ผู้ใช้:บวรภัทร์ แจ่มจำรัส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดนครปฐม

นครปฐม เป็นเมืองเก่าแก่ มีความเจริญมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช และส่งสมณทูตมาเผยแพร่พระศาสนายังดินแดนสุวรรณภูมิ เมื่อประมาณ พ.ศ. 300 ได้สร้างพระปฐมเจดีย์ขึ้นมาเป็นครั้งแรก นครปฐมผ่านความเจริญเรื่อยมาหลายยุคหลายสมัย จนมาเป็นเมืองร้างเพราะแม่น้ำได้เปลี่ยนทิศทาง จนมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้บูรณะพระปฐมเจดีย์ แล้วเสร็จในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน ปี พ.ศ. 2513

จังหวัดนครปฐม ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำท่าจีนซึ่งเป็นพื้นที่บริเวณที่ราบลุ่มภาคกลาง โดยอยู่ระหว่างเส้นละติจูดที่ 13 องศา 45 ลิปดา 10 พิลิปดา เส้นลองจิจูดที่ 100 องศา 4 ลิปดา 28 พิลิปดา มีพื้นที่ 2,168.327 ตารางกิโลเมตร หรือ 1,355,204 ไร่ เท่ากับ ร้อยละ 0.42 ของประเทศ และมีพื้นที่เป็นอันดับที่ 62 ของประเทศ อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปตามเส้นทางถนนเพชรเกษม 56 กิโลเมตร หรือตามเส้นทางถนนบรมราชชนนี(ปิ่นเกล้า-นครชัยศรี) 51 กิโลเมตร และตามเส้นทางรถไฟ 62 กิโลเมตร

ประวัติ[แก้]

พระราชวังสนามจันทร์

จังหวัดนครปฐม เป็นจังหวัดหนึ่งซึ่งอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพมหานครด้วยระยะทางเพียงประมาณ 56 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทางไม่ถึงชั่วโมง สะดวกสบายทั้งพาหนะส่วนตัวและรถโดยสาร บขส. โดยใช้เส้นทางพระบรมราชชนนี หรือสะดวกสบายขึ้นอีก ถ้าใช้รถส่วนตัวสามารถใช้สะพานลอยฟ้าของในหลวงที่ทรงพระราชทานสร้างขึ้น เพื่อประโยชน์ของประชาชนโดยแท้ และที่สำคัญไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมในการใช้ทาง ทำให้การเดินทางมาเส้นทางนี้ สะดวกสบายมากขึ้นกว่าเดิมเป็นอย่างมาก ใช้เวลาไม่นานเท่าไหร่จากสะพานพระปิ่นเกล้า (สายหลัก) มุ่งสู่จังหวัดนครปฐม สองข้างทางมีทั้งบ้านเรือนสลับกับท้องนาที่มีต้นตาลขึ้นให้เห็นกันบางตา และตัดกับเส้นขอบฟ้า ทำให้ดูแปลกตาดี และให้รู้ว่าเริ่มออกจากตัวเมืองกรุงเทพฯ แล้ว จังหวัดนครปฐมปฐมแห่งพระพุทธศาสนาเป็นจังหวัดที่มีมายาวนาน ตั้งแต่สมัยแผ่นดินสุวรรณภูมิ จังหวัดนครปฐม แต่เดิมตั้งอยู่ริมทะเล เป็นเมืองเก่าแก่ มีความเจริญรุ่งเรืองมาก สมัยสุวรรณภูมิ และเป็นราชธานีที่สำคัญในสมัยทวารวดีในยุคนั้น นครปฐมเป็นแหล่งเผยแพร่พระพุทธศาสนาที่สำคัญของประเทศอินเดีย นครปฐมจึงเป็นศูนย์กลางความเจริญของชนชาติต่างๆ ที่พากันอพยพมาตั้งถิ่นฐานกันมากมายหลังจากนั้น นครปฐมเกิดความแห้งแล้งเป็นอย่างมาก เพราะกระแสน้ำที่ไหลผ่านเข้ามาในตัวเมืองเปลี่ยนเส้นทาง ประชาชนจึงอพยพไปตั้งถิ่นฐานใหม่อยู่ริมแม่น้ำ และได้สร้างเมืองใหม่มีชื่อว่า “เมืองนครชัยศรี” หรือ “ศรีวิชัย” นครปฐมจึงกลายมาเป็นเมืองร้างอยู่หลายร้อยปี จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะที่ทรงผนวชได้ธุดงค์ไปพบองค์พระปฐมเจดีย์ และทรงเห็นว่าเป็นองค์เจดีย์ใหญ่ไม่มีใครเทียบเท่าหลังจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์ ทรงโปรดฯ ให้ก่อเจดีย์แบบลังกาครอบองค์เดิมไว้โดยใช้ชื่อว่า “พระปฐมเจดีย์” ทรงปฏิสังขรณ์สิ่งต่างๆ รอบองค์พระปฐมเจดีย์ให้อยู่ในสภาพดี และโปรดฯ ให้ขุดคลองเจดีย์บูชา เพื่อให้การเสด็จมานมัสการสะดวกขึ้นต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเริ่มก่อสร้างทางรถไฟสายใต้ผ่านเมืองนครปฐม ซึ่งขณะนั้นยังเป็นป่ารก พระองค์จึงโปรดฯ ให้ย้ายเมืองจากตำบลท่านา อำเภอนครชัยศรี มาตั้งที่ บริเวณองค์พระปฐมเจดีย์เหมือนครั้งในสมัยโบราณครั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างพระราชวังสนามจันทร์ขึ้น เป็นที่เสด็จแปรพระราชฐานและฝึกซ้อมรบแบบเสือป่า โดยโปรดฯ ให้ตัดถนนเพิ่มขึ้นอีกหลายเส้นทาง รวมทั้งสร้างสะพานเจริญศรัทธาข้ามคลองเจดีย์ ตลอดจนสร้างพระร่วงโรจนฤทธิ์ทางด้านทิศเหนือขององค์พระปฐมเจดีย์ และบูรณะองค์พระปฐมเจดีย์ให้สมบูรณ์ สวยงามดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน และทรงโปรดฯ ให้เปลี่ยนชื่อจาก “นครชัยศรี” เป็น “นครปฐม”[1]

สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]

จังหวัดนครปฐม เป็นจังหวัดหนึ่งซึ่งอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพมหานครด้วยระยะทางเพียงประมาณ 56 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทางไม่ถึงชั่วโมง สะดวกสบายทั้งพาหนะส่วนตัวและรถโดยสาร บขส. โดยใช้เส้นทางพระบรมราชชนนี หรือสะดวกสบายขึ้นอีก ถ้าใช้รถส่วนตัวสามารถใช้สะพานลอยฟ้าของในหลวงที่ทรงพระราชทานสร้างขึ้น เพื่อประโยชน์ของประชาชนโดยแท้ และที่สำคัญไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมในการใช้ทาง ทำให้การเดินทางมาเส้นทางนี้ สะดวกสบายมากขึ้นกว่าเดิมเป็นอย่างมาก ใช้เวลาไม่นานเท่าไหร่จากสะพานพระปิ่นเกล้า (สายหลัก) มุ่งสู่จังหวัดนครปฐม สองข้างทางมีทั้งบ้านเรือนสลับกับท้องนาที่มีต้นตาลขึ้นให้เห็นกันบางตา และตัดกับเส้นขอบฟ้า ทำให้ดูแปลกตาดี และให้รู้ว่าเริ่มออกจากตัวเมืองกรุงเทพฯ แล้ว จังหวัดนครปฐมปฐมแห่งพระพุทธศาสนาเป็นจังหวัดที่มีมายาวนาน ตั้งแต่สมัยแผ่นดินสุวรรณภูมิ จังหวัดนครปฐม แต่เดิมตั้งอยู่ริมทะเล เป็นเมืองเก่าแก่ มีความเจริญรุ่งเรืองมาก สมัยสุวรรณภูมิ และเป็นราชธานีที่สำคัญในสมัยทวารวดีในยุคนั้น นครปฐมเป็นแหล่งเผยแพร่พระพุทธศาสนาที่สำคัญของประเทศอินเดีย นครปฐมจึงเป็นศูนย์กลางความเจริญของชนชาติต่างๆ ที่พากันอพยพมาตั้งถิ่นฐานกันมากมายหลังจากนั้น นครปฐมเกิดความแห้งแล้งเป็นอย่างมาก เพราะกระแสน้ำที่ไหลผ่านเข้ามาในตัวเมืองเปลี่ยนเส้นทาง ประชาชนจึงอพยพไปตั้งถิ่นฐานใหม่อยู่ริมแม่น้ำ และได้สร้างเมืองใหม่มีชื่อว่า “เมืองนครชัยศรี” หรือ “ศรีวิชัย” นครปฐมจึงกลายมาเป็นเมืองร้างอยู่หลายร้อยปี จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะที่ทรงผนวชได้ธุดงค์ไปพบองค์พระปฐมเจดีย์ และทรงเห็นว่าเป็นองค์เจดีย์ใหญ่ไม่มีใครเทียบเท่าหลังจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์ ทรงโปรดฯ ให้ก่อเจดีย์แบบลังกาครอบองค์เดิมไว้โดยใช้ชื่อว่า “พระปฐมเจดีย์” ทรงปฏิสังขรณ์สิ่งต่างๆ รอบองค์พระปฐมเจดีย์ให้อยู่ในสภาพดี และโปรดฯ ให้ขุดคลองเจดีย์บูชา เพื่อให้การเสด็จมานมัสการสะดวกขึ้นต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเริ่มก่อสร้างทางรถไฟสายใต้ผ่านเมืองนครปฐม ซึ่งขณะนั้นยังเป็นป่ารก พระองค์จึงโปรดฯ ให้ย้ายเมืองจากตำบลท่านา อำเภอนครชัยศรี มาตั้งที่ บริเวณองค์พระปฐมเจดีย์เหมือนครั้งในสมัยโบราณครั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างพระราชวังสนามจันทร์ขึ้น เป็นที่เสด็จแปรพระราชฐานและฝึกซ้อมรบแบบเสือป่า โดยโปรดฯ ให้ตัดถนนเพิ่มขึ้นอีกหลายเส้นทาง รวมทั้งสร้างสะพานเจริญศรัทธาข้ามคลองเจดีย์ ตลอดจนสร้างพระร่วงโรจนฤทธิ์ทางด้านทิศเหนือขององค์พระปฐมเจดีย์ และบูรณะองค์พระปฐมเจดีย์ให้สมบูรณ์ สวยงามดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน และทรงโปรดฯ ให้เปลี่ยนชื่อจาก “นครชัยศรี” เป็น “นครปฐม”[2]

