ป่าโลกล้านปี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ป่าโลกล้านปี
ภาพปกเพชรพระอุมา ตอนป่าโลกล้านปี เล่ม 1
รายละเอียด
ผู้ประพันธ์นายฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ
จำนวนเล่ม4 เล่ม
ความยาว1,690 หน้า
ออกแบบปกสามารถ จงเจษฎากุล
ภาพประกอบปกสมชาย ปานประชา
ศิลปกรรมฝ่ายศิลปกรรม
ณ บ้านวรรณกรรม กรุ๊ป
บรรณาธิการรักษ์ชนก นามทอน
สำนักพิมพ์สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม
ปีที่พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2538
ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2541
ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2544
ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2547
เล่มก่อนหน้าอาถรรพณ์นิทรานคร
เล่มถัดไปแงซายจอมจักรา

ป่าโลกล้านปี เป็นตอนที่ห้าของเพชรพระอุมาจำนวน 4 เล่ม ได้แก่ป่าโลกล้านปี เล่ม 1 - 4

เนื้อเรื่องย่อ[แก้]

ป่าโลกล้านปี เล่มที่ 1[แก้]

มาเรียมองเห็นนกแร้งบินวนบนท้องฟ้าในลักษณะเฝ้าติดตามการเดินทางของทุกคนในคณะเดินทางตลอดเวลา นกแร้งเฝ้าติดตามคณะเดินทางอยู่สามวัน ก่อนจะผละหายไป และกลับมาบินวนเวียนนำหน้าอยู่บริเวณช่องเขาขาด รพินทร์นำคณะนายจ้างมาหยุดพักที่บริเวณป่าหิน ก่อนสงสัยในพฤติกรรมการบินที่แปลกประหลาดของนกแร้ง จึงใช้กล้องส่องทางไกลส่องมองดูยังบริเวณช่องเขาขาด ภาพจากกล้องส่องทางไกลที่รพินทร์มองเห็นคือไทรันโนซอรัส เร็กซ์ ตัวที่ถูกดารินยิงเข้าที่ดวงตาด้านซ้ายจนบอดสนิท นอนเอาลำตัวขวางทางอยู่ที่ช่องเขาขาดซึ่งอยู่ห่างออกไปราว 2.5 - 3 กิโลเมตร ก่อนนำคณะนายจ้างและแงซายไปยังบริเวณทุ่งโล่ง ไต่ขึ้นไปยังหมู่หินและใช้กล้องส่องทางไกลสำรวจไทรันฯ ยังบริเวณช่องเขาขาด[1]

เชษฐาสอบถามเส้นทางอื่นเพื่อหาทางหลีกเลี่ยง แต่รพินทร์ยืนยันเส้นทางเดิมเพื่อมุ่งหน้าสู่ทะเลสาบมรณะตามกำหนดการเดินทาง ก่อนสั่งการให้พรานพื้นเมืองสร้างปางพักที่บริเวณป่าหินแทนการพักแรมที่ช่องเขาขาด[2] กลางคืนเกิดฝนตกอย่างหนัก ทั้งหมดพากันแอบหลบฝนบริเวณชะง่อนผาหินจนกระทั่งฝนเริ่มซา พรานเกิดและส่างปามีอาการจับไข้ ดารินช่วยปฐมพยาบาลพร้อมกับแจกจ่ายยาให้แก่ทุกคนเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ทั้งหมดต่างหลับพักผ่อนเอาแรงก่อนจะถูกปลุกให้ตื่นด้วยเสียงการเคลื่อนไหวของสัตว์ใหญ่ชนิดหนึ่ง รพินทร์นำคณะนายจ้างและแงซายออกติดตามไดโนเสาร์ปากเป็ดคู่หนึ่งที่ออกหากินภายหลังฝนตก[3]ที่มุ่งหน้าไปยังบริเวณช่องเขาขาดและถูกไทรันฯ ขย้ำกินเป็นอาหาร[4]

