และปอมเมอเรเนียของสวีเดนเท่านั้นที่อยู่นอกสมาพันธรัฐ ไม่นับรวมดินแดนทางตะวันออกของแม่น้ำไรน์และราชรัฐเออร์เฟิร์ต ซึ่งถูกยึดครองโดยจักรวรรดิฝรั่งเศส

ตามสนธิสัญญา สมาพันธรัฐจะถูกใช้งานโดยผู้แทนร่วมตามรัฐธรรมนูญ แต่รัฐโดดเดี่ยว(โดยเฉพาะรัฐใหญ่) ต้องการมีอำนาจอธิปไตยอย่างไม่จำกัด

แทนที่จะเป็นกษัตริย์ อย่างที่จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์เป็นอยู่ สถาบันสูงสุดกลับถูกครอบงำโดยคาร์ล ธีโอดอร์ ฟอน ดัลเบิร์ก อดีตอัครมหาเสนาบดีผู้ที่เบื่อตำแหน่งปรินซ์-ไพรเมตของสมาพันธรัฐ ในฐานะดังกล่าเขาเป็นประธานของสภากษัตริย์และมีอำนาจเหนือ สภาไดเอ็ตของสมาพันธรัฐ มีลักษณะคล้ายรัฐสภา อย่างไรก็ตาม ไม่เคยประชุมเลย ประธานสภาของเจ้าชายเป็นเจ้าชายแห่งนัสเซาว์-อูซินเกน

โดยแท้แล้ว สมาพันธรัฐก็คือการเป็นพันธมิตรทางการทหาร : สมาชิกของสมาพันธรัฐจะต้องส่งกำลังสนับสนุนจำนวนมากให้แก่ฝรั่งเศส โดยที่ผู้ปกครองรัฐจะได้รับการยกสถานะขึ้นเป็นการตอบแทน เช่น บาเดิน เฮสส์ เคลเวส และเบิร์ก ได้ยกฐานะขึ้นเป็นอาณาจักรแกรนด์ดยุค ส่วน Württemberg และบาวาเรียได้กลายเป็นราชอาณาจักร นอกจากนี้บางรัฐยังมีอาณาเขตเพิ่มมากขึ้นโดยได้รับเอา "Kleinstaaten" หรือรัฐขนาดเล็กหลายๆ แห่งที่เคยเป็นสมาชิกของจักรวรรดิมาควบรวมเข้าไป

หลังจากที่ปรัสเซียพ่ายแพ้ต่อฝรั่งเศสในปี 1806 รัฐขนาดกลางและขนาดเล็กจำนวนมากก็เข้าร่วมกัยสมาพันธรัฐแห่งลุ่มแม่น้ำไรน์ โดยขยายตัวมากที่สุดในปี 1808 ประกอบด้วย 4 ราชอาณาจักร 5 อาณาจักรแกรนด์ยุค 13 อาณาจักรดยุค 17 ราชรัฐ และ รัฐอิสระฮันส์ เมืองฮัมบูร์ก ลิวเบ็ก และ เบรเมน

ในปี 1810 ส่วนใหญ่ของเยอรมนีตะวันออกเฉียงเหนือก็รวมเข้ากับจักรวรรดินโปเลียนอย่างเร่งด่วน ตามคำสั่งการห้ามค้าขายระหว่างประเทศกับสหราชอาณาจักรโดยการให้ชาวยุโรปค้าขายกันเองโดยไม่ต้องพึ่งอังกฤษ

สมาพันธรัฐแห่งลุ่มแม่น้ำไรน์สลายตัวในปี 1813 ป็นผลจากการที่ นโปเลียนแพ้สงครามกับจักรวรรดิรัสเซีย สมาชิกจำนวนมากย้ายฝ่ายหลังจากยุทธการแห่งชาติ เมื่อคาดว่านโปเลียนคงจะแพ้สงครามหกพันธมิตร

รัฐที่เป็นสมาชิก[แก้]

