เปลือกโลก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ผิวโลก)
แผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่[1]
Shows the extent and boundaries of tectonic plates, with superimposed outlines of the continents they support
ชื่อ พื้นที่
106 กม.2
103.3
78.0
75.9
67.8
60.9
47.2
43.6
ภาพหน้าตัดของโลกทั้งหมด

เปลือกโลก (อังกฤษ: Earth's crust) เป็นเปลือกแข็งชั้นนอกสุดของโครงสร้างโลกและเป็นส่วนประกอบชั้นบนสุดของธรณีภาค (เปลือกโลกกับเนื้อโลกชั้นบน)[3] มีมวลคิดเป็น 1% ของปริมาตรโลกทั้งหมด เปลือกโลกมีลักษณะที่แตกแยกออกจากกันเป็นแผ่นเพื่อที่จะสามารถระบายความร้อนจากภายใต้สู่อวกาศ

เปลือกโลกลอยตัวบนเนื้อโลก สัณฐานมีสเถียรภาพเนื่องจากเนื้อโลกชั้นบนส่วนมากประกอบด้วยเพริโดไทต์ที่มีความหน่าแน่นกว่าองค์ประกอบของเปลือกโลก ในทางธรณีวิทยาเรียกรอยต่อระหว่างเปลือกโลกและเนื้อโลกว่าความไม่ต่อเนื่องของโมโฮโลวิคซิค เขตแดนที่ใช้เปรียบเทียบพฤติกรรมของคลื่นไหวสะเทือน

อุณหภูมิของเปลือกโลกจะแปรผันตรงกับความลึกของเปลือกโลก[4] โดยมีอัตตราส่วนอยู่ที่ 30 องศาเซลเซียสต่อ 1 กิโลเมตร[5] หากขอบเขตนั้นมีเนื้อโลกอยู่ข้างใต้อุณหภูมิจะเริ่มตั้งแต่ประมาณ 100 ถึง 600 องศาเซลเซียส

องค์ประกอบ[แก้]

เปลือกโลกมีสองชนิด:

  1. เปลือกโลกภาคพื้นทวีป: หนาประมาณ 30 ถึง 50 กิโลเมตร ประกอบหินที่มีความหนาแน่นน้อยอย่างพวกเฟลสิก เช่น หินแกรนิต
  2. เปลือกโลกภาคพื้นสมุทร: หนาประมาณ 5 ถึง 10 กิโลเมตร[6] ประกอบหินที่มีความหนาแน่นอย่างพวกเมฟิก เช่น หินบะซอลต์ หินไดอะเบส และหินแกบโบร

ความหนาเฉลี่ยของเปลือกโลกอยู่ที่ระหว่าง 15 ถึง 20 กิโลเมตร

เปลือกโลกภาคพื้นทวีปและเปลือกโลกภาคพื้นสมุทรมีความหนาแน่นน้อยกว่าชั้นเนื้อโลกทำให้สามารถ "ลอยตัว" อยู่ได้ เปลือกโลกภาคพื้นทวีปตั้งอยู่บนเปลือกโลกภาคพื้นสมุทรอย่างมีนัยยะสำคัญ อันเนื่องมากจากเปลือกโลกภาคพื้นทวีปมีความหนาแน่นน้อยกว่าและหนากว่า ทำให้เกิดเป็นทวีปต่าง ๆ ที่ถูกล้อมลอบด้วยแอ่งมหาสมุทร[7]

เปลือกโลกภาคพื้นทวีปมีองค์ประกอบโดยเฉลี่ยคล้ายคลึงกับแอนดีไซต์[8] เปลือกโลกภาคพื้นทวีปสามารถแบ่งเป็นสองชั้นได้ตามองค์ประกอบคือ เปลือกโลกภาคพื้นทวีปชั้นบน จะมีองค์ประกอบหลักเป็นพวกเฟลสิกคล้ายกับหินเดไซต์ ส่วน เปลือกโลกภาคพื้นทวีปชั้นล่าง จะมีองค์ประกอบหลักเป็นพวกเมฟิกคล้ายหินบะซอลต์[9] แร่ที่พบมากที่สุดในเปลือกโลกภาคพื้นทวีปคือเฟลด์สปาร์คิดเป็น 41% ของน้ำหนักเปลือกโลก ต่อมาคือควอตซ์ที่คิดเป็น 12% และไพรอกซีนที่คิดเป็น 11% [10]

ธาตุที่พบมากในเปลือกโลก % ของน้ำหนักโดยประมาณ ออกไซด์ % ของน้ำหนักออกไซด์โดยประมาณ
O 46.6
Si 27.7 SiO2 60.6
Al 8.1 Al2O3 15.9
Fe 5.0 Fe as FeO 6.7
Ca 3.7 CaO 6.4
Na 2.7 Na2O 3.1
K 2.6 K2O 1.8
Mg 1.5 MgO 4.7
Ti 0.44 TiO2 0.7
P 0.10 P2O5 0.1

องค์ประกอบอื่น ๆ ทั้งหมดยกเว้นน้ำเกิดขึ้นในปริมาณที่น้อยมากและรวมกันได้น้อยกว่า 1%[11]

อ้างอิง[แก้]

  1. Brown, W. K.; Wohletz, K. H. (2005). "SFT and the Earth's Tectonic Plates". Los Alamos National Laboratory. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-17. สืบค้นเมื่อ 2007-03-02.
  2. Including the Somali Plate, which is being formed out of the African Plate. See: Chorowicz, Jean (October 2005). "The East African rift system". Journal of African Earth Sciences. 43 (1–3): 379–410. Bibcode:2005JAfES..43..379C. doi:10.1016/j.jafrearsci.2005.07.019.
  3. Robinson, Eugene C. (January 14, 2011). "The Interior of the Earth". U.S. Geological Survey. สืบค้นเมื่อ August 30, 2013.
  4.  Peele, Robert (1911). "Boring" . ใน Chisholm, Hugh (บ.ก.). สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 4 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. p. 251.
  5. Philpotts, Anthony R.; Ague, Jay J. (2009). Principles of igneous and metamorphic petrology (2nd ed.). Cambridge, UK: Cambridge University Press. p. 14. ISBN 9780521880060.
  6. Structure of the Earth. The Encyclopedia of Earth. March 3, 2010
  7. Levin, Harold L. (2010). The earth through time (9th ed.). Hoboken, N.J.: J. Wiley. pp. 173–174. ISBN 978-0470387740.
  8. R. L. Rudnick and S. Gao, 2003, Composition of the Continental Crust. In The Crust (ed. R. L. Rudnick) volume 3, pp. 1–64 of Treatise on Geochemistry (eds. H. D. Holland and K. K. Turekian), Elsevier-Pergamon, Oxford ISBN 0-08-043751-6
  9. Philpotts & Ague 2009, p. 2.
  10. Anderson, Robert S.; Anderson, Suzanne P. (2010). Geomorphology: The Mechanics and Chemistry of Landscapes. Cambridge University Press. p. 187. ISBN 978-1-139-78870-0.
  11. Klein, Cornelis; Hurlbut, Cornelius S., Jr. (1993). Manual of mineralogy : (after James D. Dana) (21st ed.). New York: Wiley. pp. 221–224. ISBN 047157452X.