รุ่งเช้าเชษฐาเตรียมหารือกับรพินทร์ ไชยยันต์และแงซาย ในการกำจัดไทรันฯ และเสนอแผนการสังหารด้วยการแบ่งกำลังออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งทำหน้าที่ล่ออีกฝ่ายหนึ่งทำหน้าที่ซุ่มโจมตี ดาริน ไชยยันต์ พรานเกิด พรานเส่ย มาเรีย พรานบุญคำ ส่างปาและคะหยิ่น ทำหน้าที่หลอกล่อและยั่วโทสะไทรันฯ[5] เชษฐา รพินทร์ และแงซาย ทำหน้าที่คอยดักซุ่มยิงเมื่อไทรันฯเข้ามาใกล้ หลังจากยั่วโทสะได้สำเร็จ มาเรียเกิดพลัดหลงแตกจากทิศทางที่ทุกคนวิ่งหนีออกมาจากการโจมตีของไทรัน และพลาดท่าเสียทีจนสลบ[6] รพินทร์จึงยิงด้วย .458 วินเชสเตอร์ แม็กนั่มแอฟริกัน เข้าที่ดวงตาข้างขวาของไทรันฯ บอดสนิททันที เชษฐาเป็นผู้สังหารด้วยธนูติดระเบิดทีเอ็นทีจำนวน 2 ดอก ดอกแรกพุ่งเข้าปักติดแน่นที่ซอกรักแร้บริเวณขาหน้า และดอกที่สองที่ปักติดแน่นบริเวณก้านคอก่อนระเบิดอย่างรุนแรง[7]

มาเรียได้รับบาดเจ็บจากการกระแทกกับแง่หิน รพินทร์จึงออกเดินทางต่อในเช้าวันรุ่งขึ้น คืนนั้นแงซายมานั่งเป็นเพื่อนคุยกับรพินทร์พร้อมเล่าเรื่องราวของมรกตนครและขุมทรัพย์เพชรพระอุมาให้ฟัง[8] รุ่งเช้ามาเรียหายเป็นปกติพร้อมออกเดินทาง รพินทร์นำคณะนายจ้างบ่ายหน้าสู่ช่องเขาขาดมุ่งสู่ทะเลสาบมรณะทางด้านทิศใต้ ระหว่างทางพบกับบรอนโตเซารัส ช่วงบ่ายจึงถึงทะเลสาบมรณะ[9] ในขณะเตรียมตัวออกเดินทาง เกิดการปะทะกับเทราโนดอนจำนวนมากริมฝั่งทะเลสาบมรณะ เกิดความชุลมุนวุ่นวายชั่วขณะ เสียงไรเฟิลและลูกซองดังไปทั่วบริเวณ หลังจากปะทะกันทราโนดอนถูกยิงตายเกือบหมดฝูง มีเพียง 2-3 ตัวเท่านั้นที่หนีรอดไปได้

มาเรียตั้งข้อสังเกตฝูงค้างคาวจำนวนหนึ่งที่สงสัยจะเป็นค้างคาวดูดเลือด ระหว่างทางรพินทร์และดารินยิงค้างคาวที่ห้อยหัวตามกิ่งไม้ลงมาตรวจสอบ พบเป็นเทอโรซอร์หรือค้างคาวดูดเลือดจริงอย่างที่มาเรียสันนิษฐานไว้ รพินทร์นำคณะนายจ้างลัดเลาะเลียบขอบทะเลสาบไปทางทิศตะวันออก เพื่อตัดอ้อมระยะทางไปยังทิวเขาปีกครุฑ และหลบค้างคาวดูดเลือดเหล่านั้นด้วย ระหว่างทางพบแรดอาสินอยด์จำนวน 2 ตัว แต่หลบหลีกมาได้โดยไม่เกิดการปะทะกัน เวลาประมาณบ่ายโมงคณะเดินทางจึงถึงด้านตะวันออกเฉียงใต้ของขอบทะเลสาบมรณะ ภายในทะเลสาบมีใบบัวประหลาด ใบใหญ่เหมือนบัววิกตอเรีย แกนกลางกลวงบานอยู่ใต้น้ำ รพินทร์ให้แงซายลุยน้ำไปยังอีกฝั่งเพื่อเป็นการหยั่งระดับความลึกของทะเลสาบ ก่อนนำทุกคนเดินตามร่องน้ำที่แงซายเดินนำหน้าไว้ โดยพยายามหลีกเลี่ยงใบบัวจนถึงฝั่งโดยปลอดภัย รพินทร์ให้แงซายทดสอบใบบัวประหลาดด้วยการทุ่มขอนไม้ลงไปกลางใบ ซึ่งหุบใบม้วนเข้าหากันทันทีก่อนรูดตัวจมหายลงไปใต้น้ำ