ตามตารางแสดงสมาชิกของสมาพันธรัฐ กับวันที่เข้าร่วม รวมทั้งจำนวนของทหารโดยรวม ลิสต์สอดแทรก[1]

รัฐที่เป็นสมาชิกของสมาพันธรัฐลุ่มแม่น้ำไรน์ ในปี 1812
ธง รัฐสมาชิก เข้าร่วมเมื่อ หมายเหตุ
อาณาจักรดยุคแอนฮอล์ต-เบิร์กเบิร์ก 11 เม.ย. 1807 (700)
อาณาจักรดยุคแอนฮอล์ต-เดิสซอว์ 11 เม.ย. 1807 (700)
อาณาจักรดยุคแอนฮอล์ต-คอเธิน 11 เม.ย. 1807 (700)
อาณาจักรดยุคอะเรินเบิร์ก 12 ก.ค. 1806 Co-founder (4000)
อาณาจักรแกรนด์ดยุคบาเดิน 12 ก.ค. 1806 Co-founder; เคยเป็นมาร์กราวิเอต (8000)
ราชอาณาจักรบาวาเรีย 12 ก.ค. 1806 Co-founder; เคยเป็นอาณาจักรดยุค (30,000)
อาณาจักรแกรนด์ดยุคแห่งเบิร์ก 12 ก.ค. 1806 Co-founder; รวมทั้งเคลเวส ทั้งคู่เคยเป็นอาณาจักรดยุค (2000)
อาณาจักรแกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์-ดาร์มสตัดต์ 12 ก.ค. 1806 Co-founder; เคยเป็นแลนด์กราวิเอต (4000)
ราชรัฐโฮเฮนโซลเลิร์น-เฮชินเกน 12 ก.ค. 1806 Co-founder (4000)
ราชรัฐโฮเฮนโซลเลิร์น-ซิกมารินเกน 12 ก.ค. 1806 Co-founder (4000)
ราชรัฐไอเซินบูร์ก-บีร์สไตน์ 12 ก.ค. 1806 Co-founder (4000)
ราชรัฐเลเยิน 12 ก.ค. 1806 Co-founder; เคยเป็นเคานท์ชิปหรือกราวิเอต (4000)
ราชรัฐลิคเตนสไตน์ 12 ก.ค. 1806 Co-founder (4000)
ราชรัฐลิปป์-เดิทโมลด์ 11 เม.ย. 1807 (650)
อาณาจักรอัครสังฆราชแห่งไมนซ์ 12 ก.ค. 1806 Co-founder; เคยเป็นอาณาจักรปรินซ์-อาร์คบิชอป และ อาณาจักรเลือกตั้ง หลังปี 1810 เป็น Frankfurt อาณาจักรแกรนด์ดยุคแห่งแฟรงค์เฟิร์ต
อาณาจักรแกรนด์ดยุคแห่งเม็คเคลนบวร์ก-ชเวริน 22 มี.ค. 1808 (1900)
อาณาจักรแกรนด์ดยุคแห่งเม็คเคลนบวร์ก-สเตรอลิตส์ 18 ก.พ. 1808 (400)
อาณาจักรดยุคแห่งนัสซอว์ (อูซินเกน และ เวลบูร์ก) 12 ก.ค. 1806* สหภาพแห่งMissing image นัสซอว์-อูซินเกน และ Nassau-Weilburg นัสซอว์-เวลบูร์ก ทั้งคู่ co-founders (อย่างละ 4000)
อาณาจักรแกรนด์ดยุคแห่งโอลเดนบูร์ก 14 ต.ค. 1808 (800)
ราชรัฐรีอัสส์-อีเบอร์ซดอล์ฟ 11 เม.ย. 1807 (400)
ราชรัฐรีอัสส์-ไกรซ์ 11 เม.ย. 1807 (400)
ราชรัฐรีอัสส์-โลเบนสไตน์ 11 เม.ย. 1807 (400)
ราชรัฐรีอัสส์-ชไลซ์ 11 เม.ย. 1807 (400)
ราชรัฐซาล์ม (ซาล์ม-ซาล์ม และ ซาล์ม-คีร์บูร์ก) 25 ก.ค. 1806 Co-founder (4000)
อาณาจักรดยุคแห่งแซกซ์-โคบูร์ก 15 ธ.ค. 1806 (ส่วนหนึ่งของ 2000 สำหรับอาณาจักรแกรนด์ดยุคแห่งแซกซ์)
อาณาจักรดยุคแห่งแซกซ์-โกธา 15 ธ.ค. 1806 (ส่วนหนึ่งของ 2000 สำหรับอาณาจักรแกรนด์ดยุคแห่งแซกซ์)
อาณาจักรดยุคแห่งแซกซ์-ฮิลด์บูร์กเฮาเซน 15 ธ.ค. 1806 (ส่วนหนึ่งของ 2000 สำหรับอาณาจักรแกรนด์ดยุคแห่งแซกซ์)
อาณาจักรดยุคแซกซ์-ไมนินเกน 15 ธ.ค. 1806 (ส่วนหนึ่งของ 2000 สำหรับอาณาจักรแกรนด์ดยุคแห่งแซกซ์)
อาณาจักรดยุคแซกซ์-ไวมาร์ 15 ธ.ค. 1806 (ส่วนหนึ่งของ 2000 สำหรับอาณาจักรแกรนด์ดยุคแห่งแซกซ์)
ราชอาณาจักรแซกโซนี 11 ธ.ค. 1806 เคยเป็น อาณาจักรดยุค (20,000)
ราชรัฐชออมเบิร์ก-ลิปป์ 11 เม.ย. 1807 (650)
ราชรัฐชวาร์ซเบิร์ก-รูดอลสตัดต์ 11 เม.ย. 1807 (650)
ราชรัฐชวาร์ซเบิร์ก-ซอนเดอร์เชาเซน 11 เม.ย. 1807 (650)
ราชรัฐวาลเดิก 11 เม.ย. 1807 (400)
ราชอาณาจักรเวสต์ฟาเลีย 15 พ.ย. 1807 นโปเลียน ตั้งขึ้น (25,000)
ราชอาณาจักรเวือร์ทเทมแบร์ก 12 ก.ค. 1806 Co-founder; เคยเป็นอาณาจักรดยุค (12,000)
อาณาจักรแกรนด์ดยุคแห่งเวิร์สบูร์ก 23 ก.ย. 1806 นโปเลียน ตั้งขึ้น (2000)