พระปฐมเจดีย์[แก้]

ไฟล์:พระปฐม.jpg
องค์พระปฐมเจดีย์ในสมัยรัชกาลที่ 5

พระปฐมเจดีย์ หรือเดิมเรียกว่า พระธมเจดีย์ มีฐานะเป็นมหาธาตุหลวง ของแผ่นดินสุวรรณภูมิทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชวินิจฉัยว่า พระธมเจดีย์องค์นี้ อาจเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้น เมื่อคราวที่พระสมณทูต ในพระเจ้าอโศกมหาราชเดินทางมาเผยแผ่ศาสนายังสุวรรณภูมิ ก็เป็นได้ เพราะพระเจดีย์เดิม มีลักษณะทรงโอคว่ำ หรือทรงมะนาวผ่าซีก แบบเดียวกับพระสถูปสาญจีแต่ปรากฏว่ามียอดเป็นแบบปรางค์ซึ่งพระองค์ฯ มีพระราชวินิจฉัยว่า อาจมีเจ้านายพระองค์ใดมาบูรณะไว้ก็เป็นได้ ซึ่งตรงกับความในศิลาจารึกหลักที่ 2 (ศิลาจารึกวัดศรีชุม) ของ พระมหาเถรศรีศรัทธาฯ อันได้กล่าวไว้ว่า พระมหาเถรศรีศรัทธาฯ ท่านทรงได้แวะมาบูรณะพระธมเจดีย์องค์นี้ ก่อนที่ท่านจะเดินทางกลับเมืองราดเมื่อคราวที่ท่านเสด็จกลับจากศึกษาพระพุทธศาสนาที่ลังกา ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานนามใหม่ว่า พระปฐมเจดีย์ ด้วยทรงเชื่อ ว่านี่คือเจดีย์แห่งแรกของสุวรรณภูมิ นั่นเอง

ในเรื่องนี้นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีบางท่าน ได้ระบุว่า พระปฐมเจดีย์ไม่ได้เป็นเจดีย์ที่เก่าที่สุดของสุวรรณภูมิ แต่เป็น พระมหาธาตุหลวง ในยุคทวารวดี มากกว่า เนื่องด้วยเหตุผลประกอบหลายประการ โดยเฉพาะ การค้นพบเจดีย์ ที่มีอายุเก่าแก่กว่าพระธมเจดีย์ และหลักฐานลายลักษณ์อักษร ที่ระบุว่า " พระเจดีย์องค์นี้ เดิม ขอมเรียก พระธม " ซึ่งไม่ว่าจะเป็นชาวขอมจริงๆ หรือชาวลวรัฐ ซึ่งสมัยนั้นเราก็เรียกว่าขอม เช่น ขอมสบาดโขลญลำพง คำว่า ธม สำหรับชาวขอมนั้น แปลว่า ใหญ่ ตรงกับคำเมืองว่า หลวง ซึ่งเราก็เรียกพระนครธมว่า พระนครหลวง ด้วยเหตุผลเดียวกัน

นอกจากนี้พระบรมราชสรีรางคาร รัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวบรรจุที่ฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์ พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม และฐานพระพุทธชินสีห์ วัดบวรนิเวศวิหาร ตามที่มีพระบรมราชโองการสั่งไว้ในพระราชพินัยกรรม ต่อมา ในพุทธศักราช พ.ศ. 2529|2529 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช|พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญพระอังคารของ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีในรัชกาลที่ 6 ไปบรรจุไว้เคียงข้างพระบรมราชสรีรางคารรัชกาลที่ 6 ที่ใต้ฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์ ต่อมา ใน พุทธศักราช พ.ศ. 2555|2555 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระสรีรางคาร ของ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ไปบรรจุไว้เคียงข้างพระบรมราชสรีรางคารรัชกาลที่6 และพระราชสรีรางคารพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ที่ใต้ฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์