รพินทร์พยายามดึงใบบัวประหลาดขึ้นมาและพบโครงกระดูกมนุษย์จำนวน 2 โครงอยู่ภายใน ดารินพิสูจน์ลักษณะของกะโหลก เป็นของชนเผ่าเอเชียตะวันออก กะโหลกหนึ่งอายุประมาณ 30 ปี และอีกกะโหลกอายุประมาณ 55-60 ปี เสียชีวิตมาแล้วเกือบ 2 ปี[10] และพบปลอกกระสุนปืน .450 ของพรานชด ปลอกกระสุน .450 และปลอกลูกซองของหนานอินตกอยู่ ทำให้เชษฐาและไชยยันต์ลงความเห็นว่าพรานชดและหนานอินคือเจ้าของโครงกระดูก แต่แงซายช่วยพิสูจน์ร่องรอยของฟันที่หายไป พร้อมกับเล่าเหตุการณ์ที่ทำให้หนานอินต้องถอนฟันทิ้ง ซึ่งช่วยพิสูจน์ให้เห็นว่ากะโหลกที่ค้นพบไม่ใช่พรานชดและหนานอิน ก่อนเดินทางต่อโดยตัดขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และหยุดพักแรมที่เนินเขาเตี้ย ๆ ทางด้านตะวันออกของทะเลสาบมรณะ พร้อมสั่งการให้สร้างปางพักที่สามารถคุ้มกันฝนพร้อมตัดไม้หนามจำนวนมากมุงรอบปางพัก เพื่อป้องกันอันตรายจากเทอโรซอร์

พรานพื้นเมือง คะหยิ่นและส่างปายังไม่กลับปางพัก รพินทร์จึงออกติดตาม พบทั้งหมดเดินลากกิ่งไม้หนามที่มัดไว้วนรอบโคนต้นไม้ใหญ่จากการสะกดของลิงใหญ่มหึมาที่พรานบุญคำเชื่อว่าคือโป่งค่าง จึงช่วยเหลือและนำตัวทั้งหมดกลับปางพัก ระหว่างทางพบเจอคณะนายจ้างและแงซายที่ออกติดตามมาเนื่องจากได้ยินเสียงปืน แต่เมื่อกลับไปถึงปางพักก็พบว่าสัมภาระและอุปกรณ์ในการเดินทาง รวมทั้งปืนและเครื่องกระสุนภายในปางพักหายไป และมีรอยเท้าลิงใหญ่มากมายย่ำอยู่เต็มบริเวณ[11] คงเหลือแต่ปืนไรเฟิล จำนวน 6 กระบอก และปืนสั้นติดตัวเชษฐา ไชยยันต์ ดาริน ที่คล้องติดสายคาดเอว จำนวน 3 กระบอก ซึ่งเมื่อรวมกระสุนจากปืนสั้นทั้ง 3 กระบอกแล้ว มีกระสุนปืนเหลืออยู่ประมาณ 90 นัด เท่านั้น[12]

ป่าโลกล้านปี เล่มที่ 2[แก้]

ระหว่างสำรวจสัมภาระ ปางพักถูกล้อมรอบโดยฝูงลิงขนาดใหญ่จำนวนมาก ตกดึกฝูงเทอโรซอร์เข้าโจมตีปางพักตามที่รพินทร์คาดการณ์ไว้ แต่ได้ฝูงลิงช่วยเหลือขับไล่เทอโรซอร์ก่อนควบคุมตัวทุกคนในคณะเดินทางไว้เป็นเชลย[13] รุ่งขึ้นฝูงลิงต่างช่วยกันรื้อปางพักและกวาดต้อนคณะเดินทางให้ติดตามพวกมันไป[14] ระหว่างทางแงซายและรพินทร์ค่อย ๆ หลบเลี่ยงออกจากการควบคุมของฝูงลิงได้สำเร็จ พร้อมกับพยายามหาหนทางช่วยเหลือคณะนายจ้าง รพินทร์ย้อนกลับไปรวมกลุ่มอีกครั้งและให้แงซายติดตามฝูงลิงไปห่าง ๆ ประมาณบ่ายโมงกว่า ๆ ฝูงลิงจึงนำคณะเดินทางที่ตกเป็นเชลยมายังหุบเขานิลกาญจน์[15] โดยมีแงซายตามมาสมทบภายหลัง

ฝูงลิงนำตัวคณะเดินทางไปยังถ้ำใหญ่ภายในหุบเขา เพื่อให้ช่วยรักษาอาการบาดเจ็บของวายา หัวหน้าฝูงลิงที่ได้รับบาดเจ็บจนไส้ไหล จากการต่อสู้กับไดโนเสาร์สามเขาเมื่อสองวันก่อน[16] ดารินช่วยเย็บบาดแผลและปฐมพยาบาลให้แก่วายา ทั้งหมดพบกองสัมภาระ อาวุธปืนและเครื่องกระสุนที่สูญหายไป แงซายพบฤๅษีโกฑัญญะโดยบังเอิญ ในขณะสำรวจรอบ ๆ บริเวณถ้ำของวายา ก่อนพารพินทร์และทุกคนในคณะไปนมัสการและฝากตัวเป็นศิษย์[17] ฤๅษีโกฑัญญะช่วยทำให้มนุษย์และลิงสามารถสื่อสารกันได้รู้เรื่อง[18] คณะเดินทางจึงได้ทราบเรื่องราวของวายาและไดโนเสาร์สามเขาหรือไทรเซราทอปส์ ที่บุกเข้าทำร้ายและต่อสู้จนได้รับบาดเจ็บ วายาสังหารไดโนเสาร์สามเขาตายไปหนึ่งตัวแต่ต้องสูญเสียลิงบริวารไปถึง 7 ตัว[19]