หลังจากนั้น[แก้]

พันธมิตร ต้านนโปเลียนยุบสมาพันธรัฐแห่งลุ่มแม่น้ำไรน์เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 1813 หลังจากการล่มสลาย ก็มีควาพยายามที่จะรวมชาติเยอรมนี จนกระทั่งการสถาปนาเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 1815 ของสมาพันธรัฐเยอรมัน เป็นโครงสร้างที่เรียกว่าสภาการปกครองส่วนกลาง (เยอรมัน: Zentralverwaltungsrat); ประธานคือ ไฮน์ริช ฟรีดริช คาร์ล ไรช์สไฟรเฮอร์ ฟอม อันด์ ซัม สไตน์ (1757 – 1831) มันถูกยุบเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 1815

เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 1814 สนธิสัญญาปารีส ประกาศให้รัฐเยอรมันได้รับเอกราช

ในปี 1815 การประชุมแห่งเวียนนา ได้ร่างแผนที่รัฐกิจของทวีปขึ้นใหม่ ความจริงแล้ว สมาชิกที่รอดมาได้ส่วนมากมีการเปลี่ยนแปลงเขตแดนน้อย และมีผลทำให้เกิดสมาพันธรัฐเยอรมัน ประกอบด้วยสมาชิกใกล้เคียงกับสมาพันธรัฐแห่งลุ่มแม่น้ำไรน์

See also[แก้]

References[แก้]

Sources and external links[แก้]