พุทธมณฑล[แก้]

พุทธมณฑล เป็นสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนา ตั้งอยู่ที่ตำบลศาลายา มีพื้นที่ประมาณ 2,500 ไร่ พุทธมณฑลเป็นสถานที่ซึ่งรัฐบาล และประชาชนชาวไทยร่วมใจกันจัดสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2500 เนื่องในโอกาสที่พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาได้ถึง 2,500 ปี บริเวณจุดศูนย์กลางของพุทธมณฑล เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางลีลา เป็นพระประธานของพุทธมณฑลมีความสูง 2,500 กระเบียด (ประมาณ 15.875 เมตร) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานนามว่า “พระศรีศากยะทศพลญาณประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์” รอบองค์พระประธานเป็นสถานที่จำลองของสังเวชนียสถาน 4 ตำบล คือ ตำบลอันเป็นที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน นอกจากนี้ยังมีศาสนสถานที่สำคัญอื่น ๆ ได้แก่ พระวิหารพุทธมณฑล ตำหนักสมเด็จพระสังฆราช และที่พำนักสงฆ์อาคันตุกะ หอประชุมทางกิจการพระพุทธศาสนา ศาลาปฏิบัติกรรมฐาน พิพิธภัณฑ์ทางพุทธศาสนา หอสมุดพระพุทธศาสนา สวนไม้ดอกไม้ประดับต่าง ๆ และในปัจจุบันใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีในวันสำคัญทางศาสนา อาทิ วันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา วันอาสาฬหบูชา เป็นต้น

พระราชวังสนามจันทร์[แก้]

พระราชวังสนามจันทร์ มีพื้นที่ประมาณ 888 ไร่ 3 งาน 24 ตารางวา ใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ซื้อจากชาวบ้านในราคาสูง เดิมที่นี้สมัยโบราณเรียกว่า " เนินปราสาท" เคยเป็นที่ตั้งของ วังโบราณ และยังมีสระน้ำที่อยู่ด้านหน้าและปัจจุบันก็ยังอยู่คือ " สระน้ำจันทร์" ซึ่งเป็นที่มาของชื่อพระราชวังสนามจันทร์ เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2450 โดยหลวงพิทักษ์มานพ (น้อย ศิลปี) ซึ่งต่อมาเลื่อนยศเป็นพระยาศิลป์ประสิทธิ์ เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่ง พระตำหนัก ซึ่งได้พระราชทานนามไว้อย่างไพเราะคล้องจองกันคือ พระที่นั่งพิมานปฐม พระที่นั่งอภิรมย์ฤดี เป็นพระที่นั่งเมื่อแรกสร้าง 2 พระที่นั่ง พระราชทานนามตามประกาศลงวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2454 พระที่นั่งวัชรีรมยา พระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำพิธียกพระมหาเศวตฉัตรขึ้นประดิษฐานเหนือพระแท่นรัตนสิงหาสน์ ภายในพระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2466 ปราสาทศรีวิไชย (ไม่ได้สร้าง) เทวาลัยคเณศร์ ศาลาธรรมุเทศน์โอฬาร (ไม่ได้สร้าง) พระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนย พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ พระตำหนักมารีราชรัตบัลลังก์ พระตำหนักทับแก้ว และตำหนักทับขวัญ

นอกจากนี้ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานโยงแห่งแรกขึ้น ณ ที่นี้ด้วย คือ สะพานจักรียาตราและสะพานรามประเวศน์ และยังมีสะพานคอนกรีตอีกสองสะพานได้แก่ สะพานนเรศวรจรลีและสะพานสุนทรถวาย นอกจากนั้นยังมีเรือนข้าราชบริพารอีกหลายเรือน เช่น เรือนพระนนทิการ เรือนพระธเนศวร และเรือนทับเจริญ เป็นต้น อาคารและสิ่งก่อสร้างในพระราชวังสนามจันทร์ดังกล่าวล้วนมีความงดงามและมี ลักษณะเฉพาะตัวที่น่าสนใจซึ่งทำให้พระราชวังสนามจันทร์เป็นพระราชวังที่มี ความงดงามทางสถาปัตยกรรมอย่างยิ่ง ทั้งนี้ นอกจากจะใช้เป็นที่แปรพระราชฐานแล้ว ยังทรงใช้เป็นที่ว่าราชการ เลี้ยงรับรองพระราชอาคันตุกะอย่างเป็นทางการทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ และยังมีพระราชประสงค์ที่จะทรงใช้พระราชวังแห่งนี้เป็นค่ายหลวงเพื่อซ้อมรบเสือป่าและฝึกหัดพลเมืองให้รู้จักการรักษาป้องกันประเทศด้วยและยังเป็นสถานที่ ที่ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมหลายเรื่อง ในปัจจุบันอยู่ในความดูแลของสำนักพระราชวังซึ่งได้เปิดให้เข้าชม พระที่นั่งพิมานปฐมและห้องพระเจ้าภายในพระที่นั่งพิมานปฐม พระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์ เทวาลัยคเณศร์ พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ พระตำหนักมารีราชรัตบัลลังก์ พระตำหนักทับขวัญ และอนุสาวรีย์ย่าเหล

พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย[แก้]

พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย ตั้งอยู่เลขที่ 43/2 หมู่ 1 ถนนบรมราชชนนี (ปิ่นเกล้า-นครชัยศรี) กิโลเมตรที่ 31 ตำบลขุนแก้ว เป็นสถานที่จัดแสดงหุ่นขี้ผึ้งไฟเบอร์กลาส ซึ่งมีความสวยงามและเหมือนจริงให้ความรู้สึกนุ่มนวล ซึ่งเป็นผลงานสร้างสรรค์ของคุณดวงแก้ว พิทยากรศิลป์และกลุ่มศิลปินไทย ซึ่งใช้เวลาค้นคว้าทดลองกว่า 10 ปี โดยมีวัตถุประสงค์ในอันที่จะส่งเสริม เผยแพร่และอนุรักษ์ไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของไทย ก่อตั้งโครงการเมื่อปีพ.ศ.2525 เปิดเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2532

ภายในอาคารแบ่งออกเป็น 2 ชั้น ชั้นล่าง จัดเป็นห้องแสดงถาวรจำนวน7 ห้องประกอบด้วยหุ่นชุดต่างๆ ได้แก่ ชุดพระอริยสงฆ์ ชุดพระบรมรูปอดีตพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี และชุดมุมหนึ่งของชีวิต เป็นการแสดงชุดหมากรุกไทย ชุดครอบครัวไทย ชุดเลิกทาส เป็นต้น ชั้นบน จัดเป็นห้องแสดงนิทรรศการชั่วคราวชุดต่างๆหมุนเวียนตามความเหมาะสม ปัจจุบันจัดแสดงเรื่องชุดครูเพลงไทย ชุดบุคคลสำคัญของโลก ชุดวรรณคดีไทย พระอภัยมณีของสุนทรภู่ ชุดการละเล่นของเด็กไทย ชุดประวัติศาสตร์ไทย พิพิธภัณฑ์ฯ เปิดบริการทุกวันไม่เว้นวันหยุด (จันทร์-ศุกร์ เปิดตั้งแต่เวลา09.00-17.30 น. วันเสาร์-อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เปิดเวลา 08.30-18.00 น.) อัตราค่าเข้าชม คนไทย 50 บาท นักศึกษาในเครื่องแบบและพระภิกษุ 20 บาท นักเรียนอนุบาล-ม.6 และ เด็ก(สูงไม่เกิน130 ซม.) 10บาท ชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่200 บาท เด็ก 100 บาท

สวนสามพราน[แก้]

สวนสามพราน เป็นสถานที่พักผ่อนตั้งอยู่ริมถนนเพชรเกษม ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 32 กิโลเมตร อยู่ติดแม่น้ำนครชัยศรี มีเนื้อที่ประมาณ 137.5 ไร่ ภายในจัดแต่งเป็นสวนดอกไม้นานาชนิด หมู่บ้านไทย และบางส่วนเป็นโรงแรม ที่พัก และสนามกอล์ฟ นอกจากนี้ในช่วงตั้งแต่เวลา 10.00-12.00 น. มีกิจกรรมวิถีไทย 12 กิจกรรม ให้เลือกทดลองทำด้วยตัวเอง เช่น การปั้นเครื่องปั้นดินเผา, การร้อยมาลัย, การแกะสลักผลไม้ ฯลฯ ส่วนในช่วงบ่ายเป็นการแสดงทางวัฒนธรรมพื้นบ้านให้ชมเป็นประจำทุกวัน สวนสามพรานเปิดให้เข้าชมตั้งแต่เวลา 08.00-18.00 น. อัตราค่าผ่านประตูเข้าชมสวน ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท ค่าบัตรผ่านประตูรวมค่าเข้าชมการแสดงต่าง ๆ คนไทย 250 บาท และชาวต่างประเทศ 430 บาท

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์[แก้]