นอกจากนี้ยังมีข่าวคราวการเดินทางของพรานชดและหนานอิน ที่ได้รับการช่วยเหลือหลังจากจากวายา และพักฟื้นที่หุบเขานิลกาญจน์เป็นเวลา 10 วัน ก่อนมอบมีดโบวี่ ขนาด 12 นิ้ว แก่วายาเพื่อเก็บไว้เป็นที่ระลึก[20] รพินทร์รับปากวายาในการจะกำจัดไดโนเสาร์สามเขาที่เป็นศัตรูของวายา ตกดึกรพินทร์ ดารินและแงซาย ออกตามล่าไดโนเสาร์สามเขาตามสัญญา รพินทร์ให้แงซายล่วงหน้าไปก่อนและติดตามไปภายหลังพร้อมกับดารินหลังจากได้ยินเสียงร้องของแงซาย เมื่อไปถึงรพินทร์และดารินกลับถูกไดโนเสาร์สามเขาพุ่งเข้าโจมตีก่อนกำจัดไดโนเสาร์สามเขาได้สำเร็จ และพบพานท้ายปืนไรเฟิล .375 เบราว์นิ่งและผ้าโพกหัวสีดำของแงซายตกอยู่ จึงเข้าใจว่าแงซายถูกหินใหญ่ทับเสียชีวิต คณะนายจ้างและพรานพื้นเมืองออกติดตามมาสมทบภายหลังจากได้ยินเสียงปืน และตื่นตกใจเมือทราบข่าวการเสียชีวิตของแงซาย[21]

รพินทร์นำคณะนายจ้างกลับถ้ำที่พักของวายาก่อนหมดสติไป ดารินช่วยปฐมพยาบาลรพินทร์สุดความสามารถแต่อาการกลับไม่ดีขึ้น ระหว่างที่ทุกคนในคณะเดินทางกำลังสิ้นหวัง แงซายปรากฏตัวขึ้นหน้าถ้ำ[22] พร้อมกับแมงมุมหกขาและสร้อยเครื่องรางของรพินทร์ที่ทำตกไว้ขณะปะทะไดโนเสาร์สามเขา ก่อนให้ส่างปาใช้พิษของแมงมุมหกขาเพื่อช่วยชีวิตรพินทร์

ป่าโลกล้านปี เล่มที่ 3[แก้]

ระหว่างที่ส่างปาช่วยชีวิตรพินทร์ แงซายเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตนเองจนกระทั่งสามารถเอาตัวรอดจากก้อนหินใหญ่ที่ทับอยู่ ด้วยการมุดออกทางรูตัวตุ่น และได้ทราบจากฤๅษีโกฑัญญะ ให้ติดตามไปช่วยเหลือรพินทร์ที่ถูกแมงมุมหกขากัดให้ทุกคนในคณะเดินทางฟัง รุ่งเช้าอาการของรพิทร์ดีขึ้นตามลำดับ ก่อนจะตื่นขึ้นมาประมาณบ่ายโมงเศษพร้อมรับทราบเรื่องราวทั้งหมดก่อนหลับอีกครั้ง[23] รุ่งเช้ารพินทร์และคณะนายจ้างพร้อมด้วยพรานพื้นเมือง แงซาย คะหยิ่นและส่างปา พากันไปกราบลาฤๅษีโกฑัญญะบนยอดเขา โดยถือฤกษ์เดินทางคือเวลา 9.00 น.[24] ดารินมอบกระจกเงาให้วายาเป็นที่ระลึก ก่อนออกเดินทางเลียบทิวเขาปีกครุฑ มุ่งหน้าสู่หลุมอุกกาบาตที่ 1 ตามแผนที่โดยมีจุดหมายแรกที่แอ่งการะเวก

