ปูไก่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สำหรับปูขนอย่างอื่นที่นิยมรับประทานกันเป็นอาหารจีน ดูที่: ปูก้ามขน

ปูไก่
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Arthropoda
ไฟลัมย่อย: Crustacea
ชั้น: Malacostraca
อันดับ: Decapoda
อันดับฐาน: Brachyura
วงศ์: Gecarcinidae
สกุล: Cardisoma
สปีชีส์: C.  carnifex
ชื่อทวินาม
Cardisoma carnifex
(Herbst, 1794)
ชื่อพ้อง [1]
  • Cancer carnifex Herbst, 1794
  • Cardisoma obesum Dana, 1851
  • Cardisoma urvillei H. Milne-Edwards, 1853

ปูไก่ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cardisoma carnifex) เป็นปูชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปูบก (Gecarcinidae)

มีกระดองเป็นรูปไข่ ด้านหน้าโค้งมนกลม เหนือเบ้าตามีปุ่มเล็ก ๆ ข้างละปุ่ม กระดองตอนหน้าระหว่างขอบตาแคบ ตัวผู้มีก้ามใหญ่และแข็งแรง ก้ามซ้ายมีขนาดใหญ่ ปลายก้ามหนีบอันบนยาวกว่าอันล่างขาเดินมี 4 คู่ ข้อสุดท้ายมีปลายแหลม ขอบหยักเป็นฟันเลื่อย ขาเดินทุกคู่ มีขนสีดำกระดองสีน้ำตาลปนเหลือง ก้ามสีน้ำตาลปนส้ม โคนขาเดินสีส้ม

มีความยาวประมาณ 8-20 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในป่าใกล้ลำธารหรือน้ำตก หรือตามป่าชายหาด กินเศษซากต่าง ๆ เป็นอาหาร พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ชายฝั่งแอฟริกาตะวันออก จนถึงอินโด-แปซิฟิก, หมู่เกาะโคโคส, ตูอาโมตัสทางตอนเหนือของออสเตรเลีย ในประเทศไทยพบได้ตามเกาะต่าง ๆ ทางภาคใต้ เช่น หมู่เกาะสิมิลันและเกาะภูเก็ต แต่ปัจจุบันพบได้ยาก[2]

สามารถใช้เนื้อในการรับประทานได้ แต่ไม่เป็นที่นิยมนักเนื่องจากในเนื้อมีกลิ่นกรดยูริกและแอมโมเนียจากของเสียจากระบบขับถ่ายของปู[3][4] [1] นอกจากนี้แล้วปูไก่ยังมีชื่อเรียกอื่นอีก เช่น "ปูขน" หรือ "ปูภูเขา" และเหตุที่ได้ชื่อว่าปูไก่ เนื่องจากมีเสียงจากการกระทบกันของกล้ามปูเสียงดังคล้ายเสียงร้องของไก่

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 P. J. F. Davie (2002). "Gecarcinidae". Eucarida (Part 2), Decapoda: Anomura, Brachyura. Volume 19 of Zoological Catalogue of Australia. Crustacea: Malocostraca. CSIRO Publishing. pp. 183–186. ISBN 978-0-643-06792-9.
  2. [ลิงก์เสีย] พบ "ปูไก่" บนเกาะภูเก็ตครั้งแรกในรอบ 10 ปี จากสำนักข่าวไทย
  3. "ปูไก่" ก้ามโต มนต์เสน่ห์ เกาะสิมิลัน จากไทยรัฐ
  4. Janet Haig (1984). "Land and freshwater crabs of the Seychelles and neighbouring islands". ใน David Ross Stoddart (บ.ก.). Biogeography and Ecology of the Seychelles Islands. Monographiae biologicae. Springer. pp. 123–139. ISBN 978-90-6193-107-2.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]