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ ตั้งอยู่ในบริเวณองค์พระปฐมเจดีย์ด้านทิศใต้เป็นอาคารทรงไทยประยุกต์ 2 ชั้น โบราณวัตถุที่รวบรวมได้ในระยะแรกได้ถูกนำมาเก็บรักษาไว้ที่ระเบียงคตรอบองค์พระปฐมเจดีย์ กระทั่ง พ.ศ. 2454 จึงได้ย้ายไปไว้ในวิหารตรงข้ามพระอุโบสถ ซึ่งต่อมาเรียกว่า พระปฐมเจดีย์พิพิธภัณฑสถาน ( ปัจจุบันยังคงเป็นพิพิธภัณฑสถานในความดูแลของวัดพระปฐมเจดีย์) พ.ศ. 2477 ได้ยกฐานะเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในความดูแลของกรมศิลปากร และเมื่อจำนวนโบราณวัตถุเพิ่มมากขึ้น อาคารหลังเดิมคับแคบ ต่อมาในปี พ.ศ. 2510 กรมศิลปากรได้รับงบประมาณให้สร้างอาคารพิพิธภัณฑสถานหลังปัจจุบันขึ้น และเคลื่อนย้ายโบราณวัตถุจากหลังเดิมมาจัดแสดงไว้ที่นี่ โดยโบราณวัตถุส่วนใหญ่เป็นหลักฐานในวัฒนธรรมทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 12-16) การจัดแสดงแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 แนะนำลักษณะทั่วไปของจังหวัดนครปฐม ประวัติความเป็นมาของดินแดนแห่งนี้ การตั้งถิ่นฐานของชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ การติดต่อรับพุทธศาสนาและวัฒนธรรมจากอินเดียเข้ามาผสมผสานกับความเชื่อและวัฒนธรรมท้องถิ่น ภาพปูนปั้นรูปชาวต่างประเทศ ศิลาจารึกที่พบบริเวณเมืองโบราณนครปฐม ส่วนที่ 2 เสนอเรื่องราวด้านศาสนาและความเชื่อของชุมชนทวารวดีที่นครปฐมสะท้อนผ่านงานศิลปกรรมประเภทต่างๆ โบราณวัตถุที่จัดแสดงในส่วนนี้ประกอบด้วย ชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมและประติมากรรมประเภทต่าง ๆ เช่น พระพุทธรูป ภาพสลักเล่าเรื่องพุทธประวัติ ภาพปูนปั้นเรื่องชาดกประดับฐานเจดีย์และธรรมจักร ส่วนที่ 3 เรื่องราวของนครปฐมหลังความรุ่งเรืองสมัยทวารวดี จนถึงสมัยที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ โปรดเกล้าให้ปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์ และเป็นงานสำคัญที่สืบเนื่องต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นช่วงที่นครปฐมได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นมณฑลนครชัยศรี และในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ก่อสร้างพระราชวังสนามจันทร์ขึ้น เมืองนครปฐมได้รับการพัฒนาเรื่อยมา วันทำการ เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00 น. - 16.00 น. ค่าธรรมเนียมเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 30 บาท การบริการ บริการนำชมสำหรับหมู่คณะ ร้านจำหน่ายหนังสือและของที่ระลึก การเดินทาง จากกรุงเทพฯ ขับมุ่งตรงสู่ จ.นครปฐม โดยท่านจะผ่านแยกนครชัยศรี (ท่านา) และผ่านแยกบ้านแพ้ว และจะรอดใต้สะพานเข้าตัวเมืองนครปฐม (ไม่ต้องขึ้นสะพานนะครับ) จากนั้นขับตรงไปจะพบกับไฟแดงแรก จะมีป้ายบอกเลี้ยวขวาไปองพระปฐมเจดีย์ท่านสามารถไปทางนี้ก็ได้นะครับ (หลักกม.ที่56.3) จะพบกับสี่แยกไฟแดงหนึ่ง ซึ่งทะลุกับองค์พระปฐมเจดีย์ หรือถ้าท่านจะขับขึ้นสะพานลอยเข้าเมืองมาก็ไดเช่นกัน หลังจากลงสะพานลอยแล้วขับตรงมาเรื่อย ๆ ประมาณ 1 กม. จะพบประตูทางเข้าองค์พระปฐมเจดีย์เช่นกัน

ตลาดท่านา[แก้]