รพินทร์นำคณะนายจ้างออกเดินทางประมาณ 4 ชั่วโมงจึงถึงแอ่งการเวก[25] พบเจอกับพายุลูกเห็บจนไม่สามารถเดินทางต่อได้ต้องหลบพักภายในโพรงหมาป่า[26] และทราบภายหลังว่าทุ่งโล่งแห่งนี้คือทุ่งลมกรด คืนนั้นพรานเส่ยและส่างปาเป็นตะคริวเนื่องจากสภาพอากาศหนาวจัด[27] พรานบุญคำนำยาร้อนมาต้มเพื่อช่วยชีวิตพรานเส่ยและส่างปา[28] รุ่งเช้าจึงออกเดินทางต่อ พบโอเอซิสที่เป็นป่าเกิดใหม่อายุไม่เกิน 300 ปี[29]

ระหว่างทางแงซายบอกแก่รพินทร์ว่าสามารถอ่านภาษาพม่าโบราณออก ทำให้ทั้งหมดรู้ว่าลายแทงที่ล่ามขี้เมาชาวพม่าแปลนั้นตกหล่นเกือบทั้งหมด ก่อนหยุดพักแรมที่ถ้ำแห่งหนึ่งในตอนเย็น คืนนั้นมาเรียเริ่มแสดงอาการแพ้ท้องเป็นครั้งแรก รพินทร์กลายเป็นผู้ต้องสงสัยในสายตาดารินแต่ไชยยันต์รับสารภาพว่าตนเองเป็นพ่อของเด็กเอง มาเรียโกรธไชยยันต์เป็นอันมากและคิดว่าเด็กในท้องจะเป็นอุปสรรคต่อการเดินทางต่อไป ในคืนนั้นรพินทร์นำแผนที่ลายแทงออกมาหารือกับแงซายในการค้นหาหลุมอุกกาบาตที่หนึ่ง ซึ่งต้องเริ่มต้นในการค้นหาที่ช่องประตูผา รุ่งขึ้นรพินทร์นำคณะนายจ้างออกค้นหาช่องประตูผา จนกระทั่งเที่ยงก็ยังไม่สามารถหาช่องประตูผาพบ[30] ซึ่งช่องประตูผา ตามลายแทงขุมทรัพย์เพชรพระอุมา มีความสำคัญคือเป็นจุดเริ่มต้นในการหาหลุมอุกกาบาตที่หนึ่ง โดยเดินไปทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เป็นระยะทางประมาณ 5-6 ชั่วโมง รพินทร์จึงมอบลายแทงแผนที่จริงให้แงซายเป็นผู้ถือชั่วคราว ก่อนออกอุบายทดสอบแงซายด้วยการแยกตัวออกไปค้นหาช่องประตูผาตามลำพัง[31]

จนกระทั่งเย็นรพินทร์ก็ยังไม่กลับมายังจุดที่คณะเดินทางรอคอย เชษฐาและแงซายจึงออกติดตามค้นหาทันที[32] รุ่งเช้ารพินทร์กลับมาตามลำพังโดยปราศจากเชษฐาและแงซาย[33] และเมื่อทราบเรื่องราวจากดารินและไชยยันต์ รพินทร์จึงหวนย้อนกลับไปช่องประตูผาอีกครั้ง ก่อนพบว่าแงซายและเชษฐาไม่ได้รับอันตรายจากดงว่านพิษที่ตนประสบมา อันเป็นเหตุที่ทำให้สลบไปและไม่ได้กลับมที่แค้มป์พักตามกำหนด และสามารถนำพาเชษฐาล่วงหน้าไปหลุมอุกกาบาตที่หนึ่งได้อย่างปลอดภัย[34]

ป่าโลกล้านปี เล่มที่ 4[แก้]

ประมาณบ่ายโมง รพินทร์จึงนำคณะนายจ้างเดินทางถึงหลุมอุกกาบาตที่หนึ่ง เชษฐาอธิบายให้รพินทร์เข้าใจว่าแงซายไม่ได้ทรยศแต่ตนเองเป็นคนสั่งให้ล่วงหน้านำมาก่อน ทั้งที่จริงแล้วแงซายพยายามทักท้วงให้อยู่รอตามคำสั่ง รพินทร์จึงมอบลายแทงให้แงซายเป็นผู้ถือตลอดไป บ่ายสองโมงกว่า ๆ ฝนตั้งเค้ามาแต่ไกลและทำท่าจะตก รพินทร์จึงนำคณะเดินทางมาหลบพักภายในโพรงถ้ำที่อยู่ใต้ขอบเหวลงมา[35] คืนนั้นคณะเดินทางพบเหมืองทองคำโดยบังเอิญ[36] แต่กลับไม่มีใครต้องการเก็บทองคำเอาไว้แม้แต่ผู้เดียว ตกดึกมาเรียออกอุบายหลอกล่อขอยาร้อนจากพรานบุญคำ แต่รพินทร์เข้าขัดขวางและพยายามเกลี้ยกล่อมมาเรียให้เก็บรักษาลูกในท้องไว้[37]

