ผีเสื้อขอบปีกเลื่อยจุดแดง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ผีเสื้อขอบปีกเลื่อยจุดแดง
ผีเสื้อขอบปีกเลื่อยจุดแดงกำลังกินโป่ง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์ขาปล้อง
ชั้น: แมลง
อันดับ: ผีเสื้อ
วงศ์: Pieridae
สกุล: Prioneris
(Boisduval, 1836)[1]
สปีชีส์: Prioneris philonome
ชื่อทวินาม
Prioneris philonome
(Boisduval, 1836)[1]
ชื่อพ้อง
  • Pieris philonome Boisduval, 1836
  • Prioneris vollenhovii Wallace, 1867
  • Prioneris clemanthe themana Fruhstorfer, 1903

ผีเสื้อขอบปีกเลื่อยจุดแดง[2] (อังกฤษ: Red-spot Sawtooth) เป็นแมลงจำพวกผีเสื้อชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Prioneris philonome อยู่ในวงศ์ผีเสื้อหนอนกะหล่ำ (Pieridae)[3] พบกระจายพันธุ์ในเขตนิเวศอินโดมาลายา[4]

ลักษณะเป็นผีเสื้อที่ปีกด้านบนมีสีขาว มีเส้นปีกลายสีดำพาดสลับตามยาว ที่ปีกด้านล่างคล้ายกันกับปีกด้านบน ปีกคู่หลังมีสีเหลือง เกือบทั่วปีกด้านหลัง บริเวณโคนปีกแต้มด้วยสีแดงสด มีหนวดสองเส้น ตั้งตรงเป็นรูปตัว V มีลำตัวยาวประมาณ 80–90 มิลลิเมตร จึงจัดเป็นผีเสื้อที่ขนาดยาวมากชนิดหนึ่ง กินอาหารที่เป็นของเหลว เช่น เศษใบไม้ น้ำหวานจากดอกไม้ โดยใช้ปากที่เป็นหลอดดูดเพื่อดูดกินอาหาร

มีพฤติกรรมมักอาศัยอยู่ตามที่โล่งแจ้ง ตามชายป่า สวนดอกไม้ทั่วไป เป็นผีเสื้อที่ไม่ชอบอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม พบเห็นได้ทั่วไป หากินตามบริเวณพื้นดินมากกว่าบนต้นไม้ ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค

สายพันธุ์ย่อย[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Boisduval, Jean Alphonse; Guenée, Achille Boisduval (1836). Histoire naturelle des insectes; spécies général des lépidoptères (ภาษาฝรั่งเศส). Vol. t. 1. Paris: Roret. pp. 1–24.
  2. "ผีเสื้อขอบปีกเลื่อยจุดแดง". ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ. สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 มกราคม 2023.
  3. Häuser C., Holstein J., Kroupa A.S., Steiner A. & Turiault M. (บ.ก.). (2019). GloBIS (GART): Global Butterfly Information System (version กันยายน 2013). ใน Species 2000 & ITIS Catalogue of Life, 2019 Annual Checklist (Roskov Y., Ower G., Orrell T., Nicolson D., Bailly N., Kirk P.M., Bourgoin T., DeWalt R.E., Decock W., Nieukerken E. van, Zarucchi J., Penev L., บ.ก.). Digital resource at www.catalogueoflife.org/annual-checklist/2019. Species 2000: Naturalis. Leiden: the Netherlands. ISSN 2405-884X.
  4. Seitz, Adalbert (1927) [1908]. Die Grossschmetterlinge des Indo-australischen Faunengebietes. Die Gross-Schmetterlinge der Erde, Abteilung, Fauna Exotica, 9. Band, Fauna indo-australica (ภาษาเยอรมัน). Stuttgart: Alfred Kernen Verlag. OCLC 1156337322.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]