ตลาดท่านา หรือตลาดนครชัยศรี อยู่ในตัวอำเภอนครชัยศรี เป็นตลาดทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ นับเป็นตลาดเก่าแก่ที่ตั้งอยู่คู่วิถีชีวิตชาวบ้านมากว่า 140 ปี ตลาดชุมชนท่านาแห่งนี้ ยังคงอนุรักษ์บ้านไม้เก่า 2 ชั้น ซึ่งมีอายุกว่า 90 ปี เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ชื่นชม จุดเริ่มต้นการสร้างรากฐานความเจริญของตลาดท่านา เริ่มตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น หรือสมัยรัชกาลที่ 1 มีผู้คนอพยมาอาศัยในพื้นที่บริเวณนี้ และต่อมาในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 พื้นที่ตลาดท่านาแห่งนี้กลายเป็นชุมชนค้าขาย สร้างอาคารเรือน 2 ชั้น โอบล้อมตลาดสดให้เป็นโรงฝิ่นในสมัยนั้น ร่วมถึงการสร้างสะพานรวมเมฆข้ามแม่น้ำท่าจีนด้วย ที่มาของตลาดท่านา เนื่องจากพื้นที่บริเวณแห่งนี้ถูกปกคลุมด้วยพื้นที่ปลูกข้าวทำนา รวมถึงเป็นท่าเรือขนส่งสินค้ารวมถึงเป็นท่าขึ้นข้าวในอดีต ปัจจุบันตลาดท่านาเป็นตลาดโบราณย่านชุมชนริมน้ำที่น่าท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดนครปฐม อาคารร้านตลาดสร้างด้วยไม้ ยังอนุรักษ์รูปแบบเดิมไว้ ป็นแหล่งร้านอาหารริมน้ำและย่านจำหน่ายของกินอร่อย ๆ มากมาย อาทิ ส้มตำ ผัดไทย เป็ดพะโล้ ขนมปังเย็น ปลากริมไข่เต่า บัวลอย รวมถึงผลไม้มากมายโดยเฉพาะ ส้มโอนครชัยศรี ในช่วงเย็นบริเวณริมน้ำท่าจีนบรรยากาศจะร่มรื่นมาก เหมาะสำหรับการพักผ่อน และให้อาหารปลาบริเวณริมน้ำท่าจีน

วัดไผ่ล้อม[แก้]

วัดไผ่ล้อมเป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ 2 ถนนเทศา ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม มีเนื้อที่ 13 ไร่ - งาน 84 ตารางวา ตามหนังสือ โฉนดเลขที่ 7026 มีอาณาเขตดังนี้คือ ทิศเหนือ จรด ศาลจังหวัดนครปฐม ทิศใต้จรดโรงเรียนวัดไผ่ล้อม ทิศตะวันออก จรด โฉนดที่ดินเลขที่ 7027 ทิศตะวันตกจรดถนนสาธารณะของเทศเมืองนครปฐม วัดไผ่ล้อมเดิม สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 สันนิษฐานกันว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาล ที่ 4 มี ความเลื่อมใสในบวรพุทธศาสนา ได้เกณฑ์ชาวมอญที่ได้อยู่ใต้โพธิสมภาร มาช่วยกันบูรณองค์พระปฐมเจดีย์ และชาวมอญเหล่านี้ได้มาพักอายอยู่ ณ บริเวณสวนป่าไผ่ใกล้องค์พระปฐมเจดีย์ ห่างกันประมาณ 500เมตร ในกาลต่อมาดงไผ่ที่ขึ้นหนาทึบและที่อยู่อาศัยร้างผู้คนเป็นที่สงบร่มเย็นพระภิกษุผู้แสวงหาธรรมจาริกมาพบ เห็นเข้า เป็นที่วิเวก จึงได้ปักกลดลดบริขารง บำเพ็ญสมณธรรม รูปแล้วรู)เล่าและก็จากไปเป็นอยู่อย่างนี้เรื่อยๆต่อ มาชาวบ้าน ละแวกนั้นเห็นว่าสถานที่บริเวณนี้สมควรตั้งเป็นสำนักสงฆ์ จึงได้อราธนาพระภิกษุจากวัดพระปฐมเจดีย์ มาจำพรรษา แต่ก็ได้เป็นนชั่วครั้งชั่วคราว ขณะเดียวกันยังมีชาวไทยเชื้อสายมอญหลงเหลืออยู่อาศัยในถิ่นนี้และมีศรัทธาแรงกล้าในการบวชพุทธศาสนา จึง สันนิษฐานกันว่าแต่เดิมบรเวณนี้เป็นดงไผ่หนาทึบ กระทั่งพระภิกษุที่อยู่พรรษาที่ก่อสร้างเสนาสนะ และมีผู้คน เข้ามา อยู่อาศัยมากขึ้นต้นไผ่ที่เคยหนาทึบ ได้ถูกชาวบ้านหักล้าง ถางฟันจนหมดเพื่อไปทำที่อยู่อาศัย แทบจะหาต้น ไผ่หลง เหลืออยู่น้อยมาก จะมีอยู่บ้างก็บริเวณรอบๆ วัดเท่านั้น และได้กลายมาเป็นชื่อวัดไผ่ล้อมจนมาถึงปัจจุบันนี้กาลสมัยต่อมา วัดไผ่ล้อมร้างขาดเจ้าอาวาสอยู่นาน กระทั่งปี พ.ศ 2486 ทางคณะสงฆ์จึงได้แต่ง ตั้งพระอาจารย์พูล อตตรกโข ซึ่งขณะนั้นจำพรรษาอยู่วัดพระงาม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ขึ้นดำรงตำแหน่งรักษาการแทนเจ้าอาวาสและต่อมา เมื่อสันที่ 12 พฤษภคม พ.ศ. 2492 ท่านจึงได้รับการแต่งตั้ง ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม ยังไม่มีอุโบสถ ไว้ประกอบสังฆกรรมพระอาจารย์พูลจึงปรึกษากับพระเถระผู้ใหญ่ ซึ่งมีพระราชธรรมาภรณ์(หลวงพ่อเงิน) วัดดอนยายหอม จังหวัดนครปฐม และญาติโยมผู้มีจิตศัทธาทั่วไปร่วมกันสร้างอุโบสถขึ้นโดยเริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ.2490 กว่าจะแล้วเสร็จต้องใช้เวลาถึง 3 ปี พระอาจารย์พูล ยังได้ดำเนินการสร้างเสนาสนะให้วัดไผ่ล้อม มีความเจริญ ทางถาวรวัตถุอย่างมากมายหลายประการ อาทิ ศาลาการเปรียญ โรงเรียนปริยัติธรรม ศาลาฌาปนสถาน ศาลาปฏิบัติ ธรรมกลางน้ำ หอระฆัง กุฎิสงฆ์ โรงเรียนวัดไผ่ล้อม จนมาถึงในยุคปัจจุบัน ปัจจุบัน ลูกศิษย์ และนักท่องเที่ยว จะเข้านมัสการพระพุธรูปภายในโบสถ์ เพื่อขอพรและความเป็นศิริมงคล จากหลวงพ่อ ภายในโบสถ์อันสวยงามของวัดไผ่ล้อม และที่ขาดไม่ได้จะเข้านมัสการรูปปั้นของหลวงพ่อพูล และร่างของท่านในโลงแก้ว