มาเรียใจอ่อนยอมเก็บรักษาลูกในท้องไว้และยอมรับไชยันต์เป็นพ่อของเด็ก[38] หลังจากเกลี้ยกล่อมมาเรียสำเร็จ แงซายยอมเปิดปากเล่าเรื่องราวของตนเองทั้งหมดให้ฟัง รวมทั้งการที่ต้องแยกตัวจากคณะเดินทางเมื่อถึงเนินพระจันทร์เพื่อกลับไปทำหน้าที่ "ทศพิธราชธรรม"[39] รุ่งเช้ารพินทร์นำคณะนายจ้างออกเดินทางต่อ ก่อนพบหลุมอุกกาบาตที่สองในเวลาก่อนค่ำ[40] เสบียงอาหารจากหุบเขานิลกาญจน์ที่นำมาด้วยใกล้หมดเต็มที ตลอดเส้นทางไม่พบสัตว์ที่สามารถนำมาเป็นอาหารได้แม้แต่ตัวเดียว รพินทร์ยิงสัตว์ชนิดหนึ่งรูปลักษณะคล้ายแกะหรือแพะมาเป็นอาหาร ใกล้ค่ำรพินทร์นำคณะนายจ้างมาถึงป่าหินและภูเขาเตี้ย ๆ[41]

คืนนั้นเกิดฝนตกหนัก แงซายใช้ธนูติดระเบิดยิงเพื่อเปิดโพรงถ้ำสำหรับใช้อาศัยพักผ่อนและหลบพายุฝน[42] สภาพอากาศหนาวเย็นตามลำดับทำให้ทุกคนในคณะเดินทางยกเว้นมาเรีย ต้องพึ่งยาร้อนของบุญคำเพื่อป้องกันเลือดแข็งตาย รุ่งเช้าออกเดินทางต่อและพบหลุมอุกกาบาตที่สามและบ่ายหน้าสู่เทือกเขาพระศิวะ ไชยยันต์บอกแก่ทุกคนในคณะเดินทางว่าวันนี้คือวันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม ขึ้นหนึ่งค่ำ วันขึ้น 5 ค่ำ เดือนพฤศจิกายน ตรงกับวันอังคารที่ 3 นับจากวันนี้ไปก็เหลืออยู่อีก 4 วันครึ่งเท่านั้น[43] รพินทร์นำคณะนายจ้างออกเดินทางต่อ คะหยิ่นพบถ้ำแห่งหนึ่งที่มีบ่อน้ำร้อนอยู่ภายใน[44]

ท่ามกลางอากาศหนาวเย็น เกิดหิมะตกทั่วบริเวณเขาพระศิวะ[45] รพินทร์ยิงหมีขนาดใหญ่ได้ตัวหนึ่งและเอาหนังกับไขมันมาใช้ประโยชน์[46] รุ่งเช้า รพินทร์และคณะนายจ้างต่างชื่นชมกับธรรมชาติที่สวยงามของเทือกเขาพระศิวะ ก่อนออกเดินทางต่อในช่วงสาย ๆ[47] ระหว่างทางดารินสะดุดล้มและปวดข้อเข่าซึ่งเกิดจากโรครูมาตอยด์ที่เป็นโรคเก่าเรื้อรัง[48] รพินทร์จึงสั่งหยุดพัก ก่อนค้นพบร่องรอยการพักแรมของพรานชดและหนานอิน พบปลอกกระสุน .450 ของพราชดและปลอกกระสุนลูกซองของหนานอิน ซึ่งเมื่อรวมปลอกกระสุนที่เก็บได้ .450 ทั้งหมด 5 ปลอกและลูกซอง 4 ปลอก[49]

แงซายยิงสัตว์ประเภทเลียงผาที่ลักษณะคล้ายผสมแกะภูเขา เพื่อใช้น้ำมันผสมกับรากไม้บางชนิด เคี่ยวให้เข้ากันแล้วใช้ชโลมร่างกาย ซึ่งสามารถรักษาโรคอันเกิดจากไขข้อทุกชนิดตามคำสอนของครูอาจารย์ที่ให้วิชาความรู้[50] ช่วงหัวค่ำมาเรียเป็นผู้ชโลมน้ำมันและนวดเฟ้นให้ดารินจนอาการดีขึ้นตามลำดับ[51] และหายเป็นปกติในเช้าวันรุ่งขึ้น พร้อมออกเดินทางมุ่งหน้าสู่เนินพระจันทร์

อ้างอิง[แก้]

  1. พนมเทียน, เพชรพระอุมา ตอนป่าโลกล้านปี เล่ม 1 หน้า 6754, สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม, 2544, หน้า 6754
  2. พนมเทียน, เพชรพระอุมา ตอนป่าโลกล้านปี เล่ม 1 หน้า 6760, สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม, 2544, หน้า 6760
  3. พนมเทียน, เพชรพระอุมา ตอนป่าโลกล้านปี เล่ม 1 หน้า 6769, สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม, 2544, หน้า 6769
  4. พนมเทียน, เพชรพระอุมา ตอนป่าโลกล้านปี เล่ม 1 หน้า 6774, สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม, 2544, หน้า 6774
  5. พนมเทียน, เพชรพระอุมา ตอนป่าโลกล้านปี เล่ม 1 หน้า 6812, สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม, 2544, หน้า 6812
  6. พนมเทียน, เพชรพระอุมา ตอนป่าโลกล้านปี เล่ม 1 หน้า 6816, สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม, 2544, หน้า 6816
  7. พนมเทียน, เพชรพระอุมา ตอนป่าโลกล้านปี เล่ม 1 หน้า 6821-6822, สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม, 2544, หน้า 6821-6822
  8. พนมเทียน, เพชรพระอุมา ตอนป่าโลกล้านปี เล่ม 1 หน้า 6885, สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม, 2544, หน้า 6885
  9. พนมเทียน, เพชรพระอุมา ตอนป่าโลกล้านปี เล่ม 1 หน้า 6918, สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม, 2544, หน้า 6918
  10. พนมเทียน, เพชรพระอุมา ตอนป่าโลกล้านปี เล่ม 1 หน้า 7030, สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม, 2544, หน้า 7030
  11. พนมเทียน, เพชรพระอุมา ตอนป่าโลกล้านปี เล่ม 1 หน้า 7129, สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม, 2544, หน้า 7129
  12. พนมเทียน, เพชรพระอุมา ตอนป่าโลกล้านปี เล่ม 1 หน้า 7128-7129, สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม, 2544, หน้า 7128-7129
  13. พนมเทียน, เพชรพระอุมา ตอนป่าโลกล้านปี เล่ม 2 หน้า 7202, สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม, 2544, หน้า 7202
  14. พนมเทียน, เพชรพระอุมา ตอนป่าโลกล้านปี เล่ม 2 หน้า 7235, สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม, 2544, หน้า 7235
  15. พนมเทียน, เพชรพระอุมา ตอนป่าโลกล้านปี เล่ม 2 หน้า 7309, สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม, 2544, หน้า 7309
  16. พนมเทียน, เพชรพระอุมา ตอนป่าโลกล้านปี เล่ม 2 หน้า 7323, สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม, 2544, หน้า 7323
  17. พนมเทียน, เพชรพระอุมา ตอนป่าโลกล้านปี เล่ม 2 หน้า 7389, สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม, 2544, หน้า 7389
  18. พนมเทียน, เพชรพระอุมา ตอนป่าโลกล้านปี เล่ม 2 หน้า 7414, สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม, 2544, หน้า 7414
  19. พนมเทียน, เพชรพระอุมา ตอนป่าโลกล้านปี เล่ม 2 หน้า 7428, สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม, 2544, หน้า 7428
  20. พนมเทียน, เพชรพระอุมา ตอนป่าโลกล้านปี เล่ม 2 หน้า 7461, สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม, 2544, หน้า 7461
  21. พนมเทียน, เพชรพระอุมา ตอนป่าโลกล้านปี เล่ม 2 หน้า 7556, สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม, 2544, หน้า 7556
  22. พนมเทียน, เพชรพระอุมา ตอนป่าโลกล้านปี เล่ม 2 หน้า 7587, สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม, 2544, หน้า 7587
  23. พนมเทียน, เพชรพระอุมา ตอนป่าโลกล้านปี เล่ม 3 หน้า 7638, สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม, 2544, หน้า 7638
  24. พนมเทียน, เพชรพระอุมา ตอนป่าโลกล้านปี เล่ม 3 หน้า 7793, สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม, 2544, หน้า 7793
  25. พนมเทียน, เพชรพระอุมา ตอนป่าโลกล้านปี เล่ม 3 หน้า 7747, สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม, 2544, หน้า 7747
  26. พนมเทียน, เพชรพระอุมา ตอนป่าโลกล้านปี เล่ม 3 หน้า 7769, สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม, 2544, หน้า 7769