ถนนคนเดินนครปฐม[แก้]

ถนนคนเดินนครปฐม ถนนคนเดินทวารวดีศรีนครปฐม ชุมชนหน้าวัดพระงาม ตั้งอยู่ทางทิศเหนือขององค์พระปฐมเจดีย์ บนถนนหน้าวัดพระงาม และคลองเจดีย์บูชา ถนนเส้นนี้ปกติจะเป็นถนนที่ใช้สัญจรไปมาในช่วงเวลากลางวัน แต่หากเป็นช่วงวันเสาร์ วันอาทิตย์ ถนนเส้นนี้จะถูกปิดเพื่อให้พ่อค้าแม่ค้านำสินค้ามาจำหน่ายมากมาย ไม่ว่าจะเป็นของกิน ของใช้ ของมือสอง พระเครื่อง ของตกแต่งบ้าน รองเท้า กระเป๋า ต้นไม้ ของเล่น มากมาย ถนนคนเดิมนครปฐมจะเริ่มในช่วงเวลา 17.00 น. - 22.00 น. คนจะเยอะมาก บริเวณหน้าทางเข้าจะมีเฉพาะที่จอดรถจักรยานยนต์ ส่วนรถยนต์ให้ไปจอดฝั่งตรงข้ามกับคลองเจดีย์บูชา ร้านค้าจะตั้งเป็นแถว 3 ล็อค ยาวประมาณ 600 เมตร จึงทำให้ถนนคนเดินนครปฐมคึกคักมาก เพราะไฟที่ประดับในถนนคนเดินนครปฐมเป็นสิ่งล่อตาล่อใจดึงดูดให้คนเข้ามาเดินเที่ยว เข้ามาจับจ่ายใช้สอยในถนนคนเดินนครปฐมแห่งนี้

ตลาดน้ำดอนหวาย[แก้]

ตลาดน้ำดอนหวายอยู่ใกล้กับวัดดอนหวาย อำเภอสามพราน ภายในตลาดน้ำจะมี อาหารและขนมจำหน่ายมากมาย จนทำให้สถานทีดูคับคั่งไปด้วยผู้คนอันมากมาย มีเรือบริการชมวิวสองฝั่งแม่น้ำท่าจีน ท่านจะได้พบกับบ้านทรงไทยหลาย ๆ แบบที่หาชมได้น้อยมากในปัจจุบัน และสามารถชมบรรยากาศ อันร่มรื่นและการดำเนินชีวิตของชาวบ้านสองริมฝั่งแม่น้ำท่านจีน การเดินทาง จากกรุงเทพฯ วิ่งมาตามถนนเพชรเกษมผ่านบางแค อ้อมน้อย อ้อมใหญ่ ลานแสดงช้างและ ฟาร์มจระเข้สามพราน สวนสามพราน พอเลยสวนสามพรานมาให้สังเกตทางด้านขวามือจะเห็นป้ายบอกว่าวัดไร่ขิง ให้ท่านกลับรถเพื่อวิ่งเข้าไปทางวัดไร่ขิง พอถึงวัดไร่ขิงเลยไปประมาณ 3 กม. ท่านก็จะเห็นสถานที่จอดรถของตลาดน้ำดอนหวาย

อ้างอิง[แก้]

สถานที่ท่องเที่ยวนครปฐม