  27. พนมเทียน, เพชรพระอุมา ตอนป่าโลกล้านปี เล่ม 3 หน้า 7774, สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม, 2544, หน้า 7774
  28. พนมเทียน, เพชรพระอุมา ตอนป่าโลกล้านปี เล่ม 3 หน้า 7778, สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม, 2544, หน้า 7778
  29. พนมเทียน, เพชรพระอุมา ตอนป่าโลกล้านปี เล่ม 3 หน้า 7874, สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม, 2544, หน้า 7874
  30. พนมเทียน, เพชรพระอุมา ตอนป่าโลกล้านปี เล่ม 3 หน้า 7780, สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม, 2544, หน้า 7780
  31. พนมเทียน, เพชรพระอุมา ตอนป่าโลกล้านปี เล่ม 3 หน้า 7784, สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม, 2544, หน้า 7784
  32. พนมเทียน, เพชรพระอุมา ตอนป่าโลกล้านปี เล่ม 3 หน้า 7917, สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม, 2544, หน้า 7917
  33. พนมเทียน, เพชรพระอุมา ตอนป่าโลกล้านปี เล่ม 3 หน้า 7935-7936, สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม, 2544, หน้า 7935-7936
  34. พนมเทียน, เพชรพระอุมา ตอนป่าโลกล้านปี เล่ม 3 หน้า 7972, สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม, 2544, หน้า 7972
  35. พนมเทียน, เพชรพระอุมา ตอนป่าโลกล้านปี เล่ม 4 หน้า 8074, สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม, 2544, หน้า 8074
  36. พนมเทียน, เพชรพระอุมา ตอนป่าโลกล้านปี เล่ม 4 หน้า 8087, สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม, 2544, หน้า 8087
  37. พนมเทียน, เพชรพระอุมา ตอนป่าโลกล้านปี เล่ม 4 หน้า 8117, สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม, 2544, หน้า 8117
  38. พนมเทียน, เพชรพระอุมา ตอนป่าโลกล้านปี เล่ม 4 หน้า 8125, สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม, 2544, หน้า 8125
  39. พนมเทียน, เพชรพระอุมา ตอนป่าโลกล้านปี เล่ม 4 หน้า 8130, สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม, 2544, หน้า 8130
  40. พนมเทียน, เพชรพระอุมา ตอนป่าโลกล้านปี เล่ม 4 หน้า 8148, สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม, 2544, หน้า 8148
  41. พนมเทียน, เพชรพระอุมา ตอนป่าโลกล้านปี เล่ม 4 หน้า 8150, สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม, 2544, หน้า 8150
  42. พนมเทียน, เพชรพระอุมา ตอนป่าโลกล้านปี เล่ม 4 หน้า 8151, สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม, 2544, หน้า 8151
  43. พนมเทียน, เพชรพระอุมา ตอนป่าโลกล้านปี เล่ม 4 หน้า 8206-8207, สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม, 2544, หน้า 8206-8207
  44. พนมเทียน, เพชรพระอุมา ตอนป่าโลกล้านปี เล่ม 4 หน้า 8246, สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม, 2544, หน้า 8246
  45. พนมเทียน, เพชรพระอุมา ตอนป่าโลกล้านปี เล่ม 4 หน้า 8252, สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม, 2544, หน้า 8252
  46. พนมเทียน, เพชรพระอุมา ตอนป่าโลกล้านปี เล่ม 4 หน้า 8272, สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม, 2544, หน้า 8272
  47. พนมเทียน, เพชรพระอุมา ตอนป่าโลกล้านปี เล่ม 4 หน้า 8292, สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม, 2544, หน้า 8292
  48. พนมเทียน, เพชรพระอุมา ตอนป่าโลกล้านปี เล่ม 4 หน้า 8298, สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม, 2544, หน้า 8298
  49. พนมเทียน, เพชรพระอุมา ตอนป่าโลกล้านปี เล่ม 4 หน้า 8324-8325, สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม, 2544, หน้า 8324-8325
  50. พนมเทียน, เพชรพระอุมา ตอนป่าโลกล้านปี เล่ม 4 หน้า 8370, สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม, 2544, หน้า 8370
  51. พนมเทียน, เพชรพระอุมา ตอนป่าโลกล้านปี เล่ม 4 หน้า 8406, สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม, 2544, หน้า 8406